ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุงใหม่

ไม่แน่ใจ เพื่อนๆ ในชมรมได้ติดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ version ใหม่นี้แล้วหรือยัง
ขอถือโอกาส update นะคะ

ขั้นตอน ณ เวลานี้ ร่างฯ ที่ว่า ผ่าน ครม. ไปแล้วเมื่ออังคารก่อน
ตอนนี้กำลังจะเข้าสู่ สนช. ซึ่งคิดว่าน่าจะผ่าน สนช. ไม่ยาก

ก่อนจะถก ขอให้ทุกคนอ้างอิงฉบับล่าสุดนี้ ถ้าใครไม่มี รบกวนไป download มาเก็บไว้ก่อนที่

การอ่านจะอ่านยากหน่อย เพราะว่าเป็นการบอกว่า version ใหม่ มีมาตราอะไรที่ไปปรับปรุง version เก่าอย่างไร

อย่างไรก็ตาม เริ่มมีการให้ความเห็นต่อร่างฯ พรบ.คอมพิวเตอร์ ใหม่นี้แล้ว
อยากชวนอ่านนะคะ รอบนี้ บอกได้ว่า ทั้งอ่านยาก และหนัก
มีกรรมการแปลกๆ งอกมาอีกสองชุด ไม่เกี่ยวกับศาลด้วย

ความเห็นที่แนะนำให้อ่าน คือ ความเห็นของ อาจารย์ไพบูลย์ ที่ให้สัมภาษณ์ประชาชาติธุรกิจฉบับวันเสาร์ที่ 23 เมษายนค่ะ

สำหรับสมาชิกชมรมฯ อยากชวนมาหารือกันเรื่องร่างฯ ใหม่นี้ค่ะ

1 Like

อ้อ ความเห็น อ.ไพบูลย์อยู่นี่เอง เดี๋ยวโหลดมาอ่านครับ ขอบคุณมากครับ

ประชาชาติฉลาดอะ ไม่ปล่อยออกเน็ต ต้องไปซื้อหนังสือพิมพ์มาเสพแทนค่ะ

[h=1]ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ “ตั้งคณะกรรมการปิดเว็บแม้ไม่ผิดกฎหมาย”[/h]http://ilaw.or.th/node/4092

[B]แก้มาตรา 14(1) ไม่มุ่งเอาผิดกับการหมิ่นประมาท แต่ยังคลุมเครือเปิดช่องตีความได้
[B]เพิ่มความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบ “ความปลอดภัยสาธารณะ” “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”
[B]แอดมินที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจรับผิดเท่าคนโพสต์ เพิ่ม “ขั้นตอนการแจ้งเตือน” ให้ทำตามแล้วพ้นผิด
[B]ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล สั่งบล็อคเว็บ “ขัดต่อศีลธรรม” ได้ แม้เนื้อหาไม่ผิดกฎหมายใด

[/B][/B][/B][/B]

[COLOR=#000000][FONT=Tahoma][B]เปิดร่างพ.ร.บ.คอมพ์ฉบับแก้ไข เพิ่มฐานความผิด‘มั่นคง-เศรษฐกิจ’ [/B][/FONT][/COLOR]http://www.komchadluek.net/detail/20160429/226714.html[COLOR=#000000][FONT=Tahoma]
[/FONT][/COLOR]
[COLOR=#525252][FONT=Tahoma][FONT=inherit] รัฐบาลได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ… ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พิจารณา โดยเมื่อวันที่ 28 เมษายน สนช.ได้รับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว ด้วยคะแนนเสียง 160 ต่อ 0 และงดออกเสียง 3 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 15 คน เพื่อพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ต่อไป[/FONT]
[FONT=inherit] ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่า พ.ร.บ.ฉบับเก่าที่ใช้อยู่นั้น มีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เพราะมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว[/FONT]
[FONT=inherit] ขณะเดียวกัน รัฐบาลเตรียมจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งมีภารกิจในการกำหนดมาตรฐานและมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ด้านความมั่นคงและปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับแก้ไขจึงเป็นการทำขึ้นเพื่อล้อไปกับกฎหมายเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และเพื่อให้เกิดความครอบคลุมทุกด้าน[/FONT]
[FONT=inherit] สำหรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับแก้ไข มีจำนวน 19 มาตรา สาระสำคัญ เป็นการเพิ่มเติมฐานความผิดและกำหนดโทษผู้ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ แก้ไขเพิ่มเติมการกระทำที่ต้องได้รับโทษหนักขึ้น กรณีกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งกำหนดโทษผู้จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด[/FONT]
[FONT=inherit] ร่าง พ.ร.บ.ฉบับแก้ไข ยังเพิ่มเติมฐานความผิดและกำหนดโทษผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง และแก้ไขเพิ่มเติมโทษผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จที่อาจเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือโครงสร้างพื้นฐานหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนักแก่ประชาชน[/FONT]
[FONT=inherit] รวมทั้งยังแก้ไขเพิ่มเติมโทษผู้ให้บริการที่ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้มีการกระทำความผิดดังกล่าวในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อการเศรษฐกิจและสังคม ออกประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือนการระงับทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์[/FONT]
[FONT=inherit] ขณะเดียวกัน เพิ่มเติมบทกำหนดโทษในกรณีผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย และแก้ไขเพิ่มเติมกระบวนการและหลักเกณฑ์การระงับและการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ในกรณีที่มีการทำให้แพร่หลาย[/FONT]
[FONT=inherit] ทั้งนี้ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือข้อมูลที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ให้มี “คณะกรรมการเปรียบเทียบ” ที่มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยมีจำนวน 3 คน โดย 1 ใน 3 ต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจสั่งปรับได้โดยไม่ต้องนำคดีไปศาล และคดีก็จะถือว่าสิ้นสุดได้แต่ต้องเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้[/FONT]
[FONT=inherit] ส่วนโทษของผู้ฝ่าฝืนตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น ถ้ากระทำความผิดต่อข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ผู้กระทำความผิดจะได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 300,000 บาท แต่หากการกระทำความผิดที่เป็นเหตุทำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง 400,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่ลักษณะของฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว[/FONT]

[FONT=inherit]ผู้เชี่ยวชาญห่วงใช้อำนาจ“บล็อก”โซเชียลมีเดีย[/FONT]
[FONT=inherit] “ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ” ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ ให้ความเห็นต่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับแก้ไข โดยจุดที่น่ากังวลคือการแก้มาตรา 20 ให้สามารถปิดบล็อกเว็บไซต์ หรือว่าการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านสื่อทุกประเภทได้ถึงแม้ว่าจะไม่ผิดกฎหมาย ทั้งโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊กและไลน์ ซึ่งเป็นปัญหาของรัฐบาลในปัจจุบัน ถ้าผ่านร่างมาตรา 20 ในวงเล็บ 4 แม้กรณีไม่ผิดกฎหมายแต่รัฐบาลเห็นว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี “คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล” ที่แต่งตั้งโดย รมว.ไอซีที ก็มีสิทธิ์จะเสนอให้ศาลปิดบล็อกได้ ปัญหาคือใน พ.ร.บ.ไม่ได้เขียนคุณสมบัติของคณะกรรมการกลั่นกรองไว้ ซึ่งกรรมการชุดนี้มี 5 คน และ 2 ใน 5 มาจากตัวแทนเอกชน[/FONT]
[FONT=inherit] “ปัญหาคือเมื่อไม่ผิดกฎหมาย มันคือดุลพินิจโดยเด็ดขาดของฝ่ายบริหาร จะยากต่อการหาแนวทางว่าอะไรขัดกับกฎหมาย และหากไม่ขัดกับกฎหมาย แต่หากขัดกับนโยบายที่เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมก็จะเข้าข่ายอีก” ไพบูลย์ กล่าวถึงข้อกังวล[/FONT]
[FONT=inherit] ไพบูลย์ ยังระบุว่า อีกประเด็น คือ “อำนาจปรับ” ในมาตรา 17/1 บอกว่า รมว.ไอซีที ตั้ง “คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ” ไปเปรียบเทียบปรับความผิดเกี่ยวกับการแฮ็กระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งความผิดมีโทษจำคุก 6 กับ 2 ปี แต่ไม่มีประเทศไหนทำกัน เพราะการแฮ็กมีมูลค่าการเสียหายทางเศรษฐกิจเยอะ โดยปกติต้องดำเนินคดีทางศาล แต่พอมี “คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ” คำถามคือคณะกรรมการชุดนี้เป็นใคร มาจากไหน ทำไมมีอำนาจในการปรับ ซึ่งมีอำนาจมากกว่าศาลอีก เหมือนเอาฝ่ายบริหารมาทำหน้าที่ตุลาการในการตรวจสอบ ซึ่งค่อนข้างน่ากังวลพอสมควร[/FONT]
[FONT=inherit] นอกจากนี้ ขั้นตอนการฟ้องต้องมีการสืบพยาน ขั้นตอนอัยการ ตำรวจ และศาลมี 3 ศาล แต่กรณีคณะกรรมการชุดนี้ คือเปรียบเทียบปรับแล้วจบเลย ถามว่าคณะกรรมการมีความรู้ขนาดไหน มีความเข้าใจคดีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหรือเกี่ยวกับเทคโนโลยีแค่ไหน ที่สำคัญคำสั่งของคณะกรรมการชุดนี้ไม่สามารถอุทธรณ์ได้[/FONT]
[FONT=inherit] “คดีเปรียบเทียบปรับเป็นคดีลหุโทษ แต่คดีที่มีการแฮ็กมีความเสียหายมูลค่ามาก ปัญหาคือเวลาปรับใช้ดุลพินิจหรือเอาหลักเกณฑ์อะไรมาพิจารณา และกรณีที่มีโทษจำคุก 2 ปี ซึ่งเรื่องแฮ็กคอมพิวเตอร์ไม่มีประเทศไหนในโลกที่เขามาปรับ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องมีบทลงโทษทางอาญา และมีการสืบพยานให้เห็นว่าความจริงเป็นยังไง แต่ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีการระบุขั้นตอนในการเปรียบเทียบปรับว่ามีขั้นตอนในการยื่นเรื่องอย่างไร มีการยกข้อต่อสู้อย่างไร ซึ่งไม่มีการระบุเลย เป็นเพียงกระบวนการให้มันเสร็จง่ายๆ เหมือนคดีทั่วไปที่เป็นคดีเล็กน้อย”[/FONT]
[FONT=inherit] ไพบูลย์ ย้ำว่า ตรงนี้จะเป็นปัญหาค่อนข้างเยอะ แต่จะเห็นว่าทั้งหมดนี่จะมีการให้อำนาจ รมว.ไอซีที หรือกระทรวงดิจิทัลฯ ค่อนข้างมาก ให้ออกเป็นกฎกระทรวง อย่างมาตรา 15 ที่เดิมเป็นปัญหาระหว่างกระทรวงไอซีทีและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี และเว็บไซต์ต่างๆ ก็แก้ไขเป็นให้ความร่วมมือยินยอม ให้ รมว.เป็นคนออกว่าขั้นตอนระบุแบบไหนถึงจะเป็นการละเว้นความผิดตามกฎหมาย[/FONT]
[FONT=inherit] ดังนั้นการใช้สื่อโซเชียลมีเดียหากจะผิดหรือไม่ผิดกฎหมาย จึงขึ้นกับประกาศของ รมว.ซึ่งความรู้ความเข้าใจของทีมงาน รมว.ที่จะออกประกาศมาเพื่อยกเว้นผลทางกฎหมาย ก็ต้องดูว่าจะออกมาเป็นบวกหรือลบ ตรงนี้ถือเป็นช่องให้ รมว.สามารถเข้าไปควบคุมการใช้งานโซเชียลมีเดีย ว่าใช้อย่างไรถึงจะไม่รับโทษ หากใช้เกินกว่าที่ รมว.ออกประกาศก็ถือว่ารับโทษตามกฎหมาย ทั้งนี้ ปกติหากจะใช้อำนาจต้องออก พ.ร.บ.ผ่าน สนช. แต่กรณีนี้ที่ระบุว่าเป็นอำนาจ รมว.ออกเป็นกฎกระทรวงได้เลย ซึ่งเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวที่จะออกแบบไหนก็ได้ที่มีผลบังคับใช้ได้เลย ซึ่งไม่มีการกลั่นกรองจากบุคคลภายนอกเป็นฝ่ายบริหารดำเนินงานได้โดยตรง[/FONT]
[FONT=inherit] “ตรงนี้จะเป็นจุดทำให้บล็อกได้ทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ การบล็อกในที่นี้คือการดำเนินการต่างๆ ทำให้ไม่สามารถปิดดูได้เพื่อทำให้ไม่แพร่หลาย ดังนั้น พ.ร.บ. cyber security น่าจะเป็น พ.ร.บ.ฉบับสุดท้ายที่จะออกมา หาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ถูกแก้ไขโดยมีมาตรการปิดบล็อกได้แล้ว รายละเอียดของ พ.ร.บ. ​Cyber Security ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ไว้”[/FONT]
[FONT=inherit] ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้กล่าวอีกว่า แนวคิดของ พ.ร.บ. ​cyber security มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ หน่วยงานความมั่นคงพิเศษที่ดูเกี่ยวกับ cyber แห่งชาติ มาตราในการปิดบล็อก และมาตรการในการเข้าถึงข้อมูล การมอนิเตอร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตของประชาชนทั่วไป สำหรับมาตรการปิดบล็อกไม่ให้มีการเผยแพร่มาอยู่ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับแก้ไข ในมาตรา 20 (4) ส่วนกรณี มอนิเตอร์ ยึดเอกสาร ตรวจสอบ ว่าประชาชนทำอะไรบนออนไลน์ ตรงนั้นยังคงอยู่ในร่าง พ.ร.บ. cyber security[/FONT]
[FONT=inherit] “จริงๆ เรามีบทเรียนจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่เจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คอมพ์ มีคุณสมบัติไม่ชัดเจนและมีการแต่งตั้งโดยเร่งด่วน 3 วัน ทั้งที่จริงต้องอบรม 3 เดือน ทำให้การบังคับใช้จริงๆ มีปัญหาค่อนข้างมาก หาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ไม่มีความชัดเจนในคุณสมบัติของคณะกรรมการทั้งสองชุด มันจะเป็นปัญหาเรื่องความเป็นธรรมของการปิดบล็อก แนวทางในการปิดบล็อก และปัญหาเรื่องการเยียวยาค่าเสียหายในกรณีถูกแฮ็กคอมพิวเตอร์จากพนักงานเปรียบเทียบปรับ[/FONT]
[FONT=inherit] แต่อย่างน้อยเวอร์ชั่นนี้ก็ดีสุด อย่างในมาตรา 20 (4) ถึงแม้จะบอกว่ามีคณะกรรมการกลั่นกรอง แต่ว่าสุดท้ายยังคงไปที่ศาลอยู่ในการปิดบล็อก ซึ่งในร่างก่อนหน้านี้ไม่มี รมว.ด้วย เป็นแค่พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นต่อศาลเลย เพียงแต่ว่าในขั้นตอนของการใช้งาน พ.ร.บ.ฉบับนี้จริงๆ หากคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาว่าเว็บซึ่งไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดต่อศีลธรรมอันดี แล้วส่งไปศาล แล้วศาลจะพิจารณาอย่างไร ในเมื่อศาลต้องพิจารณาว่าผิดกฎหมายหรือไม่ จึงมีความลักลั่นในการใช้พอสมควร” ไพบูลย์ กล่าว[/FONT]
[FONT=inherit] ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวด้วยว่า คงต้องมีการเสนอความคิดเห็นเข้าไปที่ สนช.เพื่อให้คณะกรรมาธิการที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับแก้ไข ให้รับทราบประเด็นต่างๆ และอาจจะกลั่นกรองให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ หรือคณะกรรมการกลั่นกรอง ควรมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร เป็นใคร มีคุณวุฒิอย่างไร[/FONT]
[FONT=inherit] “หาก พ.ร.บ.คอมพ์ ฉบับนี้ออกมา โดยไม่มีปรับแก้ไขในประเด็นที่เป็นกังวล ผลคือสิทธิเสรีภาพในการส่งข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดียของประชาชน ถูกกลั่นกรองและปิดบล็อกจากรัฐบาลมากขึ้น คงเป็นการผลักให้ผู้ใช้งานเริ่มไปใช้เครือข่ายเน็ตต่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงการบล็อก อาจจะเป็นการบีบให้การ hosting ออกไปอยู่นอกประเทศ น่าจะเป็นผลเสีย ซึ่งไม่ตรงกับแนวคิดของ digital economy ที่ต้องดึงคนอื่นเข้ามาให้ลงทุนในไทย และปัญหาการแทรกแซงโดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลพอสมควร ถ้าไม่มีมาตรฐานอาจะทำให้บางคดีอาจมีคำวินิจฉัยที่แปลกๆ ได้” ไพบูลย์ กล่าวตอนท้าย[/FONT]
[/FONT][/COLOR]

รับหลักการร่างพ.ร.บ.คอมฯ เพิ่มฐานความผิดตั้งเว็บปลอม http://www.now26.tv/view/75919

พิกัดข่าวค่ำ

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ… ตามที่คณะรัฐมนตรี (เสนอ) เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้ทันต่อการกระทำผิดที่ซับซ้อนมากขึ้น
ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ แก้ไขให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้รักษาการ
รวมทั้งเพิ่มฐานความผิดและบทกำหนดโทษกรณีการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เมล) ให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ โดยรัฐมนตรีจะประกาศแนวทางการส่งที่ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ
ทั้งนี้ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ อีเมล โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับบอกเลิก ต้องระวางโทษไม่เกิน 2 แสนบาท หรือกรณีการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือการเผยแพร่ ส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ตลอดจนข้อมูลลักษณะลามก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
นอกจากนี้ มีการปรับปรุงการกำหนดโทษที่เป็นเหตุฉกรรจ์ให้มีความชัดเจนขึ้น ต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
และปรับปรุงองค์ประกอบฐานความผิดให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เช่น การสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อลวงให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และนำไปสู่ความเสียหาย รวมทั้งการหลอกลวงขายสินค้าออนไลน์ หรือ การหลอกลวงรูปแบบอื่นผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช.รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ด้วยคะแนน 160 ต่อ 0 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 15 คน พิจารณาในวาระ 2 และ 3 ต่อไป

//youtu.be/iDwYLXJeLUA

สนช. มีมติเอกฉันท์รับหลักการ “ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์” ขณะที่ “วรพล” ติงส่งอีเมลล์ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ โทษแรงเกินไป http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/696315

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ… ตามที่ครม.เสนอ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้ทันต่อรูปแบบการกระทำผิดที่ซับซ้อนมากขึ้น ตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มี 19 มาตรา มีสาระสำคัญคือ การเพิ่มเติมฐานความผิดและกำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิดตาม ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ให้หนักขึ้น

อาทิ กรณีการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเลคทรอนิคส์แก่ผู้อื่น โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์ เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ อันเป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษไม่เกิน 2 แสนบาท หรือกรณีการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือการเผยแพร่ ส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ตลอดจนข้อมูลลักษณะลามก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

ส่วนกรณีการตัดต่อภาพผู้อื่น อันทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท รวมถึงเพิ่มเติมโทษแก่ผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์ที่ร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความดูแลของตน

นอกจากนี้ กรณีความผิดตามร่างกฎหมายฉบับนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับจำนวน 3 คน ที่รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง เมื่อได้ชำระค่าปรับแล้วให้ถือว่าคดีนั้น สิ้นสุดลง โดยไม่ต้องนำคดีไปศาล

นายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ สมาชิก สนช. อภิปรายว่า มาตรา 15 ที่ให้รัฐมนตรีออกประกาศขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ หากผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่า ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรี ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษนั้น เห็นว่าควรเป็นกระบวนการพิจารณาทางศาลเท่านั้น เพื่อความรอบคอบ และเป็นสากล เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ต้องมีความน่าเชื่อถือ

ขณะที่ นายวรพล โสคติยานุรักษ์ สมาชิกสนช. อภิปรายว่า การเพิ่มโทษกรณีผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเลคทรอนิคส์แก่บุคคลอื่น อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาทนั้น ต้องมีลักษณะหรือพฤติกรรมอย่างไร การเสนอโทษปรับไว้สูงมีหลักการแนวคิดอย่างไร เพราะมีข้อสังเกตว่า น่าจะเป็นการกระทำให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไม่น่าจะเสียหายมาก และกังวลว่าจะกระทบสิทธิเสรีภาพมากไปหรือไม่ บางครั้งจะตีความอย่างไรในการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เพราะระดับความรำคาญของคนไม่เท่ากัน และอาจถูกตีความไปในทางละเมิดสิทธิมนุษยชนได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่สมาชิกสนช.อภิปรายเสร็จแล้ว ที่ประชุมรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าวด้วยคะแนน 160 ต่อ 0เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ15 คนเพื่อพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ต่อไป

[h=1]ที่ประชุม สนช.รับหลักการแก้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพิ่มโทษ-ฐานความผิด[/h][COLOR=#000000][FONT=Tahoma]Thu, 2016-04-28 22:46 http://prachatai.com/journal/2016/04/65505[/FONT][/COLOR]
[COLOR=#000000][FONT=Tahoma]28 เม.ย.2559 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 160 เสียง ต่อ 0 งดออกเสียง 3 เสียง รับหลักการในวาระที่ 1 ของร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 15 คน มีกรอบระยะเวลาในการทำงาน 60 วันก่อนส่งกลับมาให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาให้ความเห็นชอบในวาระ 2 และ 3 ต่อไป

[COLOR=#4B0082]ดาวน์โหลดร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ [/COLOR][COLOR=#4B0082]http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext52/52708_0001.PDF[/COLOR]
อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงเนื้อหาที่แก้ไขเพิ่มเติมในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า มีทั้งสิ้น 19 มาตรา โดยเพิ่มโทษและกำหนดโทษบทลงโทษใหม่ อาทิ

  • การเพิ่มเติมฐานความผิดและกำหนดโทษผู้ที่ส่งข้อมูลหรืออีเมลแก่บุคคลอื่น จนก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือรำคาญ
    -การกำหนดโทษกระทำความผิดให้หนักขึ้นและเพิ่มเติมฐานความผิดแก่ผู้ที่นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยทุจริตหรือหลอกลวง
    -การเพิ่มโทษผู้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่ ส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จ ที่อาจเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ สาธารณะ และเศรษฐกิจ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
    -แก้ไขเพิ่มเติมโทษผู้ให้บริการที่ให้ความร่วมมือ หรือรู้เห็นให้มีการกระทำผิดในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
    -เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้นำภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ หรือดัดแปลงด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการเข้าสู่ระบบ ที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรืออับอาย
    “ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการที่มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จำนวน 3 คน โดย 1 ในนั้นจะต้องเป็นเจ้าพนักงานสอบสวน ซึ่งคณะกรรมการนี้จะมีอำนาจสั่งปรับได้ โดยไม่ต้องนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล และถือเป็นที่สิ้นสุด สำหรับโทษผู้ฝ่าฝืนตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 20 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000 – 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น หากกระทำความผิด ต่อข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ จะรับโทษจำคุก 3-5 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000 ถึง 300,000 แต่หากกระทำความผิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุก 5-20 ปี ปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท ตามลักษณะฐานความผิดในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้” อุตตม กล่าว
    โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ สมาชิก สนช. อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า มาตรา 15 ที่ให้รัฐมนตรีออกประกาศขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ หากผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่า ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรี ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษนั้น เห็นว่าควรเป็นกระบวนการพิจารณาทางศาลเท่านั้น เพื่อความรอบคอบ และเป็นสากล เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ต้องมีความน่าเชื่อถือ
    สุรางคณา วายุภาพ สมาชิก สนช. มีความกังวลเรื่องการละเมิดสิทธิ เพราะการแก้ไขเนื้อหาที่ให้มีคณะกรรมการ อาจสุ่มเสี่ยงเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รวมถึงการตีความจะก้าวล่วงอำนาจศาลหรือไม่
    วรพล โสคติยานุรักษ์ สมาชิก สนช. อภิปรายในส่วนของ มาตรา 4 ระบุว่า ที่มีการเพิ่มโทษกรณีผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาทนั้น ต้องมีลักษณะหรือพฤติกรรมอย่างไร การเสนอโทษปรับไว้สูงมีหลักการแนวคิดอย่างไร เพราะมีข้อสังเกตว่า น่าจะเป็นการกระทำให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก และกังวลว่าจะกระทบสิทธิเสรีภาพมากไปหรือไม่ บางครั้งจะตีความอย่างไรในการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เพราะระดับความรำคาญของคนไม่เท่ากัน
    อุตตม กล่าวว่า สำหรับประเด็นในมาตรา 4 ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนว่าการกระทำลักษณะใดที่เข้าข่ายกระทำการก่อความรำคาญต่อไป
    [/FONT][/COLOR]
1 Like