กสทฯ ฟ้องศาลเบรกกทช.ประมูล 3 จี

กสทฯฟ้องศาลเบรกกทช.ประมูล 3 จี (ไทยโพสต์)

      กสทฯ เดินหน้าฟ้องศาลปกครอง ขอเพิกถอนประกาศ กทช. 3 จี ขอคุ้มครองชั่วคราว หลังพิจารณา กทช.ไม่มีอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ 



      นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 13 กันยายน 53 กสทฯ จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกรณีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ไม่มีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือ 3 จี โดยการฟ้องศาลในครั้งนี้ กสทฯ ได้ขอพิจารณาให้เพิกถอนประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond ทั้งฉบับ 



      นอกจากนี้ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จนกว่าจะมีการตัดสิน ซึ่งการ ที่ กสทฯ ได้เดินหน้าฟ้องร้อง กทช.ในครั้งนี้ เนื่องจากต้องพิทักษ์ผลประโยชน์ขององค์กร เนื่องจากถ้าการประมูล 3 จีเกิดขึ้น รายได้จากสัมปทานที่เคยได้รับเฉลี่ยปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท ก็มีแนวโน้มที่จะลดลงมาเรื่อย ๆ เพราะคู่สัมปทาน อย่าง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จะมีการโอนย้ายลูกค้าจาก 2 จี ซึ่งเป็นระบบเดิมไปสู่ 3 จี  



      สำหรับมติดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายจัดการ กสทฯ สามารถดำเนินการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) และหลังจากการยื่นฟ้องแล้วจะนำเสนอรายงานต่อบอร์ด กสทฯ กระทรวงการคลัง และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต่อไป



      "เรา ไม่ได้อยากทำ เพราะขัดกับการพัฒนาเทคโนโลยี แต่เราก็ต้องพิทักษ์ผลประโยชน์ขององค์กร เพราะภายหลังการประมูลจะเกิดผลเสียตามมา ซึ่งการฟ้องร้องในครั้งนี้ไม่ได้ ถูกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กสทฯ กดดันแต่อย่างใด" นายจิรายุทธกล่าว



      อย่างไรก็ตาม หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า กทช.มีอำนาจหน้าที่สามารถดำเนินการประมูล 3 จีได้ กสทฯ ก็ยินดีรับฟังคำตัดสินของศาล เพียงแต่ขอให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้



      ด้าน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการ กทช. กล่าวว่า การพิจารณากรณีดังกล่าวขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของศาล ซึ่ง กทช.ยินดีรับฟังคำตัดสิน อย่างไรก็ตามขณะนี้ไม่ได้มีการเตรียมแผนรองรับหาก ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยยังคงเดินหน้าที่จะเปิดประมูลไลเซนส์ 3 จี ตามกำหนดวันแรกวันที่ 20 กันยายนนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

สงสัยวิสกัสหมด เลยต้องออกหากินบ้าง นี่ขนาดรัฐถือหุ้นใหญ่นะเนี่ย

เขมรที่เราดูถูกใช้ 3Gไปแล้ว

พี่ไทยยังใช้ EDEG อยู่เลยหะ

ผลประโยชน์ไม่ลงตัวเบรคกันไปแล้วก็เบรคกันมา งั้นก็ไม่ต้องใชกันแล้ว

แมร่งไม่เคยคิดถึงผมประโยชน์ของใครเลยนอกจากตัวมันเอง

สรุปประเทศเราก็ ต้องเป็นแบบนี้ตลอดไป ห่วงแต่เงินเข้ากระเป๋า ตัวเอง

ถ้าในทางที่ดีดีก็ นั้นๆๆผมว่า แต่มองในทางที่แย่ก็แย่มากๆๆๆๆ

นั้นไง คิดไว้อยู่แล้ว รอใช้จีที่มันสูงๆกว่านี้ดีกว่า แต่ไม่รู้ว่าจะกี่จีนะ

เนื่องจากต้องพิทักษ์ผลประโยชน์ขององค์กร เนื่องจากถ้าการประมูล 3 จีเกิดขึ้น รายได้จากสัมปทานที่เคยได้รับเฉลี่ยปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท ก็มีแนวโน้มที่จะลดลงมาเรื่อย ๆ

ทำใจ

ย้ายเข้าให้ถูกห้อง ห้องข่าวครับ

โอ้ยเช็งคนนั้นเปิดคนนี้ก็มาเบรค ขยันเบรคกันจังประเทศไทยน้อ

ที่กล่าวว่า " กทช.ไม่มีอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ " แล้วกระทรวงไหนที่มีอำนาจ… อยากรู้จริงๆ

หรือ กทช. เป็นเพียง รร. กรุงเทพช่างกล เท่านั้น

และ กสท. ปัจจุบัน ก็เป็นเพียง บริษัทมหาชน ดำเนินการประกอบกิจการเท่านั้นไม่ใช่หรือครับ

ไปเกี่ยวอะไรด้วยกับ " การจัดสรรความถี่ " ซึ่งมีกระทรวงกำกับดูแลอยู่แล้ว

หรือว่าเป็นสัญญาสัมปทานเก่า สมัยก่อนที่จะมี กทช. ก่อตั้งเป็นกระทรวงกำกับดูแลและจัดสรรความถี่ หรอครับ

อ่านแล้ว งงๆ

หาก กทช. ไม่มีอำนาจและหน้าที่กำกับและจัดสรรความถี่ ก็ยุบจากกระทรวงไปเป็น โรงเรียนกรุงเทพช่าง เสียดีกว่า

นี้เหละประเทศไทย

ก่อนปี 40 อำนาจอยู่ที่กระทรวงคมนาคมครับ โดยใช้อำนาจผ่านรัฐวิสหกิจ 2 ราย คือ ทศท. และ กสท.

ต่อมาเมื่อแปรรูปรัฐวิสหกิจ สองรายนี้แล้ว ก็โอนอำนาจกลับไป กระทรวงคมนาคมพักนึง แล้วพอได้ รัฐธรรมนูญ 40 อำนาจก็เปลี่ยนไปอยู่ที่ กสช.

ตามรัฐธรรมนูญ 40 อำนาจอยู่ที่ กสช. ครับ (แต่ กสช.ไม่เคยตั้งได้)

ส่วนตามรัฐธรรมนูญ 50 อำนาจอยู่ที่ กสทช. ครับ (แต่ก็ยังตั้งไม่สำเร็จอยู่ดี ผ่านมา 2 ปีล่ะ)

แต่ตามรัฐธรรมนูญ 50 ก่อนได้ กสทช. ตัวจริง เค้าให้ กทช. รักษาการไปพลางก่อนแต่ก็ไม่ได้ระบุอำนาจเอาไว้ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้

ก็เลยเป็นจุดอ่อนของ กทช. ที่ต้องมาตีความว่า ตัวสำรองอย่าง กทช. จะเปิดประมูลความถี่ได้จริงหรือ

อันที่จริง 3G ถ้าประมูลทาง กทช. ไม่ได้ มันก็มีอีกวิธีคือ ออก พรบ. ใหม่เพื่อประมูล 3G โดยเฉพาะ แต่ต้องเอา พรบ. ผ่านสภาให้ได้ก่อน

(ซึ่งแน่นอน หนทางนี้ริบหรื่ ผ่านสภายากแน่ๆ เพราะ 3G ผลประโยชน์มันเยอะ ทะเลาะกันตาย)


เพิ่มเติมให้อีกหน่อยคับ

กทช - คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ดูความถี่สื่อสาร)

กสช - คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (ดูความถี่วิทยุ โทรทัศน์)

กสทช - คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ยุบรวม กทช. กะ กสช. ไว้ด้วยกัน)

ที่อำนาจคลื่น 3G ตัวใหม่ที่จะประมูลไปอยู่กะ กสช เพราะว่า ตามกฏหมายเก่า คลื่น 3G มันน่าจะเข้าข่ายวิทยุโทรทัศน์มากกว่า

(อย่าลืมว่า ก่อนหน้านี้คลื่นที่ใช้ 3G มันไม่มีใครใช้นะครับ) แม้ว่าตอนหลังทั่วโลกเค้าจะใช้กะ 3G กัน

แต่ในไทยยังไม่มี กสช. เลยทำให้ตกลงกันไม่ได้ ว่าจะให้ กทช.เอาไปใช้ได้จริงหรือ?(จะผิดกฏหมายรึเปล่า)

+1 rep บนครับ

rep บนอธิบายได้ละเอียดดี ขอบคุณมากครับ

ความเห็นผม ผู้บริหาร CAT และ TOT ยังไงก็ต้องทำเพื่อผลประโยชน์ขององค์กรครับ

เพราะถ้า 3G เกิด ในขณะที่ CAT และ TOT ยังไม่มีความสามารถในการแข่งขัน (แบบเสรี)

ทั้งสององค์กรนี้แย่แน่ๆ ครับ รายได้หลักส่วนหนึ่งของ CAT และ TOT มาจากสัมปทานคลื่น 2G

ซึ่งถ้ารายได้ส่วนนี้หายไปทั้งสององค์กรมีโอกาสประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างแน่นอน

แต่ก็อย่างว่าแหละ สององค์กรนี้เลือกที่จะรักษาผลประโยชน์ขององค์กร

คำถามที่หลายๆ คนสงสัยคือ แล้วผลประโยชน์ของชาติล่ะ?

คำอธิบายของท่าน oatcpe ทำให้นึกขึ้นได้ถึงชื่อย่อต่างๆ เหล่านั้น และที่มาของ กทช

ขอบคุณมากครับ

รอไปเหอะชาติหน้าได้ใช้

+1 ครับ อ่านแล้วเข้าใจแจ่มแจ้งเลย

TOT ตามมาฟ้องมั่งแล้วอะค่ะ

เบรคไปเรียบร้อยแล้ว

ประมาณว่า แบ่งเค็ก กันไม่ลงตัวอะ ประเทศไทยอะ ปีไหนจะได้ใช้อะ