ค่าบริการจดโดเมนเนม หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ได้?

*้ โดเมนถือเป็นสินค้าและเป็นสมบัติของลูกค้า ไม่อยู่ในหมวดของบริการ ไม่สามารถหัก ณ ที่จ่าย 3% ได้

เข้าไปดูได้ที่ http://www.servertoday.net/domain.html

ค่าจดโดเมนเนม ถูกที่สุดในภูมิภาคเอเซีย… 250 บาท :angel:

เป็นเหตุผลประหลาดฟังไม่ขึ้นอย่างมากค่ะ เขียนอย่างนั้น ระวังสรรพากรมาอ่านเจอนะนั่น เสียวแทน

เป็นเหตุผลประหลาดฟังไม่ขึ้นอย่างมากค่ะ เขียนอย่างนั้น ระวังสรรพากรมาอ่านเจอนะนั่น เสียวแทน

ถ้าไม่ถึง 1 พันก็ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย คัรบ หรืออย่างที่เขาบอกว่า

โดเมนถือเป็นสินค้าและเป็นสมบัติของลูกค้า ไม่อยู่ในหมวดของบริการ ไม่สามารถหัก ณ ที่จ่าย 3% ได้

ก็ทำได้นะคัรบ แต่ต้องมีใบส่งของให้ลูกค้านะคัรบ แบบนี้จะถือว่าเป็นสินค้า ไม่ใช่บริการ

ให้บริการรับจดโดเมนเนม <-- ก็เขียนอยู่ชัดๆ ว่าเป็นการให้บริการ แล้วจะถือว่าเป็นสินค้าได้อย่างไรคะ งง จริงๆ เลย สงสัยต้องส่งเรื่องให้สรรพากรตีความซะแล้ว เพราะหากเป็นแบบนี้จริง จะได้แจ้งทางผู้บริการรับทราบกันไว้ว่าต่อไปห้ามหักภาษี ณ ที่จ่ายค่ะ :angel:

พูดอย่างนี้ เสียวหลังแทนเลย ( ระวัง สรรพากร น่ะครับ )

ให้บริการรับจดโดเมนเนม <– ก็เขียนอยู่ชัดๆ ว่าเป็นการให้บริการ แล้วจะถือว่าเป็นสินค้าได้อย่างไรคะ งง

ผมเคยคุยกับผู้รู้คนหนึ่งนะคัรบ ถ้าส่ง user pass ของโดเมนนั้น ลงในซอง แพค หรือะไรก็แล้วแต่ แล้วส่งของให้ลูกค้า มีใบส่งของ อะไรแบบนี้ จะถือว่าเป็นสินค้าไงคัรบ

อันนี้ผมก็ไม่รู้ลึกอะคัรบ เป็นเรื่องปวดหัวจริงๆ

แต่โดเมนผมก็ไม่ให้ลูกค้า หัก อยุ่แล้ว เพะระว่ายอดไม่ถึง พัน

แต่สงสัยจัง ใมจดโดเมนถูกขนาดนั้น เขาก็จดที่ directi เหมือนกับผม ผมเองได้ต้นทุนต่ำ สุดแล้ว ยังให้ราคานั้นไม่ได้เลย

แต่สงสัยจัง ใมจดโดเมนถูกขนาดนั้น เขาก็จดที่ directi เหมือนกับผม ผมเองได้ต้นทุนต่ำ สุดแล้ว ยังให้ราคานั้นไม่ได้เลย

ตั้งแต่ดิฉันทำโฮสต์มา ก็รู้จัก ThaiTumweb นี่แหละค่ะ ที่ถือว่าโดเมนเนมถูกที่สุด … รายนี้มาแปลก ขายขาดทุน ก็ยอม … ทำธุรกิจแบบนี้ มีเงื่องงำ สงสัยจะมีทุนหนา เพราะเห็นมีสาขาต่างประเทศด้วย :angel:

อาจจะอยากขายออกน่ะครับ คงซื้อมาเยอะ ( อย่างน้อยก็เอาเงินมาหมุนก่อนก็อาจเป็นไปได้ )

ตั้งแต่ดิฉันทำโฮสต์มา ก็รู้จัก ThaiTumweb นี่แหละค่ะ ที่ถือว่าโดเมนเนมถูกที่สุด

พักหลังราคา 350 เหมือนผมค่อนข้างเยอะทีเดียว ว่าจะขึ้นให้แพงแล้วคัรบ ปล่อย reseller ขายดีกว่า

เคยปรึกษาผู้รู้แล้วค่ะ เค้าบอกเลยว่า ค่าบริการใดก็ตามที่ไม่ถึง 1,000 บาท แต่มีเงื่อนไขชัดเจนว่า จะต้องมีการจ่ายไปเรื่อยๆ ไม่มีการกำหนดวันสุดท้ายที่ยกเลิกสัญญา เช่น ค่าโทรศัพท์พื้นฐาน ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือน ฯลฯ จะต้องหัก ณ ที่จ่ายเสมอ ยกเว้นแต่เป็นค่าบริการที่จ่ายครั้งเดียวแล้วจบ เช่น ค่าบริการส่งของ (UPS, ไปรษณีย์, เป็นต้น) ถ้ายอดไม่ถึง 1,000 บาท ไม่ต้องหัก หาอ่านเพิ่มในวารสารสรรพากร หรือหนังสือพวกภาษีของค่ายธรรมนิติได้ค่ะ

บอกให้หนาวเล่นๆ สรรพากรเคยแวะมาเยี่ยมดิฉันแล้ว เรื่อง withholding taxes นี่ล่ะ เบื่อโค-ตะ-ระ

ไม่มีการกำหนดวันสุดท้ายที่ยกเลิกสัญญา

เอ่อ ผมสงสัยตรงนี้นิดครับ คือว่า โดเมน มันกำหนดวันหมดสัญญา ไม่ใช่หรอครับ เช่น

Record last updated at 2004-10-27 02:35:20
Record created on 2004/9/5
Record expired on 2006/9/5

ตรงนี้ระบุไว้ชัดเจนว่า Record expired on 2006/9/5 แบบนี้น่ะครับ

สำหรับเรื่องนี้ nanadomain.com ได้ปรึกษาทางสรรพากรมาแล้วค่ะ เขาบอกว่า ถ้าเราซื้อมาเป็นสิทธิ์ของเราหรือเป็นโควต้าของเรา และมีวันหมดอายุ หรือ ว่ามีระยะเวลาใช้งาน สามารถจำหน่ายเป็นสินค้าได้ ขึ้นอยู่กับว่า เรากำหนดให้โดเมนเป็นสินค้าหรือบริการ ค่ะ แต่จะใช้คำว่า บริการจดโดเมนไม่ได้ ในใบเสร็จที่เราออกไป ต้องเขียนเป็นชื่อสินค้าแทน

แต่ปัญหามันก็จะตามมาอีกว่า บริษัทไม่สามารถเอามาออก vat ได้ เพราะเราไม่ได้ซื้อ vat มา มันก็เลยต้องมาคิดในรูปของค่าบริการแทน เพราะค่าบริการสามารถคิด vat ได้แต่ แต่ถ้าสังเกตุให้ดีนะ เราจดให้ครั้งเดียวไม่ได้ต่อเนื่องทุกเดือน แต่มันใช้งานตลอด จนกว่าจะถึงกำหนดหมดอายุ มันเลยเป็นช่องทางที่ได้รับการยกเว้นเพราะไม่ถึง 1000 บาท แต่ถ้า โดเมนเป็นลักษณะว่า จดเป็นรายเดือนแบบนี้โดนเต็มๆ อยู่แล้วค่ะ แล้วอีกอย่าง โดเมนเนี่ยเราจดเสร็จก็เป็นของเขา 100% อยู่แล้ว เขามีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนจะแก้ไข อะไรก็ได้อยู่แล้ว และมันก็ต่างจาก host ที่ว่า โดเมนเราขายไปแล้วสิทธ์มันเป็นของเขาเต็มที่ แต่ hosting เป็นลักษณะให้เช่า คือ มีข้อกำหนดควบคุมอยู่ เช่นข้อห้ามต่างๆ มันก็เลยไม่ใช่สิทธิ์ขาดในความเป็นเจ้าของ แต่มันจะไปโดน ภาษี ค่าเช่า 5% แทน เลยต้องเปลี่ยนมาเป็นให้บริการพื้นที่ หรือ รับฝากเว็บไซต์แทน เลยโดนแค่ 3% ค่าบริการแทน

สรุปนะคะ ถ้าเกิดว่า เราขายโดเมนอย่างเดียวไม่มี host และ ภายในปีนั้นๆๆ ไมมีการจดชื่ออื่นอีกเลย หรือ ใช้บริการอื่นๆ อีกเลยไม่ต้องโดนหักภาษี ไปเริ่มนับปีต่อไปใหม่ แต่ถ้าเกิดว่า ในปีนั้นๆ มีการจดโดเมน และ ใช้ hosting ด้วย รวมแล้ว เกิน 1000 บาท โดนเต็มๆๆ ค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้บริการใดๆ ก็ตามที่เป็นผู้รับเงินคนเดียวกัน ถึงจะต่างบริการ แต่ถ้ารรวมแล้ว เกิน 1000 บาท/ปี โดนหักไปได้เลยค่ะ ฟันธง!

เช่น ครั้งแรก บริษัก ก. จดโดเมน เดือนม.ค. จดโดเมน 600 บาท ตอนนี้ก็ไม่ต้องหัก พอเดือนเมษา บริษัท ก. จดอีกชื่อหนึ่ง 600 บาท คราวนี้หักกันเต็มที่ เลยเพราะเกิน 1000 บาทแล้ว หรือ บริษัท ข. จดโดเมนพร้อม hosting รวมแล้วไม่เกิน 1000 บาทต่อปีก็ไม่โดนหัก ภาษี ทั้ง hosting ทั้งโดเมน

ขอบคุณ คุณน้องใหม่ มากๆ เลยค่ะ ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลย

สรุป

  1. ถ้าเราถือว่าโดเมนเนมเป็นสินค้า ก็ติดปัญหาตรง VAT เพราะไม่มีภาษีซื้อ มีแต่ภาษีขาย

(กรณีนี้อยากรู้เหมือนกันว่าทาง ผู้ให้บริการที่ขายโดเมนเนมราคา 250 บาท และ ประกาศว่า โดเมนเนม เป็นสินค้า หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ได้ จะออก VAT ให้ยังไง ?)

  1. ถ้าเราถือว่าโดเมนเนมเป็นการให้บริการ ก็สามารถออก VAT ได้ และลูกค้าก็หักภาษี ณ ที่จ่ายได้ (กรณีที่ค่าโดเมนเนม มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป)

ดังนั้นวิธีที่ถูกต้อง ควรจะเป็นแบบที่ 2 คือให้ถือว่า การจดโดเมนเนม เป็นการบริการอย่างหนึ่ง… ในกรณีที่โดเมนเนม มูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ลูกค้าก็ไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ เพราะโดเมนเนม ต่างจาก ค่าโทรศัพท์, ค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือน … โดเมนเนมเมื่อครบปี ลูกค้าสามารถย้ายไปต่ออายุกับผู้บริการรายอื่นได้

ปัญหาภาษี เป็นปัญหาโลกแตก เจ้าหน้าที่แต่ละเขต แต่ละพื้นที่ก็ตอบไม่เหมือนกัน … ที่ผ่านมาหากลูกค้าจดโดเมนเนม .th ราคาเกิน 1,000 บาทขึ้นไป ดิฉันก็ให้ลูกค้าหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ทุกครั้ง เพราะเวลาเราจ่ายเงินให้กับทาง THNIC เราก็สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ได้เหมือนกันค่ะ :angel:

[quote] ดังนั้นวิธีที่ถูกต้อง ควรจะเป็นแบบที่ 2 คือให้ถือว่า การจดโดเมนเนม เป็นการบริการอย่างหนึ่ง… ในกรณีที่โดเมนเนม มูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ลูกค้าก็ไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ เพราะโดเมนเนม ต่างจาก ค่าโทรศัพท์, ค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือน … โดเมนเนมเมื่อครบปี ลูกค้าสามารถย้ายไปต่ออายุกับผู้บริการรายอื่นได้

ปัญหาภาษี เป็นปัญหาโลกแตก เจ้าหน้าที่แต่ละเขต แต่ละพื้นที่ก็ตอบไม่เหมือนกัน … ที่ผ่านมาหากลูกค้าจดโดเมนเนม .th ราคาเกิน 1,000 บาทขึ้นไป ดิฉันก็ให้ลูกค้าหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ทุกครั้ง เพราะเวลาเราจ่ายเงินให้กับทาง THNIC เราก็สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ได้เหมือนกันค่ะ

เพิ่มเติมอีกนิด กรณีที่ผู้ที่จดทะเบียนพาณิชย์ ธรรมดา หรือ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิค ธรรมดา โดยที่ไม่ได้มีฐานะเป็นห้างหุ้นส่วน หรือ บจก เรียกๆๆ ง่ายๆ ว่า กิจการของท่านไม่ได้เป็นนิติบุคคล ไม่ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายใครได้ ค่ะ

เช่น นานาโดเมน เป็นบุคคลธรรมดา ไม่สามารถ หักค่า hispeed ค่าวางcolo ค่าจดโดเมนกับ thnic ได้ มีแต่ถูกคนอื่นหักอย่างเดียว

แต่ถ้าเรามีสถานะเป็นนิติบุคคล หักกันเพลิน เต็มที่ :blink:

สรรพกรมาเยี่ยม มาเยียนที่ร้านผมอยู่เป็นประจำครับ ก็เลยได้คุยๆกันเรื่องนี้เหมือนกัน

ของผมเวลาขายถ้าพื้นที่โฮสอย่างเดียว ไม่มีปัญหาครับ 3% แน่นอน

แต่ถ้ามีโดเมนด้วย ผมก็จะรวมกันไปเลยครับเป็ย ค่าบริการเช่าโฮสติ้งพร้อมโดเมน ราคา xxxx บาท

เพราะผมไม่ได้ขายแยกเฉพาะโดเมนครับ

ส่วนถ้าขายโดเมน แล้วจะเอาไปออก VAT ก็สามารถออกได้นะครับ

สมมุติว่าค่าโดเมน 600 บาท รวม VAT7% = 649 บาท

ลูกค้าจะต้องเป็นคนจ่าย 7% แล้วเราก็นำ 7% นั้น ส่งให้สรรพกร

ส่วนต้นทุนนั้นก็ให้เก็บยอดหักเงินของ Registra ไว้ สามารถนำมาเป็นต้นทุนของบริษัทได้เลยครับ

เรื่องออก VAT โดยไม่มีรายการซื้อเข้านั้น ไม่มีปัญหาครับ สรรพกรยินดีอยู่แล้ว

ยิ่งออก VAT มากเท่าไหร่ เขายิ่งได้รายได้เพิ่มครับ

แต่ที่สำคัญเราต้องทำต้นทุนของเราให้ละเอียด ไม่งั้น รายรับ จะมีสูงมาก โดยที่ไม่มีต้นทุนครับ

เรื่องสรรพกร ไม่ต้องไปกลัวเขาหรอกครับ เท่าที่สัมผัสมา ผมว่า เป็นหน่วยราชการเดียวละมั๊ง ที่บริการได้ดีที่สุด

ผมเข้าไปหาเขาอยู่บ่อยๆ ถามบางเรื่องก็เป็นชั่วโมง เขาก็ยินดีให้รายละเอียดทุกอย่างครับ

เก่งมากครับ พวกสาวๆเนี่ย สงสัยเป็นบัญชี

ที่ผ่านมาหากลูกค้าจดโดเมนเนม .th ราคาเกิน 1,000 บาทขึ้นไป ดิฉันก็ให้ลูกค้าหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ทุกครั้ง เพราะเวลาเราจ่ายเงินให้กับทาง THNIC เราก็สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ได้เหมือนกันค่ะ :angel:

คุณ siamwebhost คะ ไม่ต้องให้ลูกค้าหัก ณ ที่จ่ายคุณนะคะ แต่ให้หัก ณ ที่จ่าย THNIC โดยตรงไปเลย โดยที่เวลาที่คุณกรอกใน billing address ของ THNIC ให้ลูกค้า ให้กรอกชื่อที่อยู่ลูกค้าไปเลย

[quote]ไม่มีการกำหนดวันสุดท้ายที่ยกเลิกสัญญา

เอ่อ ผมสงสัยตรงนี้นิดครับ คือว่า โดเมน มันกำหนดวันหมดสัญญา ไม่ใช่หรอครับ เช่น

Record last updated at 2004-10-27 02:35:20
Record created on 2004/9/5
Record expired on 2006/9/5

ตรงนี้ระบุไว้ชัดเจนว่า Record expired on 2006/9/5 แบบนี้น่ะครับ [/quote]
อืม น่าคิด ไม่ได้ถกกับเค้าในประเด็นนี้ค่ะ ไว้ต้องไปปรึกษาใหม่ ขอบคุณที่ point out นะคะ

สำหรับเรื่องนี้ nanadomain.com ได้ปรึกษาทางสรรพากรมาแล้วค่ะ เขาบอกว่า ถ้าเราซื้อมาเป็นสิทธิ์ของเราหรือเป็นโควต้าของเรา และมีวันหมดอายุ หรือ ว่ามีระยะเวลาใช้งาน สามารถจำหน่ายเป็นสินค้าได้ ขึ้นอยู่กับว่า เรากำหนดให้โดเมนเป็นสินค้าหรือบริการ ค่ะ แต่จะใช้คำว่า บริการจดโดเมนไม่ได้ ในใบเสร็จที่เราออกไป ต้องเขียนเป็นชื่อสินค้าแทน

เป็นความเห็นที่น่าสนใจมากเลยค่ะ พอจะมีข้อวินิจฉัยเป็นเอกสารไหมคะ จะขอมา copy ไว้ เผื่อไว้เป็นยันต์กัน… อะค่า อิอิ

แต่จริงๆ สรรพากรเขตพื้นที่ดิฉันเนี่ย เค้าเขี้ยวนะคะ คงว่าแถวนี้พื้นที่ทำมาหากิน :angryfire: