นางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ
ปธ.ชมรมฯ เว็บโฮสติ้ง ระบุลงทุนหลายร้อยล้านบาทเพื่อซื้อเทคโนโลยีไม่ใช่คำตอบ ทั้งการสนิฟเฟอร์ การจับเว็บไซต์ลามก หรือ การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา…
นาง ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวกรณี ภาครัฐมีแนวคิดที่จะดำเนินการดักจับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือ สนิฟเฟอร์ ว่า เรื่องนี้ทำให้คนในอินเทอร์เน็ต และผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์มีความความตื่นกลัว แต่หากมองในทางเทคนิค การสนิฟเฟอร์ เป็นการดักดูแพ็กเกตข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการเอาข้อมูลมาหั่นเป็นส่วนๆ โดยส่วนที่เป็นข้อมูลที่เก็บกัน คือ หัวท้าย เมื่อถึงปลายทางข้อมูลจะมามารวมกัน หากไม่ต้องการให้คนล่วงรู้ว่าข้อมูลที่ส่งมา คือ อะไร ทำได้ด้วยการเข้ารหัส SSL ที่จะทำให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตช้าลง เพราะจะมีขั้นตอนการเข้า-ถอดรหัสข้อมูล
ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บ โฮสติ้ง กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตามมานั่นคือ ความเร็วของอินเทอร์เน็ตจะลดลง และ เมื่อมีการจะดักจับข้อมูลคนที่กลัว หรือ ปอดแหก ก็จะหนีไปเข้ารหัสข้อมูล หากทำกันมากๆ อินเทอร์เน็ตในประเทศจะช้าลงกว่าเดิม เรื่องนี้จึงเป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามการสนิฟเฟอร์สามารถทำได้ในระดับผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรต่างๆ เพื่อใช้งานด้านการซ่อมบำรุง และแก้ปัญหา แต่สิ่งที่ภาครัฐจะทำนั้น คือ การสนิฟเฟอร์ระดับอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ที่คนทั่วไปจะไม่รู้ว่า ดักจับข้อมูลของใคร แล้วข้อมูลต่างๆที่เก็บไป การดูแลรักษาจะปลอดภัยแค่ไหน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบไอทีภาครัฐอ่อนแอมาก
นาง ภูมิจิต กล่าวอีกว่า แม้แต่ข้อมูลบนบัตรประจำตัวประชาชนยังรั่วไหลได้ แล้วประชาชนจะมีหลักประกันได้หรือไม่ เมื่อสังคมตื่นตัวเรื่องสนิฟเฟอร์ คนที่รู้เรื่อง และคนทำผิด เช่นแฮกเกอร์ ย่อมทราบทางหนีทีไล่ของการหลบสนิฟเฟอร์ดี แต่ชาวบ้านที่ไม่รู้เทคนิค ไปไม่เป็น หลบไม่ได้ เขาก็ต้องไปหาศาสตร์ด้านมืด หรือ ความรู้ในทางที่ไม่ดี เพื่อมาหลบเลี่ยงการสนิฟเฟอร์ กลายเป็นว่าจากที่รัฐบาลคิดว่างานจะเบาขึ้น กลับกลายเป็นได้แฮกเกอร์มือสมัครเล่นเพิ่มอีกหลายเท่าตัว เพิ่มภาระให้เจ้าหน้าที่ซ้ำเข้าไปอีก
ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮ สติ้ง กล่าวถึงกรณีที่จะมีการจัดการเว็บไซต์แบ่งปันไฟล์ ที่ปล่อยให้มีการดาวน์โหลด หรือ เว็บไซต์บิตทอเรนต์ เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ว่า