พ.ร.บ.คอมพ์ใครได้ใครเสีย : เว็บโฮสติ้ง-เน็ตคาเฟ่เซ็ง ธุรกิจจัดเก็บข้อมูลยิ้ม

ผู้บริหารไอเอสเอสพีสะท้อนมุมมองต่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 เชื่อกระทบหนักกับธุรกิจเว็บโฮสติ้ง เจ้าของเว็บไซต์ และอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ แต่จะส่งดีกับธุรกิจการจัดเก็บข้อมูล แอปพลิเคชัน และนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์

ดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน CEO บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ (ไอเอสเอสพี) และนายบัณฑิต ว่องวัฒนะสิน President บริษัท คอนเนค วัน ผู้ให้บริการเว็บไซต์ยูนี่ดอทคอม แสดงความเห็นเกี่ยวกับพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ว่า การประกาศใช้พ.ร.บ.ดังกล่าวอะไรที่เป็นข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ถือว่าเข้าข่ายหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี ผู้ให้บริการมือถือ รายการสดทางทีวีที่มีการส่งเอสเอ็มเอส ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง เจ้าของเว็บไซต์ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ขณะที่ผู้ใช้บริการจะไม่ค่อยรู้สึกอะไรกับตรงนี้ แต่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ให้บริการ ซึ่งบางรายยังไม่รู้ตัว และตื่นตัวกับเรื่องนี้

เมื่อพ.ร.บ.มีผลบังคับใช้แล้วเชื่อว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีจะประกาศเป็นกฎกระทรวงที่อายัดเรื่องของข้อมูล และพยายามให้คำนิยามเกี่ยวกับคำว่าข้อมูลจราจรบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งคาดว่าจะต้องมีการประกาศออกมาว่าผู้ให้บริการแต่ละอย่างต้องเตรียมอะไรบ้าง จากนั้นก็ให้เวลาผู้ประกอบการ 90 วันในการดำเนินการตามกฎ

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นในส่วนของไอเอสพีจะเป็นลูกค้าทั่วไปที่ใช้แบบพรีเพด ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากกฎเกี่ยวกับการใช้งานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนลูกค้าองค์กรก็จะเป็นทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการ เพราะต้องเก็บข้อมูลของผู้เข้ามาใช้เครือข่ายในองค์กร เนื่องจากต้องทำคอนเทนต์เอง ซึ่งต่อไปเชื่อว่าส่วนนี้ต้องมีการตีความด้วยว่าเป็นผู้ใช้แล้วต้องเป็นผู้ให้บริการด้วยหรือไม่

แต่ธุรกิจที่ถูกกระทบหนักสุดคือผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง เจ้าของเว็บไซต์ และอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เพราะต้องบอกได้ว่าคนที่มาใช้เป็นใคร ใช้เมื่อไหร่ ออกเมื่อไหร่ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการเน็ตคาเฟ่ที่อยู่ทั่วประเทศขณะนี้ประมาณหมื่นกว่าร้าน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้ต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการที่จะต้องเก็บข้อมูล นอกจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะทำให้เว็บไซน์ในไทยเกิดยาก เพราะแต่ละผู้ให้บริการต้องจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีความซับซ้อนต้นทุนก็สูงอยู่แล้ว ระบบการจัดเก็บข้อมูลหรือสตอเรจก็จะสูงด้วย

นอกจากภาระต้นทุนแล้วยังต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการหนีไม่พ้นแน่นอน เพราะเป็นกฎหมายออกมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ภาครัฐน่าจะมีการส่งเสริมให้ส่วนของอี-คอมเมิร์ซ เพราะต่อไปผู้ที่ใช้ข้อมูลบนเน็ต ถ้าไม่ทำอะไรผิดก็ไม่ต้องห่วงในการซื้อสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่การส่งเสริมตรงนี้ต้องมีการปรับปรับปรุงข้อมูลส่วนกลางด้วย อย่างบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ามีข้อมูลส่วนกลางก็สามารถสอบถามจากกรมทะเบียนราษฎร์ได้

ผู้บริการไอเอสเอสพีมองถึงผลดีเกี่ยวกับพ.ร.บ.ใหม่นี้ว่า จะส่งผลดีเกี่ยวกับการเตือนผู้ใช้ข้อมูล อย่างแฮกเกอร์จะได้รู้ว่ามีโทษทั้งจำทั้งปรับ จากเดิมไม่มีความชัดเจน แต่พ.ร.บ.นี้ระบุชัดเจนว่า การบุกรุกคอมพิวเตอร์คนอื่นแม้จะไม่ได้เกิดความเสียหายก็ถือว่าผิดแล้ว จากเดิมที่ไม่ผิด หรือการส่งข้อมูลอย่างเมลขยะหรือสแปมรบกวนคนอื่น ก็มีโทษปรับไม่เกินแสนบาท

ในเชิงธุรกิจดร.กนกวรรณมองว่า ที่แน่ๆ คือธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการแอปพลิเคชันเพราะต้องนำไปใช้กับเรื่องการจัดเก็บข้อมูล นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจเกี่ยวกับสตอเรจ เพราะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น รวมถึงธุรกิจบริการด้านกฎหมายที่ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ถ้าจะให้เห็นธุรกิจที่เป็นตัวตนอย่างชัดเจนต้องรอสักระยะก่อน

สำหรับการเตรียมตัวของไอเอสเอสพีกับยูนี่ดอทคอมเพื่อรองรับพ.ร.บ.นี้คือ ยูนี่ต้องเก็บชื่อ ที่อยู่ วันเวลาที่เข้า ทรานแซกชันเป็นอย่างไร รวมถึงเวลาออกด้วย ส่วนแผนที่วางไว้ขั้นต้นคือผู้ที่ใช้ลิงค์ไม่เกิน 1 เมกะไบต์ทางไอเอสเอสพีจะจัดเก็บให้ หากมากกว่านี้ลูกค้าต้องจัดเก็บเอง เนื่องจากมีเรื่องของต้นทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง

ข่าว: CyberBiz

แว่วว่ามันเกี่ยวกับตระกูลอะไรน้า…

ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน ไอ้พวกมีอำนาจอยู่ในมือ มันก็ทำเพื่อ พวกพ้องพี่น้อง และตระกูล ของมัน กันทั้งนั้น … โดยเฉพาะพวกนักการเมือง ที่ปากบอกว่า “อาสา เข้ามารับใช้ชาติ” ได้เงินเดือนๆ ละเป็นแสน… ก็เก็บเอาไปจากภาษีของพวกเรา นั่นแหละ … อยากจะทำธุระกิจอะไร ก็อาศัยพรรคพวก ช่วยออก พรบ. บ้าง กฎกระทรวงบ้าง

lol สะ(ใจ)จายยย

[quote author=BWebMass link=topic=7355.msg69007#msg69007 date=1185552973]
แว่วว่ามันเกี่ยวกับตระกูลอะไรน้า…

ออ จำเลขผิดแฮะ 100 จำเป็น 400 ซะงั้น แต่ก็นะ…อืม…