ผลของการกวาดล้างละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สัปดาห์แรก

http://www.opensource2day.com/index.php?option=com_content&task=view&id=411&Itemid=1

ผลของการกวาดล้างละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สัปดาห์แรก

ตำรวจเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจ 10 แห่ง พบใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์รวมมูลค่า 11.9 ล้านบาท

องค์กรธุรกิจที่ถูกตรวจค้นมีสินทรัพย์รวม 117 ล้านบาท และยอดขายทั้งปีรวม 740 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีรายงานว่า จากความพยายามครั้งล่าสุดในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศ ไทยดำเนินไปได้หนึ่งสัปดาห์แล้ว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจ ที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ไทยระลอกแรกนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการและกระทำความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) เข้าตรวจค้นองค์ธุรกิจจำนวน 10 แห่ง และพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์รวมมูลค่า 11.9 ล้านบาท 

“นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีแต่เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น การเข้าตรวจค้นจะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการ บก. ปอศ. กล่าว “เราประกาศไว้ว่าจะกวาดล้างการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และเราจะทำตามนั้น”

องค์กรธุรกิจแต่ละแห่งที่ถูกตรวจค้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นบริษัทเอกชนไทย สินทรัพย์รวมของบริษัทเหล่านี้มีมูลค่าเกือบ 717 ล้านบาท และยอดขายรวมในปีพ.ศ. 2552 ของบริษัทเหล่านี้สูงถึง 740 ล้านบาท

       “บริษัทเหล่านี้ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งพอที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย ได้” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าว

ในการเข้าตรวจค้น เจ้าหน้าที่ตำรวจพบมีการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จำนวน 409 โปรแกรม ทั้งโปรแกรมของออโต้เดสค์ (Autodesk) ไมโครซอฟต์ (Microsoft) และไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (Thai Software Enterprise) ในพีซีจำนวน 69 เครื่อง



นอกจากการเข้าตรวจค้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตำรวจยังเร่งดำเนินกระบวนการสืบสวนและขอหมายค้นจากศาล โดยมีรายชื่อองค์กรธุรกิจในประเทศไทย ที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ราว 2,000 รายชื่อ อยู่ในมือ

องค์กรธุรกิจบางแห่งใช้แต่ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น แต่บางแห่งก็เพียงแต่มีใบอนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์ หรือไลเซนส์ ไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าว

เจ้าหน้าที่ตำรวจบก. ปอศ. คาดว่า การเข้าตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะดำเนินไปอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น จนถึงสิ้นปีนี้ เมื่อดูจากการได้รับอนุมัติหมายค้น หลักฐานที่ได้จากการสืบสวน เบาะแส และข้อร้องเรียนจากเจ้าของสิทธิ์

“ความพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของเราในปีนี้ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เราเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจต้องสงสัยหลายแห่งทุกสัปดาห์” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าว

       “เมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี เราต้องเร่งปฏิบัติงาน เนื่องจากเรามีหน้าที่โดยตรงในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ไทยเพื่อประโยชน์ ด้านการค้าระหว่างประเทศ และเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของไทย” 

อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 75 และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจต้องสงสัยทุกสัปดาห์ ผู้มีอำนาจของกรรมการขององค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย ทั้งโทษปรับและโทษจำ

ตลอดทั้งปีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ มูลค่าทั้งสิ้นเกือบ 400 ล้านบาท

    เจ้าหน้าที่ตำรวจย้ำว่า การเข้าตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มุ่งเป้าไปที่องค์กรธุรกิจเท่า นั้น การกล่าวอ้างว่ามีการเข้าตรวจค้นโรงเรียน สถาบัน และองค์กรสาธารณะต่างๆ นั้นไม่เป็นความจริง

นี่ก็มีสายลึกลับบอกจะเข้ามาตรวจที่บริษัท เลยแจ้งไปแล้วว่าใช้ osx แท้กับ linux

เวลามีข่าวจะตรวจidc ทีก็จะเห็นกองทัพแบกเครื่องออกจากตึกที

คิดเล่นๆ

69 เครื่อง 11.9ล้านบาท เฉลี่ยเครื่องนึงต้องเสียค่า Software ประมาณ 1.7แสนบาท

คิดเล่นๆ

จับ 10 บ. กำไร รวม 740 ล้าน

ตก บ. ละ 74 ล้านบาท

ค่า software 11.9 ล้านบาท

ตก บ. ละ 1.19 ล้านบาท

รายได้ต่อปี 74 ล้านบาท กับอีกแค่ จ่ายค่า software 1.49 ล้านบาท (แถมจ่ายแค่ปีแรกปีเดียว) จะจ่ายไม่ได้เลยเหรอครับ

คุณเอา ผลงานของคนอื่นมาหากินนะครับ

ไม่ใช้คอมตามบ้านที่เอามาใช้เฉยๆ

น่าจะแพงก็ของ Autodesk นั้นแหละ

จริงๆถ้า ตำรวจโชว์จับสนซักสิบสน ผมว่าจำนวนSWเถื่อนจะลดลงครับ

ฮ่าๆ ต้องโชว์จับ สนครับ

ผมชี้นิ้วได้เลย 7 เครื่องที่ อยู่ด้านล่าง สน แถวบ้านผม เครื่องไหนของแท้ ของเทียม

เพราะเล่นมาทุกตัว

ดีนะ บริษัทเปลี่ยนไปใช้ Openoffice แทน MS Office ละ -*-

Ubuntu ปัจจุบันสามารถใช้ทดแทน windows ได้ในระดับ “ใช้ได้” หรือยังครับ

ต้องถามกลับว่าจะใช้อะไรบ้างครับ

ไม่ได้บอกว่าไม่ควรซื้อหรือว่าแพง และก็เห็นแล้วว่าบริษัทเหล่านั้นมีกำลังซื้อได้

แค่คิดออกมาเล่นๆว่าค่า software เฉลี่ยต่อเครื่องเท่าไหร่ ครับ

74 ล้านบาทเป็นรายได้นะครับ ไม่ใช่กำไร ถ้ามองแค่ software ว่า 1 ล้านกว่าๆ ไม่แพง แต่ถ้าลองมองภาพรวมว่าหลาย ๆ อย่างที่บอกว่าไม่แพงรวมไปรวมมา มูลค่ารายจ่ายอาจเท่ากับรายได้ก็เป็นได้

ใช้ได้ แค่พื้นๆครับ

internet msn shell ลงลึกมากยังไม่ได้

openoffice ก็ยังไม่สมบูรณ์

ที่กังวลว่าจะใช้ไม่ได้คือเรื่องของ driver งานที่ใช้ก็คงเป็น office พื้น ๆ word, excel, outlook, web browser อะไรแบบนี้. ลึก ๆ คงใช้ windows ไป

หมื่นกว่าบาทเองหนิครับ ถ้าใช้เยอะก็ซื้อไปลงซักเครื่อง

web browser มันไม่มีลิคสิทธิครับ

โดยทั่วไปอัตรากำไรต่อรายได้ของกิจการพวกนี้จะสูงครับ อย่างต่ำก็ 10%