เรื่องเข้าใจผิดที่ผมอึดอัดมานาน

ขออนุญาติครับ… ไม่ใช่เป็นเรื่องของขนาด แต่เป็นเรื่องของความเร็วแน่นอนครับ

ความเร็วของแสง อยู่ที่ประมาณ 186,000 ไมล์/วินาที ข้อนี้แน่นอนอยู่แล้ว
สาย 10 mb/100 mb/100 mb ความเร็วเท่ากันหรือไม่ ตำตอบคือ “ความเร็วของข้อมูลในสายสัญญาณเท่ากัน”
แต่ “ปริมาณข้อมูลที่ได้ไม่เท่ากัน” ครับ

คำว่า 10mb 100 mb หรือ 1000 mb นั้น เป็นการแสดงค่า “ปริมาณข้อมูล” สูงสุด ซึ่งในที่นี้หมายถึง 10 mb/sec, 100 mb/sec, 1,000 mb/sec ตามลำดับ ในสายหนึ่งเส้น รับ-ส่งข้อมูลได้ปริมาณข้อมูลไม่เท่ากันได้ยังไง ในเมื่อความเร็วของข้อมูลที่วิ่งอยู่ในสายเท่ากัน???
คำตอบของวิธีนี้ก็คือ “ความเร็วอุปกรณ์ รับ-ส่ง” ไงครับ

เพราะว่าช่องทางรับ-ส่งต่างก็มีกันแค่คนละเลน(หรือทีละบิต) หากแต่เป็นการเพิ่ม “ความเร็ว” ในการ “ปล่อย” หรือ รับ-ส่ง ข้อมูล
ความเร็วที่ต่างกันนี้ อาศัยความแตกต่างด้านความเร็วของอุปกรณ์ประเภท “สวิทชิ่ง” เป็นหลักครับ

เปรียบเทียบ ก็คงจะคล้ายกับ “ประตู” มากกว่า ว่าประตูรุ่นไหน แบบไหน เปิด/ปิด ได้เร็วกว่ากัน

ยกตัวอย่างรถกับถนน ก็ขอยกเป็นด่านเก็บเงินทางด่วน ที่มีแค่ “ช่องจ่ายเงินช่องเดียวและถนนเลนเดียว” ก่อนนะครับ
ทำยังไงถึงจะมี “ปริมาณ” รถเข้าด่านเก็บเงินนี้มากๆ หากความเร็วรถบนทางด่วนก็พอๆกัน เร็วบ้างช้าบ้างติดบ้าง
คำตอบก็คือ “เพิ่มความเร็ว” ตรงด่านเก็บเงินที่หน้าด่าน “ปริมาณรถ/วัน” ก็จะมากขึ้น ทั้งๆที่ความของรถเร็วไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าหากต้องการปริมาณรถ(ข้อมูล) มากกว่านี้ อาจจะต้องเปลี่ยนจากใช้คนเก็บ(100 mb) ไปเป็นด่านอัตโนมัติ(1,000 mb) หรือใช้วิธีแบบข้างบนก็ได้โดยเพิ่มเพิ่มเป็น 2 ช่อง(ต่อเพิ่มเป็น 2 เส้น/port เป็น 200 mb) ก็จะได้ปริมาณรถ(ข้อมูล) มากขึ้นเหมือนกันครับ แต่เป็นการเพิ่มช่องเก็บเงิน(เพิ่ม port) สามารถเพิ่มปริมาณรถ(ข้อมูล)โดยรวมทั้งหมดได้ แต่ไม่ใช่วิธีเพิ่มปริมาณรถ(ข้อมูล)เฉพาะในช่องเก็บเงิน(เส้น/port)เดิมแต่อย่างใด เป็นคนละกรณีกันครับ

แต่การที่ IDC สามารถปล่อยได้ถึง 10 กลับถูกตั้งหน่วงเอาไว้ ให้ปล่อยเป็นจังหวะ 2 หรือ 3(หมายถึงว่า ในความเร็วเท่าเดิม อาจจะทุกๆ 10 จังหวะ กลับหน่วงรับ-ส่งข้อมูลไม่กี่จังหวะ เช่น 10 จังหวะ กลับรับ-ส่งแค่ 1 จังหวะ) อันนี้ต้องถามคนปล่อยแล้วครับ ว่าต้องเสียอีกเท่าไหร่ถึงจะยอมปล่อยเพิ่ม… :slight_smile:

ความเร็วของสวิทชิ่ง มีผลต่อปริมาณได้ขนาดนี้เชียวหรือ ?
ข้อมูลความเร็วเกือบเท่าแสง สวิทชิ่งส่งข้อมูลที ยังไม่ทันทำอะไรก็ถึงปลายทางแล้วครับ ไม่ต้องห่วงว่า ข้อมูลจะ “ติด” ค้างอยู่ในสาย สวิทชิ่งที่เร็วที่สุด ก็คงยังไม่เร็วใกล้แสงครับ ความเร็วห่างกัน…เป็นร้อยๆเท่าได้มังครับ ความเร็วสวิทยังเพิ่มได้อีกเยอะ โดยไม่ต้องสนใจปริมาณข้อมูลที่วิ่งอยู่ในสาย กว่าสวิทจะรับ-ส่งข้อมูลเร็วขึ้น จากที่วิ่งไปเป็นจังหวะจนติดเต็มพรืดไม่มีเว้นช่อง/จังหวะว่าง ในสายส่งข้อมูล ก็คงอีกนานแหละครับ

จะเปรียบเทียบเป็นอีกแบบก็ได้ครับ ชัดเจนสุดๆ…

เปรียบเหมือนเลือดที่สูบฉีดไปทั่วร่างมากขึ้น ไม่ได้เป็นเพราะเรามีเส้นเลือดเพิ่มขึ้น หากแต่เป็นเพราะหัวใจเราเต้นเร็วขึ้น ในยามที่เสื้อผ้าเธอน้อยชิ้นลง…(โอววว ซาร่า…)

เพิ่มเติมให้อีกนิดนะครับ…

สรุปก็คือ การรับ-ส่ง ข้อมูลขนาดหนึ่งๆ

ใช้ความเร็วในสายสัญญาณ เท่าๆกัน แต่เวลาที่ใช้รับ-ส่งข้อมูล “อาจจะ” ไม่เท่ากัน

เช่นตัวอย่างแบบเลขคณิตคิดง่ายๆ ครับ

ข้อมูล 10,000 mb ส่งข้อมูลในสายด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสงพอๆกัน
แต่ hub 10 mb/sec = 10000/10 = 1000 sec.
hub 1000 mb/sec

ผมอยากทราบว่า แล้วที่ Data Transfer เท่าไร จึงจะทำให้ HDD เริ่มทำงานผิดปกติครับ(HDD ทำงานผิดปกติ คือ Disk Overload ทำให้ การ DL ต่ำลงเรื่อยๆ ใช่ป่าวครับ)
ขอบคุณครับ

มาเก็บความรู้ครับ

ที่อัตราการ DL ต่ำลงเรื่อยๆ ไม่น่าจะมาจาก HDD นะ น่าจะเป็นที่ switch lan card หรือสายระหว่างทางมากกว่า เพราะแค่ dl ไม่กี่เมก-10เมกต่อวินี่ hdd วิ่งสบายๆอยู่แล้วนา

goooood info! thanks.

แหม่ บทความดีดี ขุดกลับมาอ่านอีก ก็ได้ความรู้มากกว่าเดิมทุกที ถึงอาจจะนาน
คงเหมือนหนังสือเก่าๆ ขุดขึ้นมา ขัง จะตาย สุดยอดขอบคุณครับ

แล้วถ้าเป็นเครื่อง sever มี user เยอะๆ แล้วมี DL รวมอยู่ที่หลายสิบเมกอ่ะครับ

ถ้าอย่างนั้นมันก็หนักครับ แต่ hdd มันก็ทำงานไม่เกินไปอยู่แล้ว มันก็ทำเท่าที่มันจะทำได้ ถ้างานเยอะก็ต่อคิวรอกันน่ะครับ คนใช้ก็เลยว่ามันช้าลง เพราะต้องแชร์ timeslot กันหลายคน

hdd ถ้าไฟนิ่งๆ ไม่พังง่ายๆครับ

ถ้าเวบธรรมดาๆหน้าละไม่ถึง 100k raq ซัก 100คน นี่สบายๆ (sata)

ถ้าคุณใช้ Traffic ที่เฉลี่ย 3-4 Mbps อยู่แล้ว ตลอดเวลา ถึงคุณจะใช้ 10, 100, 1000 ก็ไม่ต่างกันหรอกครับ

แต่ถ้าคุณใช้เฉลี่ย 30-50 Mbps แล้วคุณไปใช้ 10 Mbps ละก็อันนี้ช้าแน่นอนเมื่อเทียบกับ 100 Mbps

ทีนี้ถ้าเทียบกับแลนในบ้าน คุณ copy ไฟล์งาน 100 MBytes ด้วยความเร็ว 10 Mbps กับ 1000 Mbps อันนี้ก็ต่างกันแน่นอน

ทีนี้ถ้าเทียบกับโฮสติ้ง ที่เว็บแต่ละหน้ามีขนาดเป็น KBytes เท่านั้น และมีคนเข้าโหลดเฉลี่ย 3-4 Mbps อันนี้จะไม่เห็นผลครับ

ถ้าคุณเป็นเว็บที่ให้ดาวน์โหลด ที่มีคนเข้ามากๆ เฉลี่ย 40-50 Mbps อันนี้ 10 กับ 100 มีผลแน่นอน

อันนี้เทียบที่ Infrastructure ที่ปกตินะครับ ส่วนเรื่องโดน cap โดย IDC อันนี้ว่ากันอีกเรื่องนึง

มาช่วยดันกระทู้นี้อีกคนครับ กับกระทู้บทความดี ๆ อย่างนี้

ขอบคุณมากๆ ครับ ความรู้ดีดี ยกนิ้วให้ เยี่ยมครับ

:slight_smile:

อยู่ที่ความต้องการใช้งาน และ ลักษณะงานที่ใช้ประกอบกันครับ

ขอบคุณครับ มีคนมายืนยันฟันธงแบบนี้ ต่อไปผมก็สามารถเอาไปชี้แจงกับพวกรุ่นน้องได้แล้ว
ไม่ค่อยแน่ใจมานานเหมือนกัน จนเพิ่งมาสมัครเว็บนี้วันนี้ พอได้อ่านบทความแล้วดีมากเลยครับ

ขอบคุณ ครับ
เด็กหัดทำ
ได้ความรู้ใหม่

เข้ามาเพิ่มรอยหยักให้กับสมองน้อยๆคร๊าบบบ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

ลองอ่านตามที่คุณ cMan อธิบายมาแล้ว
ผมอยากลองยกตัวอย่างที่ผมเข้าใจตอนนี้ดู

จากที่คุณ cMan อธิบายไปนะครับว่า

ในความเร็วเท่าเดิม อาจจะทุกๆ 10 จังหวะ กลับหน่วงรับ-ส่งข้อมูลไม่กี่จังหวะ เช่น 10 จังหวะ กลับรับ-ส่งแค่ 1 จังหวะ

ผมเลยเอามาจำลองเป็น งูเลื้อยผ่านตะปู ดูครับ

เราจะลองมาเปรียบเทียบความเร็วกันดูในสายสัญญาณสองสาย
ผมขอสมมุติในกรณีนี้ว่า
-เวลาในการทดสอบ 1 sec (1 วินาที สมมุติเป็นระยะทาง 1 เมตร)
-เราจะส่งข้อมูล 5 bit (สมมุติว่าเป็นงูมีเลือด

ขอบคุณครับ อ่านแล้วได้ความรู้มากมาย