อีก 2 เดือน ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ใหม่ จะเข้า ครม. เพื่อนๆ เตรียมตัวกันหรือยัง?

ขอ copy นักกฏหมายบางคนที่เขาวิเคราะห์มาให้เพื่อนๆ อ่าน

Jp Cyberpunk บทความ(มั้ง) สั้นๆจาก นักกฎหมายข้างถนน [URL=“https://www.facebook.com/lord.jp1”]Jp Cyberpunk

เท่า ที่อ่านดูจากเนื้อข่าว ไม่มีกฎหมายมารองรับให้เป็นองค์กรรัฐ ดังนั้นมันน่าจะเป็นองค์กรเอกชน (ที่มีหน่วยงานรัฐเช่น กระซวงอายทีซิ) มาสนับสนุน ซึ่งโครงสร้างคล้ายกับ Internet Watch Foundation ของ UK อย่างมาก (ต่างกันที่ ของไทยไม่มีความร่วมมือกับองค์กรตำรวจอย่างของใน UK)

หน้าที่ การทำงานก็คล้ายกับ IWF ในการรับเรื่องร้องเรียน และประสานงานกับ ISP หรือ content provider ให้จัดการกับเนื้อหาที่ร้องเรียน แต่ IWF มุ่งเน้นแค่ ชายพร, obscenity law และ extreme pornography law ของอังกฤษเท่านั้น แต่ของ MOB ของไทยเหมือนจะขอบเขตการทำงานที่กว้างกว่ามาก

แต่ เรื่องที่น่าเป็นห่วง คือ การดูแลกำกับเนื้อหาที่ “ไม่หมาะสม” กันเอง ดูเหมือนว่าอาจจะดี เพราะเป็นการกันไม่ให้รัฐเข้ามายุ่มย่ามใน free expression มากจนเกินไป … แต่มันก็เป็นดาบสองคม คือ เป็นการสถาปนาอำนาจ censorship ให้กับองค์กรเอกชน และการดำเนินการ censor ตั้งอยู่บนพื้นฐาน “เนื้อหาไม่เหมาะสม” (สังเกตุให้ดี เค้าไม่ใช้คำว่า “เนื้อหาผิดกฎหมาย”) ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะมาตรฐานนี้ขาดความชัดเจนยิ่งกว่า มาตรฐานตัดสินว่าอะไรผิดกฎหมายซะอีก

และ MOB มีสมาชิก เป็นองค์กรรัฐที่ขึ้นชื่อในเรื่องการ censor กับ องค์กรเอกชนที่สนับสนุนการควบคุมเนื้อหาแบบเข้ม (ไม่ขอเอ่ยชื่อละกัน เพราะเคยเข้าไปคุยกับเค้ามา เห็นทัศนะคติขององค์กรนี้ชัดเจน)

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า free expression ของ Netizen จะโดนริดรอนเพิ่มขึ้น

และ อาจจะเป็นครั้งแรก ที่พยายามดึงเอา Thai ISPA เข้ามาร่วมควบคุมเนื้อหา (น่าจะทำงานเป็นตัวประสานให้เอาเนื้อหาลง หรือ block) เพราะเดิมจริงๆ Thai ISPA ไม่ได้มีหน้าที่นี้กล่าวไว้ในกรอบงานขององค์กร

สรุป : เป็นความพยายามที่จะตั้งให้ องค์กรเอกชน ทำหน้าที่ censor ซึ่งมันจะมีข้อโต้แย้งเรื่องการริดรอน free expression น้อยกว่า เพราะคนที่ทำคือ องค์กรเอกชน ไม่ใช่รัฐ และ รธน. ม.45 ที่คุ้มครอง free expression ไม่น่าขยายไปครอบคลุมองค์กร censor เอกชน

จบจ้า

https://www.facebook.com/lord.jp1/posts/10151758825915569

อ่านแล้วเครียดครับ ชักอยากจะเลิกทำอาชีพนี้แล้ว T_T

จาก

ทั้งนี้ เอกสารประกอบการแถลงข่าว ระบุว่า จะมีการดำเนินการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรม (Code of Conduct) ในการดูแลเนื้อหาบนสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้มีกระบวนการที่ชัดเจนในการจัดการกับเนื้อหาที่อาจกระทบต่อสิทธิของ ผู้อื่น อันเป็นการผิดต่อกฎหมาย และอาจมีผลกระทบทำให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดจากการกระทำของบุคคลที่สาม โดยขอบเขตเนื้อหาที่จะดูแลในระยะแรก ประกอบด้วยเรื่องสื่อลามก ที่เน้นให้ความสำคัญกับสื่อลามกเด็กด้วยมาตรการที่รวดเร็ว การก่อการร้าย ยาเสพติด การหลอกลวง เช่น ฟิชชิ่งและสแปม และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

แปลง่ายๆ ว่า เขาบอกให้ hosting ทำอะไรก็ต้องทำ
แล้วถ้า hosting ถูกลูกค้าด่า ถูกลูกค้าฟ้อง ก็เรื่องของโฮสติ้ง
แล้วถ้า hosting ไม่ยอมทำ ก็เตรียมตัวถูกส่งเรื่องไปมือตำรวจ หรือถูก block

เลือกเอาสักทาง

8 กลุ่มที่ร่วม mou ไม่มี webmaster.or.th … กลิ่นไม่ค่อยดีแล้วแบบนี้ หรือเป็นเพราะนายกคนก่อนเล่น xxx ในเว็บตนเองหรือเปล่าก็ไม่รู้
สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยเกี่ยวข้องกับเนื้อหาต้นน้ำ-ต้นทางโดยตรง ใครจะใกล้ชิดกว่าเว็บมาสเตอร์หรือแอ็ดมินของเว็บนั้นคงไม่มี… กาซวงอายทีซิ…คิดอะไรก็ไม่รู้

จะเห็นว่ามีกูเกิ้ลมาเอี่ยวอีกแล้ว… โดนใครแบนก็แบนไป แต่โดนกูเกิ้ลแบนนี่กระเป๋าแห้งได้เลยนะ อย่าให้อนาคตผู้ใช้เน็ตชาวไทยขึ้นกับกูเกิ้ลให้มากนัก หาๆทางเลือกอื่นบ้าง
นี่มันสงครามโลกครั้งที่สามแล้วชัดๆ มีกูเกิ้ลยกทัพบุกเกือบทั่วโลก

สมาคม webmaster และ สมาคม ISP อยู่ในแก๊งค์นี้ด้วยหรือเปล่าครับ

แล้วในกรณี VPS ล่ะครับ ถ้าลูกค้าที่เช่า VPS ไปให้บริการโฮสติ้งต่อ แล้วลูกค้าโฮสติ้ง เกิดกระทำความผิดขึ้นมา เขาจะเอาผิดที่ใครครับ

เพราะตัวผู้ให้บริการ VPS ก็มี Log อยู่นิดเดียว เก็บหลักฐานสูงสุดก็ได้แค่ บัตรประชาชน ของผู้เช่า VPS

แล้วหากผู้เช่า VPS เอาไปเปิดโฮสติ้ง แล้วไม่เก็บ Log ใครจะเป็นคนรับผิดชอบละเนี่ย… :kiddy:

กฎหมายใหม่ ผู้ให้บริการเป็นผู้ต้องหาร่วมเลยครับ ไม่ต้องดู log ก็ได้

ไม่ทราบว่ามาตราไหนในร่าง พรบ.นี้ครับ ที่ระบุแบบนั้น

ซัดกันไปเป็นทอดๆครับ ว่าใครจะหาหลักฐานที่จะหาตัวคนผิดได้
หน้าที่ของใครต้องมี log ในแต่ละลำดับครับ
เพราะถ้าบอกว่า เจ้าของเครื่องผิด จากการแบ่ง VPS แล้วลูกค้า VPS เอาไปทำโฮส ลูกค้าโฮสไปกระทำผิด
อย่างนี้ เจ้าของตู้ เจ้าของ IDC ก็เข้าข่ายด้วยซิ


จากข่าวที่ออกแบบเงียบๆ (เจอเพราะมีคนแปะให้อ่าน) บอกว่า 8 องค์กร ได้แก่

สพธอ., มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย , สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ, สมาคมไทยแลนด์พีเคไอ, สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย, กูเกิล เอเชีย แปซิฟิค, อีเบย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอจีและสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย

ไม่รู้ว่า สมาคมไทยแลนด์พีเคไอ, Google, eBay เกี่ยวยังไงกับ MOU นี้ (สมาคม ISP โดยลากให้รอดไปหนึ่ง แต่ hosting และ IDC ดิ้นรนกันเองนะ)

ส่วน สมาคมเว็บฯ ไม่ได้เอี่ยวกับ MOU นี้

หาตัวร่างล่าสุดไม่เจอนะครับ เจอแต่ตัวนี้

มาตรา ๒๗ ผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลระบบ ผู้ใดจงใจหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตาม
มาตรา ๒๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางเช่นเดียวกับผู้กระทำาความผิดตามมาตรา ๒๔

ซึ่งที่เีคยเห็นร่างนั้น จะระบุว่า “เมื่อผู้ให้บริการรู้ หรือควรได้รู้” ไม่รู้เหมือนกันว่าที่ผมไปเจอ (เมื่อกี้) เป็นตัวล่าสุดหรือไม่นะครับ หรือจำสับกับมาตราอื่น

งานนี้ต้องรบกวนคุณหมวยแล้ว พอจะมีร่างที่ล่าสุดให้อ่านหน่อยไหมครับ

ร่างที่มี ก็ล่าสุดแล้วอะค่ะ ที่เคยเอามาแจกๆ น่ะค่ะ

ถึงตรงนี้คงลองจับตาแก๊งค์นี้ดูสักพักมั้ยครับ ว่าในทางปฏิบัติจริงเขายังไงกันบ้าง เพราะถ้าเรื่องส่งต่อมาให้ ISP ก็น่าจะมาต่อที่ IDC และมาที่พวกเรา เป็นทอดๆ เห็นสมควรก็ร่วมมือกันไป และถ้าดูแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ก็หาทางขยับขยายต่อไป หรือเห็นอย่างไรกันครับ

ยังไงก็คงต้องจับตากันต่อไปแหละครับ
เขามีกันแต่สมาคม ชมรมเราจะไป งัดอะไรกับเขาได้

ถึงแล้วเวลาแล้วหรือยัง ที่จะตั้งสมาคมผู้ประกอบการโฮส ผมว่าน่าทำนะครับ ทุกท่านคงยินดีชำระค่าสมาชิก

ไม่ค่อยแน่ใจนะคะ การเป็นสมาคมจะช่วยอะไรได้ไหม เพราะจะว่าไป พวกเราก็รวมตัวกันหลวมมาก

หากว่า ISP มองว่า ต้อง censor เพราะไป sign MOU ไว้ แล้วเขาทำเองเลยโดยไม่ผ่าน IDC หรือ hosting ละคะ?

ให้ผมเดาแต่ไม่ใช่เดาส่งเดช… การที่ไม่เอา idc เว็บมาสเตอร์ ผู้ให้บริการโฮสไปเอี่ยวหรือเรียกง่ายๆว่าเอาไปใช้งาน ก็เพราะว่าได้ isp และ กูเกิ้ลไว้ในกำมือแล้ว … สองอันหลักนี้ที่เป็นตัวจริงในการเข้าถึงคอนเทนส์ต่างๆในเว็บ… ก็เขาคงต้องการแค่ปิดประตูน้ำ ไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการไม่ทิ้งขยะลงน้ำหรือรณรงค์รักษาน้ำให้ดีเสมอ (ชมรมเว็บมาสเตอร์สามารถร่วมกันกำหนดทิศทางเว็บสีขาวได้โดยตรง เพราะใกล้ชิดกับผู้ทำเว็บมากกว่าหน่วยงานไหนๆ)

ดังนั้นการได้ispและกูเกิ้ลเอาไว้ใช้งานคือคำตอบสุดท้าย จะดูจากปัจจุบันก็ได้ว่ากระทรวงอายทีซิและรัฐใช้กลไกทางกฏหมายที่มีสั่งการให้ispปิดเว็บบล๊อคเว็บซึ่งเป็นคำสั่งตรงได้ผลเสมอ และรัฐเองก็รู้ว่ามีคนใช้เว็บบางส่วนหลุดรอดการบล๊อคได้โดยใช้เครื่องมือของกูเกิ้ล เช่นการแปลภาษาเป็นต้น รัฐจึงต้องเอาตรงนี้มาอยู่ในมือด้วย ทีนี้ทางออกสำหรับนักท่องเน็ตตาดำๆรู้น้อยก็ไม่มีโอกาสได้เสพสื่อเป็นพิษภัยกับตนหรือรัฐ จะว่าดีก็ดี จะว่าร้ายก็มีอยู่ เหมือนมีดเล่มเดียวมีทั้งฝั่งที่เป็นสันและคม แยกกันไม่ออก

ชาวโฮสติ้งค์ทั้งหลายถ้ารวมกันเป็นชมรมสมาคมได้ จะดีกว่าไม่รวมกัน เพราะการไม่รวมกันนี่แหล่ะ โดเมนเนมหน้าร้อยบาทจึงถอยร่นลงมาสองร้อยเจ็ดสิบบาท เมื่อแข่งกันถูกแข่งกันอด จะมีรายได้เหลือน้อยในการพัฒนาบริการให้หลากหลายและดียิ่งๆขึ้นต่อไป

ผมขอมองประเด็น censorship กับ ความรับผิดทางกฎหมายของคนทำธุรกิจโฮสต์ติ้ง แยกออกจากกันครับ

เรื่องแรกเป็นเรื่องระดับชาติที่เราเป็นหนึ่งในส่วนร่วมเล็กๆ มีผลกับเรา ในฐานะผู้ให้บริการ นิดหน่อย

เรื่องหลังเป็นเรื่องเล็กลงมาหน่อย แต่มีผลกระทบกับพวกเรา ในฐานะผู้ให้บริการ มากๆ

เราจะยกเรื่องไหนขึ้นมาเป็นวาระสำคัญของพวกเราดี หรืออย่างไรครับ ลองถกกัน :slight_smile: