ช็อก!! กฎใหม่คลิกทุกครั้งต้องจ่ายตังค์

[COLOR=#333333][FONT=Thonburi]เรื่องจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า อย่าชะล่าใจ เพราะเป็น 1 ใน 15 ข้อของสนธิสัญญาการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมของโลก หรือ อินเทอร์เน็ต เทเลคอมมูนิเคชั่น เร็ก
กูเรชั่น (Internet Telecommunication Regulation : ITR) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้มีการตกลงให้แก้ไขเนื้อหาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ.2553) โดยปลายเดือน ธ.ค.2555 ประเทศสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ราว 180 ประเทศจะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ระหว่างการประชุมด้านโทรคมนาคมซึ่งไอทียูจัดขึ้นที่ประเทศดูไบ

น.ส.ดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ประเทศไทย (ไอซอก) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิก ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโลก กล่าวถึงเนื้อหาของสนธิสัญญาเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ตกลงให้มีการแก้ไข ว่า เกือบ 2 ปีของการแก้ไขเนื้อหา พบว่ามี 10 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย อิหร่าน มาเลเซีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งมีทั้งส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาที่แก้ไข ซึ่งประเทศไทยหน่วยงานที่ดูแลยังไม่แสดงท่าทีต่อประเด็นดังกล่าว

สำหรับเนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขจาก 15 ข้อ มี 6 ข้อที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้แก่ 1. ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต 2. การใช้ทรัพยากรเลขหมายในทางที่ผิด 3. การกำหนดนิยามเรื่องบริการโทรคมนาคม 4. ระบุตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและประวัติการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต 5. คุณภาพบริการ และ 6. ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย

น.ส.ดวงทิพย์ ยกตัวอย่างขอบเขตสนธิสัญญาที่แก้ไข ว่า หนึ่งในเรื่องที่แก้ไขเนื้อหา คือการใช้อินเทอร์เน็ต โพรโตคอล แอดเดรส (ไอพี แอดเดรส) ซึ่งระบุว่าประเทศสมาชิกต้องหาวิธีใดวิธีหนึ่งในการคิดค่าบริการจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยไอพี แอดเดรส ซึ่งเป็นความพยายามที่จะจัดเก็บค่าบริการจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้ง และเก็บเงินทุกครั้งที่เข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ โดยเก็บเงินทั้งจากผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ เป็นการแก้เนื้อหาโดยอิงรูปแบบการเก็บค่าบริการจากรูปแบบการคิดค่าบริการของโทรศัพท์มือถือ

“ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากเนื้อหาสนธิสัญญานี้ คือ เมื่อไหร่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและคลิกเข้าไปยังเนื้อหา หรือข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้งานจะถูกเก็บค่าบริการ ซึ่งเป็นผลเสียกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่โปรโมตสินค้าและห้องพักทางอินเทอร์เน็ตเพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาซึ่งต้องจ่ายค่าบริการจากการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ ขณะที่นักเรียน นักศึกษาก็ต้องจ่ายค่าบริการจากการคลิกดูเนื้อหา”

นอกจากนี้ น.ส.ดวงทิพย์ กล่าวว่า เนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขเปลี่ยนเป็นแบบบังคับใช้ แทนการเลือกยอมรับเฉพาะกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศตนเอง ทำให้การลงนามในสนธิสัญญาเป็นการผูกมัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่เหมาะสมกับประเทศตนเอง

ต่อข้อถามที่ว่า เมื่อเนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขไม่เหมาะสมกับประเทศไทยแล้วประเทศไทยจะมีทางออกอย่างไร น.ส.ดวงทิพย์ กล่าวว่า เรื่องนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้ที่มีอำนาจลงนามในสนธิสัญญาต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อเนื้อหาในสนธิสัญญาที่แก้ไข เนื่องจากระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค. 2555 เป็นเวลาที่อยู่ในกระบวนการต่อรองสนธิสัญญา หากมี 25% ของประเทศที่เป็นสมาชิกไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของสนธิสัญญา ต้องนำสนธิสัญญาที่แก้ไขมาพิจารณาใหม่ แต่ถ้าประเทศสมาชิกเห็นด้วย 100% ก็จะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2555 ดังนั้นประเทศไทยต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องนี้ และหากประเทศไทยไม่ลงนามในสนธิสัญญาก็จะถูกบล็อกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากอีก 179 ประเทศที่เป็นสมาชิกไอทียู.[/FONT][/COLOR]
[COLOR=#333333][FONT=Thonburi][B]เอกชนวอน กสทช.-ไอซีที แสดงจุดยืนชัดเจน[/B][/FONT][/COLOR]
[COLOR=#333333][FONT=Thonburi]เป็นเรื่องแปลกที่การแก้ไขเนื้อหาของสนธิสัญญาเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่จะส่งผลกระทบคนไทยกลับยังไม่มีข่าวออกจากหน่วยงานที่จะจดปากกาลงนามในสัญญา

ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ๆ ในขณะที่ประเทศจีนใหญ่กว่ามาก ถ้าต้องจ่ายเงินในการคลิกเข้าดูข้อมูลและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้ง ประเทศไทยคงแย่ และจะทำให้เกิดการชะงักในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของทุกคน ที่สำคัญไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนคิดค่าบริการในการคลิกเข้าดูข้อมูล และค่าบริการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้ง

นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ กรรมการสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า หากประเทศไทยต้องเข้าสู่การจ่ายเงินทุกครั้งที่เข้าดูเนื้อหาออนไลน์และจ่ายเงินทุกครั้งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แล้วแท็บเล็ต ป.1 ที่รัฐบาลแจกให้กับเด็ก ป.1 ประมาณ 1 ล้านคน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายให้ และโครงการแท็บเล็ต ป.1 ที่แจกให้เด็ก ๆ ก็จะไม่มีความหมาย ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจหากต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้อีกก็คงรับไม่ไหว และจะส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับประชาชนทุกคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 24 ล้านคน

ที่มา http://www.dailynews.co.th/technology/159461

สาธุ … อย่าได้มีกฎข้อนี้เลย[/FONT][/COLOR]

คิดว่ามั่วนะ ถ้าเป็นองค์กรใหญ่ขนาดนี้ แค่เอาชื่อไป Search บน Google มันควรจะมี Website ออกมาเลย

นี่กลายเป็น International Telecommunication Regulations (ITR) แทน http://www.internetsociety.org/itr

ซึ่งพูดถึงเรื่อง Billing จริง แต่ไม่น่าเกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้ผลิต Content เลยด้วยซ้ำ เพราะว่ามันเป็นเรื่อง Billing ระหว่าง Operator ไม่ใช่ เจ้าของ Content (Website) และ ผู้ใช้งาน (User)

ถ้างานนี้มั่วจริง ถือว่า Daily News ทำข่าวได้มั่วสุดๆ ไม่มีความรับผิดชอบอย่างมาก

อย่างนี้ เล่น facebook จะคลิกไปดูรูปสาวๆคิดหนักกันเลยทีเดียว ต่อไปคงต้องเข้าห้องสมุดแทนการค้นจาก google ซะแล้ว :th_059_:

อ่านแล้วยังงงๆ

[h=1]Mission

[COLOR=#2E2E2E]By connecting the world, collaborating with others, and advocating for equal access to the Internet, the Internet Society strives to make the world a better place. At the foundation of our work are a vision and a mission.

ไม่เกี่ยวกับแสวงหารายได้ ซะหน่อย[/COLOR][/h]

ถ้าเป็นจริง

หุ้น facebook คงดิ่งนรกแน่ เพราะใช้ ajax กันตลอดเวลา

มั่วแน่ๆ เพราะทำไม่ได้จริง
ทุกวันนี้ก็จ่ายค่าอินเตอร์เนตเป็นรายเดือนกันอยู่แล้ว จ่ายแล้วก็ใช้ได้ตาม package ที่ซื้อ จะมาคิดเงินต่อคลิกมันเป็นไปไม่ได้หรอก

ต่อไปจะได้เก็บค่าบริการ hosting กะลูกค้าเป็นคลิกแล้ววู้วววววววววววว

แปลร่างสนธิสัญญาเขาผิดไปจากเจตนาหรือเปล่าละนั้น

มีต้นฉบับขอ
ร่างนี้ไหมครับ

ผมก็คิดว่าถ้าเป็นจริง internet ล่มแน่ๆ

อ่านขำแล้วขำกลิ้งเลย แต่พออ้างถึง ISOC ซึ่งมีตัวตนจริงๆ ผมเลยพยายามไปค้นที่มา พบว่ามีการเสนอข้อเสนอแนวนั้นจริงๆ แต่รายละเอียดเป็นดังนี้

However, according to Rajnesh Singh, Regional Director, Asia-Pacific, Internet Society, some members of ITU are proposing to replace this system with formal telecommunication like interconnection agreements, requiring content owners to pay additional fees to telecommunication providers for delivering content to users.

“This could broaden the digital divide, as some Internet service providers might limit connections to countries with high termination fees, which may include the world’s poorer countries. As well, some content providers may choose to limit access of their content to certain markets only where they have a feasible revenue base,” said Singh. “This will disenfranchise the global Internet user community as, again, it’s likely to be the developing countries who may not have access to such content, and lead to fragmentation of Internet content and services,” he concluded.

กล่าวคือ สมาชิก ITU บางรายเสนอให้เก็บค่า interconnection charge นั่นแปลว่าถ้า traffic วิ่งข้ามเขตเมื่อไหร่ ก็จะมีการเก็บค่าผ่านทาง คล้ายๆ กับ interconnection charge ของผู้ให้บริการมือถือ

แต่เท่าที่อ่าน ข้อเสนอดังกล่าวไม่น่าจะผ่านคณะกรรมการ ISOC หรอกครับ

ที่มาของข่าว: http://goo.gl/k13YZ

ข่าวเพิ่มเติม

หนทางยังอีกยาวไกล

“People will be going to the conference with their own proposals. I don’t think they will be adopted right there and then as they have to be studied first,” said ICTO deputy executive director Monchito Ibrahim during the sidelines of the International Contact Center Conference and Expo at the SMX Convention Center in Pasay City.

“Besides, the WCIT is just one small component of the ITU. If a treaty is to be adopted, it has to be done at the ITU level and not at the WCIT,” said Ibrahim, adding that private sector delegates are expected to outnumber government officials who will represent the Philippines in the upcoming confab.

ล้าหลังและริดรอนสิทธิโดยเฉพาะโลกกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศยุโรปที่กำลังพัฒนา Digital single market

Here’s how. Traffic over the Internet flows today through unregulated commercial agreements. ETNO proposes to replace this successful system with formal interconnection agreements, requiring the sender to pay the receiver for the traffic sent. This “sending party network pays” would complicate interconnection. Its added costs would be passed on to Internet users who receive information. In short, Internet access would begin to resemble international telephone access with its high rates.

This development would be detrimental, in particular for the developing world. Many Internet service providers would attempt to limit connections with destinations deemed not worth the cost of termination fees. Although local network operators could keep termination fees low, governments would be tempted in the short term goal of collecting revenues from high termination rates than on preserving the citizens’ ability to access foreign Internet content, according to the Center for Democracy and Technology. Instead of closing the digital divide by generating funds in developing countries as ETNO argues, the proposals would widen it, raising prices and depressing Internet use.

The negative fallout would be felt in Europe as well. The ETNO proposal would mean that European leaders’ ambition to create a vibrant Digital Single Market would be never come to fruition. A sending party might decide that certain markets were so attractive they would pay. It might also look at poorer, normally Eastern European markets, and decide that the prices demanded are not worth it. This would cement Europe’s east / west divide and even damage attempts to render the European Union more democratic by preventing information flowing through new media to citizens.

กำลังติดตามกรณีนี้ค่ะ

มีข้อสังเกตสำหรับเรื่องนี้ ITU เป็นเวทีสำหรับ [B]State Only Member[/B] แปลว่า คนที่ไม่ใช่รัฐบาลไม่มีสิทธิออกเสียง (นั่นตัดกลุ่มพวก NGO, user และ business เล็กๆ ออกไป เพราะเท่าที่รู้มา Enterprise ขนาดใหญ่มีพละกำลังไปโหวตได้)

อย่างต่อมา สนธิสัญญาที่กำลังจะมีการแก้ไขนี้ ชื่อ ITRs [B]สนธิสัญญาข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITRs) [/B]สนธิสัญญานี้ไม่ถูกปรับแก้ตั้งแต่ปี 1988 ในเดือนธันวาคมนี้ จะเป็นครั้งแรกที่มีการปรับแก้ไข เขามีการส่ง draft ในหมู่ประเทศสมาชิกเพื่อให้ตรวจรับการแก้ไข ลองไปเปิดอ่านกันดูได้ค่ะ

ตอนนี้กำลังหาวิธีเข้าไปมีที่สำหรับชาวบ้านผู้้ใช้งาน และผู้ประกอบการเล็กๆ อย่างพวกเรา ได้เข้าไปออกเสียงให้รัฐบาลได้ยินว่าเราอยากเห็น internet เป็นยังไงกันบ้าง

ใครที่ติดตามเรื่องนี้ แนะนำอ่านต่อ

[B][SIZE=2]องค์กรประชาสังคมทั่วโลกค้านข้อเสนอให้ ITU ดูแลเน็ต[/SIZE][/B]
[SIZE=2]“จ่ายตังค์ทุกครั้งที่คลิก!” ไม่ธรรมดา “นพ.ประวิทย์” ดันเป็นวาระเร่งด่วน[/SIZE]

เรามาช่วยกันคนละนิดครับ