การเก็บภาษี Hosting

สวัดดีครับ

เท่าที่ทราบ
ภาษีที่จะมีเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการก็จะมี ภาษี หัก ณ ที่จ่ายน่ะครับ 3%
แล้วนำส่งสรรพากรในเดือนถัดไป แบบฟอร์มไปหาเอาที่เวบสรรพากรเลยครับ

แต่ทางคุณต้องเป็นนิติบุคคลด้วย ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาก็ไม่ต้องครับ

เพิ่มเติม

อ่านของคุณ SiamVPS เลยนึกขึ้นเพิ่มได้
จะมี VAT 7% อีก 1 อย่างครับ

แต่ถ้ายอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน VAT ก็ได้ครับ
สบายไปหลายอย่าง ถ้าลูกค้าไม่ต้องการ -_-’

แล้วอย่างที่คุณ SiamVPS ว่ามาครับ ไปปรึกษาพวกรับทำบัญชีก็ดีครับ

ต้องคิดว่าการทำ Hosting คือการทำธุรกิจ ครับไม่ได้มีอะไรแปลกพิศดาร ควรจะหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจมาอ่านมาก ๆ หลายเล่ม พวกบริหารธุรกิจด้วยครับ… ผมก็พยายามอ่าน…และค้นคว้ามาโดยตลอด…จำได้มั่ง…ไม่ได้มั่ง เลยตอบไม่ถูก

จึงอยากแนะนำให้ศึกษา…อย่างต่อเนื่อง
จะให้ดีควรจะมีที่ปรึกษาด้านการเงิน…ผมเองก็เรียนรู้จาก นักบัญชีของบริษัทอีกทาง…นัดเจอกันแล้วก็ซัก-ถาม…ขนาดเริ่มธุรกิจก็ชั่วโมงเศษ
นักบัญชี…ซักผมก่อนว่า
-ทำธุรกิจ เป็นแบบไหน? จดทะเบียนนิติบุคคล? แบบไหน? หรือเป็นบุคคลธรรมดา?
-ลูกค้าเป็นใคร? บุคคลธรรมดา นิติบุคคล?..
-ค่าใช้จ่าย…รายรับ…จด VAT ไหม?
ทั้งหมดนี้มีวิธีการทำ TAX แบบฟอร์มที่ต่างกันนะ…
เลยจะมาบอกว่าเรื่องนี้มันละเอียดอ่อน…ครับ หาตำราอ่าน…ครับ

ใน THT ก็มีถกแถลงกันเรื่องนี้บ้างเหมือนกัน…ลองค้นหากระทู้ที่ pinned ไว้ดูครับ

…รอท่านที่เก่ง ๆ มาตอบละกัน…อิอิ

[quote author=chalet16 link=topic=6363.msg58576#msg58576 date=1178503584]
สวัดดีครับ

edit : อ่านคำถามผิดครับ

กรณีที่เจ้าของ Host เป็นนิติบุคคล และขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
มีหน้าที่

  • เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของราคาสินค้าและบริการ จากผู้ใช้บริการ
  • หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% กรณีไปใช้บริการผู้อื่นที่มีค่าบริการ 1000 บาทขั้นไป เช่น ค่าบริการตู้ rack ค่าบริการ colo ค่าบริการ Reseller หักได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และต้องส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายนี้ให้กับผู้ที่เราไปใช้บริการด้วย
  • ภายในวันที่ 7 ของเดือนจะต้องนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่ายที่เก็บมาจากการไปใช้บริการผู้อื่น ส่งสรรพกร ยืนแบบ ภงด 3 ( บุคคลธรรมดา ) และ ภงด 53 ( นิติบุคคล ) สามารถยื่นได้ที่สรรพกรพื้นที่ หรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้
  • ภายในวันที่ 15 ของเดือน จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เรียกเก็บจากลูกค้า ให้กับสรรพกร ยืนแบบ ภพ 30 จะยื่นที่สรรพกรพื้นที่ หรือผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้

คำแนะนำ
การส่งภาษีให้สรรพกร ถ้ามีเงินคืน แนะนำให้พันยอด เอาไปใช้หักในเดือนถัดไปนะครับ
อย่าขอคืนเป็นเงินสด เพราะว่าสรรพกรไม่ค่อยอยากจะคืนเงินให้เราสักเท่าไหร่

นี่คือข้อมูลคร่าว ๆ ที่ผมศึกษาก่อนจะจดนิติบุคคล ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกพอสมควร ผิดถูกยังไงต้องขออภัยด้วย

เพิ่มเติมครับ ผู้ที่จะทำบัญชีได้จะต้องเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี ที่ขึ้นทะเบียนแล้วนะครับ
ทางที่ดีควรจ้างบริษัทรับทำบัญชีทำให้จะดีกว่า จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ราคาแล้วแต่เอกสารมากน้อยต่างกันไป
ทางเราแค่รวบรวมเอกสารต่าง ๆ ส่งให้บริษัทฯ เขาจะไปจัดการให้เรียบร้อย

แต่ผมมีปัญหากับสรรพกรอย่างนึงคือ เครื่อง server ที่นำไปวางที่ datacenter ทางสรรพกรไม่ยินยอมให้นับเป็นทรัพย์สินได้
ยกเว้นว่าเราต้องขอจัดตั้ง datacenter ที่เราเช่าอยู่ให้เป็นสำนักงานสาขาของเรา ซึ่งมันคงเป็นไปไม่ได้

ไม่ทราบว่าท่านอื่น ๆ ที่เป็นนิติบุคคล จัดการเรื่องนี้กันอย่างไรครับ

เจ้าหน้าที่บัญชีเขาทำได้ครับ ผมไม่ทราบว่าเขาตบแต่งงบนี้กันอย่างไร… เพราะจ้างบริษัททำบัญชี ดูแลบัญชีทั้งหมดครับ แต่มีช่วงทางทำได้ครับ

ถ้าไม่ให้นับเป็นสินทรัพย์ให้ถือเป็นอะไรล่ะครับ
ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายก็ดีซิครับ

รู้สึกบุคคลธรรมดาก็เสียภาษีด้วยนะครับ ไม่ใช่ไม่เสีย

เค้าเรียกว่าภาษีเงินได้ครับ

แต่ว่า รายได้จะต้องมากกว่า 100000 บาทต่อปี หลังจากหักนู่นนี่แล้วจึงจะเสียครับ
ตอนนี้ก็ขอไปนั่งคิดทำยังไงให้มันถึงก่อน แล้วเรื่องเสียภาษีค่อยคิดจ่ายทีหลังครับ 55555

แนะนำให้ศึกษาหาข้อมูลจากที่นี่ครับ

เว็บของกรมสรรพากร
http://www.rd.go.th/publish/309.0.html

ข้อมูลจากกรมสรรพากรโดยตรง รับรองถูกต้องแน่นอน

ปัจจุบันคุณสามารถเสียภาษี ผ่านระบบออนไลน์ e-Revenue ของกรมสรรพากร ได้ทันทีทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมงครับ

lol

แฮะๆ นึกว่าผมจะอ่านผิดคนเดียว

คุณ chalet16 ถามว่า"การทำ Hosting นี้เราจะต้องเก็บภาษีจากผู้ใช้บริการอย่างไร" น่ะครับ

แต่สงสัยที่คุณ Pantiphost.com บอกว่า
เครื่อง server ที่นำไปวางที่ datacenter ทางสรรพกรไม่ยินยอมให้นับเป็นทรัพย์สินได้
มากกว่าครับ ว่า ทำไม

น่านซิครับ ไม่ใช่ทรัพย์สินของเราแล้วจะเป็นของใคร
ในเมื่อเครื่องเราก็ซื้อ ตอนวางเงินเราก็จ่าย

:blink:

server ซื้อสดหรือเช่าละค่ะ

ถ้าเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนนี่ค่ะ ยังไม่ใช่ทรัพย์สินตัวเอง

โอนเมื่อไหร่ถึงเป็นทรัพย์ตัวเอง

http://www.siamdriver.com/book5/cvlaw11.htm

ยกมาจากเวบด้านบนค่ะ

มาตรา 572

mod ช่วยปักหมุดไว้ให้หน่อยซิครับ

[quote author=sonique link=topic=6363.msg58651#msg58651 date=1178553016]
mod ช่วยปักหมุดไว้ให้หน่อยซิครับ

อ่ะ ถามบัญชีที่บ้านมา (ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ) เห็นบอกว่า ที่สรรพากร ตีว่า server เราที่วางที่ IDC ไม่ถือเป็นทรัพย์สิน เพราะไม่ได้อยู่กับที่ตั้งตามที่เราจดทะเบียน ทำให้ไม่สามารถตรวจเช็คได้ว่า ซื้อมาแล้วยังมีอยู่จริง
ครั้นจะให้นับให้ได้ ก้เลยต้องไปจดทะเบียนให้ IDC เป็นสาขาไงครับ

เออ จดทะเบียน ตู้ที่ IDC เป็นสาขาของบริษัท เนี่ยจะได้ไหมครับ

เป็นทรัพย์สินครับ… เพราะสรรพากรเคยเดินมาทางมาเยี่ยมชมที่ออฟฟิส (อ้างว่าแวะมาเยี่ยม) นั่งคุย…ขอดูรายการบัญชีต่างๆ อาทิ ใบเสนอราคา (ต้องการทราบว่าหาลูกค้ามาจากช่องทางใด) ใบแจ้งหนี้ (ต้องการตรวจสอบว่าได้ทำใบแจ้งหนี้หรือเปล่า) ใบเสร็จ/กำกับภาษี (ดูว่าได้ออกใบเสร็จให้กับลูกค้าหรือเปล่า) และสุดท้่ายใบหัก ณ.ที่จ่าย 3%

มาครั้งแรก…ก็เปิดฉากหา IBM เซอร์ฟเวอร์ก่อนเลยครับ ไหนค่ะ IBM ราคาแสนกว่าบาท ดิฉันไม่เห็นๆแต่โน๊ตบุ๊คเท่านั้น ผมก็ไม่ได้พูดอะไรครับ ผมก็เรียกเจ้าหน้าที่บัญชีให้มาคุยกัน ก็คุยกัน…และหลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็เดินไปสรรพากรอยู่หลายรอบเพื่อเครียร์เอกสาร และหลักฐานต่างๆ อาทิ เครื่องเซอร์ฟเวอร์และ Switch ที่เป็นทรัพย์สินราคาแพง จนสุดท้าย…ก็ถ่ายรูปอุปกรณ์ทั้งหมดจาก site งาน และใบแจ้งหนี้ของ ISP ทั้งหมด พร้อมกับเอกสารใบสัญญาของ ISP ที่เรามี ยื่นไป ก็จบครับ

สรรพากร…ยังไม่ค่อยทราบเรื่องหารมีรายได้ การหารายได้ของวงการนี้เท่าไรครับ แต่เขาก็จะไตร่ถามครับว่า คุณนำเครื่องมาแบ่งพื้นที่ให้เช่า คิดพื้นที่อย่างไร ราคาเท่าไร… แล้วเขาก็รวบรวมข้อมูลไปเคาะรายได้ประเมินกันต่อไปครับ

ทั้งนี้ต้องได้เจ้าหน้าที่ทำบัญชี…ที่ชำนาญการพอสมควรครับ และสามารถชี้แจงๆรายการต่างๆแทนกิจการได้หมด ในปีแรก…มีปัญหามากครับ เพราะว่าเจ้าหน้าที่บัญชีเจ้านั้นไม่มีความชำนญจริงๆ พอจะปิดงบ ทำงบไม่สมเหตุสมผลจนโดนตรวจสอบ จากนั้นก็เลยจ้างบริษัททำบัญชีมืออาชีพทำ และเครียร์ปัญหากับสรรพากรด้วยในของปีก่อน…

ครั้งนั้นเกือบจะล้มละลายเลยครับ เพราะเราทำผิดมาแต่แรก ทั้งรูปแบบและขบวนการจัดการ แต่ได้บัญชีมืออาชีพจัดการ ไม่ถึงปี กิจการหลุดพ้นปัญหาและวิ่งขึ้นไปข้างอย่างมั่นคงไปตามลำดับ

ทุกวันนี้ผมจะทำอะไร ผมต้อง Consult บัญชีตลอดครับ ไม่ว่าจะเปิดทำการตลาด หรือคิดจะลงทุนส่วนใด และประมาณการคืนกำไร ก็ให้บัญชีเป็นผู้จัดเส้นทางให้ สรุปง่ายๆ จ้างมาเป็นเจ้านายเราครับ

หากคิดทำตรงนี้ให้มั่นคงถาวร…จำเป็นอย่างมากต้องมีมือดีๆด้านการเงินและการบัญชี เพราะว่า…จะส่งผลให้เครดิตต่างๆของกิจการ พุ่งขึ้นหรือลดลง

เรื่องเสียภาษีไหม? ต้องเสียแน่นอนครับ ถึงทำในกิจการบุคคลธรรมดาก็ต้องเสีย หากคำนวนแล้วรายได้เกินงบที่ต้องจ่ายภาษีรายได้บุคคลธรรมดา

แม้แต่รับจ้างเซ็ตอัพเครื่อง…จริงๆแล้วก็ต้องเสีย เพราะเป็นรายได้ และรายจ่ายก็ต้องหักภาษี ณ.ที่จ่ายด้วยเช่นกันครับ
หากถามสรรพกรโดยตรง บางทีก็สรุปออกมาไม่ตรงประเด็นเท่าไรครับ คิดว่าต้องเผชิญกับงานจริงก่อน ถึงจะเข้าใจและปรับความเข้าใจได้ครับ

เครื่องที่เราซื้อมาลงไว้ที่ตู้ ก็เป็นทรัพย์สิน และตู้ก็คือทรัพย์สินที่เช่ามาเช่นกัน เพราะมีหลักฐานสัญญาเช่าสามารถนำไปยืนยันว่ามีกรรมสิทธิ์ในการนำทรัพย์สินของเรานำไปไว้ เหมือนการเช่าบ้านเอาไว้จอดรถ แล้วรถที่ซื้อมาก็ไม่ได้อยู่บ้านใหญ่ อาจจะจอดบ้านเช่า บ้านเล็กบ้านน้อย… เหล่านั้นไง

มาอ่านอีกทีคำตอบผมก็น่าจะเข้าประเด็นอยู่บ้าง

เรื่องที่ว่าทรัพย์สินที่ไม่ได้อยู่ที่สำนักงานไม่ถือเป็นสินทรัพย์

  • คงต้องถามสรรพากรว่า หลักนี้ อยู่ในประมวลกฎหมายข้อไหน มีข้อหารือแล้วหรือไม่
  • ไม่ถือเป็นสินทรัพย์แล้วถือเป็นอะไร ในเมื่อเป็นสินทรัพย์ไม่ได้ หักเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนได้เปล่า

เรียนดังนี้ครับ…

กิจการอยู่เขตบางนาครับ สำหรับเจ้าหน้าที่สรรพากรอันนี้ผมไม่ทราบชื่อเพราะให้เจ้าหน้าที่บัญชีดำเนินการให้ทั้งหมดครับ