เงิน 4000 ล้าน แก่เพื่อนบ้าน

Subject: อะไรจะมาสนุกสนานได้เท่านี้อีก (อ่านแล้วจะรู้สึกแย่นะครับ)

คงจำกันได้ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการให้เงินกู้แก่รัฐบาลพม่าจำ นวน 4,000 ล้านบาท
เพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพม่าโดยเฉพาะในเรื่อง โทรคมนาคม

ข่าวชิ้นนี้สร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้เกิดขึ้นว่าเงินกู้ดังกล่าวน่าจะเป็น เงินกู้ที่ในที่สุดแล้วก็ไหลกลับม เข้ากระเป๋าของบริษัทที่ผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศใน ปัจจุบันนั่นเอง

วันนี้หายสงสัยกันแล้ว เพราะข่าวที่ว่านี้เป็นจริงออกมาจากปากคำของกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) อย่างชัดเจน

วันนี้ต้องหยิบยกเรื่องนี้มาพูด เพราะเป็นเรื่องที่ชัดเจนที่สุดอีกเรื่องหนึ่งว่า
บ้านนี้ เมืองนี้จะทำกันอย่างไรก็ได้ เพราะทุกอย่างเป็นของเขาหมดแล้ว จากการประชุมของคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา เมื่อสองวันที่ผ่านมาเพื่อหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ได้มีการซักถาม คุณสถาพร ชินะจิตร
กรรมการผู้จัดการเอ็กซิม แบงก์ ถึงความเป็นมาเป็นไปต่างๆ ซึ่ง คุณสถาพร ก็ได้ชี้แจงให้ทราบในหลายประเด็น และประเด็นที่สำคัญๆ นั้นขอนำมาเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้

คุณสถาพรชี้แจงว่า
"รัฐบาลพม่าเจรจากับรัฐบาลไทยว่าขาดเงินทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ จึงขอกู้เงินจากรัฐบาลไทย ซึ่งทางเอ็กซิมแบงก์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เจรจา โดยถือว่าเป็นนโยบายจากกระทรวงการต่างประเทศที่ให้ช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน และ เรื่องนี้ได้ผ่านคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว จึงถือเป็นนโยบายที่เราต้องทำตาม จึงระบุว่า ให้พม่าซื้อสินค้าจากไทยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร วัสดุก่อสร้าง หรือระบบบรอดแบรนด์ เงินทั้งหมด 4,000 ล้านบาทนั้น ทางพม่าจะเป็นคนเลือกเองว่าจะซื้ออะไรบ้าง แนบท้ายสัญญามาเลย ส่วนในเรื่องการเบิกจ่ายเงินนั้นเมื่อผู้ส่งออกไทยส่งสินค้าไปพม่า แล้วก็ให้เบิกเงินจากเอ็กซิมแบงก์โดยตรง เงินก้อนนี้จะไม่ออกไปนอกประเทศ"

อีกตอนหนึ่ง คุณสถาพร ชี้แจงว่า
"ในการเจรจาครั้งนี้ฝ่ายเขาบีบผมมากกว่าที่ผมจะไปบีบเขา พม่าเร่งวันเร่งคืนมาตลอดว่าเมื่อไหร่จะเซ็นสัญญาเสียที เมื่อเราทำตามนโยบายหากเกิดหนี้สูญขึ้นมา รัฐบาลก็จะต้องชดใช้ให้เอ็กซิมแบงก์"

ฟังแล้วเป็นไงครับ ผู้กู้เป็นคนบีบผู้ให้กู้ อย่างนี้ก็มีด้วย รัฐบาลพม่าบีบได้บีบดีอย่างนี้แสดงว่ามีคนหนุนอยู่ข้างหลัง และ คนที่หนุนอยู่ข้างหลังนี้ก็ ไม่น่าจะเป็นคนอื่นไกลที่ไหน คุณสถาพรก็ต้องทำตามนโยบาย ถ้าพม่าเบี้ยวหนี้ เอ็กซิมแบงก์ก็ไม่เดือดร้อนอะไร เพราะรัฐบาลให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน กระทรวงการคลังต้องใช้หนี้แทนเงินที่นำมาใช้หนี้ก็คือภาษีของประชาชน สนุกอย่าบอกใครที่ให้พม่ากู้เงิน 4,000 ล้านบาทในครั้งนี้ พม่าก็สนุก รัฐบาลก็สนุก บริษัทที่ขายเครื่องอุปกรณ์ต่างๆโดยเฉพาะอุปกรณ์เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคมก็สนุก เพราะส่งของออกไปให้พม่าเมื่อไรไม่ต้องตามไปเอาเงินถึงพม่า ส่งคนไปเก็บเงินเรียก เงินที่เอ็กซิมแบงก์ได้เลย อะไรจะมาสนุกสนานได้เท่านี้อีก ไม่มีแล้ว

จากคำชี้แจงของ คุณสถาพร ดังกล่าวนี้มีวุฒิสมาชิกหลายคนได้ตั้งคำถามกับ คุณสถาพร ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้มี คุณเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง รวมอยู่ด้วย

มาฟังว่า คุณเจิมศักดิ์ ถามอย่างไร
"เงินกู้ก้อนนี้ไม่ได้ระบุว่าเป็นโทรศัพท์พื้นฐานแต่กำหนดเป็นดาวเทียมบรอดแบรนด์ เท่านั้น ซึ่งในโลกนี้มี
บริษัทเดียวเท่านั้นที่ทำได้ คือ ชินแซทฯ เพราะไปซื้อเทคโนโลยีเขามาพร้อมมีสิทธิ์คุ้มครอง ทำไมถึงไม่เปิดให้เลือกใช้ระบบไฟเบอร์ออฟติกด้วย จะได้มีคู่ แข่งขันของไทยมากรายขึ้น ถือว่าเป็น ล็อกสเปก จึงสงสัยว่าใครเป็นคนเข้าทีโออาร์ให้พม่า แค่เขียนว่าบรอดแบรนด์อันเดียวก็เรียบร้อย มีเจ้าเดียวในโลก จีนก็ไม่มี รู้สึกหนักใจแทนเอ็กซิมแบงก์เหมือนกัน เพราะเป็นการให้กู้โดยที่ไม่เห็นตัวโปรเจกต์"

มาฟังคำตอบของ คุณสถาพร บ้าง
"ต้องยอมรับความจริงว่า เราเกือบไม่มีสิทธิ์จะบอกให้เขาทำหรือไม่ทำอะไร" ฟังแล้ววังเวง ใครเป็นคนกู้ ใครเป็นคนให้กู้ งงไปหมด

วุฒิสมาชิกอีกคนหนึ่งคือ คุณหญิงชดช้อย โสภณพณิช ถาม คุณสถาพร ว่า
"เป็นไปได้ไหมที่บริษัทเอกชนของไทยสามารถเข้าถึงรัฐบาลพม่า ไปเจรจากัน เองก่อนจึงได้ทีโออาร์ที่ไม่เปิดกว้างให้กลุ่มทุนอื่น"

คุณสถาพรตอบว่า “ก็คงเป็นอย่างนั้นแหละครับ”

ชัดแล้วครับว่าไอ้โม่งเป็นใคร และ ใครเป็นเจ้าของไอ้โม่งตัวนั้น

ในการประชุมคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา ดังกล่าวนี้ นอกจากเชิญ คุณสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์มาชี้แจงแล้ว ทางคณะกรรมาธิการฯ ยังได้เชิญบริษัทชินแซทฯให้มาชี้แจงด้วย แต่ไม่มีใครมาชี้แจงนอกจากส่งสำเนาคำชี้แจงที่ บริษัทเคยทำให้สื่อมวลชนรับทราบแล้วมาแทน

คุณเจิมศักดิ์ กล่าวต่อที่ประชุมว่า ไม่รู้ว่าคำชี้แจงอย่างนี้สุภาพหรือน่าเกลียด เพราะไม่ยอมบอกว่าไม่มา
เพราะเหตุใด แต่บอกว่าเมื่อกรรมาธิการฯไม่อ่านข่าวก็ส่ง ข่าวมาให้อ่าน ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นในออสเตรเลียหรือเยอรมนีต้องติดคุกแน่นอน

ฟังเรื่องราวทั้งหมดที่หยิบยกมาเล่าในวันนี้แล้ว ย่อมเห็นได้ว่าขณะนี้บ้านเมืองของเรา ตกอยู่ในสภาพ
อย่างไร ใครเป็นเจ้าของประเทศกันแน่ผลประโยชน์ทับซ้อน คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย กำลังผลิดอกออกช่อบานสะพรั่งทั่วผืนแผ่นดิน

คำตอบของกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ที่ให้ไว้ต่อคณะกรรมาธิการต่างประเทศวุฒิสภา ในครั้งนี้ เป็นคำตอบที่ได้ให้ความกระจ่างชัดอย่างน่ายกย่อง ในการนำข้อเท็จจริงมาบอกเล่าเก้าสิบให้ผู้คนทั้งหลายรู้
ว่าเป็นเพียงผู้อาศัยบ้านเขาอยู่เท่านั้นทุกสิ่งในบ้านเป็นของเขาทั้งหมด

ขอให้กลับมาปกครองอีก 4 ปี ยังมีของน่ากินเหลือในบ้านอีกเยอะ