อยากให้ตามกันไปอ่านค่ะ
ที่แว่วๆ ว่าต้องเก็บ log file อย่างน้อย 2 ปีหรือเปล่าครับ โอ้ไม่นะ ส่งสัยต้องสั่งซื้อ HDD สำหรับเก็บ Log File มาอีกลูก
หางานอื่นไว้แล้ว
ถ้าให้เก็บ log 2 ปี ขั้นต่ำ ผมบอกตรงๆ เตรียม ดูงาน อื่นทำละ ทำเว็บ เฉยๆ ดีกว่าไหม = =a
ย้ายเป็นอยู่เมืองนอกทุกเครื่อง เย้
:026:
เรื่อง log นี่ ถ้าจำไม่ผิด ร่างฉบับใหม่ให้เก็บไม่ต่ำกว่า 90 วัน “และหากมีความจำเป็นในการพิจารณาคดี เจ้าหน้าที่สามารถขอให้เก็บได้ถึงไม่เกิน 2 ปี” ไม่ใช่เหรอครับ?
เพราะฉบับปัจจุบันนี่ก็ 90 วัน แต่ยืดได้ถึง 1 ปีถ้ามีคดี
หมายความว่าเก็บตามปกติไป ถ้าเกิดภายใน 90 วันไม่มีคดีอะไรขึ้นก็ลบได้ แต่ถ้ามีขึ้นก็ต้องเก็บต่อไป… จนกว่าศาลจะตัดสินจนถึงที่สุด
หนักแน่ครับ งานหนักขึ้นแน่ๆ คนให้เช่า คนทำเว็บ คนโพส โดนกันถ้วนหน้า อิสระเสรีมีกรอบหนาแน่นขึ้นมากเลย
แต่คนขายฮาร์ดดิสสบายครับงานนี้… หรือไม่ก็มือปืนรับจ้างแกะและวิเคราะห์ log
อย่าไปคิดแค่เรื่อง log ที่แค่ว่ามีเก็บแล้วจบ โทษของความผิดในเรื่องนี้จะเยอะกว่าอีกมาก ถ้า user เอาไปใช้ผิดตามพรบ.คอมฯ ไม่รู้อ่านกันละเอียดหรือยังคะ?
ใช่ครับ เรื่อง log ให้เขาไม่จบง่ายๆ… ถ้า user ลงทะเบียนนานแล้ว หรือเริ่มมาโพสครั้งแรกตั้งแต่สมัยสุโขทัย แล้วสมัยกรุงธนค่อยมาทำผิด เขาย่อมจะต้องการมากกว่า logที่ให้เก็บ
ไม่เชื่อลองดู Join Date ของผมทางซ้ายมือสิครับ ปี 2007 ผมพึ่งเริ่มปรากฎตัวให้เห็นปี 2013 ท่าน poomjit ต้องยก server ให้ผมทั้งที่ idc และบ้านด้วยมาให้ตำรวจ… เพื่อจะหาข้อมูลจากคนสมัยสุโขทัย
แบบนี้แหล่ะ
น่าจะเข้าใจเรื่องจัดเก็บ log ผิดอีกไกลเลยละครับ
อ่านแล้วงงๆ ท่าน suwatp กำลังสื่ออะไร
ไม่น่าใช่มั้งครับ น่าจะเก็บย้อนหลังจากวันที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ร้องขอมา โดยอาจจะร้องขอมาเป็นหนังสือ แล้วให้ผู้บริการ เขียนใส่ dvd ส่งไป คือง่ายๆ เราต้องมีข้อมูลย้อนหลัง หลังจากที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอมา หรือ วันที่เกิดเหตุ ตามจำนวนวันขั้นต่ำในการเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ตาม พรบ น่าจะประมาณนี้มั้ง
เรื่อง log เรื่องเล็กครับ ให้เก็บเป็นปีก็ไม่ปัญหาเท่ากับเรื่องอื่น ๆ ดังนี้
- ให้ผู้ให้บริการ รับโทษด้วย ใคร up อะไรมาผิดกฎหมาย hosting ก็โดนแบบไม่ต้องสืบอะไรมาก
- ให้อำนาจตำรวจธรรมดาบังคับใช้กฎหมายได้ (เปิดช่องให้ตำรวจไถได้สบาย ๆ )
- เรื่องภาพโป๊ของเยาวชน เน้นว่า เยาวชน คืออายุไม่เกิน 20 ปี โทษหนักมาก + กับข้อ 2 ใครจะมี collection โปรด ก็หานางแบบหน้าแก่ ๆ ละกัน
แค่วันที่ผมไปร่วมฟังมันก็มีปัญหามากมายที่ควรต้องแก้อยู่แล้ว ว่า 50 เลวร้ายแล้ว ฉบับนี้เลวร้ายกว่า
ย้อนแย้งที่สุดคือเขียนโดย “สำนักงานพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์”
ทำงานก็เหมือนเอาขาเข้าไปเกี่ยวคุกเกี่ยวตะรางไว้ข้างนึง
(จากโพสที่แล้วๆน่าจะต้องงงกันต่อไปจนเห็นกรณีศึกษานะครับ) อีกประเด็นหนึ่งคือท่านจะมีเวลาเหลือน้อยลงในการทำกิจกรรมอื่นๆของชีวิต ยกเว้นบริษัทที่มีพนักงานภารโรงเก็บกวาด
กล่าวคือท่านที่เป็นเจ้าของโฮส ต้องเสียเวลากับไฟล์หรือโพสที่เข้ามาเรื่อยๆ และคงต้องซื้อโปรแกรมสร้างthumbnailที่เป็นapiผูกกับระบบ สำหรับไว้วิวรูป-ตรวจรูปอย่างสม่ำเสมอ ส่วนtext postนั้นคงยุ่งไม่แพ้กัน
แล้วคนที่ถือหมานำจับก็เข้าๆออกๆบ้านหรือสำนักงานท่านได้มากและถี่ขึ้นเหมือนร้านเน็ตร้านเกมส์นั่นแหล่ะครับ (ถึงจะยังไม่ผิดก็มา) เพราะระหว่างทางให้อีกทีมหนึ่งอัพรูปโป๊เด็กขึ้นโฮสท่านเหมือนการยัดยาแบบนั้นแหล่ะครับ
ควรมีประกันสำหรับผู้ให้บริการโฮสติ้งครับ
สองสามปีก่อนผมถามมาหลายที่แล้ว ไม่มีที่ไหนรับทำประกันในอาชีพนี้เลยครับ ขนาด พรบ เก่านะ
คิดๆแล้วก็ปวดหัว ปีนี้ ปอท มาที่บ้านผมสองรอบแล้วรอบทีสองนี่เร่งด่วนมากไม่ได้ log จะไม่กลับด้วยเป็นคำสั่งด่วน ตอนแรก รองผกก จะมาเองเลย แต่สุดท้ายส่งหมวดมา
นี่รอบทีสามก็จะมาอีกแล้ว
ต่อไปมันจะมีระบบเก็บส่วยหรือค่าคุ้มครองไหมเนี่ย…
เห็นข่าวนี้ยังคะ http://prachatai.com/journal/2013/07/47745
— ไม่มี hosting เกี่ยวข้องกับ 8 องค์กร ที่ว่า ตัวใครตัวมันละกันค่ะ —
8 องค์กรทำ MOU เล็งสร้างเกณฑ์กำกับกันเองของเนื้อหาออนไลน์
Wed, 2013-07-17 17:22
สพธอ.จับมือ 7 องค์กรเอกชน ตั้งกลุ่ม Making Online Better (MOB) หวังร่างเกณฑ์กำกับดูแลกันเองด้านเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ สื่อห่วง กลายเป็นขยายขอบเขตการเซ็นเซอร์ตัวเอง ไปกว่ากฎหมายกำหนด
(17 ก.ค.56) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง 8 องค์กร ได้แก่ สพธอ., มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย , สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ, สมาคมไทยแลนด์พีเคไอ, สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย, กูเกิล เอเชีย แปซิฟิค, อีเบย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอจีและสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ภายใต้ชื่อกลุ่ม “Making Online Better” (MOB) หรือ Thai Online Self-regulation Community (TOSC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการกำกับดูแลตนเองด้านเนื้อหาบนสื่อออนไลน์
ทั้งนี้ เอกสารประกอบการแถลงข่าว ระบุว่า จะมีการดำเนินการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรม (Code of Conduct) ในการดูแลเนื้อหาบนสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้มีกระบวนการที่ชัดเจนในการจัดการกับเนื้อหาที่อาจกระทบต่อสิทธิของ ผู้อื่น อันเป็นการผิดต่อกฎหมาย และอาจมีผลกระทบทำให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดจากการกระทำของบุคคลที่สาม โดยขอบเขตเนื้อหาที่จะดูแลในระยะแรก ประกอบด้วยเรื่องสื่อลามก ที่เน้นให้ความสำคัญกับสื่อลามกเด็กด้วยมาตรการที่รวดเร็ว การก่อการร้าย ยาเสพติด การหลอกลวง เช่น ฟิชชิ่งและสแปม และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ระบุว่า ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนออนไลน์ ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง อีกทั้งในการบังคับใช้กฎหมาย ยังมีข้อถกเถียงว่าเนื้อหาแบบใดเหมาะสมหรือไม่ อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการปิดเว็บเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นหรือ ไม่ ซึ่งทั้งผู้ใช้งาน เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ ต่างก็มีความเห็นที่ต่างกัน เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรร่วมกันจัดทำเกณฑ์ในการกำกับเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่อยู่บนพื้นฐานหลักการเดียวกัน
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน มีการขายของในเว็บมากขึ้น ภาครัฐก็เริ่มเข้ามากำกับมากขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการต้องปรับตัวด้วย โดยยกตัวอย่างว่าเคยมีกรณีที่ผู้ประกอบการเอายาผิดกฎหมายมาขายในเว็บ โดยที่ตัวเองในฐานะผู้ให้บริการก็ไม่รู้ว่ามี เพราะมีของเข้ามาขาย 4,000-5,000 รายการต่อวัน และแม้จะมีการบล็อค แต่ก็ดูได้ไม่หมด จน อย. แจ้งความจะมาจับ ก็ต้องแย้งว่าไม่ใช่คนขาย เป็นเพียงตัวกลาง พร้อมยินดีเอาข้อมูลออกและประสานงานให้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกับ อย. มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าอะไรควรขาย อะไรขายไม่ได้ และตกลงกันว่าถ้าเกิดปัญหา ให้แจ้งมา ผู้ให้บริการแต่ละเจ้าก็จะเอาลงทันที ดังนั้น มองว่าการกำหนดบทบาทให้ชัดเจนว่าเมื่อเกิดปัญหาจะต้องติดต่อใคร ก็จะช่วยปกป้องผู้ให้บริการเอง และช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ SME ด้วย
ณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ผู้เชี่ยวชาญสำนักกฎหมาย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) กล่าวว่า มาตรฐานจริยธรรมฯ นี้จะมีเนื้อหาคู่ขนานกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ระหว่างปรับแก้ร่างฯ โดยมีแนวคิดกันว่า อาจนำไปใส่ในมาตราเรื่องผู้ให้บริการ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปรวมถึงกรอบเวลาที่ชัดเจน
จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท แสดงความเห็นว่า การกำกับกันเองย่อมดีกว่าให้คนอื่นมากำกับ แต่มีข้อเป็นห่วงว่า จะมีมาตรการแนวทางอย่างไรไม่ให้การกำกับดูแลเป็นการขยายให้แนวทางการ เซ็นเซอร์ตัวเองไปไกลกว่าที่กฎหมายกำหนด
ณัฐวรรธน์ ตอบว่า ในต่างประเทศก็มีความกังวลในประเด็นนี้ว่า ผู้ให้บริการอาจเอาเนื้อหาลงทันทีเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียน ซึ่งเท่ากับไม่ไตร่ตรองให้ดีก่อนและเป็นการเซ็นเซอร์เนื้อหาให้ภาครัฐหรือ ไม่ ส่วนตัวมองว่า มีเส้นบางๆ และความเห็นต่างกันอยู่ แต่การจัดทำแนวจริยธรรมนี้ จะยืนอยู่บนฐานของกฎหมาย ซึ่งจะน่าจะทำให้เส้นแบ่งชัดมากขึ้น แต่ก็รับเป็นข้อห่วงใยไว้
กำพล ศรธนะรัตน์ กรรมการสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ กล่าวถึงแนวทางดำเนินงานว่า ด้านหนึ่งจะเป็น Fast track รับแจ้งเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกัน ก็จะกำกับดูแลกันเอง โดยอาจมีเนื้อหาบางแบบที่ระบุชัดในแนวทาง ว่า ในฐานะผู้ให้บริการสามารถพิจารณาเอาออกเองได้โดยที่ไม่ต้องมีคนรับแจ้ง ซึ่งจะช่วยจัดระเบียบสังคมได้