เรื่องเข้าใจผิดที่ผมอึดอัดมานาน

ผมรู้สึกอึดอัดมานานแล้วครับกับเรื่องบางเรื่อง ที่เห็นความเข้าใจที่ผิดๆ แล้วก็บอกต่อๆ กันไปอย่างผิดๆ

ออกตัวก่อนนะครับ ที่ออกมาเล่าให้ฟังเนี่ย เพื่อเป็นความรู้นะครับ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับน้องๆ ที่เพิ่งเข้าวงการนี้

เรื่องความเร็ว 1Mbps, 10Mbps, 100Mbps, 1000Mbps สมมติว่าเรามีข้อมูลขนาด 200 Kbytes ส่งผ่านสายและความเร็ว 1 Mbps กับ 1000Mbps ถามว่าใครเร็วกว่ากัน
เชื่อได้เลยว่าทุกคนต้องตอบ 1000Mbps อย่างแน่นอน แต่คำตอบที่ถูกต้องก็คือ เท่ากันครับ เพราะอะไรหรือครับ…
แสง และ สัญญาณไฟฟ้า เดินทางด้วยความเร็วที่เท่ากันก็คือ 186,000 ไมล์ต่อวินาที ดังนั้นทั้งสองความเร็ว ข้อมูลจึงไปถึงปลายทางในเวลาที่พร้อมๆกัน
แล้วถามต่อว่าทำไมเขาถึงพัฒนาจาก 10 เป็น 100 ในเมื่อมันเร็วเท่ากัน …
คำตอบก็คือ สิ่งที่เขาพัฒนาคือเรื่องของ Bandwidth ไม่ใช่เรื่องของความเร็ว ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ก็เช่น
สมัยก่อนถนนในกรุงเทพใช้กันอยู่ 2 เลน ไปกลับ รถวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 100 ก.ม./ช.ม.
ตอนนี้ถนนเพิ่มเป็น 8 เลน รถยังวิ่งที่ความเร็วสูงสุดที่ 100 ก.ม./ช.ม. เท่าเดิม
แต่สิ่งที่ได้ขึ้นมาก็คือ ภายในช่วงเวลาหนึ่งๆ การขนถ่ายรถจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า
(ความเร็วรถเป็นตัวเลขเปรียบเทียบนะครับ เดี๋ยวโดนแย้งอีก :lol: )

ดังนั้นในระบบโฮสของพวกเราก็เหมือนกัน ทุกคนที่ทำโฮสก็ทราบๆ ดีอยู่แล้ว ว่า Data Transfer
ส่วนใหญ่ไม่มีใครถึง 5 Mbps ด้วยซ้ำ โดยเฉลี่ย ดังนั้นถึงจะเปลี่ยนไปใช้เป็น 100 หรือ 1000 ก็จะไม่เป็นผลแตกต่าง
ยกเว้นโฮสบางที่ ที่ให้เอาไว้ดาวน์โหลด อาจพุ่งสูงขึ้นเป็น 30-40 Mbps แต่อัตราการส่งผ่าน
ข้อมูลไม่น่าจะสูงขึ้นมากกว่านี้ได้อีกแล้ว เพราะว่าถ้าสูงมากกว่านี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ คงนึกออกนะครับ ว่าฮาร์ดดิสก์ จะมีสภาพอย่างไร
ทดลองดูเองก็ได้ครับ ในระบบแลนที่ทำงาน ลองโอนไฟล์งานขนาดสัก 1 Gbytes ต่อเนื่องกัน สัก 100 ไฟล์ แล้วใช้ Task Manager ดู
จะเห็นว่าความเร็วลดลงเรื่อยๆ และถ้าแลนการ์ดห่วยๆ อาจจะน็อคในที่สุด ส่วนฮาร์ดดิสก์เอง ก็จะทำงานไม่หยุดเช่นกัน

เมื่อเราเข้าใจกันผิดๆ แบบนี้จึงทำให้ IDC หลายๆ ที่ใช้เหตุนี้มาล่อใจเรา โดยให้เชื่อต่อที่ 1000 Mbps แล้วคิดราคาพิเศษ (แพงเป็นพิเศษ) ทำให้เราจ่ายเงินส่วนเกินโดยไม่รู้ตัว

อีกอย่าง หากวันซวยคืนร้าย (เรียกวันดีคืนดีไม่ได้) เครื่องเราเกิดติดไวรัส และมันแพร่กระจายจากเครื่องเรา
ไปยังเครื่องอื่นๆ โดยส่งเมล์ออกไป ลองคิดดูสิครับ ว่า 10 Mbps กับ 1000 Mbps อันไหนจะร้ายแรงกว่ากัน

และลองคิดให้ลึกๆ อีกนิด ว่า IDC มี Bandwidth 1 Gbps เอามาให้พวกเราเครื่องละ 1 Gbps เหมือนกัน ถ้าเกิดมีเครื่อง 100 เครื่อง
ใช้ Bandwidth คนละ 300 Mbps รวมแล้วกลายเป็น 30,000 Mbps มันจะเป็นอย่างไร

สรุปก็คือ อย่าไปกังวลเลยครับ เรื่อง Bandwidth มาก - น้อย เอาเท่าที่เราเพียงพอแก่การใช้งาน ก็พอแล้ว ขอให้มองถึง การออกแบบระบบโดยรวม
ว่าดีแค่ไหน มากกว่า เพราะถ้าระบบดี เครื่องของเราก็จะสเถียรไปด้วย เราจะได้ห่วงแต่ระบบของเราเอง ไม่ต้องไปกังวลเรื่องสัญญาณให้ปวดหัว

น้องๆ ที่เพิ่งก้าวเข้ามาสู่วงการนี้ ก็อย่าไปบ้าเห่อเรื่อง Gbps เลยครับ มันไม่เห็นประโยชน์เท่าไหร่ เราจะเสียเงินไปโดยใช้เหตุครับ

เดี๋ยวจะหาว่าผมมาบอกให้ใช้เล็กๆ แล้วเอาของตัวเองมาทำใหญ่ๆ

ระบบของผมมี Switch 100Mbps Cisco อยู่ และเชื่อมเข้ากับระบบที่ความเร็ว 10 Mbps
ทุกเครื่องที่อยู่ใน Switch ตัวนี้จะใช้ 10 Mbps ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Mail, Web, DNS, ยกเว้น IDS, Antivirus, FTP Server Backup เท่านั้น ที่จะใช้เป็น 100 Mbps

ผมก็วิ่งนิ่งๆ มาตลอด ไม่เคยมีปัญหาเรื่อง Bandwidth ไม่พอเลย แถมประหยัดเงินไปได้มากๆ กับค่า Bandwidth ครับ

ลองอ่าน และหาความรู้เพิ่มเติมดูต่อนะครับ แล้วคุณอาจจะมีวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายลงอีกเพียบเลยครับ

ขอบคุณคุณ pilot มากเลยครับที่อธิบายละเอียดมากเลยครับเป็นความรู้สำหรับมือใหม่เป็นอย่างดีเลยครับ
ขอบคุณมากครับ

วันนี้มีโอกาศไปคุยกะคนในห้อง cslox มาครับ

เค้าบอกว่า

ปล่อย upload ที่ 100 M จริงๆ (หมายถึงคนทั่วไปมาดูดเว็บไซต์ไปดูเรียกว่า upload)
แต่ปล่อย download แค่ 2M เท่านั้นครับ

ขอถามนิดหน่อยครับ

สายเส้นนึงมัน 100M ถ้าเอามาเข้า Switch ยิ่ง port เยอะ
โอกาศที่ Bandwidth ไม่พอก็มากขึ้นใชรึเปล่าครับ
แล้วสาย 100M ควรจะใช้ Switch แค่กี่ port ดีครับ …

เป็นข้อเขียนที่ดีมากครับ :angel:

เรื่องนี้เห็นด้วยครับ เพราะว่าผมลองทำดูแล้ว 1 web มีสาย lan 2 เส้น ปรากฏว่ามันวิ่งได้ดีขึ้นกว่าเดิม ลดปัญหาในการ upload / download ได้ดีครับ ทั้ง 2 เส้นก็ใช้ 100 M

เป็นข้อเขียนที่ดีและเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ…
เพราะมีคนถามลักษณะนี้เข้ามาพอสมควรเหมือนกัน
ก็ตอบไป ยกตัวอย่างไปแต่ก็ยังโดนแย้งกลับมา
ก็ต้องนั่งอธิบายใหม่อีก… แต่ไม่เป็นไรครับ
ถ้าถามแล้วมาอุดหนุนกันฮ่ะๆๆ

ตู้ผมจะใช้ลักษณะแยกกันออกไป… ตอนนี้มีเว็บที่ทำงานหนักๆ
ก็ BW 5-10Mbps อยู่ ๒ เว็บเท่านั้นเอง

ก็เลยใช้ Switch แยกกันออกไปเลย ๒ ตัว… พวกที่ใช้ BW น้อยๆ
ก็อยู่ Switch 1 แชร์เครื่องได้เยอะหน่อย

พวกทำงานหนักก็จับไปยัดไว้ Switch 2 แล้วลดจำนวนเครื่องของตัวนี้ลง
ตามสัดส่วนการทำงาน

จัดไฟ จัดเครื่องให้ดี วางเว้นระยะกันพอสมควร เพื่อไม่ให้ความร้อน
สะสมมากจนเกินไป…

และอื่นๆ … มือใหม่ก็ลองคิด พิจารณาดูครับ อย่ามองที่ราคาเป็นหลัก

โชคดีและขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ มาแชร์กันได้นะเต็มที่

ถ้าจำเป็นต้องใช้ Switch ที่มีพอร์ทเยอะๆ ก็ให้เลือกตัวที่มีขนาด Buffer ใหญ่หน่อยครับ
ซึ่งขนาดของ Buffer ส่วนใหญ่จะไม่มีโชว์ตามแคตตาล็อก ต้องเข้าไปดูที่ Website ครับ
ยิ่ง Buffer มาก การจัดการข้อมูลภายในตัว Switch ก็จะดีขึ้นครับ

นี่แหละครับที่ทำให้ Switch 24 Port บางยี่ห้อราคาแค่ 2000 กว่าบาท แต่บางยี่ห้อหลายหมื่นบาท

ผมคิดว่าจะไม่มีใครเข้าใจกันซะแล้วเรื่องที่ผมเขียน เพราะเมื่อก่อนนี้เคยไปตอบกระทู้ที่ Pantip มา
ก็มีแต่โดนด่ามาเรื่อย จนไม่อยากเข้าไปตอบแล้วครับ :frowning:
เด็กๆ สมัยนี้ก็คิดแบบเด็กๆ จริงๆ ไม่ค่อยจะฟังผู้ใหญ่เอาเสียเลย…เอ เราแก่ขนาดนั้นแล้วหรือ… <_<

น้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆ ที่เริ่มสนใจกับการทำเว็บโฮสติ้ง ก็ลองอ่านๆ ดูนะครับ แล้วหาทฤษฎีเพิ่มเติม เพื่อยืนยันความถูกต้อง จะได้ทำงานอย่างรอบคอบครับ

ถ้าเขียนสำนวนชาว pantip ก็ต้องบอกว่า มาโหวตให้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับหระทู้ดีๆครับ

ขอคิดเห็นเพิ่มเติม … ก่อนจะวางเครื่องโปรดสอบภามความสามารถของ switch ที่คุณจะ uplink เรื่อยไปจนถึง Core link ของ isp ที่คุณวาง จะได้ประโยชน์ต่อการวางและจัดอุปกรณ์ พยายามทำความเข้าใจถึงเรื่องของ Server โดยเฉพาะ เกี่ยวกับ Driver ของเครื่องให้ถ่องแท้

เพราะหลาย ๆ ครั้ง บางคนนั่ง conpile server UNIX อย่างดี แต่ลืมเช็คเรื่องของ driver compatible ก่อนจะ compile kernel ใหม่ … พยายามเช็คด้วยความว่า M/B ของคุณ ถูกดึงประสิทธิภาพมาใช้งานอย่างดีเยี่ยมรึยัง

ระบบ windows จะมีพวก Driver chipset ของ m/b … อย่าลืมลงครับ อย่าไปอัพเดทจาก windows update แต่จงไปที่เว็บไซต์ของผู้ผลิต แล้วโหลดมาซะ … เครื่องคุณจะเร็วขึ้นแน่นอน

พยายามศึกษาเกี่ยวกับการ Performance Tuning ในส่วนของ Registry (windows) หรือ Kernel (UNIX) และรวมถึงลักษณะพื้นฐานของ Overclocking เช่นการดึงประสิทธิ์ภาพของ RAM และเพิ่ม Bandwidth I/O … การเพิ่ม Buffer …

สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งผ่านข้อมูลออกจากเครื่องวิ่งออกไปที่สายได้รวดเร็วขึ้นครับ … ผมได้ลองภาคปฏิบัติมานับครั้งไม่ถ้วน และขอยืนยัน นอนยัน ว่า … การทำดังกล่าว ส่งผลให้เครื่องของคุณ ใช้งานคุ้มค่าเงินอย่างสุดยอดครับ

:angel: ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ โอกาสหน้าหามาอีกเยอะๆๆน่ะครับ :lol:

ขอบคุณคุณ pilot มากเลยครับที่อธิบายละเอียดมากเลยครับเป็นความรู้สำหรับมือใหม่เป็นอย่างดีเลยครับ
ขอบคุณมากครับ

พี่ตั๊ม BGN ออกแบบของพี่ให้เร็วที่สุดไปเลยครับ :lol: :lol:

ผมมีคำถามครับอยากรู้

เรื่องความเร็ว 1Mbps, 10Mbps, 100Mbps, 1000Mbps สมมติว่าเรามีข้อมูลขนาด 200 Kbytes ส่งผ่านสายและความเร็ว 1 Mbps กับ 1000Mbps ถามว่าใครเร็วกว่ากัน
เชื่อได้เลยว่าทุกคนต้องตอบ 1000Mbps อย่างแน่นอน แต่คำตอบที่ถูกต้องก็คือ เท่ากันครับ

กับ

อีกอย่าง หากวันซวยคืนร้าย (เรียกวันดีคืนดีไม่ได้) เครื่องเราเกิดติดไวรัส และมันแพร่กระจายจากเครื่องเรา
ไปยังเครื่องอื่นๆ โดยส่งเมล์ออกไป ลองคิดดูสิครับ ว่า 10 Mbps กับ 1000 Mbps อันไหนจะร้ายแรงกว่ากัน

ถ้าในเมื่อว่าสายขนาดไหนก็ส่งได้เร็วเท่ากันจริงอย่างที่ quote แรกบอก แล้วทำไม ไวรัส จาก quote หลัง ถึงจะส่งได้เร็วมากกว่า ผมอยากรู้ เหตุผล

ถ้าในเมื่อว่าสายขนาดไหนก็ส่งได้เร็วเท่ากันจริงอย่างที่ quote แรกบอก แล้วทำไม ไวรัส จาก quote หลัง ถึงจะส่งได้เร็วมากกว่า ผมอยากรู้ เหตุผล

ความเร็วเท่ากัน แต่จำนวนต่างกัน ผมเข้าใจถูกต้องไหม

ดังนั้นไวรัส ไม่ได้ส่งได้เร็วกว่า แต่ส่งได้มากกว่า

:smiley:

ถ้าใช้สาย 10 Mbps แล้วเกิดโดนไวรัส มันจะจำกัดการส่งออกอยู่ที่ 10 Mbps
แต่ถ้าสาย 100 หรือ 1000 หากติดไวรัส มันจะสามารถส่งออกได้ในปริมาณที่มากกว่า เมื่อเทียบเวลาที่เท่ากันน่ะครัย

ขอบคุณสำหรับ กระทู้ดี ๆ ที่น่าประทับใจ :lol: :lol:

วันนี้ก็เป็นอีก 1 วันดีๆ ที่ผมได้ความรู้

จากบ้านหลังนี้ ขอบคุณครับ

เช่นกันครับ :slight_smile:

เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณครับ

เยี่ยม ครับ ดีมาก