ไปอ่านเจอมาเห็นเข้าท่าก็เลยเอามาฝากครับ ทัศนคติของชาวต่างชาติกับคนไทย
คนไทยโชคดีมากๆ ที่ได้ในหลวง เป็นผู้นำ
พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงาน หนักมาก เพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ ในประเทศอื่น ไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่าน บอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทย ก็ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิต ไม่ได้ทำตามในหลวง ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริงๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิด ของในหลวง เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ต้องอาศัย พลังแผ่นดิน ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะ เศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะ เหมือนประเทศไทย พวกคุณโชคดีที่ได้แผ่นดินดีๆ ได้ผู้นำที่ดีด้วย และเรื่องที่ ๓ เรื่องศาสนา ผมคิดว่าศาสนาพุทธ มีความสำคัญมากๆ สำหรับคนไทย ไม่ใช่แค่นับถือไหว้พระ แค่นั้นไม่พอ แต่อยู่ที่การปฏิบัติด้วยนะ มักน้อย สันโดษ พอเพียง ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นเรื่องง่ายๆ พึ่งตนเองก็ได้ ปรัชญาของ ศาสนาพุทธ ทำได้นะ แต่คนไทยจำนวนน้อยที่เข้าใจ จริงๆ แล้วศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ออกแบบให้เหมาะสม สำหรับคนบ้านนอก ให้ใช้ชีวิตร่วมกับ ธรรมชาติ โดยไม่ทำลาย ไม่เอาเปรียบ แต่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
:875328cc:
ก็คือเป็นต้นแบบ ในแบบฉบับของชาวต่างชาติ พอเพียง พูดง่ายนะครับ แต่ทำยาก= =" เพราะคำว่าพอของแต่ละคนไม่เท่ากัน
ผมเคยคิดนะ เก็บเงินได้สัก 2 แสนผมจะพอ จะหยุดเก็บ แต่พอได้ครบๆจริงๆ ก็อยากเพิ่มเป็นสัก ล้านนึง ตรงนี้ทำให้ผมมองตัวเองว่า ความพอเพียงไม่เข้าใครออกใครเลยจริงๆ
ความพอเพียง = ความพอมีพอกิน + ความไม่มีหนี้
แสดงว่าคุณยังไม่เข้าใจคำว่า “พอเพียง” ครับ
มันไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากอย่างที่คิดครับ
ถามว่าผมเข้าใจไหม ตรงนี้ผมก็ไม่แน่ใจตัวเอง ถามว่ารู้องค์ประกอบของคำๆนี้ไหม ก็ทราบนะครับ แต่ผมยกตัวอย่าง ถ้าเราตัดกิเลสไม่ได้ ความพอเพียงจะไม่บังเกิด >< ที่ยกตัวอย่าง เจตนาของผมคือ ไม่มีความพอดีในตัวเอง แต่อาจจะใช้สถานการณ์ที่ผิดไปนิดนึง ฮ่าฮ่า ยังไงรบกวนชี้แนะด้วยครับ :th_085_:
พอเพียง ไม่ได้หมายความว่า หยุดทำมาหากิน นะครับ
พอเพียง กับ กิเลส อาจจะไม่เกี่ยวกันโดยตรง
และความพอเพียงของแต่ละคน มันไม่เท่ากัน
อยู่อย่างพอเพียง ของผม กับของ เสี่ยใน tht ย่อมไม่เท่ากัน
รายได้แค่ 5 หลัก ต่อเดือนกินอาหารร้านค้า ราคาไม่เกิน 100 ต่อมื้อ กับของเสี่ยแถวๆนี้ รายได้เดือนละหลักแสน กินมื้อละพันก็สมควรแต่สภาพของเขา ดูจะพอเพียงในระดับของเขา
ถ้านิยามเหมือนท่าน datatan ว่า "ความพอเพียง = ความพอมีพอกิน + ความไม่มีหนี้"
ผมก็ยังเหลือแค่ยังมีหนี้นั้นแล
หนี้สิน = ยังมี ความพอดีในตัว = น้อยมาก (ส่วนมากรายรับหลักจะพอดี ถึงกับน้อยกว่ารายจ่าย ด้วยอารมย์ใจร้อน อยากได้อะไรซื้อทันที) ความทะเยอะทะยาน = สูง ความต้องการด้านทรัพย์สินและหน้าที่การงาน = สูงมาก
= =" ผมผ่านข้อไหนของ ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” บ้างครับนี่ TT^TT" :040::040: เอามาประยุกต์ใช้ตอนนี้ก็คือ คำว่า ไม่มีหนี้สิน นี่แหละมั้ง กับ วางแผนการเป็นอยู่ให้มีพอกิน+พอเหลือเก็บ
แต่ก็ยังเหลือบ้าน ชาญเมืองสักหลัง ที่วางแผนว่าจะซื้อ
พอเพียงมีความหมายลึกซึ้งกว่าที่คนเข้าใจๆ กันมาก
เศรษฐกิจพอเพียง คือแนวทางสายกลางประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักดังนี้
[B]1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ตัวอย่าง เช่นผมทำ Hosting ถ้าผมรับลูกค้ามาเยอะมากมันก็เกินพอดีทำให้ผมต้องทำงานหนัก ต้องมานั่ง Support แต่ถ้าผมรับลูกค้าให้เหมาะสมต่อ server ผมก็สามารถบริหารจัดการให้มันทำงานได้อย่างดี แล้วเราก็ค่อยๆ เพิ่ม Server ไปเรื่อยๆ อาจจะเป็น 100 ตัว ลูกค้าก็เยอะมากมาย แต่มันไม่มีปัญหาเลย แบบนี้เราก็เรียกว่าพอดีคือไม่มากไม่น้อยเกินไป ต่อถ้าสมมุติดผมรับลูกค้ามากๆ แล้ววันหนึ่งลูกค้าก็น้อยลงจนทำให้ เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาครื่อง Server มากๆ ในที่สุดเราก็ขาดทุนอันนี้ก็คือน้อยเกินไป สรุปรับลูกค้าแต่พอดีที่เราดูแลได้ก็ถือว่าอยู่ในนิยาม “ความพอประมาณ”
ความหมายง่ายๆ ที่เห็นชัดๆ ก็คือ “รายรับต้องมากกว่ารายจ่าย” เช่นรับ 1 ล้าน ใช้ 9 แสน แบบนี้ก็อยู่ในพอประมาณ แต่ก็ต้องดูปัจจัยแวดล้มอื่นๆ ด้วย ว่าสิ่งที่เราใช้นั้นเป็นประโยชน์หรือสิ้นเปลืองโดยใช้หลัก [B]ความมีเหตุผล ในการตัดสิน
[B]2. ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
ตัวอย่างเช่นผมทำ Hosting การที่ผมจะตัดสินใจในการขยายธุรกิจขยาย Server เราก็ต้องใช้หลักการวิเคราห์ผลดีผลเสียก่อนลงมือทำทำให้ลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
[B]3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี [B]หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว
ตรงนี้สำคัญมากครับ ภูมิคุมกันเปรียบเมือน Buffer ของ HDD ครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ เลย ถ้าเรามี Buffer ขนานใหญ่เวลา HDD อ่านเขียนข้อมูลไม่ทันก็จะมาเอาจาก Buffer ก่อนเป็นต้น อันนี้ก็แล้วแต่จะเข้าใจครับ อย่างผม ผมก็จะดูรายจ่ายต่อเดือนเป็นหลัก คือรายจ่าย “ที่ต้องจ่าย” แล้วผมก็จะต้องสำรองรายจ่ายไว้อย่างน้อย 6 เดือน อย่างถ้าผมมีรายจ่ายค่าเช่า Colo เดือนละ 50,000 บาท ผมก็จะต้องมีเงินฝากไว้อย่างน้อย 300,000 บาท (เก็บไว้เพือการนี้โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับเงินอื่นๆ) เพื่ออะไรก็เพื่อเวลามีปัญหาเราไม่สบายหรือทำงานไม่ได้ ลูกค้าไม่จ่ายตัง เราก็สามารถเอาเงินจำนวนนี้มาจ่ายได้นานถึง 6 เดือน และในระหว่าง 6 เดือนนี้เราก็คงมีเวลามากพอที่จะแก้ไขปํญหาที่เกิดขึ้นให้ลุ่ล่วงไปด้วยดี
ดังนัั้น ถ้าเข้าใจหลักและทำตามหลักการนี้ธุรกิกก็จะเติบโตไปข้างหน้าหลักหมื่น หลักแสน หลักล้าน หลักร้อยล้าน โดยไม่ขัดกับหลัก เศรษฐกิจพอเพียง เลยครับ
[/B][/B][/B][/B][/B]ถ้าคุณ mylookhin มีเงินเก็บ 2 แสนแล้วหยุดเก็บ นั่นแปลว่าคุณยังไม่เข้าใจปรัชญานี้ดีพอ ถ้าเป็นผมจะเก็บเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่ออะไรก็เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นนั่นเอง