เคเบิ้ลของไทยมี
AAG - ([I]Asia America Gateway[/I]) (Malaysia, Singapore, Thailand, Brunei, Vietnam, Hong Kong, the Philippines, Guam, Hawaii, Continental USA West Coast)
APCN - ([I]Asia-Pacific Cable Network[/I]) (Japan, Korea, Philippines, Taiwan, Hong Kong, Malaysia, Singapore, Thailand, Indonesia, Australia)
ASEAN - (Singapore, Philippines, Indonesia, Malaysia, Thailand) (decommissioned)
FLAG FEA - ([I]FLAG Europe-Asia[/I]) (UK, Spain, Italy, Jordan, Egypt, Saudi Arabia, United Arab Emirates, India, Malaysia, Thailand, Hong Kong, China, South Korea, Japan)
MT - (Malaysia-Thailand)
SJC - (Indonesia, Singapore, Malaysia, Thailand, the Philippines, Hong Kong, China, Japan) - planned
T-V-H - (Thailand-Vietnam-Hong Kong)
TIS - (Thailand-Indonesia-Singapore)
ส่วนในข่าว เค้าก็บอกอยู่แล้วว่าของ TOT ต้องการวงจรสำรอง "[COLOR=#666666][FONT=Tahoma][SIZE=4]เพราะปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อของทีโอที เชื่อมต่อผ่านมาเลเซีย และสิงคโปร์เท่านั้น[/SIZE][/FONT][/COLOR]"
งานนี้เป็นการของบลงทุนของรัฐวิสาหกิจแปรรูป เหมือนที่ TOT เคยของบลงทุน 3G เพิ่ม(phase2) แต่ไม่ผ่าน
ส่วนตัวคิดว่าโครงการนี้ใหญ่เกินตัว TOT และไม่มั่นใจว่าจะคุ้มทุนรึเปล่า เพราะตามข่าวมันเป็นการลากสายตรง จากไทย-ยุโรป และ ไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งถ้าลากเสร็จแล้วจะมีคนมาเช่า B/W ในสายหรือเปล่าก็ยังไม่รู้
ผมว่าก่อนจะลงทุนคิดหาลูกค้าก่อนดีไหม วงจรไทยไปยุโรป ไทยไปญี่ปุ่นเนี่ย ยังนึกไม่ออกเลยว่าจำเป็นตรงไหน เพราะ traffic มันไม่น่าจะเยอะพอให้ลงทุนนะครับ แต่ถ้าคิดว่าลงทุนเพื่อไปเชื่อมกับ Cable Hub ที่ยุโรป กับญี่ปุ่น เพื่อลิงค์ไปต่อที่อื่น
อันนี้ผมว่าตัดให้สั้นเป็น จาก อินเดีย-ไทย กับ ไทย-ฮ่องกง ก็น่าจะพอแล้ว และประหยัดงบลงทุนกว่าอีก
หรือว่าถ้าคิดแค่ว่าต้องการมีวงจรสำรอง ถ้าเอาแค่วงจรสำรอง ผมว่าประหยัดงบลงทุน ลากเคเบิ้ลบนดินไปเชื่อมกับจีนดีกว่า เพราะจีนมีแนวเคเบิ้ลตามแนวชายฝั่งจีนทั้งผืน ถ้าเชื่อมเครือข่ายจากไทยไปจีน ยังมีแนวโน้มว่าจะมีคนมาขอเช่าเยอะ
และยังเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นวงจรสำรอง เพราะไม่ว่าเคเบิ้ลลากจากไทย หรือจากสิงคโปร์มันก็ผ่านมหาสมุทรเดียวกัน ยามเกิดพายุใหญ่ในมหาสมุทร ผมเกรงว่ามันจะไม่ได้ช่วยเป็นวงจรสำรองสักเท่าไหร่ แล้วยิ่งแนวการวาง(ตามข่าว)ดูท่าจะเป็นแนวโดดเดี่ยว
คือตลอดแนวมีเคเบิ้ลของ ไทย(ทีโอที) เจ้าเดียว แบบนี้ยิ่งอันตรายเลยล่ะครับ มันจะขาดง่ายกว่าลากเป็นแนวเดียวกันเป็นกลุ่มๆอีก
อีกอย่างเคเบิ้ลที่จีนมีเส้นนึงวิ่งจากจีน-รัสเซีย-ยุโรป ผมว่าลากขึ้นไปหาจีนนี่แหล่ะ ถูกและคุ้มสุดแล้ว
อันนี้เป็นแผนที่เคเบิ้ลระหว่างประเทศ เฉพาะส่วนที่อยู่ใต้น้ำ