ความรู้เกี่ยวกับ แบตเตอรี่มือถือ ที่ไม่ควรมองข้าม

ความรู้เกี่ยวกับ แบตเตอรี่มือถือ ความรู้ที่ไม่ควรมองข้าม

แบตเตอรี่แท้ จะมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วน

  1. ตัวก้อนถ่าน ชิ้นส่วนนี้จะไม่สามารถเป็นต้นเหตุของการระเบิดได้

  2. วงจรควบคุมกระแสไฟ ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายไฟออกจากก้อนถ่าน เพื่อไม่ให้กระแสไฟถูกใช้ไปจนหมดเกลี้ยงก้อน เพื่อให้กระแสไฟยังคงติดก้นก้อนอยู่ เพราะธรรมชาติของแบตต้องมีกระแสไฟบางส่วนเหลือหล่อเลี้ยงก้อนถ่านไว้ ถ้าถ่านปล่อยกระแสไฟออกไปหมดจนเกลี้ยงถ่านก้อนนั้นก็จะเสื่อม และหมดสภาพไป

  3. ตัวควบคุมความร้อน มีลักษณ์เหมือนขดลวดไฟฟ้า แต่มีคุณสมบัติต้านทานกระแสไฟ ถ้าแบตเกิดช๊อต เกิดความร้อนขั้นมา ลวดไฟฟ้าตัวนี้จะต้านทานกระแสไฟ ยิ่งร้อนก็ยิ่งต้านทานมาก ไม่ให้ไฟฟ้าวิ่งมาเพิ่มความร้อน เพราะถ้าไม่ต้านไว้กระแสไฟจะวิ่งเข้ามาเพิ่มขึ้น ความร้อนก็จะสะสมเกินที่แบตจะรับไหว มันจะค่อยๆไหม้ จนสุดท้านก็ต้องระเบิด

สาเหตุที่ทำให้แบตมือถือ ระเบิด จริงๆมีหลายสาเหตุ แต่ที่สำคัญก็คือ

  1. เกิดจากการโอเวอร์ฮีต หรือ ความร้อนที่มีเกินความต้านทานนั่นเอง

  2. เกิดจากการโอเวอร์ชาร์จ คือ การชาร์จแบตนานเกินไป ซึ่งจะปลอดภัยถ้ามีแท่นชาร์จสำหรับชาร์จแบตเตอรี่โดยตรง (แท่นต้องได้มาตราฐาน ไม่ใช่เป็นแบบตัวหนีบน๊ะครับ แบตบวม เบิ้มไม่รู้ด้วย)

การทำให้แบตเตอรี่ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

  1. แบตเตอรี่ก้อนใหม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อได้รับการชาร์จเต็มและ คายประจุออกอย่างสมบูรณ์ อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ส่วนการชาร์จโดยปกติไม่ควรชาร์จทิ้งไว้เกิน 1 วัน เพราะจะทำให้แบตเสื่อมอันเกิดจากประจุไฟเกินกำหนด (โอเวอร์ชาร์จ)

  2. ไม่ควรทิ้งแบตที่ชาร์จเต็มแล้วไว้ในแท่นชาร์จ แม้ไม่ได้เสียบสายชาร์จก็ตาม เพราะจะทำให้แบตคายประจุออกมาได้ เมื่อนำแบตไปใช้จะพบว่าแบตก้อนนี้หมดเร็วกว่าปกติ และ อย่าปล่อยแบตทิ้งไว้นานโดยไม่ได้ใช้งาน

  3. อุณหภูมิ มีผลต่อการชาร์จ และการใช้งานแบต การทิ้งแบตไว้ในที่ร้อน หรือเย็น เช่น ในรถที่ปิดกระจกและประตูสนิท จะทำให้ความจุพลังงาน และอายุการใช้งานของแบตลดลง พยายามเก็บแบตไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 15-25 องศาเซลเซียส การใช้แบตที่มีอุณหภูมิร้อนหรือเย็นเกินไปจะทำให้มือถือไม่สามารถทำงานได้ ชั่วคราว แม้ว่าแบตจะมีประจุไฟอยู่ก็ตาม

  4. การชาร์จ ควรต่อสายชาร์จเข้ากับเครื่องมือถือก่อน จากนั้นจึงเสียบปลักไฟ จะช่วยให้เครื่องชาร์จมีอายุการใช้งานนานขึ้น การเสียบปลั๊กเครื่องชาติก่อน แล้วจึงต่อสายเข้ากับมือถือ อาจทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้นได้

  5. ระวังการลัดวงจรของแบตที่อาจเกิดจากโลหะ เช่น เหรียญ พวงกุญแจ มาสัมผัสกับขั้ว +และ- เช่น การเก็บแบตไว้ในกระเป๋าที่มีโลหะ การลัดวงจรแบบนี้อาจทำให้แบตเกิดความเสียหาย หรือ อาจจะระเบิดได้ ต้องซื้อแบตใหม่หรือเปลี่ยนเท่านั้น

หมายเหตุ แท่นชาร์จตัวหนีบ ระวังกันน๊ะครับ ระเบิดได้ ไม่รู้ตัว แบตจะมีอาการบวม นั้นเป็นสัญญาณบอกว่าแบตเริ่มมีปัญหาแล้ว

ข้อมูลนี้บางคนอาจมองข้ามกัน และข้อมูลนี้พิมพ์มาจากหนังสือฉบับหนึ่ง (ยาวเลย) หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆน๊ะครับ

ขอบคุณที่เอามาฝากดึกๆครับ ^^

หง่ะ ทำไปแล้ว overcharge เนี่ย
เรื่องอุณภูมินี่สบายบ้านผมเลยไม่มีแอร์จากพัดลม

แบต ลิเทียม ถ้ามีสายชาร์ตอยู่แล้ว ไม่ต้องรอจนหมดก่อนค่อยชาร์ตนะครับ ระยะ Optimize อยู่ที่ 70-30% ต่ำกว่านี้แบตจะเสื่อมไวขึ้น.
Laptop ด้วยครับ.