โดเมน"ดอทอะไรก็ได้" ไม่มีผลต่อชาวออนไลน์?

[b]

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ปี 2013 จะเป็นปีที่หน่วยงานดูแลอินเทอร์เน็ตโลกหรือ ICANN จะเริ่มเปิดให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนเนมใหม่ที่ต่อท้าย ด้วย"ดอทอะไรก็ได้"[/b] แทนที่จะเป็น .com, .net, หรือ .org แต่สามารถเป็นดอทชื่อบริษัทเช่น .Apple, .CBS, หรือ .McDonalds รวมถึงคำใดๆก็ได้ตามต้องการ แต่ล่าสุดนักธุรกิจในวงการโดเมนออกมาฟันธงว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลต่อโลกออนไลน์ในระดับ"นิดเดียว"เท่านั้น เพราะผู้บริโภคจะยังติดกับชื่อ"ดอทคอม" และการค้นหาชื่อเว็บบนระบบค้นหาของกูเกิลต่อไป

   เจเรมีห์ จอห์นสตัน  ประธานฝ่ายปฏิบัติการของบริษัทจำหน่ายชื่อโดเมนเนม Sedo.com LLC  ในเมืองแคมบริดจ์  เป็นผู้ตั้งข้อสังเกตว่าแม้การเพิ่มจำนวนชื่อเว็บแอดเดรสจะเป็นสิ่งจำเป็น  แต่เชื่อว่าการเปิดเสรีให้เจ้าของเว็บไซต์ตั้งชื่อเว็บไซต์โดยใช้คำใดก็ได้ ต่อท้าย"ดอท"นั้นจะไม่ทำให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลายในวงกว้าง  โดยยกตัวอย่างว่าธุรกิจจำหน่ายชื่อโดเมนของบริษัทนั้นอยู่ในระดับคงที่แม้  ICANN จะอนุมัติชื่อโดเมนเนมใหม่หลายชื่อตั้งแต่ปี 2000 และ 2004

   

   [b]"นี่จึงเป็นคำถามว่า เราจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนที่อยู่เว็บไซต์ด้วยวิธีนี้หรือไม่"[/b]

   

   คำถามของจอห์นสตันเกิดขึ้นเมื่อหน่วยงานกำกับดูแลการจดโดเมนบนโลกออ นไลน์ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers หรือ ICANN  ประกาศผลการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2011  ว่าที่ประชุมมีมติเปิดให้ชาวออนไลน์สามารถจดชื่อโดเมนเนมระดับบนสุดหรือ  top-level domain ที่ต่อท้ายดอทด้วยคำอะไรก็ได้ที่ต้องการ[b] โดยเบื้องต้นรายงานระบุว่า หนึ่งในเงื่อนไขการจดทะเบียนชื่อโดเมนเนมดอทอะไรก็ได้นั้นจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าจดทะเบียนราว 185,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 5.5 ล้านบาท) และค่าต่ออายุรายปีอีก 25,000 เหรียญ (ราว 7.5 แสนบาท)[/b]

   

   ค่าใช้จ่ายมหาศาลนี้เป็นอีกจุดที่ทำให้การเปิดเสรีของ ICANN  ครั้งนี้ถูกโจมตี  เพราะนักสังเกตการณ์เชื่อว่าการเสียเงินจดทะเบียนเพื่อให้ได้ชื่อที่โก้เก๋ นั้นต้องแลกกับการทิ้งเงินไปในอากาศ  แม้กลุ่มสนับสนุนจะยืนยันว่าบริษัทและแบรนด์ต่างๆจะคุ้มค่าเพราะได้รับ ประโยชน์จากการเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นของลูกค้า เช่น  ลูกค้ารองเท้ากีฬาไนกี้ (Nike) จะสามารถพิมพ์ชื่อเว็บแล้วต่อท้ายด้วย .nike  ได้เลย

เหล่ากรรมการบริหาร ICANN

   [b]นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่าเพราะชาวออนไลน์นั้นค้นหาเว็บไซต์จากกูเกิลเป็นส่วนใหญ่[/b] ซึ่งหากชื่อแอดเดรสที่พบจะเป็น nike.com หรือคำอื่นแล้วตามด้วย .nike [b]ผู้ใช้ย่อมไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงมากนัก[/b] จุดนี้ วิลเลี่ยม ซีมิช (William Semich) ประธานบริษัท WorldNames Inc. ซึ่งให้บริการจดทะเบียนชื่อเว็บแอดเดรสในเมืองมีดฟิลด์ [b]คาดการณ์ว่า 75% ของชื่อโดเมนใหม่อาจจะถูกใช้งานน้อยมาก และอาจจะเงียบหายไปเลยในราว 2-3 ปี[/b]

   

   อย่างไรก็ตาม ร็อด เบคสตรอม (Rod Beckstrom) ประธานและซีอีโอของ  ICANN ยืนยันว่าการประกาศครั้งนี้หมายถึงการให้อิสระกับโลกออนไลน์  โดยเปรียบว่าการเปิดทางให้บริษัทใช้ชื่อโดเมนเนมดอทอะไรก้ได้คือการเปิดโลก ออนไลน์ที่ถูกจำกัดกั้นการใช้งานมานาน  โดยให้รายละเอียดว่าการตัดสินใจที่เกิดขึ้นใช้เวลาเจรจาและศึกษาเหตุผลมา นานกว่า 6 ปี  ถือเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับโลกได้เปิดรับโดเมน .com  มาตั้งแต่ปี 1984  และเหตุที่ทำให้การศึกษาและหาข้อสรุปของมติครั้งนี้ล่าช้า  คือความกังวลเรื่องลิขสิทธิ์และเครื่องหมายทางการค้าของบริษัททั่วโลก

   

   ขณะนี้ โลกเรามีโดเมนเนมระดับบนสุดมากกว่า 22 ชื่อ โดยในช่วง 10  ปีที่ผ่านมามีการเพิ่มชื่อ .biz, .info และ .asia  ยังไม่แพร่หลายนักเพราะจะเริ่มใช้งานในช่วงปีหน้า (2012)

   

   [b]สำหรับชื่อแอดเดรสใหม่สุดเสรีที่จะเกิดขึ้น เวลาเท่านั้นที่จะให้คำตอบว่าจะเป็นที่นิยมหรือเงียบหายไปตามคำพยากรณ์[/b]

   

   [b]Company Related Link :[/b]

   [[u]ICANN[/u]](http://www.icann.org/)

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000076382

ถ้าไม่มี ดอท คงจะเทห์กว่า สะเทือนทั้งวงการครับ

ผมเหน .co.cc เอามานินทากันมั่ว

อยากจะจด .นามสกุลของตัวเอง แล้วรอคนที่ใช่ มาจดโดเมนด้วย

แล้วมันจะออกมาในลักษณะเอามาขายต่อแบบ subdomain หรือเปล่า

เพราะคราวนี้เหลือแค่ .?? คาดว่า .a - .z จะไปก่อนเพื่อน (แต่คิดว่าข้อกำหนดน่าจะมีว่าอย่างน้อยต้อง 3-4 ตัวอักษรขึ้นไป)

ก็ต้องดูว่าการจดโดเมนจะจดกับที่ใหนได้บ้าง และระบบ dns ใครเป็นคนจัดการ สามารถแก้ไข code หรือมี api ในการจัดการ dns ของ subdomain ได้แค่ใหนอย่างไร

.book

.hotel

.travel

.tech

สงสัยว่า มันจะมีข้อห้ามอะไรหรือเปล่า

เช่น เกิดมีคนต่างประเทศ ไปจด .thai .thailand .siam

แล้วมีเวบเช่น sex.thai sex.thailand sex.siam หรืออะไรในทางลบ จะมีการจัดการอย่างไร

ชื่อบอกว่าดอทอะไรก็ได้ แต่เอาเข้าจริง คงมีกติกามาคลุมอะไรก็ได้อีกที

ไปประชุมงานนี้มาน่ะค่ะ อยู่ในเหตุการณ์ตอนเขาโหวตกัน ก็ตื่นเต้นดี

ต้องบอกว่า ข่าวเขียนเกือบถูกต้อง แต่มีผิดเพี้ยนบ้าง น่าจะเพราะแปลมา ทำให้เข้าใจไม่ตรงนัก คือ

  1. คนที่ขอจด TLD ใหม่ได้ เป็นใครก็ได้ ไม่ใช่เจ้าของเว็บ ฉะนั้น คนที่เป็นเจ้าของ brandname จะว่าไป ก็คือคนอยากเป็น registry นั่นเอง

  2. มีข้อถกเถียงว่า เป็นภาระเจ้าของ brand จะต้องมาจด root กันชาวบ้านมากั๊กชื่อ, ค่าใช้จ่ายสูงไป, UDRP มีปัญหา, WHOIS ยังต้องปรับเปลี่ยน การสร้าง trust บนโดเมน และการให้สิทธิกับผู้บริโภค (registrant) สามารถเลือกจดโดเมนกับใครก็ได้ ในราคาและเงื่อนไขที่ยอมรับได้

  3. ค่าใช้จ่ายที่เห็นนี้ ICANN ถูกผลักให้คิดถึงประเทศกำลังพัฒนาด้วย ตรงนี้อาจก่อให้เกิดการสัมปทาน แล้วสุดท้าย TLD อาจถูกใช้สิทธิ developing country มาเพื่อสมัคร TLD ราคาถูกก็ได้