หลัก 6 ข้อในการเขียนบทความลงในโซเชียลมีเดีย

เมื่อใดก็ตามที่มีสื่อใหม่ๆออกมา พร้อมจะมาคู่กับสื่อเก่า ในกรณีตัวอย่างเมื่อเราได้เข้าไปชมหน้า Facebook ซึ่งเป็นแบรนด์ชื่อดังระดับโลก แต่แล้วก็ต้องสะดุดกับบทความที่ไม่เหมาะสม และดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่ในแผนก PR ถูกมอบหมายงานดังกล่าวจากบริษัทเอง

หากเมื่อเปรียบเทียบกับหลายๆสื่อแล้ว โซเชียลมีเดียนั้นจะมีกฎข้อบังคับในการลงบทความที่ค่อนข้างจะแตกต่างออกไป ด้านล่างคือหลักสำคัญที่สุด 6 หลัก เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับเขียนบทความลงบนโซเชียลมีเดีย คำแนะนำส่วนใหญ่จะเป็นคำแนะนำสำหรับ Facebookแต่ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ในเว็บไซต์อื่นๆเช่นกัน

  1. ข้อความที่สั้นและเผยแพร่ได้

สั้นกระชับถือว่าสำคัญที่สุด ขนาดของเนื้อหาเป็นไบท์ที่สามารถนำไปใช้งานและเผยแพร่ได้ ไม่ได้พูดรวมถึงหน้าเว็บกลยุทธในการทำมีดังต่อไปนี้ ขั้นแรกให้อัพเดทสถานะของท่านโดยใช้คำให้น้อยที่สุด แต่ก็ไม่ให้ตัดใจความสำคัญออกไป เมื่อเสร็จแล้วให้ทวนอีกครั้งและตัดออกอีกประมาณ 20% และท่านอาจจะพบว่ามีคำหลายคำที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใส่ลงไปโดยสามารถลบออกไปได้ ท่านสามารถฝึกหัดได้จากการเขียนTwitter ที่จำกัดเพียง 140 ตัวอักษร ถึงแม้ท่านจะไม่ได้ใช้บทความนั่นใน Twitter ก็ตาม

  1. สามารถต่อบทสนทนาได้

ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ท้าทาย ท่านเพิ่งจะเขียนอัพเดทลงบทสถานะและกำลังจะทำการโพสท์ แต่เดี๋ยวก่อนให้ท่านคัดลอกข้อความนั้นลงบนพื้นที่ส่วนตัว แล้วอ่านอีกรอบโดยพิจารณาว่าเป็นข้อความดัดแปลง หรือไม่สำคัญหรือไม่ ท่านเคยโพสต์ข้อความนี้ให้เพื่อนแล้วหรือยัง ถ้าหากยังไม่เคยให้ลองถามตัวเองอีกรอบว่าทำไมถึงเป็นข้อความที่เหมาะสมสำหรับผู้ชม

เมื่อไม่นานมานี้เราได้สร้างกลยุทธใหม่ลงบนหน้าเพจของFacebook โดยได้เริ่มโพสต์ข้อความและลงชื่อกำกับในตอนล่าง และนี้เป็นตัวอย่างโพสต์จากบริษัท

“พวกเรามีความภูมิใจที่จะนำเสนออุปกรณ์ชิ้นใหม่”

โดยเปลี่ยนเป็น:“พวกเรามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้รับความคิดเห็นจากท่านเกี่ยวกับอุปกรณ์ชิ้นใหม่ของเรา – Justin, Page Admin”

ทำไมถึงได้ผลกว่า? เพราะผู้ชมอยากได้รับความรู้สึกที่ว่ามีผู้ทำงานอยู่เบื้องหลัง เราค้าขายผ่านบุคคลไม่ใช่บริษัทอย่างเดียว หลักการดังกล่าวไม่ได้เหมาะสมเสมอไปในทุกๆกรณี แต่ถ้าใช่แล้วละก็จะสามารถสร้างความประทับใจและแตกต่างในการประสานงานโดยบทสนทนาที่เกิดขึ้น

  1. กำหนดโทนเสียงที่เหมาะสม

สร้างโทนเสียงในการสื่อสารที่เหมาะสำหรับแบรนด์ของท่าน ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งเชิงสนุกสนานและจริงจัง แต่ต้องให้แน่ใจว่ามันเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของสิ่งที่ท่านต้องการนำเสนอ
การมีโทนเสียงที่ต่างกันทำให้การเขียนบทความง่ายขึ้น หากท่านกำลังพัฒนาและปรับปรุงให้ถามตัวเองว่า “ได้สื่อสารออกไปเหมาะสมกับแบรนด์และมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวแล้วหรือยัง” แล้วจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น

  1. เว้นที่ว่าง

ข้อผิดพลาดอย่างนึงที่พบเห็นได้บ่อยใน Facebook นั่นก็คือไม่ได้ใช้เส้นแบ่งเพื่อเว้นว่างในการเขียนบทความ การเว้นช่องว่างและมีพื้นที่ระหว่างประโยคทำให้ข้อความของท่านสแกนได้ง่ายขึ้นและเพิ่มความสนใจจากผู้ชม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นโดยเฉพาะหากโพสของท่านเป็นประโยคเชิญชวนให้ทำหรือมีลิงค์ประกอบอยู่ด้วย

  1. เชิญชวนให้ทำ

ก่อนที่จะเริ่มอัพเดทข้อความให้ถามตัวเองว่า จุดมุ่งหมายคืออะไร ต้องการเพิ่มยอดผู้ชมเว็บไซต์ ต้องการมีจำนวนไลท์, คอมเม้นท์หรือแชร์เยอะขึ้นแต่ไม่ว่าจุดมุ่งหมายของท่านคืออะไรก็ตามด้านล่างนี้คือเกร็ดไอเดียที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านได้

“กดไลท์หาก….

ฝากความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของท่านใน…

นี้หรือนั่น? ข้อคิดเห็นของท่านเอง

บอกเรา…

คลิกลิงค์ด้านล่างหาก…

ดูวีดีโอจาก…”

  1. คอมเม้นท์พร้อมเทคนิคของท่านเอง!

อะไรคือคำแนะนำของท่านต่อบทความนี้ฝากความคิดเห็นและเทคนิคดีๆ แล้วเราจะเพิ่มลงไปในโพสต์นี้พร้อมกับลิงค์ของท่าน
อ่านเพิ่มเติม http://blog.uptopromo.com/?p=123 [URL=“http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,42085.0.html”]

คล้ายๆกัน กับการเขียนบทความทั่วไปมั้งครับ จะว่าไปเขียนบทความแต่ละที อิงหลักการแรกๆ ก็ยังงงๆ แฮะ หลังๆ มาชินเขียนพริว เลย

ขอบคุณสำหรับ ข้อมูล 6วิธีครับ

[COLOR=#333333]ขอบคุณครับ[/COLOR]