ไทยฝันเป็นผู้นำไอซีทีอาเซียน ดันบรอดแบนด์ทั่วถึง

ไทยฝันเป็นผู้นำไอซีทีอาเซียน ดันบรอดแบนด์ทั่วถึงเป็นธรรม

โดย ผู้จัดการออนไลน์

  [b]รัฐวางยุทธศาสตร์เป็นผู้นำด้านไอซีทีในภูมิภาคเอเชียภายในปี 2551 ด้วยการผลักดันการพัฒนาไอซีทีทั้งคุณภาพและบริการให้เป็นธรรมและทั่วถึง ส่วนเรื่องบรอดแบนด์ตั้งเป้าปีนี้มีผู้ใช้ 1 ล้านราย และเพิ่มเป็น 4 ล้านรายในปี 2551 ด้านกลุ่ม ทรูเผยบรอดแบนด์ไทย 3 ไตรมาสโต 300%[/b]
   
   นายอนุชา วีระนิติเวชศาสตร์ ผู้จัดการฝ่ายนิวเซอร์วิส บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยกับการส่งเสริมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ในราคาที่เหมาะสม จึงมีการจัดทำเป็นแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยขึ้น
   
   ยุทธศาสตร์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที พ.ศ. 2547-2551 รัฐบาลจะสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันศักยภาพของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ผู้นำด้านไอซีทีในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2551 นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีการพัฒนาไอซีทีให้เป็นธรรมและทั่วถึง
   
   [b]กสท โทรคมนาคมได้มีการเปิดให้บริการ Broadband Internet โดยระยะแรกๆ จะเน้นที่ Corporate Internet หรือกลุ่มลูกค้าประเภทองค์กร ด้วยบริการ Hinet ความเร็ว 2 Mbps ราคา 1,000 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ใช้บริการทั่วไป และ 2 Mbps ราคา 2,850 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ใช้บริการธุรกิจ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับทีทีแอนด์ที เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็ว 2 Mbps ในราคา 1,000 บาทต่อเดือน[/b] 
   
   สำหรับเป้าหมายตามแผนแม่บท ตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2547 จะให้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1 ล้านราย ปี 2548 จำนวน 1.75 ล้านราย ปี 2549 จำนวน 2.5 ล้านราย ปี 2550 จำนวน 3 ล้านราย และปี 2551 จำนวน 4 ล้านราย
   
   [b]บรอดแบนด์ไทย 3 ไตรมาสโต 300%[/b]
   
   นายนนท์ อิงคุทานนท์ Assistant Director, Head of Multimedia & Broadband Services Department บริษัท เอเซีย อินโฟเน็ท จำกัด ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ไอเอสพี) ในชื่อ "เอเซียเน็ท" เครือทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมาดัชนีชี้วัดการโตของเศรษฐกิจจะเป็นเรื่องของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี พอช่วงหลังๆ จะเป็นเรื่องของอินเทอร์เน็ต มือถือ รวมถึงโทรศัพท์พื้นฐาน ที่วัดจากปริมาณการใช้กับจำนวนประชากรแต่ปัจจุบันเรื่องของบรอดแบนด์ก็ถือเป็นดัชนีชี้วัดอีกตัวหนึ่ง
   [b]ปัจจุบันมีผู้ใช้บรอดแบนด์สูงถึง 100 ล้านรายทั่วโลก โดยเทคโนโลยีที่ใช้มากสุดคือเอดีเอสแอล ซึ่งเป็นการให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกว่าการ Dial up ธรรมดาเป็น 10 เท่าหรือ 100 เท่า[/b] ซึ่งขณะนี้กลุ่มทรูเองก็มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกว่า Dial up ธรรมดาถึง 20 เท่า และเริ่มมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ราคาค่าบริการเริ่มถูกลง รวมถึงอุปกรณ์ต่อเชื่อมอย่างโมเด็มก็ราคาลดลง นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีการลดค่าเชื่อมวงจรลงด้วย
   
   เขายกตัวอย่างการใช้บรอดแบนด์ในประเทศเกาหลีให้เห็นว่า ปีที่ผ่านมาเกาหลีมีผู้ใช้บรอดแบนด์จำนวน 10 ล้านราย เนื่องจากรัฐบาลมีการสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยรัฐมีการสนับสนุนให้มีการใช้งานพีซี นอกจากนี้ ยังมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกประเภท
   
   [b]"รัฐบาลเกาหลีมีนโยบายช่วยสนับสนุนการใช้บรอดแบนด์ เหมือนมีกองทุนสำหรับเรื่องนี้ จึงทำให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย ขณะเดียวกันราคาค่าบริการก็ไม่ถึงพันบาทต่อเดือนในระดับความเร็ว 8 เมกะบิตต่อวินาที"[/b]
   
   สำหรับผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ในไทยสิ้นไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมา มีประมาณ 1 หมื่นราย แต่ปัจจุบันถือว่าบรอดแบนด์มีการอัตราการเติบโตที่เร็วพอคือ มีผู้ใช้ประมาณ 4-5 หมื่นราย หรือมีอัตราการโตประมาณ 300% ในช่วงระยะเวลา 3 ไตรมาส ปัจจัยที่ทำให้เติบโตมาจากค่าบริการที่เริ่มถูกลง และผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนและผลักดันอย่างต่อเนื่อง

อีกหน่อยถ้าต้องจ่ายเงินเท่า True แต่ได้ bandwidth มากกว่า ผมคงเลือก กสท. ครับ
แต่ down บ่อยเหมือนที่ผ่านๆ มาหรือเปล่านี่ยังไม่รู้ :stuck_out_tongue:

(อีกไม่นานคงได้เล่น 2Mbps แล้วแหละ)

:angel:

ถ้าเป็นอย่างที่ข่าวลงก็ดีนะสิ