มาทำความรู้จักและพิจารณ์ พรบ. ความผิด

มาทำความรู้จักและพิจารณ์ พรบ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กัน โค้งสุดท้าย ก่อนประกาศใช้ และ มีผลกับการเล่นเน็ตโดยตรง
พักใหญ่ๆมาแล้ว ที่เราได้นำกฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาดูกัน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเราๆท่านๆโดยตรง ซึ่งเพื่อนๆหลายท่านได้ช่วยเสนอความคิดเห็นกันอย่างมากมาย ซึ่งความเห็นเหล่านั้นได้ถูกนำเสนอในหลายๆเวที และได้สร้างความเข้าใจต่อความกังวลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเช่นพวกเราในระดับที่น่าพอใจ

ขณะนี้กฎหมายฉบับนี้ได้มาอยู่ที่โค้งสุดท้ายแล้ว นั่นคืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยประกอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายวงการ นับเป็นโชคดีของเราอีกครั้งที่แม้จะผ่านขั้นตอนประชาพิจารณ์มาแล้ว แต่กรรมาธิการคณะนี้ยังยินดีที่จะเปิดกว้างเพื่อรับฟังเสียงจากเราอีกครั้ง และเนื่องด้วยเนื้อหาบางส่วน มีความแตกต่างไปจากที่เราได้เคยเห็นเมื่อครั้งก่อน จึงใคร่ขอเชิญเพื่อนสมาชิกลองมาวิจารณ์รอบสองกัน

ย้ำอีกครั้งครับว่าครั้งนี้โค้งสุดท้ายจริงๆ มาตราใดที่ทำให้ประชาชนทั่วไปต้อง เดือดร้อน โดยไม่เป็นธรรม หรือไม่จำเป็น หากเราไม่ได้ชี้แจงให้เห็นผลกระทบ และผ่านกรรมาธิการนี้ออกไป ก็มีแนวโน้มว่าต้องทำใจรับผลของมันค่อนข้างแน่นอน ดังนั้นอย่าละโอกาสครั้งสุดท้ายครั้งนี้นะครับ

ลิ้งค์กฎหมายฉบับเต็มที่ถูกเสนอให้กับกรรมาธิการตรงนี้ครับ http://wiki.nectec.or.th และผมได้พยายามตีความออกมาเป็นภาษาชาวบ้านเท่าที่ความสามารถอันจำกัดจะอำนวยให้ด้านล่างครับ

เท่าที่ผมเข้าใจผม กฎหมายนี้จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องเต็มๆกับนักโพสต์อย่างพวกเราอยู่สองมาตราด้วยกันครับ ได้แก่มาตราที่ 13 และ 15 โดยเขาเขียนไว้ประมาณว่า

มาตรา 13 ความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตซึ่งกฎหมายนี้ กำหนดไว้ 5 แบบ
การปลอมแปลง เช่นทำเว็บปลอมว่าเป็นธนาคารเพื่อหลอกเอาข้อมูล
กระจายข่าวลือที่เป็นเท็จ ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก เช่น บอกว่ายุงเป็นพาหะของโรคเอดส์
เขียนเนื้อหาที่เป็นความผิดด้านความมั่นคงตามที่กำหนดในกฎหมายอาญา
เนื้อหาลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นภาพ ข้อเขียน คลิป ฯลฯ
Forward Mail ส่งต่อเนื้อหาสี่ข้อด้านบน
ความผิดทั้ง 5 แบบนี้เขาให้มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และโบนัสพิเศษสำหรับกรณีเนื้อหาลามกอนาจาร หากเป็นภาพของเยาวชน โทษจะเพิ่มเป็นจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี ปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทครับ
มาตรา 15 ใส่ภาพตัดต่อลงในเว็บ ทำให้คนอื่นเสียหาย จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท สามารถยอมความได้

สองมาตรานี้จะเป็นส่วนที่พวกเราเดินเฉียดคุกกันมากที่สุดแล้วตามที่กฎหมายนี้เขียนไว้

ส่วนเพื่อนๆท่านใดที่นอกจากเป็นนักเล่นเว็บแล้วเป็นคนทำเว็บด้วย จะมีอีกสองมาตราที่เปิดโอกาสให้เราได้เข้าไปคุยกันต่อในคุกครับ

มาตรา 14 เจ้าของเว็บที่รู้ว่ามีการทำความผิดในมาตรา 13 คือ ปล่อยให้มี การหลอกลวง หรือ มีข่าวลือที่ก่อให้ประชาชนตื่นตระหนก หรือมีข้อความที่ขัดต่อกฎหมายความมั่นคง หรือ ปล่อยให้มีเนื้อหาลามกอนาจารอยู่ในเว็บที่ตัวเองดูแล และไม่ลบออกในทันที ให้รับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำผิด ซึ่งก็คือจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท พร้อมโบนัสหากเป็นภาพอนาจารของเยาวชนเช่นกัน
มาตรา 24 ผู้ให้บริการ เช่น ISP หรือเว็บไซต์
ให้เก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (ประมาณ access log ครับ) ไว้อย่างน้อย 30 วัน แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บเพิ่มได้ไม่เกิน 90 วัน
ให้ ISP หรือเว็บไซต์เก็บสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำกับผู้ใช้บริการ ไว้ไม่น้อยกว่า 30 วันหลังหมดสัญญา ส่วนให้ใครเก็บอะไรเมื่อใดจะมีการประกาศในภายหลัง และผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

นอกจากนี้กฎหมายนี้ยังมีอีกส่วนที่กำหนดไว้ในเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่น การ Hacking การยิง Dos การปล่อยไวรัส ฯลฯ โดยตรงไว้หลายข้อดังนี้

มาตรา 5 เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่น จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท สามารถยอมความได้
มาตรา 6 รู้วิธีเจาะเข้าระบบแล้วบอกคนอื่นต่อ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 7 เปิดดูข้อมูลที่เจ้าของข้อมูลทำการป้องกันไว้ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 8 ดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนอื่น จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
มาตรา 9 แก้ไข หรือ ทำลายข้อมูลของคนอื่นจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท สามารถยอมความได้
มาตรา 10 รบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นจนไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 11
(1) หากการกระทำในมาตรา 9 หรือ 10 มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนทั่วไปเสียหายไปด้วย จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี ปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงสองแสนบาท
(2) หากการกระทำในมาตรา 9 หรือ 10 มีผลต่อระบบสาธารณะ จำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ปรับตั้งแต่หกหมื่นถึงสามแสนบาท และหากมีผลจนทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิต มีโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 12 ขายหรือเผยแพร่โปรแกรมที่ใช้ทำความผิด จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งในที่นี้เป็นเจ้าหน้าที่ปราบปรามความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ (ไม่ใช่ตำรวจ) ที่ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และผ่านหลักสูตรอบรมเฉพาะ กฎหมายนี้ได้มีการกำหนดอำนาจและเงื่อนไขตรวจสอบการใช้อำนาจไว้ด้านล่าง ทั้งนี้เผื่อสมาชิกท่านใดกังวลปัญหารีดไถ ก็ลองศึกษาดูนะครับ ว่าพอเพียงที่จะให้ความสบายใจกับสุจริตชนเช่นเราหรือยัง

มาตรา 16 กำหนดอำนาจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติได้ 8 ข้อ หากสงสัยว่ามีการกระทำความผิด
ยึดข้อมูลหรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์
ทำสำเนาข้อมูลที่สงสัย
เข้าระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ของบุคคลทั่วไป (แปลว่าใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ทำความผิด) ที่สงสัยว่าน่าจะมีหลักฐานเกี่ยวกับการทำความผิด
ถอดรหัสข้อมูลของบุคคลทั่วไป (แปลว่าใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ทำความผิด) หรือสั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถอดรหัสหรือให้ความร่วมมือในการถอดรหัส
เรียกดูข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์จาก ISP หรือ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สั่งให้ ISP หรือเจ้าของเว็บ ให้ข้อมูลของผู้ใช้บริการ
ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เพื่อหาหลักฐาน
เรียกบุคคลมาสอบสวน หรือให้ข้อมูล

ในมาตรา 16 ด้านบนเป็นการกำหนดอำนาจหลักๆของเจ้าหน้าที่ซึ่งจะมีสิทธิทำได้ตามกฎหมายฉบับนี้ ส่วนด้านล่างก็จะเป็นขอบเขตการใช้อำนาจ และการตรวจสอบการใช้อำนาจ ที่มาตรา 16 ด้านบนให้ไว้

การยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ ให้เจ้าหน้าที่ทำได้ 30 วัน หากต้องการยึดนานกว่านั้นให้ขอคำสั่งศาลและขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 60 วัน (มาตรา 17)
การใช้อำนาจตามมาตรา 16 ให้ใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็นดังนี้ (มาตรา 18)
การทำสำเนาข้อมูลทำได้เฉพาะเมื่อสงสัยว่ามีความผิดตามมาตรา 9 คือมีการ แก้ไข/ทำลายข้อมูลของผู้อื่น
ในการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลทั่วไป หรือเรียกดูข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ต้องรายงานต่อศาลภายใน 24 ชั่วโมง และศาลสามารถสั่งระงับได้
หากเจ้าหน้าที่พบว่ามีข้อมูลใดติดไวรัส มีสิทธิ์สั่งห้าม จำหน่าย เผยแพร่ ระงับการใช้ หรือทำลายได้ (มาตรา 19)
ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ และ ข้อมูลผู้ใช้บริการ ที่ถูกเรียกจาก ISP เจ้าหน้าที่ต้องเก็บเป็นความลับ ห้ามส่งมอบให้ใครหรือหน่วยงานใดแม้เจ้าหน้าที่จะถูกเรียกไปให้ปากคำในคดีอื่นตามกฎหมายอื่น ก็ไม่มีสิทธิเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้ใช้เฉพาะในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด กับเจ้าหน้าที่ผู้ประพฤติมิชอบ หรือตามคำสั่งศาลในการพิจารณาคดี เจ้าหน้าที่ใดฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(มาตรา 20)
หากเจ้าหน้าที่ประมาท ทำให้ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลผู้ใช้บริการรั่วไหล มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท (มาตรา 21)
คนที่รู้ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลผู้ใช้บริการที่รั่วออกมาจากเจ้าหน้าที่แล้วยังนำไปเปิดเผยต่อ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท (มาตรา 22)
ข้อมูลจราจรหรือข้อมูลผู้ใช้บริการที่ได้มาจากการรั่วไหลจากเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี (มาตรา 23)

ปักมุดเลยครับ ซ้ำขออภัย

กลัวว่าจะมีส่วยserverจัง
ขอขอบคุณpantip.com

เท่าที่อ่านกฎหมายก็ออกมาได้ครอบคุมพฤติกรรมได้พอสมควรนะครับ ไม่เห็นที่จะไม่เห็นด้วยประการใด
สังคมอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้ไม่มีการควบคุมเท่าทีควร

ผมสังเกตุพฤติกรรมคนทำเว็บประเภทผิดกฎหมายมาหลายปีแล้วครับ ก่อนนี้ก็เคยมีลูกค้าทำเว็บที่ไม่ถูกต้อง แต่ปัจจุบันไม่เอาไว้เลยสักราย เพราะเวลาเกิดปัญหา… ทิ้งปัญหาให้รับหน้าแก้ปัญหาเองทุกที

ก็ดีครับ… มีกฎหมายออกมารองรับ เพื่อสังคม เพื่อเยาวชนลูกหลานของเราเองครับ อย่าไปคิดว่าจะโดนเอาเปรียบหรือทำให้ทำธุรกิจลำบากขึ้นเลยครับ

อินเตอร์เน็ตบ้านเราคงต้องตีกรอบบ้างครับ ไม่เช่นนั้นเยาวชนของชาติในอนาคตคงจะแย่ลงไปกว่านี้

มีเรื่องเล่าให้ฟังครับ… เมื่อกลางมีคนโทรมาติดต่อเรื่อง colo บอกกับผมว่าทำเซอร์ฟเวอร์เกมส์ ผมก็บอกกลับไปว่า “รับครับ” แต่ไม่รับผิดชอบใดๆหากมีปัญหาเกิดขึ้น

เขาก็สอบถามว่าต้องทำอย่างไรบ้าง… ผมก็ตอบกลับไปว่าหากไม่ได้เป็นบริษัท ก็ต้องสำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นต์รับรอง ทางเราจะมีสัญญาบริการและเงื่อนไขให้

ก็เงียบไปเลย อิอิ แค่หลักฐานสำเนาบัตรประชาชนยังไม่กล้าให้เลย อิอิ
นับประสาอะไรกัน ลองเอาไปคิดดูเอาเองละกันครับ ว่าเราจะเอาธุรกิจเราไปเสี่ยงกับงานเหล่านี้ทำไม

เจอมาเยอะครับ… โดนตำรวจและทนายมาก็เจอแล้ว แต่ก็เอาความผิดกับตัวตนคนทำจริงๆไม่ได้สักที สุดท้าย… เราก็โดนเป็นแพะรับไปซะเอง

นั้นแหละ…ที่กฎหมายต้องมาวางกรอบครับ

ดิฉันก็เห็นด้วยนะคะ เจตนารมย์ของกฏหมายมีวัตถุประสงค์ที่ดี เพียงแต่เราต้องระวังในเรื่องของการใช้อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานบ้าง แต่โดยสรุปก็คือ ถึงเวลาแล้วที่บ้านเราต้องมีกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้เสียที

หมายเหตุ ตัวเข้มคือสิ่งที่กระผมสงสัย(นำมาถามเป็นประเด็น) สีแดงคือความคิดเห็น/คำถามที่เกิดขึ้นของผม

มาตรา 8 ดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนอื่น จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
มาตรา 9 แก้ไข หรือ ทำลายข้อมูลของคนอื่นจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท สามารถยอมความได้
มาตรา 10 รบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นจนไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 11
(1) หากการกระทำในมาตรา 9 หรือ 10 มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนทั่วไปเสียหายไปด้วย จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี ปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงสองแสนบาท
(2) หากการกระทำในมาตรา 9 หรือ 10 มีผลต่อระบบสาธารณะ จำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ปรับตั้งแต่หกหมื่นถึงสามแสนบาท และหากมีผลจนทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิต มีโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 16 กำหนดอำนาจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติได้ 8 ข้อ หากสงสัยว่ามีการกระทำความผิด
ยึดข้อมูลหรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์
ทำสำเนาข้อมูลที่สงสัย
เข้าระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ของบุคคลทั่วไป

เรียกดูข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์จาก ISP หรือ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น แล้ว เจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ซึ่งถือว่าชอบโดยกฏหมาย สามารถกระทำการเข้าข่าย ความผิดตามมาตรา 8-11 ใช่หรือไม่
เพียงแค่สงสัย เจ้าหน้าที่ ก็มีสิทธิที่จะดำเนินการได้แล้ว?

ในมาตรา 16 ด้านบนเป็นการกำหนดอำนาจหลักๆของเจ้าหน้าที่ซึ่งจะมีสิทธิทำได้ตามกฎหมายฉบับนี้ ส่วนด้านล่างก็จะเป็นขอบเขตการใช้อำนาจ และการตรวจสอบการใช้อำนาจ ที่มาตรา 16 ด้านบนให้ไว้

ในการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลทั่วไป หรือเรียกดูข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ต้องรายงานต่อศาลภายใน 24 ชั่วโมง และศาลสามารถสั่งระงับได้

สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำสั่งศาล? แต่ต้องแจ้งหลังดำเนินการไม่เกิน 24 ชม.?

หากเจ้าหน้าที่พบว่ามีข้อมูลใดติดไวรัส มีสิทธิ์สั่งห้าม จำหน่าย เผยแพร่ ระงับการใช้ หรือทำลายได้ (มาตรา 19)

หากเจ้าหน้าที่กระทำการโดยประมาณ แล้วอ้างตามมาตรา 19 แล้วข้อมูลที่ถูกทำลายไป ใครรับผิดชอบ?

ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ และ ข้อมูลผู้ใช้บริการ ที่ถูกเรียกจาก ISP เจ้าหน้าที่ต้องเก็บเป็นความลับ (มาตรา 20)

ตามมาตรา 19 เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอคำสั่งศาล แต่ถ้าผลของการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เป็นเหตุทำให้เกิดความผิดตามมาตรา 9 และ 10 ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ หากภายหลังดำเนินการแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่ได้ร้องต่อศาล?

หากเจ้าหน้าที่ประมาท ทำให้ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลผู้ใช้บริการรั่วไหล มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท (มาตรา 21)

ข้อมูลจราจรหรือข้อมูลผู้ใช้บริการที่ได้มาจากการรั่วไหลจากเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี (มาตรา 23)

หากข้อมูลจราจรนั้นมีข้อมูลทางธุรกิจ ซึ่งเป็นความลับของลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ แล้วเกิดการรั่วไหล ไปยังบ.คู่แข่งทางธุรกิจแล้ว
ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากข้อมูลที่รั่วไหล ซึ่งไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ตามมาตรา 23 เราจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง?

ด้วยความเคารพนะครับ ^^

  • แก้ไขคำผิด ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ

ตอบคุณ mgroup น่ะครับ
คุณถามมาโดยอ้างจากร่าง พรบ.การกระทำผิดฯ แต่ผมขอตอบ แบบกว้างๆโดยไม่อ้างอืง ร่างฯ น่ะครับ (ความเห็นส่วนตัว)

การกระทำของ จนท. หากเกิดความผิดพลาดจนเกิดความเสียหายมี กม.ที่จะเอาผิดได้ทั้ง อาญาและเพ่ง เช่น ปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ อย่างเช่นกรณีที่ สงสัยมั่วๆ ศาลไม่เห็นด้วย แบบนี้ก็มีสิทธิหนาวได้ หากมีการปฎิบัติเกินเลย หรือกรณีละเมิด ต่างๆ

จำใจครับเมืองไทยเขียนกฏหมายมาแต่ขัดแย้งกันเอง