มาถก กัน จดโดเมนดันตรงกับแบรนด์ (แบรนด์ อาจเกิดขึ้นมาภายหลังการจดโดเมน)

สวัสดีครับ พอดีเห็นกระทู้จาก

เรื่องเกี่ยวกับการจดโดเมน หลายท่านยังจำกันได้ไหมครับ กรณี thaiamazon กับ amazon.com
ลักษณะนี้ คงผิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มองมุมที่ชัดเจนคือ

  1. thaiamazon จดมาเมื่อการทำธุรกิจการค้า ในลักษณะ amazon
  2. ผิด เพราะเป็นการเรียนแบบเครื่องหมายการค้า ส่งผลให้ผู้ซื้ออาจเข้าใจผิด ในแบรนด์ได้
    กรณีศึกษาของ thailv (จาก louis vuiton)

เมื่อสักครู่เลยลองคุยกับพี่หมวยดูครับ มีกรณีน่าศึกษา อยู่หลายมุมด้วยกัน เลยลองยกมาถกกันดูครับ

เมื่อสักครู่ผมเปิดประเด็น การจดโดเมนใดๆ ผู้จดโดเมนก่อน ย่อมได้รับสิทธิ การเป็นเจ้าของชื่อโดเมนโดยชอบธรรม โดยที่ผู้อื่นผู้ใด ไม่สามารถจดชื่อโดเมนดังกล่าวซ้ำภายใต้นามสกุลนั้นๆ ได้

ผมขออนุญาติยกตัวอย่าง กรณีศึกษา และเป็นไปได้ เท่าที่คิดออก 5 กรณีครับ (หากมีกรณีอื่น ลองช่วยกันยกตัวอย่างคุยกันนะครับ)

1. ผู้จดโดเมนดำเนินการจดทะเบียนโดเมนอยู่แล้ว มีการจัดตั้ง Event หรือจดแบรนด์ ภายหลัง

จริงๆไม่น่าล็อกกระทู้นั้นเลยนะครับ ผมเลยไม่รู้เลยว่า จดโดเมนก่อนงาน หรือจดหลังงาน lol
เหมือนรีบปิดกระทู้ยังไงไม่รู้ :blink:

ผมก็สงสัยครับเลยมาตั้งกระทู้ต่อ เพราะลึกๆ อยากทราบเหมือนกันว่า
โดเมนใดๆ ที่เราจดก่อนนั้น เช่น กรณี การจดก่อนเกิด event ใดๆ เราจะผิดไหม และต้องยินยอม การกระทำใดๆ ตามที่ผู้จัด event ร้องขอไหม
หากไม่ยอมเรา จะผิดด้วยไหม

พอดีพี่หมวยไปข้างนอกครับ เดี่ยวคงได้มานั่งคุยกัน…

โดเมนเกี่ยวกับ ปักกิ่ง2008

มีให้เกลื่อนครับ

:blink:

เมื่อครู่ ลองทำการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับพวกนี้ ตอนนี้ได้มาหลายอันจะนำมา link ไว้แล้วลองเข้าไปอ่านดูนะคะ

การไกล่เกลี่ยเรื่องโดเมนนี้ ถือเป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิแบบหนึ่ง
เทอมที่เรียกคือ IP (แต่คนละกรณีกับ IP Address) IP นี้ย่อจาก intellectual property ที่หมายถึงทรัพย์สินทางปัญญา

เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ชื่อ เครื่องหมายการค้า หน่วยงาน ต่างมีความสำคัญ
มันมีเรื่องของมูลค่าเพิ่มจากการสร้าง Brand ฉะนั้น การฉกฉวยเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อคนอื่นมาอ้าง
ก็ไม่ต่างกับการหลอกลวง หรือจะเรียกได้ว่าขโมยก็ได้ แต่ในแง่โดเมนนั้น การหลอกให้คนอื่นเข้าใจผิด
เราจะเรียกว่า Cybersquatting คือทำให้ internet user คิดว่า เว็บหรือโดเมนนั้นคือเว็บของเจ้าของ brand จริงๆ
เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุดก็คือ กรณีของ OnlineNIC ไปละเมิดเครื่องหมายการค้าของ Verizon ขึ้น
โดยทำ cybersquatting ไป 600 กว่าโดเมน ศาลตัดสินให้ต้องเสียค่าปรับต่อ Verizon โดเมนละ $50,000
ทำให้เป็นเคสที่ต้องเสียค่าปรับสูงสุดเท่าที่เคยมี จำนวนถึง $33 ล้านเหรียญ

ใครที่มีหน้าที่ไกล่เกลี่ย ผู้ที่มีหน้าที่ไกล่เกลี่ย ถูกกำหนดโดย ICANN ค่ะ
โดย ICANN กำหนดนโยบายพวกนี้ไว้แล้วตั้งแต่ปี 1999 และมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า UDRP
Uniform Domain Name Dispute Resolution Policy ในนั้นจะมีเงื่อนไข และวิธีการฟ้อง บทลงโทษ ฯลฯ

การไกล่เกลี่ย ไม่ได้ผู้เกี่ยวข้องเพียงสามราย (คือ เจ้าของชื่อโดเมน, เจ้าของยี่ห้อ, ICANN)
แต่เพียงเท่านั้น ยังรวมไปถึง Registrar และ Registry แล้วยังต้องมี Jury ที่รู้เรื่องด้วย
มันเกี่ยวพันกันไปหมด ฉะนั้น จึงต้องมีนโยบายแบบนี้ออกมา

เงื่อนไขของการฟ้องร้อง ต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังนี้

(i) your domain name is identical or confusingly similar to a trademark
or service mark in which the complainant has rights; and

(ii) you have no rights or legitimate interests in respect of the domain name; and

(iii) your domain name has been registered and is being used in bad faith.

ส่วนคำว่า bad faith มีอธิบายเพิ่มไว้ด้วยว่า

(i) circumstances indicating that you have registered or you have acquired
the domain name primarily for the purpose of selling, renting, or otherwise
transferring the domain name registration to the complainant who is the owner of
the trademark or service mark or to a competitor of that complainant, for valuable
consideration in excess of your documented out-of-pocket costs directly related to
the domain name; or

(ii) you have registered the domain name in order to prevent the owner of
the trademark or service mark from reflecting the mark in a corresponding domain name,
provided that you have engaged in a pattern of such conduct; or

(iii) you have registered the domain name primarily for the purpose of disrupting
the business of a competitor; or

(iv) by using the domain name, you have intentionally attempted to attract,
for commercial gain, Internet users to your web site or other on-line location,
by creating a likelihood of confusion with the complainant’s mark as to the source,
sponsorship, affiliation, or endorsement of your web site or location or of a product
or service on your web site or location.

UDRP นี้ไม่ได้มีเฉพาะกรณี gTLD เท่าั้นั้น ในหมู่ ccTLD ก็มีกฏของ UDRP เช่นกัน
แต่จะขึ้นอยู่กับ ccTLD ของแต่ละประเทศค่ะ

สำหรับคนที่ขี้เกียจอ่ายภาษาอังกฤษ (แต่จริงๆ ถ้าอยากรู้ ควรอดทนฝึกอ่านเอา)
ให้อ่านบทความสองบทความนี้ประกอบ จะทำให้เข้าใจได้มากขึ้น

ชื่อโดเมนกับปัญหาข้อกฎหมาย(2)
ชื่อโดเมนกับปัญหาข้อกฎหมาย(3)
ข้อพิพาทกรณีการสูญเสีย Web Address

เว็บที่เกี่ยวข้อง
http://www.icann.org/en/udrp/udrp-policy-24oct99.htm
http://www.icann.org/en/udrp/
http://www.internic.net/faqs/udrp.html

คือสมมุติว่า ถ้าเราไปจดคำว่า Samsung.com ตั้งแต่ก่อนจะมีแนวคิด หรือ ข่าวอะไรก็ตามที่จะจัดตั้งบริษัทชื่อนี้ แล้วเราจด จนผ่านไประยะนึงแล้วมีบริษัทชื่อ Samsung เกิดขึ้นมาทีหลัง และมีการไปจดทะเบียนเป็นแบรนด์เป็นระดับนานาชาติขึ้นมา ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด เราคงไม่ผิดในกรณีนี้รึเปล่า หรือว่าผิด ถกกันตรง ๆ แบบนี้ครับ ตามผมเข้าใจผมว่าไม่น่าผิด คนอื่นเข้าใจไงบ้างครับ

[quote author=Ramesh link=topic=17825.msg167743#msg167743 date=1235741901]
คือสมมุติว่า ถ้าเราไปจดคำว่า Samsung.com ตั้งแต่ก่อนจะมีแนวคิด หรือ ข่าวอะไรก็ตามที่จะจัดตั้งบริษัทชื่อนี้
แล้วเราจด จนผ่านไประยะนึงแล้วมีบริษัทชื่อ Samsung เกิดขึ้นมาทีหลัง
และมีการไปจดทะเบียนเป็นแบรนด์เป็นระดับนานาชาติขึ้นมา ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด เราคงไม่ผิดในกรณีนี้รึเปล่า
หรือว่าผิด ถกกันตรง ๆ แบบนี้ครับ ตามผมเข้าใจผมว่าไม่น่าผิด คนอื่นเข้าใจไงบ้างครับ

คือ…มันยังมีอีกแบบนึง เช่น
ถ้ามีคนจด TM ไปแล้ว แล้วเรามาจดโดเมนตรง TM นั้นๆพอดี(แต่เป็นภาษาอังกฤษ ที่คนทั่วไปสามารถคิดได้เอง)
เช่น iloveyou.com(มีคนจด TM แบบข้อความ iloveyou นี้ไปก่อนแล้ว แล้วถึงมีอีกคนมาจดโดเมนชื่อนี้ทีหลัง)

แบบนี้เราจำเป็นต้องคืนโดเมนให้เจ้าของ TM หรือป่าวครับ และเราห้ามทำตามรูปแบบขายของหรือแนวคิดของ TM iloveyou หรือไม่ …ขอบคุณครับ

ผมว่า อันนี้แล้วแต่ เจ้าของ TM นะ

แต่ปกติ เราต้องคืนเขาไปครับ เหมือนข่าวเรื่อง จดชื่อ+นามสกุล แล้วเอาไปเปิดเว็บโป๊ เคยอ่านใน blognone นี่ล่ะ มั้ง คนดังคนรวย จนศาลบอกให้คืนโดนเมนให้ไปฟรีๆ(เกี่ยวกับ TM เปล่านี่)

แต่ถ้า เรื่อง TM ไม่คืนเขา ก็ต้องปิดเว็บไซต์ไปครับ

ยกเว้นแต่ว่า เขาไม่หวง TM และถ้า เขาฉลาดพอ เขาจะบังคับคุณให้ทำเว็บเกี่ยวกับบริษัท หรือว่า ไปตกลงกันหลังไมค์เอาเอง

แต่สิทธิ์อยู่ที่เจ้าของ TM

แต่ถ้า เคส[quote author=Ramesh link=topic=17825.msg167743#msg167743 date=1235741901]
คือสมมุติว่า ถ้าเราไปจดคำว่า Samsung.com ตั้งแต่ก่อนจะมีแนวคิด หรือ ข่าวอะไรก็ตามที่จะจัดตั้งบริษัทชื่อนี้ แล้วเราจด จนผ่านไประยะนึงแล้วมีบริษัทชื่อ Samsung เกิดขึ้นมาทีหลัง และมีการไปจดทะเบียนเป็นแบรนด์เป็นระดับนานาชาติขึ้นมา ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด เราคงไม่ผิดในกรณีนี้รึเปล่า หรือว่าผิด ถกกันตรง ๆ แบบนี้ครับ ตามผมเข้าใจผมว่าไม่น่าผิด คนอื่นเข้าใจไงบ้างครับ

เพิ่งได้รับเมล์จาก thnic 2-3 วันก่อน ว่าจด .co.th ง่ายขึ้น ไม่รู้ง่ายยังไงเหมือนกัน ต้องรองเข้าไปหารายละเอียดเอาเองครับ

ขอบคุณครับพี่หมวยมากๆ ครับ กำลังนั่งไล่อ่านที่ ICANN อยู่เลย
คงตามนั้นครับ จริงๆ แล้วโดเมน ตามลักษณะนี้คงมีน้อย ที่จะมาจัดการจริงๆ จังๆ หากโดเมนชื่อนั้นๆ ไม่ได้ละเมิดหรือตั้งใจเรียนแบบใดๆ ครับ
เพราะหากมีชื่อโดเมนนั้นจดแล้ว และตรงกันชื่อแบรนด์เรา ส่วนใหญ่ แล้วคงพยามขอซื้อ หรือหลีกเลี่ยงไปครับ

เพราะมุมนึง หากโดเมนนั้นจดแล้ว เช่น amazon แล้วมีการจดแบรนด์เป็น thaiamazon ผู้เรียนแบบ และผิดคงเป็น thaiamazon ครับ
แต่หากเป็น thaiamazon ทำก่อนแล้ว มีอยู่แล้ว และเกิด amazon ขึ้นมาแบบนี้คงเป็นที่ amazon ผิดและเรียนแบบ

แต่ทว่า มีโดเมน amazon อยู่แล้ว ทำเว็บเกี่ยวกับข่าว และมีคนจด thaiamazon ขึ้นมา ทำเว็บขายของ
และจู่ๆ วันนึง amazon ทำเว็บขายของบ้าง … เอ่แบบนี้ใครจะผิดหน่อ

แต่เสียดายนะครับ อย่างโดเมน thailand.com thai.com แบบนี้แต่ละประเทศมีสิทธิจะขอคืน มาเพื่อทำเว็บของประเทศของตนไหมครับพี่หมวย

อ่อที่ว่าจด

THAILAND.COM โดเมนชื่อนี้น่าจะเป็นสมบัติชองชาติ หรือ ของรัฐบาลได้ เพราะเป็นชื่อเฉพาะ … บุคคล หรือ องค์กรธุระกิจ อื่น ไม่ควรมีสิทธิครอบครอง

thailand.com เหมือนจะเป็นเว็บขายของเลยครับ ไม่รู้ว่าของไทยไหม

ผมเคยเจอ case โดเมนที่ผมเคยดูแลอยู่ เป็นสกุล .xx.th ผู้มีอำนาจถือครองโดเมนแบ่งเป็นสองฝ่าย โดยใช้เอกสารอ้างอิงชุดเดียวกัน
ฝ่ายแรกจด ฝ่ายที่สองต่ออายุ ผลก็คือทาง thnic แนะนำให้ไปหาข้อยุติที่ศาล ว่าใครมีอำนาจที่สุดในองค์กร เรื่องไม่จบ
สุดท้ายโดเมนนั้นโดนแขวนสองปีครับ

ใครรวยก็ได้เปรียบสิงี้ :dry:

กรณีแบบนี้ผมว่า ผู้จด (ผู้เป็นเจ้าของเอกสาร/ผู้บริหาร) ควรจะมีอำนาจสูงสุดนะครับ
… ไม่เห็นจะต้องถึงศาลเลย

เหมือนการถือครองหมายเลขบัญชีทางการเงินหนะครับ ผู้อื่นผู้ใดสามารถฝากให้ได้ ผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข คือผู้ที่เป็นเจ้าของบัญชี
หรือมีอำนาจแทน หรือผู้บริหาร บริษัทนั้นๆ ที่ได้รับอำนาจโดยชอบธรรม

[quote author=mean link=topic=17825.msg167836#msg167836 date=1235798100]
กรณีแบบนี้ผมว่า ผู้จด (ผู้เป็นเจ้าของเอกสาร/ผู้บริหาร) ควรจะมีอำนาจสูงสุดนะครับ
… ไม่เห็นจะต้องถึงศาลเลย

เหมือนการถือครองหมายเลขบัญชีทางการเงินหนะครับ ผู้อื่นผู้ใดสามารถฝากให้ได้ ผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข คือผู้ที่เป็นเจ้าของบัญชี
หรือมีอำนาจแทน หรือผู้บริหาร บริษัทนั้นๆ ที่ได้รับอำนาจโดยชอบธรรม