วิถีไมโครซอฟท์ในอาเซียน
โดย ผู้จัดการออนไลน์
[b]ไมโครซอฟท์ขยายอาณานิคมบุกอาเซียน ทิศทางต่อไปของไมโครซอฟท์ในอาเซียนนั้นจะเดินหน้าลดช่องว่างการเข้าใช้งานเทคโนโลยีไอซีทีของประชากร ชูความสามารถในการตอบสนองความต้องการของธุรกิจในท้องถิ่น และสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในแต่ละประเทศ[/b]
มร.วิล พูล (Will Poole) รองประธานกรรมการอาวุโสระบบวินโดวส์ ไคลเอนด์ บริษัทไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชัน (Microsoft) ในฐานะผู้ทำคลอดระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหน่วยธุรกิจที่ทำรายได้มากที่สุดของไมโครซอฟท์ ได้เป็นตัวแทนไมโครซอฟท์เดินทางมาเยืยนประเทศไทยเพื่อประชุมกับรัฐมนตรีของประเทศในเขตอาเซียน เรื่องการร่วมมือกันด้านไอซีที ที่เชื่อกันว่าจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในแต่ละประเทศได้
เขากล่าวขณะร่วมงาน Bangkok International ICT Expo 2004 ถึงยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นที่ไมโครซอฟท์จะต้องทำร่วมกับรัฐบาลของแต่ละประเทศ ได้แก่เรื่องการขยายช่องทางการเข้าถึงเทคโนโลยีของประชากร การผลิตเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจในท้องถิ่น และการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศ
[color=blue]เรื่องการลดช่องว่างในการเข้าถึงนั้น อาจจะทำได้หลายทาง อย่างประเด็นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการลดราคา ไม่ว่าจะเป็นราคาฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ ซึ่งในส่วนนี้ ทั้งรัฐบาลไทยและไมโครซอฟท์เองก็ได้ผลักดันในเรื่องนี้อยู่[/color]
[color=red]ล่าสุดไมโครซอฟท์ก็จะออก Windows XP Starter Edition ออกมาในอาทิตย์หน้านี้ ซึ่งจะพิเศษที่การเป็นวินโดวส์สำหรับผู้เริ่มต้น ไมโครซอฟท์เลือกประเทศไทยเป็นสถานที่เปิดตัววันที่ 11 สค 47 นี้ โดยจะจับมือเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลไทยและมาเลเซียเป็นโครงการนำร่อง[/color] ซึ่งเขากล่าวว่าไมโครซอฟท์เองไม่ได้มองเรื่องปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องหลักในการผลิต Windows XP Starter Edition แต่ไมโครซอฟท์มองที่การสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่จะรองรับการขยายตัวของการใช้งานของประชากรได้
เรื่องการตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจในแต่ละประเทศ นั้นเป็นเรื่องที่ไมโครซอฟท์มองว่า การปรับเทคโนโลยีที่คิดขึ้นจาก Global แล้วนำมาใช้ใน Local นั้นอาจทำได้ด้วยการอาศัยการแปลภาษา เป็นการ Mixed the need รวมความต้องการของภาคธุรกิจเข้ากับการใช้งานของยูสเซอร์ ส่วนในเรื่องการสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในแต่ละประเทศ นั้นไมโครซอฟท์มองว่า การส่งเสริมในเรื่องสิทธิทางปัญญาและการส่งเสริมบริษัทไอทีให้สามารถอยู่รอดเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ
ด้วยตลาดที่มีโอกาสเติบโตในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นด้านเม็ดเงิน อัตราการจ้างงานในด้านไอที การขายอุปกรณ์ไอที ที่มีโอกาสขยายตัวอีกมากจนไมโครซอฟท์มองว่าเป็นช่องทางที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับฝั่งยุโรปที่ค่อนข้างอิ่มตัว
[color=red]สิ่งหนึ่งที่จะทำให้การใช้งานของยูสเซอร์มากขึ้นนั้น คือเรื่องของการเชื่อมต่อ เรื่องโมเดลธุรกิจที่ยืดหยุ่นและสะดวกอย่างเช่นวิธีการสมัครสมาชิก หรือการเก็บค่าบริการแบบพรีเพท ก็จะทำให้จำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน[/color]
สิ่งที่ไมโครซอฟท์ได้ทำลงไปเพื่อลดช่องว่างนั้น อย่างแรกคือการเป็นพันธมิตรด้านการศึกษา เช่นการลดราคาไลเซนส์ซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการศึกษา หรือการฝึกอบรมครู อย่างที่สองคือการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีในท้องถิ่น ด้วยการทุ่มเงินกว่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตั้งศูนย์ Community Technology Learning Center (CTLC) ในกว่า 29 ประเทศทั่วเอเชียและภาคพื้นแปซิฟิก และสุดท้ายคือการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสามารถตอบสนองท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ เช่นการออกวินโดวส์ภาษาท้องถิ่น
กำหนดการออกผลิตภัณฑ์วินโดวส์ของไมโครซอฟท์ในปี 2004 จากนี้จะเริ่มที่การออก Windows SP2 ในอาทิตย์หน้า Windows Tablet PC Edition 2005, Windows Media Player10 ที่เปิดให้ทดสอบใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว, Windows Media Center Edition Next Version, Windows XP Starter Edition ที่เป็นที่จับตามองอย่างมาก
[b]ส่วนปี 2005 Windows Professional x64 Edition และ Windows Longhorn Beta จะปรากฎสู่สายตามิตรรักแฟนวินโดวส์อย่างแน่นอน[/b]
ในแง่มุมการขยายตัวของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในอาเซียน มร.วิล พูล กล่าวแทนไมโครซอฟท์ว่าไมโครซอฟท์สนับสนุนซอฟต์แวร์สแตนดาร์ดทุกอย่าง แต่จุดหนึ่งที่ยูสเซอร์จะมองข้ามไม่ได้คือเรื่องการบริการหลังการขายที่จะได้รับ