ภัยจากผู้ให้บริการรับจดชื่อเว็บไซต์

ภัยจากผู้ให้บริการรับจดชื่อเว็บไซต์

สำหรับท่านใดที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ การให้บริการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับลูกค้า หรือ แม้แต่สำหรับองค์กรของท่านเองต้องเพิ่มความระมัดระวังกันมากขึ้นแล้วล่ะครับ เพราะเหตุการณ์ที่ผมกำลังจะเล่าให้ฟังนี้ เกิดขึ้นกับตัวผมและคนใกล้ตัวผมเอง

ประมาณเดือนกันยายนปี 47 ผมใช้บริการจากเว็บไซต์ เว็บนึงที่เค้าพยายามส่งโปรโมชั่นมาว่าค่าจดชื่อเว็บไซต์ลดเหลือเพียง 5.99 USD ผมก็เลยลองจดดู 1 ชื่อ พอถึงสิ้นเดือน มีบิลของบัตรเครดิตส่งมาเก็บที่บ้าน ไม่รู้มียอดมาจากไหน 25,000 บาท จากออสเตรเรีย นึกในใจว่าโดนแล้วแน่ๆ แล้วผมก็รีบเข้าไปที่เว็บไซต์ ezinames.com เพื่อจะขอดูที่อยู่ของเจ้าของ โดเมนนี้ แต่เว็บไซต์มันหายไปแล้ว เนี่ยแหละครับ ด้วยความงกของผมเองที่เห็นกับความต่างเพียงแค่ไม่กี่ดอลลาร์ ทำให้ต้องโดนหลอกไปเป็นหมื่นเลย

ส่วนกรณีที่ 2 คงเป็นเรื่องของความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนรู้จักของผมเอง คือเค้าจดชื่อเว็บไซต์ไว้กับ GoDaddy.com คิดว่าหลายคนคงรู้จักผู้ให้บริการรายนี้ดี ส่วนเว็บไซต์ที่มีปัญหาก็คือ U-Credit.com ซึ่งถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สามารถ * * * ้กลับคืนมาได้ ปัญหาคือเค้าใช้รหัสผ่านง่ายๆ ในการเข้าสู่ระบบเพื่อเข้าไปแก้ไข ข้อมูลสำหรับ โดเมนเนมที่เค้าจด เลยทำให้พวกที่จ้องจะขโมยชื่อเว็บไซต์สามารถเดารหัสผ่านได้ง่าย จากที่ได้พูดคุยกัน เค้าเล่าว่าขณะที่เค้าเข้าไปหน้า admin ของ GoDaddy.com เค้าสังเกตุว่ามีคนกำลังเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของเค้า ทันทีที่เค้ารู้สึกว่ามีข้อมูลกำลังถูกเปลี่ยนแปลงไปเค้าก็รีบเปลี่ยนกลับมา แต่ท้ายที่สุดก็ต้องเสียชื่อโดเมนไปส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญต้องเสีย U-Credit.com ไปซึ่ง ณ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นชื่อ U-Credit.net ไปแล้ว จริงๆ กรณีแบบนี้เคยเกิดกับเว็บไซต์ ของ หนังสือพิมพ์ชื่อดังอย่าง คม ชัด ลึกไปแล้วเหมือนกัน คนพวกนี้จะขโมยชื่อไปแล้วจะเอามาขายคืนให้ในราคาที่แพงมากๆ

กรณีที่ 3 คิดว่าคงมีหลายท่านรู้จักผู้ให้บริการจดโดเมนเนมที่ชื่อว่า RegisterFly.com เจ้านี้แสบสุดเลยครับ เพื่อนผมเพิ่งโดนไปหมาดๆ เลย ชื่อที่จดไว้ที่นี่ทั้งหมดโดนขโมยไป ตอนนี้ไม่สามารถ Log in เข้าไปเอาคืนได้แล้ว ทางเว็บไซต์ส่งอีเมล์มาแจ้งว่าถ้าต้องการได้คืนต้องจ่ายชื่อละประมาณ 10,000 บาท ส่วนบิลเครดิตคาร์ดสำหรับเดือนนี้มาแสนกว่าบาทจากบริษัทนี้ ผมเลยเข้าไปสืบค้นหาว่า ผู้ให้บริการรายนี้เค้าเป็นใคร และ มีปัญหาอะไรหรือเปล่า ถ้าอย่างไรลองเข้าไปศึกษาดูจากลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ

สำหรับ RegisterFly.com นี้เป็นเว็บในเครือเดียวกับ Unifiednames.com น่ะครับ เจ้าของเค้าชื่อ Kevin Medina ลองเข้าไปอ่านข้อมูลจากเว็บด้านล่างนี้แล้วกันนะครับ

http://www.stopunifiednames.com
http://www.stopunifiednames.com/medina.html
http://www.killfile.org/~tskirvin/history/…egisterfly.html

นี่ก็เป็นข้อเตือนภัยสำหรับท่านใดที่กำลังใช้บริการจดชื่อเว็บไซต์อยู่นะครับ อย่าเห็นแก่ราคาที่ถูกกว่าเพียงไม่เท่าไหร่ และ พยายามเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ หรือ ไม่ควรใช้รหัสผ่านที่สามารถเดาได้ง่ายเกินไป เท่านี้ชื่อเว็บไซต์ที่อาจมีค่ามหาศาลของคุณก็ปลอดภัย จากภัยเหล่านี้แล้วล่ะครับ

แหล่งที่มา : http://www.kontumweb.com/index.php?option=…&id=22&Itemid=2

:o

น่ากลัวจัง

ทุกวันนี้รหัสผ่านสั้นกว่า 6 ตัวอักษรคงไม่ปลอดภัยแล้วมั้ง

:huh:

ร้อนๆหนาวๆ ไปตามๆกัน :wink:

ของแบบนี้อย่าเห็นแก่ของถูกครับ

เอาราคาเหมาะสม แต่ไว้ใจได้เป็นดีที่สุด

ปล. ผมยังไม่เคยโดนนะ :smiley:

http://www.kontumweb.com
ชื่อจำง่ายดีครับ ใช้ Mambo เหมือนผมเลย

ใครอยู่วงการนี้แล้วยังใฃ้รหัสผ่านเป็นตัวเลขล้วนๆ หรือ สั้นกว่า 8 ตัว … คิดเอาเอง

หลักการตั้งรหัสผ่านของผมจำง่ายๆ ตั้งให้ยาวกว่า 8 ตัว (บอกคนอื่น 8 แต่ของผมยาวกว่า 15) ไม่ใช้ชื่อ ไม่ใช้เบอร์โทร ไม่ใช้วันเกิด ไม่ใช้ที่อยู่ ไม่ใช้คำที่มีความหมาย มีตัวเลขผสมตัวอักษรและสัญลักษณ์ หลักการง่ายๆแค่นี้
ไม่น่ามีใครทำไม่ได้เนอะ

ส่วนถ้าตั้งแบบนี้แล้วมีคน hack เข้าไปแก้ไขข้อมูลได้ ทาง บ ผู้ให้บริการจะน่าสงสัยทันที
แต่ถ้าตั้งง่ายๆแล้วมีคนเข้าไปแก้ไข จะไปโทษว่าผู้ให้บริการเป็นคนทำก็คงไม่ได้ พิสูจน์ยากด้วย

ขอบคุณครับ ยังไงก็ฟังหูไว้หู เรื่องบางเรื่องรายละเอียดมากกว่าที่เอามาเล่ากัน

รหัสผ่าน ขอผม ************ กำลังจะเปลี่ยนเป็น ***************

สูดยอด

รหัสผ่าน ขอผม ************ กำลังจะเปลี่ยนเป็น ***************

สูดยอด

อย่างนี้สมควรโดน warn 50% อิๆ :angel:

คุณ guy852 กรุณาอ่านนี่ http://www.thaihosttalk.com/index.php?showtopic=1619
และก็ทำตามด้วยนะครับ
ก่อนที่ความหล่อจะลดเหลือ 40% เพราะพี่ pizzaman ยึดเอาไป
ฮุๆ

:stuck_out_tongue:

ในส่วนของเราผู้ให้บริการ ผมเชื่อว่าเราเองก็ต้องการความมั่นใจว่าทั้งเรา
และลูกค้าจะไม่ต้องมาคอยแบกรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น หากเลือกใช้บริการ
จดทะเบียนของเจ้าใดเจ้าสักเจ้า…

มีเพื่อนๆ พยายามชวนย้ายไปที่ใหม่บ่อยๆ ซึ่งถูกกว่าประมาณ $0.2-$0.7
โดยส่วนตัวแล้วก็ยัง Happy กับ OnlineNIC อยู่ จึงไม่ได้ย้ายไปเพราะ
เห็นแก่ของถูกกว่าไม่กี่บาท และจำนวนโดเมนที่อยู่ในการดูแล และรับผิดชอบ
ก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ฉะนั้น ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าครับ…

#########################################

ต่อไปเมื่อผู้ให้บริการเลือกผู้ให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าของเราแล้ว ขั้นตอนต่อไป
คือ จะทำอย่างไรให้ผู้ใช้บริการของเรา ทราบถึงความสำคัญของรายละเอียด
ในการจดทะเบียนโดเมนเนม…

มีหลายรายที่ใช้อีเมล์ส่วนตัว หรืออีเมล์ของโดเมนเนมนั้นเองในการจดทะเบียน
ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่จะให้คำแนะนำถึงความปลอดภัยของตัวโดเมนเนม และ
ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น

๑. การใช้อีเมล์ของบริการฟรีต่างๆ ในการจดทะเบียนโดเมนเนม กรณีนี้
ผู้ให้บริการฟรีอีเมล์หลายเจ้ามีการตัดการใช้งาน หากไม่ได้เข้าใช้งานเกินระยะเวลาที่
กำหนดไว้ อีเมล์นั้นก็จะถูกตัดไป… มีกรณีของรุ่นพี่ คืออีเมล์ของ Hotmail ถูก
ตัดการใช้งานไป มีผู้หวังดีมาสมัครใหม่ให้แล้วซิวโดเมนของพี่เค้าไป 2 ชื่อ…

๒. การใช้อีเมล์ you@yourdomain.com ต่างๆ กรณีนี้ค่อนข้างหนักหนากว่า
กรณีแรก เพราะหากชื่อโดเมนที่ใช้ในการรับส่งอีเมล์มีปัญหาเกิดขึ้น จะไม่สามารถติดต่อ
กับเจ้าของโดเมนเนมได้เลย และการที่โดนเมนพวกนี้หมดอายุไป สามารถจดใหม่ได้ทันที
และเชื่อว่าพวกที่หากินกับเรื่องแบบนี้ เค้าไม่ปล่อยให้พลาดไปแน่

๓. การตั้งระหัสผ่านในการจัดการโดเมนเนม การตั้งรหัสนั้น หลายคนพยายาม
ที่จะให้มันยากเข้าไว้ เช่น 1Qqw@#w@%r#12$ การตั้งรหัสสวยงาม ถูกต้องตามหลัก
แต่ตั้งไปแล้วจะจำได้หรือเปล่าไม่ทราบ… วิธีการตั้ง Password อย่างง่ายๆ คือ ให้คีย์ตามปกติ
แต่ใช้ Type = Eng ตัวอย่างเช่น ;yoouhl;p0y’ = วันนี้สวยจัง, wmpFVlNmv]Nd = ไทยโฮสทอล์ก (ไม่รุ้สะกดถูกมั๊ยนะครับ)

๔. การ Lock โดเมนเนมเพื่อความปลอดภัย เท่าที่เคยแนะนำ ลูกค้ามักจะตอบกลับ
ว่ามันค่อนข้างไม่สะดวกในการแก้ไขข้อมูล … อันนี้ผมเห็นด้วย ว่ามันค่อนข้างยุ่งยาก
แต่มันก็ไม่ยากสำหรับคนอื่นที่ไม่หวังดีกับเราด้วยเช่นกัน … ฉะนั้น อยากให้ปลอดภัยไว้ก่อน
จะดีกว่า เพราะเมื่อชื่อโดเมนเนมโดนซิวไปแล้วเน้ย การจะตามกลับคืนมาค่อนข้างลำบาก
กว่าการแก้ไขชื่อเยอะเลยทีเดียว

๕. ปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น การ Hacking ไม่ว่าจะเป็นทั้งอีเมล์ หรือเครื่องใช้งาน
ที่มีการเก็บข้อมูลและรหัสผ่าน และวิธี หรือรายละเอียดอื่นๆ

เมื่อทั้งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการให้ความสนใจ และให้น้ำหนักกับการป้องกันความสูญเสีย
ที่จะเกิดขึ้นแล้ว ความปลอดภัยก็จะสูงมากขึ้นตามลำดับ… อยากจะชี้แจงแถมอีกสักนิดว่า
โฮสล่ม หรือเปลี่ยนโฮส … ยังไม่เท่าโดเมนถูกซิวนะครับ จะบอกให้

ปล. ทุกครั้งในการเขียนของผมจะมี ปัจจัยอื่นๆ (แทบทุกครั้ง) เนื่องจากมันมีรายละเอียด
หรือเหตุผลอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เพียงแต่จะเป็นกรณีไหน ลักษณะยังไงเท่านั้นเอง

ขอบคุณครับ :lol:

อืม… ในมุมมองของคนนอก ที่เข้ามาแวะเวียนหาความรู้บ่อยๆ
ผมมองว่า … * Removed by pizzaman - ลบการพาดพิงโดยตรงถึงผู้อื่น
และเจ้าตัวได้อ่านและทราบคำแนะนำแล้วครับ ขอบคุณครับ *

ในการแสดงความเห็นต่างๆ นั้นมันเป็นเรื่องของการแสดงความเห็นที่เปิดกว้างนะครับ
ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือคล้อยตามเสมอไป

“อย่าดูถูกผู้อ่าน” ผู้อ่านที่เข้ามารับสาร จะเป็นคนพิจารณาเอง ว่าข้อมูลไหนที่น่าจะเป็นประโยชน์
การนำอารมณ์ส่วนตัวเข้ามาผสมในความคิดเห็น ส่วนใหญ่จบลงท้ายไม่สวยงามทั้งนั้นแหละครับ

ปล. ผมหวังดีนะครับ สังคมนี้มีประโยชน์ต่อคนทำเว็บมากๆ เลย
ช่วยกันรักษาไว้ให้มันสวยงาม เป็นสังคมคุณภาพจะดีกว่านะครับ

๔. การ Lock โดเมนเนมเพื่อความปลอดภัย เท่าที่เคยแนะนำ ลูกค้ามักจะตอบกลับ
ว่ามันค่อนข้างไม่สะดวกในการแก้ไขข้อมูล … อันนี้ผมเห็นด้วย ว่ามันค่อนข้างยุ่งยาก
แต่มันก็ไม่ยากสำหรับคนอื่นที่ไม่หวังดีกับเราด้วยเช่นกัน … ฉะนั้น อยากให้ปลอดภัยไว้ก่อน
จะดีกว่า เพราะเมื่อชื่อโดเมนเนมโดนซิวไปแล้วเน้ย การจะตามกลับคืนมาค่อนข้างลำบาก
กว่าการแก้ไขชื่อเยอะเลยทีเดียว

เริ่มดุเดือดกันอีกแล้ว
:o

การ lock โดเมนเป็นการป้องกัน การ transfer เท่านั้น
เหมือนเป็นการเพิ่มขั้นตอน การ transfer อีกขั้นหนึ่ง
เนื่องจากการ transfer เป็นการทำืืั้ที่ปลายทาง
แต่การ unlock ต้องทำที่ต้นทาง

ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขข้อมูลใดๆ
เจ้าของโดเมนสามารถแก้ไขได้เสมอครับ
ทั้ง dns หรือ forwarder ต่างๆ

ขอบคุณครับ ยังไงก็ฟังหูไว้หู เรื่องบางเรื่องรายละเอียดมากกว่าที่เอามาเล่ากัน

ในที่นี้ แต่ละคนคงได้เคยช่วยแก้ปัญหาเรื่องโดเมนให้ลูกค้ามากันมากมายแล้ว และก็คงจะได้เห็นว่า หลายๆ กรณี ลูกค้าเล่าไม่หมด จึงเกิดปัญหาโดเมนโดนเอาไปจนได้ (และหลายๆ เรื่องเป็นเรื่องตกม้าตาย ง่ายอย่างที่ลูกค้าคิดไม่ถึง) ดิฉันเชื่อเช่นพี่ pizzaman ค่ะ ว่าบทความที่เขียนนี้ ขอฟังหูไว้หูดีกว่า

ส่วนตัวแล้วผมก็เชื่อหูไว้หูครับ… เพราะเห็นว่าเป็นบทความที่ [จะพอ] มีประโยช์บ้าง สำหรับเพื่อนๆสมาชิกหรือบุคคลทั่วไปที่ google พาเข้ามาได้อ่านศึกษาและพิจารณาก่อนตัดสินใจในการจดโดเมนกับผู้ให้บริการในต่างประเทศครับ…

ปล. ผมไม่ได้หมายความว่าที่นี้น หรือ ที่นี่ ไม่ดีน่ะครับแต่ผมอยากให้มองว่า ก่อนจะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน…จะได้ไม่พลาด :santa: