แบบนี้ใครคือเจ้าของโดเมนตัวจริง

คุ้น ๆ ว่าเคยมีกระทู้แบบนี้แล้ว แต่หาไม่เจอ

ขอถามใหม่อีกทีละกันว่า แบบนี้ใครคือเจ้าของโดเมนตัวจริง

สมมุติโดเมนชื่อ abcasia.com

จดโดเมนและใช้Host กับผมมาตั้งแต่ปี 2550

จดโดเมน Registrant เป็นชื่อของ นาย xyz

แต่ Oganisation เป็นของบริษัท abc asia co.,ltd.

พอมาปี 2553 ได้โทรมาแจ้งว่าต่ออายุแล้วนะโอนเงินมาแล้ว ไม่สะดวกส่งเอกสาร

ผมก็รอสองสามวัน ไปเช็คบัญชี ก็ไม่มียอดเงินนั้นโอนเข้ามาเลย

ติดต่อกลับไปก็ไม่มีใครรับสาย พยายามอยู่หลายเดือน เพราะว่าดันต่ออายุโดเมนไปให้ก่อนแล้ว

หลังจากนั้นก็หายเงียบกันไปทั้งสองฝ่ายเบื่อทวงละ

อยู่ๆ เมื่อไม่นานมานี้ก็มีใครไม่รู้ ติดต่อมาบอกว่าเขาเป็นตัวแทนของบริษัท abc aisa co.,ltd.

จดทะเบียนในไทย มีฝรั่งเป็นเจ้าของ จะมาขอโดเมนคืน

และจะจ่ายเงิน ต่ออายุ ที่ค้างไว้ให้

พร้อมทั้งแสดงหลักฐาน ด้วยว่า เป็นเจ้าของบริษัทตัวจริง

ซึ่งผมดูแล้วว่าเป็นของจริง

ตอนนั้นผมก็ยอมแล้วนะ คือถ้าจ่ายเงินผมมา ผมก็จะโอนโดเมนให้แล้วหละ

แต่… ก็เงียบหายไป

มาวันนี้ นาย xyz ซึ่งไม่เคยติดต่อได้มาเป็นปี กลับโทรมาหาด้วยเบอร์เดิมนั่นแหละ

จะมาขอโดเมน พอบอกว่าหายอดเงินตอนนั้นไม่เจอ นะ แจ้งเข้ามาปากเปล่า ไม่ได้ส่งหลักฐานอะไรมา

เขาก็บอกว่ายินดีจะจ่ายให้ใหม่ เพราะมันนานแล้ว คงหาอะไรไม่เจอละ

ให้ส่ง invoice ไปใหม่

คุยไปคุยมา นายคนนี้เปลี่ยน บริษัทไปแล้ว คือเลิกทำบริษัทเดิม ไปเปิดบริษัทใหม่ ชื่อคล้าย ๆเดิม แต่ตัด asia ออกเหลือแค่ abc co.,ltd

มีจดโดเมนใหม่เป็น abc.co.th ด้วย

( อ้างด้วยว่า บริษัท เดิมนั้นได้ปิดตัวไปแล้ว ชำระบัญชีแล้ว เมื่อปลายปีที่แล้ว , แต่ผมงงนิดนึง ตอนที่ฝรั่งติดต่อมา มันเพิ่งต้นปีนี้เอง แสดงว่าบริษัทอาจจะยังไม่ปิด)

เอาละสิทีนี้ ผมจะทำไงดี ใครเป็นตัวจริง ใครโกหก กันแน่

โดเมน 350 บาทเอง จะทำตรูติดคุกมั้ยว้า

แบบนี้ใครคือเจ้าของโดเมนตัวจริง

สมมุติโดเมนชื่อ abcasia.com

จดโดเมน Registrant เป็นชื่อของ นาย xyz

แต่ Oganisation เป็นของบริษัท abc asia co.,ltd.

นั่งรอฟังด้วยคนครับ…เคสแบบนี้เป็นอะไรที่น่าปวดหัวกับผู้ให้บริการจริงๆ

case แบบนี้ยากจริงครับ

กรณีที่หมดอายุบริการไปแล้ว แล้วโดเมนเนมเรากระทำการต่อ สิทธิการครอบครอง ดูแลอาจเป็นของเราได้

(ถ้าประวัติ ไม่ได้ถูกเปลี่ยนตั้งแต่ต้น อาจเป็นความเสี่ยงได้ครับหากเป็น คดีขึ้นมา) ฉนั้นโดยปกติ

หากลูกค้าขาดการติดต่อเช่นนี้จะทำการเปลี่ยน DNS/Lock/Suspend จนกว่าลูกค้าจะชำระหนี้

ฉนั้น โดยปกติ ผมเคยเกิด case ลักษณะนี้ จนขั้นฟ้องร้องกัน ด้วยมูลค้าความเสียหาย เอาผมหัวลุกเลย

วิธีการแก้ไขปัญหาของผมคือ “ถือสิทธิ ผู้ขอใช้บริการกับเราเป็นหลัก”

  • เมื่อเกิดข้อพิพาท จะระงับโดเมนเนม ไม่อนูญาติให้ทำการโอนออก หรือแก้ไข DNS ใดๆ จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันได้ หรือคดีสิ้นสุด (พึงระวัง การอ้างบริษัท ถึงความเสียหาย ความเสียโอกาส)

  • แจ้งทางบริษัท ให้ทราบ กรณีที่ขอโดเมนคืน ให้ติดต่อไปยังพนักงานเดิม (ที่มาขอจดทะเบียนกับเรา) ให้ไปฟ้องร้องจนคดีสิ้นสุด และนำคำตัดสิน มายื่นกับเราครับ

  • ผมปฎิเสธการเป็นพยาน หรือเกี่ยวข้องกับคดี โดยให้บริษัท แจ้งคำร้องไปยัง ICANN กรณีที่จะไม่ฟ้องร้อง

วิธีแก้ไขของผม สรุปคือ

ถือ contact ของเราเป็นสำคัญอันดับ 1

กรณีที่ contact เสียชีวิต หรือ ติดตามไม่ได้ บริษัท ก็ต้องมีหน้าที่ตามหา

กรณีเสียชีวิต เอาใบมรณะบัตร และ บันทึกแจ้งความ มาแสดง

เผื่อเป็นอีกทีวิธีครับ…

เคยมีบริษัทบอกจะฟ้อง(ผู้ให้บริการ) ผมก็เรียนแจ้งไปอย่างจริงใจว่า เรารักษาสิทธิให้กับผู้รับบริการครับ

ถ้าเช่นนั้น ให้นำคำตัดสินศาล มายื่นกับเราเพื่อดำเนินการต่อไปครับ -*-

edit : แก้คำผิด

ติดต่อคุณเอกเลยครับ

เคยมีคดีแบบนี้มาแล้ว

แล้วเรื่องจบยังไงก็ไม่มาบอกกันมั้ง

บอกแต่ว่าศาลนัด มิ.ย. 54

ง่ายมากเลยครับ คดีนี้

คุณ pantiphost.com นั่นล่ะ เจ้าของตัวจริง

คุณจะ ยกให้ใครก็ได้ หรือไม่ให้ใครก็ได้เป็นสิทธิของคุณ

คุณลองไป โดเมน กับ ผู้ให้บริการอื่นๆ ดูสิ แล้วไม่ต่ออายุ

จนมันตัดไปตามขั้นตอน

แล้ววันนึงก็แจ้งเค้าไปว่า คุณเป็นเจ้าของเก่า ลืมจ่ายเงิน ยินดีจ่ายชดเชยให้

มันจะได้เปล่า


ถ้าคุณไม่ต้องการ อยากขายออก และไม่อยากมีปัญหา

ให้ แจ้งไปยังผู้ซื้อทั้งสองราย ว่า คุณเป็นเจ้าของ domain นี้ เพราะคุณได้มาเพราะการขาดการต่ออายุจากเจ้าของเดิม

(ทั้งนี้ กรณีถูกฟ้องร้อง สามารถแสดงต่อศาล ถึงขั้นตอนปฎิบัติโดยสากล อันผู้ให้บริการพึงมีพึงกระทำได้ครับ)

และ ให้เป็นธรรม ก็ให้ ผู้ซื้อไปตกลงกัน ที่โรงพัก ลงบันทึกประจำไว้เป็นหลักฐาน ว่าใครจะได้ไป

แล้วเอาหลักฐานมาให้ ทางคุณ คุณก็ ปล่อยให้คนนั้นไป


จุดเสียเปรียบคือ คุณไม่แพ้คดีหรอก ถ้าโดนฟ้อง เพราะ คำตัดสิน เค้าดูจากข้อเท็จจริง แต่ คุณจะเสียเวลา ค่าทนาย พอควร ครับ

เคสนี้คล้ายของพี่เอก SWH ไงคัรบพี่ ลองสอบถามจากพี่เอกน่าจะชัดเจนครับ

ปุ๊ก

ใบเสร็จออกในนามใครครับ

ถ้าในนามบุคคล ก็ต้องถือว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของ

แต่ถ้าในนามบริษัท ก็ต้องถือว่าบริษัทเป็นเจ้าของ

แล้วหากเค้าไม่ได้ต่อหลายเดือนเลย ก็ถือว่าหมดไปแล้ว ใครมาเอาก่อนก็มีสิทธิ์ได้ไป

คิดเหมือนผมเลยครับ

ตัดปัญหา ยึดมันซะเลย เพราะมีช่องตรงแจ้งต่ออายุมาแล้วไม่มีการโอนเงิน ก็ถือว่าเราเป็นเจ้าของจากการขาดการต่ออายุ แก้ชื่อ admin มาเป็นของเราซะแก้ dns ซะใหม่ให้เข้าเว็บไม่ได้

แจ้งราคาไปว่าจะขายต่อกี่หมื่นบาทก็ว่าไป แล้วก็ให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปตกลงกันมา มีบันทึกประจำวันจากตำรวจมาแสดง

แต่ถ้าเป็นผม ผมจะบอกให้ทั้ง 2 ฝ่ายคุยกันเอาเองครับ (ประชุมสายไปเลย) จบ !!!

ถ้าจะขายต่อระวังโดนเรื่องลิขสิทธินะครับ

เจ้าของ domain คือชื่อที่ใช้ตอบออกใบกำกับภาษี ที่เคยออกให้ตอนจดโดเมนหรือต่ออายุ

เมื่อตอนที่ยังต่ออายุอยู่ ออกบิลเป็นชื่อบริษัทครับ

( นาย xyz เป็นกรรมการ , ตอนหลังบริษัทแม่ที่ต่างประเทศ ได้แจ้งปิดกิจการโดยมีการจ่ายค่าชดเชยให้ มี email เป็นหลักฐาน , นาย xyz ก็เลยไปเปิดบริษัทใหม่ )

ถ้าเป็นกรณีที่ผมควรจะเป็นเจ้าของเนี่ย มันจะมีปัญหาอะไรมั้ย

เพราะว่าผมไม่ได้เปลี่ยนข้อมูลผู้ครอบครองโดเมน ณ ตอนนี้ยังเป็นเหมือนเดิมทุกอย่าง

ถ้าจะเปลี่ยนมาเป็นของผมเลยตอนนี้ จะโดนฟ้องมั้ยหว่า

ใจจริงก็อยากได้เงินค่าโฮสและโดเมนคืน ตั้งหกพันกว่าบาท

ยังเคือง ๆ อยู่ที่มาแจ้งโอนเงิน แต่ไม่ได้โอนเนี่ย แถมยังมาหลอกว่าชำระบัญชีแล้วอีก

ถ้าเป็นแบบนี้ ผมให้น้ำหนักที่บริษัทแม่นะครับ เพราะถือว่า xyz เป็นลูกจ้าง

กรณีนี้ยากแหะ ผมไม่กล้าให้ใครเลย

แต่ผมเคยเจอคือ โดเมนบริษัท แต่ ชื่อ รายละเอียด การโอน เป็นของพนักงาน ผมทุ่มให้พนักงานสุดตัว

ผมว่าเขียนเป็น กฎ ของ Hosting ไปเลยกว่าครับ ให้เขายอมรับตั้งแต่ตอนจะจดโดเมนเลย

  • เมื่อโดเมนหมดอายุแล้วต้องชำระค่าต่ออายุภายใน 15 วัน (ปกติ 30 วันโดเมนจะถูกตัดไป หากเลย 30 วันจะต่อไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ผมเคยมีเคสว่า ลูกค้าจ้างคนทำเว็บ แล้วคนทำเว็บดันจดในชื่อตัวเอง พอหมดอายุเราจะโอนให้ลูกค้าจริงๆ ก็ไม่ได้ ถ้ามี กฎ ตรงนี้จะช่วยลูกค้าได้มากเลยครับ เป็นการสร้างช่องว่างเล็กๆ ให้พอมีทางออกให้ลูกค้าของเรา) หากพ้นจาก 15 วันไปแล้วไม่มีการชำระเงินเพื่อต่ออายุ โดเมนนั้นจะตกเป็นของผู้ใช้บริการทันที ผู้ให้บริการมีสิทธิ์ในการโอนสิทธิ์นี้ไปยังลูกค้ารายอื่นได้

ถ้าไม่ต๊กยอมรับก็ไม่รับจดไปเลย

ยึดใบเสร็จเป็นหลักได้ครับ เพราะเป็นข้อผูกพันตามกฏหมาย

[size=“4”]กรณีนี้ เขาขาดการต่ออายุนะคะ คุณจดไปแทนแล้วก้เท่ากับ เป็นเจ้าของเองแล้วค่ะ

มันมีกำหนดอยู่แล้วด้วยระยะเวลา คุณไม่ทำการต่อภายในกำหนด ย่อมหมดอายุการเป็นเจ้าของแล้ว

ส่วนใครก็ตามมาขอซื้อและชื่อไม่ตรง ไม่ควรโอนให้ไปส่งเดช ในฐานะที่ใครอ้างความเป็นเจ้าของ

เพราะที่อ่านดู เกิดกรณีต้องการขโมยโดเมนกันแล้ว

มันอยู่ที่ตรงนี้ว่า คุณจะยึดโดเมนไว้ในฐานะอะไร

ถ้ายึดถือครอบครองแทนเขาละก็ ทีนี้คุณจะเกิดปัญหาว่า จะส่งมอบโดเมนให้ใคร มีเอกสารมาก็ตรวจสอบพลาดมีซวย โอนผิดคน เจอฟ้อง

แต่ถ้าคุณยึดถือครอบครองแทน ในฐานะตัวเอง คุณก็จะมีสิทธิ์ที่จะขายใครก็ได้

เจตนาต่างกันค่ะ เขาบอกว่าโอนเงิน แต่ไม่โอนมาจริงๆ จนหมดอายุความก็คือ เขาหมดกรรมสิทธิ์ไปแล้ว

ทีนี้การจะอ้างเอาโดเมนที่เราต่อแทนไปให้ ต้องเริ่มคิด เริ่มทำกันแล้วนะคะ สำหรับคนที่คิดจะต่อให้ลูกค้าก่อน

ต่อไปคงต้องตั้งกฏไว้ค่ะ ว่าถ้าเราทำการต่อให้ก่อนได้รับเงิน หลังหมดระยะเวลา เราทำการต่อในฐานะสิทธิ์ของเรา

ไม่ได้ต่อเพื่อครอบครองแทน จนกว่าลูกค้าจะโอนค่าโดเมน เพราะเจตนามันต่างกัน ผลก็ต่างกัน

เพื่อความปลอดภัย คุณพันทิยพ์ดูวันที่เขาแจ้งโอนเงิน สอดคล้องกันอย่างไร กับวันหมดอายุนะคะ

เจตนาต่างกัน กรรมสิทธิ์ต่างกัน

[/size]

ดูหนังสือจดทะเบียนของบ.abc asia co.,ltd. ว่ามี นาย xyz เป็นเจ้าของร่วมรึเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็แปลว่าเป็นแค่ลูกจ้าง

และต้องดูตอนซื้อว่าให้ออกบิลในนามบริษัทรึเปล่า หรือออกในนามบุคคล ถ้านามบุคคล xyz ก็ถือเป็นเจ้าของถึงแม้ไม่ใช่เจ้าของบริษัท

แต่ถ้า domain ลงท้ายด้วย .co.th นี่ ตัว domain เป็นของบริษัทแน่นอน

ส่วนเรื่องจะยึด domain แล้วขายต่อ ผมว่าอย่าหาเรื่องใส่ตัวดีกว่าครับ

[size=“5”]ปัญหาคือ เราไม่รู้ปัญหาวงในของเขาค่ะ ข้างในเขามีปัญหากันอย่างไร ยิ่งมีการค้าง เรื่องเงิน เรื่องผลประโยชน์กันด้วย ค้างเงินค่าหุ้นกัน ค้างเงินค่าจ้างกัน อื่นๆ คนที่โดนค้างก็มีสิทธิ์ยึดอะไรที่ครอบครองแทนไว้เป็นประกันได้

ถ้าเราไปทำให้เขา หมดประกันตรงนั้น เราก็จะซวย นึกออกไหมคะ

มันจะไม่ใช่แค่สิทธิ์โดเมน บางคน บางกรณีอาจจะมีสิทธิ์ยึดครองในฐานะเจ้าหนี้ด้วย

เช่นคุณพันทิพย์ ตอนนี้ ถ้าว่ากันด้วยเรื่องปกติ ถือได้ว่า ได้สิทธิครอบครองแทนเจ้าของโดเมนจริง (ปัญหาคือใครเจ้าของ เพราะมาแย่งสิทธิ์กันแล้วตอนนี้)

ถ้าเจตนาจดโดเมนต่อให้เขา ก็เป็นได้แค่ ยึดถือโดเมนแทนคนอื่น และจดโดเมนให้ไป แต่ยังไม่ได้รัับชำระเงิน ก็มีสิทธิยึดหน่วง เพราะยังไม่ชำระค่าโดเมน ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ได้

ปัญหาเป็นได้แม้ คนที่ปกติมาขอจด ยึดถือโดเมนไว้ แต่ตัวเองออกไปจดบริษัทเป็นคู่แข่งกัน เพราะมีปัญหาวงในต่างๆ เลยจะมาแย่งสิทธิ์ไป ทั้งๆที่สิทธิ์เป็นของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าตามตัวไป

พวกนี้ก่อปัญหาหมดเลย

[/size]

น่าจะมีคดีตัวอย่างที่ศาลไทยตัดสินแล้ว จะได้สบายใจนะครับ บางทียึดเอากรณีเมืองนอก มาใช้เมืองไทยตรงๆ ก็มีลุ้นเหมือนกัน?