ไทยฮอตไลน์ สายด่วนชาวเน็ต พัฒนาสังคมออนไลน์ที่ดี

ไทยฮอตไลน์ สายด่วนชาวเน็ต พัฒนาสังคมออนไลน์ที่ดี [3 พ.ย. 51 - 06:51]

ขณะ นี้ การใช้สื่ออินเทอร์เน็ตได้ถูกทุกภาคส่วนของสังคม นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา การเรียนรู้ การค้า และ อุตสาหกรรม และเป็นแหล่งทางเลือกในการแพร่ข่าวด่วนสู่ประชาชน ขณะเดียวกัน การกระทำผิดกฎหมายทางอินเทอร์เน็ต ก็มีโอกาสเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งที่มีต้นตอในประเทศไทย หรือ มาจากต่างประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย ยิ่งไปกว่านั้น สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ บ่อยครั้งได้กลายเป็นผู้ขยายผลร้ายที่กระทบกับผู้เสียหาย ทุกครั้งที่มีการออกข่าวเกี่ยวกับปัญหาบนโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้น อาทิ คลิปวิดีโอดาราชื่อดัง ภาพแอบถ่าย หรือ การโพสต์ข้อความบนเว็บบอร์ด หรือการเผยแพร่ข้อความที่เป็นการสร้างปัญหาให้กับผู้อื่น

หากดูตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ไม่ได้มีมาตรการป้องกันการจำกัดผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เป็นเพียงมาตรการปราบปรามเพื่อช่วยในการจัดการกับผู้กระทำผิด ดังนั้น ความสงบของสังคมยังคงเสี่ยงกับการกระทำผิดต่างๆ ต่อไป รวมทั้งการเผยแพร่คลิปส่วนตัวของบุคคลอื่นแล้ว ทำให้เกิดความเสียหาย ฯลฯ ส่วนมากจะทำให้สื่อต่างๆ ขายได้ แต่ผู้ถูกกระทำทางอินเทอร์เน็ตเสียหายรุนแรงยิ่งขึ้น โดยหากผู้ให้บริการดำเนินการทั้ง เจ้าของเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ เว็บโฮสติ้ง ระงับข้อมูลนั้นช้าเกินไป ทั้งนี้กรณีที่เว็บไซต์ที่ทำร้ายผู้อื่นอยู่ในต่างประเทศ การปิดกั้นเว็บไซต์หน้าที่เป็นปัญหา แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย จึงได้ร่วมมือกับเครือข่ายผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ จัดทำ เว็บไซต์ไทยฮอตไลน์ (www.thaihotline.org) บริการสายด่วน เป็นมาตรการที่ชุมชนผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะช่วยกันดูแล เนื้อหา หรือสิ่งที่อาจเป็นภัยในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยระบบการแจ้งเหตุและการประสานงานเพื่อป้องกันหรือระงับเหตุ ทั้งนี้รูปแบบการดำเนินการในลักษณะเครือข่ายสายด่วนนี้ได้มีการจัดตั้งแล้ว ใน 29 ประเทศ 33 สายด่วน โดยมีศูนย์กลางที่ www.inhope.org

นางศรีดา ตันทะอธิพานิช หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ไทยออตไลน์ กล่าวถึงตัวเว็บไซต์ไทยฮอตไลน์ว่า เป็นมาตรการที่ชุมชนผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะช่วยดูแล เนื้อหา (content) หรือสิ่งที่อาจเป็นภัยในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยระบบการแจ้งเหตุและการประสานงานเพื่อป้องกันหรือระงับเหตุ เป็นต้นว่า การกรองข้อมูลเพื่อขจัดเนื้อหาไม่ดี เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย หรือเป็นภัยต่อสังคม อาทิ การโพสต์รูปโป๊ การทำฟิชชิ่ง หรือข้อมูลภายในองค์กรรั่วไหล โดยยึดหลักตามมาตรฐานสากลและสังคมไทย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัย

หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ไทยออตไลน์ ให้ความเห็นต่อว่า สำหรับขั้นตอนการทำงานแบบไม่เป็นทางการ มีแนวคิดที่จะมีเจ้าหน้าที่คอยรับแจ้งข่าวจากสมาชิก แล้วมาตรวจสอบดูว่าเรื่องที่แจ้งมานั้นผิดจริงหรือไม่ หากผิดก็จะประสานไปยังผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ที่เป็นสมาชิก หรือเว็บโฮสติ้งต่างๆ เพื่อปิดกั้นเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าดูแล้วไม่ผิด หรือไม่แน่ใจก็จะประสานไปยังไอเอสพี และผู้ดูแลเว็บ เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์รับทราบว่ามีการร้องเรียนมา เพราะการจะให้ไอเอสพี หรือ เว็บโฮสติ้งปิดเว็บไซต์โดยพละการอาจถูกผู้เช่าฟ้องร้องได้ ทั้งนี้หากเมืองไทยมีผู้กำกับดูแลเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้ ก็จะช่วยงานในส่วนนี้ได้มาก

“การจัดการเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม โดยหน่วยงานของภาครัฐที่มีจำนวนเพียงหยิบมือ คงไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมออนไลน์ การที่ผู้ใช้ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ร่วมกันสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังแบบนี้ จะช่วยให้ได้หลักฐานมาจัดการคนที่ทำไม่ได้ และกระบวนการก็มีหลายขั้นโปร่งใส ตรวจสอบได้ หากเรามีไทยฮอตไลน์บางที่ กรณี คลิปวิดีโอของศิลปินดารา นักร้องชื่อดังที่ตกเป็นข่าว อาจไม่แพร่กระจายไปในวงกว้างขนาดนี้ เรื่องเหล่านี้จำเป็น ต้อง ปลูกฝังให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเมืองไทย มีจิตสำนึกเพราะถ้าดูเว็บบอร์ดในข่าวแบบนี้ ไม่แต่ลงอีเมล์ขอดู แต่คนที่เห็นใจ หรือเสียใจมีน้อยมาก” นางศรีดา กล่าว

หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ไทยออตไลน์ ให้ความเห็นอีกว่า เรื่องแบบนี้ไม่อยากให้ถึงขั้นที่ภาครัฐออกมาใช้กฎหมายเพื่อเชือดไก่ให้ลิงดู เพราะ คนที่รู้เรื่องกฎหมาย พรบ.คอมฯ ยังน้อยมาก การกระจายข่าวสารยังไม่ทั่วถึงในรายละเอียด ทำให้คนที่เคยชินกับพฤติกรรม หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำความผิดขึ้น แต่การบังคับใช้กฎหมายชัดเจนอาจรุนแรง ดังนั้นเราจึงพยายามระงับเรื่องให้หยุดที่ต้นเหตุ เพื่อไม่ให้เรื่องกระจายออกไปในวงกว้าง ส่วนการทำงานที่เป็นรูปธรรมคงต้องรอความชัดเจนก่อน เชื่อว่าภายในปีนี้คงเริ่มดำเนินการได้

ด้าน นางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ หนึ่งคณะทำงานของไทยฮอตไลน์ ให้ความเห็นว่า จากที่ผ่านมากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พยายามดำเนินการที่จะปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีเนื้อาหไม่เหมาะสม รวมถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง การปฏิบัติตาม พรบ.คอมฯ ทำให้เจ้าพนักงานที่หน้าที่สบายใจ และผู้ให้บริการก็สบายใจ เพราะการปิดเว็บไซต์จะต้องขอหมายศาลก่อน ทำให้ลดปัญหาการแอบปิดเว็บไซต์ได้ และเว็บไซต์ฮอตไลน์จะเป็นด่านหน้าในการรับเรื่องไปจัดการ ก่อนที่จะถึงระดับศาล แต่ไม่ได้รวมถึงกรณีเว็บไซต์ที่หมิ่นเบื้องสูง

หนึ่งคณะทำงานของไทยฮอตไลน์ ให้ความเห็นต่อว่า ส่วนตัวอยู่กับกลุ่มคนทำเว็บไซต์ และชมรมเว็บโฮสติ้งไทย และทราบถึงปัญหาเรื่องนี้พอสมควร ได้มีการร่วมมือกับสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ในการหาทางเพื่อรณรงค์เรื่องนี้แบบจริงจังว่า ไทยฮอตไลน์จะช่วยเตือนเรื่องนี้ก็บรรดาผู้ประกอบการก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องถึงกับขึ้นศาล หรือ เว็บมาสเตอร์ ต้องไปนอนในคุก แต่ในสังคมก็ย่อมมีคนที่ไม่สนใจ โดยถ้าเขาไม่สนใจต่อคำเตือนก็ปล่อยให้เขาถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามเห็นว่าการที่กระทรวงไอซีทีพยายามจัดการกับเว็บหมิ่นฯ ก็เพราะเป็นนโยบาสยที่ดำเนินการมานานแล้ว รวมไปถึงเว็บไซต์ที่มีการหมิ่นประมาททางการเมือง เช่นกัน

นางภูมิจิตร ให้ความเห็นด้วยว่า ขณะนี้ สังคมอินเทอร์เน็ตก็วุ่นวายไม่แพ้กันกับสังคมจริงๆ บางที่การแก้ปัญหาที่น่าจะทำได้ คือ การเอาคนผิดมาลงโทษ เว็บไซต์ไหนมีเนื้อหาหมิ่นประมาทก็ปิดเลย ดูเหมือนเป็นทางออกทีดี แต่การปิดเว็บไซต์ 1 เว็บแล้ว ผุดขึ้นมาใหม่แบบเดียวกันอีก 500 เว็บไซต์ ก็จะทำให้ปัญหานี้ไม่จบสิ้น ทางออกของปัญหามีน้อย บางทีตัวคนทำเว็บไซต์เองต้องเปลี่ยนความคิด เรื่องการสร้างทราฟฟิกเข้าเว็บไซต์มากๆ เพื่อสร้างรายได้จากโฆษณา เพราะถึงจุดนั้นเขาไม่สนใจแล้วว่า เนื้อหา รูปภาพ หรือคลิปต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์จะถูกจะผิดอย่างไร ขอให้คนเข้ามาดูมากๆ ก็พอ

จากนี้ไปคงต้องรอการกำเนิดแบบเป็นทางการ ของเว็บไซต์ไทยออตไลน์ ที่จะเข้ามาเป็นช่องทางเพื่อแจ้งเรื่องไม่ดีบนโลกอินเทอร์เน็ต แน่นอนว่าแม้จำนวนเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม คนโพสรูปโป๊ หรือวัยรุ่นคะนองมือพิมพ์ด่าชาวบ้านไปทั่วทุกเว็บ จะมีไม่น้อยแต่เราทุกคนที่มืออยู่บนคีย์บอร์ด และเมาส์ ก็มีส่วนช่วยรับผิดชอบสังคมได้ ไม่ใช่แค่ตัวเราเท่านั้น แต่หมายถึงเด็กและเยาวชนที่จะเข้ามานั่งใช้คอมพิวเตอร์ต่อจากเรา จะได้รับความปลอดภัยมากขึ้นเช่นเดียวกัน…

จุลดิส รัตนคำแปง
itdigest@thairath.co.th

ที่มา: นสพ. ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology03a&content=109981


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนับสนุนงานป้องกันภัยจากการล่อลวงหรือการหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (Phishing / Identity Theft)
  2. เพื่อสนับสนุนการทำให้การเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปลอดจากภัยสำคัญหลักๆ ได้แก่

ข่าวลงเร็วจริงๆ แหง่ว

คุณภูมิจิตออกโรงอีกแล้ว

lol พี่ภูขจิตครับ

กรณีเว็บขายยาทำแท้งผมสามารถแจ้งได้ไหมครับ ครอบครุมอะไรบ้างครับ ^_^.

เว็บลามก นี่รวมไปถึงเว็บไซต์ฝากรูปบ้างรายที่ ประกาศว่าไม่มีสื่อลามกแต่ตัวเองดันเอาแบนเนอร์เว็บ Porn มาติดซะงั้นเช่น guxxxxe.com ล่ะครับอยู่ในกรอบนี้รึเปล่า…

pm มาเลยค่า

เป็นโครงการณ์ที่ดี แนะน่าสนับสนุนจริงๆ ครับ
ถึงแม้ว่าจะเป็นการปิดกันที่ปลายเหตุก็ตาม ต้นเหตุ คงจะดีไม่น้อย หากหลักสูตรการศึกษา มีการสอน ปลุกฝั่ง ความรู้
การใช้งานอินเตอร์เน็ต อย่างมีจริยธรรมและ สร้างสรรค์ครับ

เพราะปิด 1 เว็บโดเมนโฮส หาง่าย เปิดใหม่ได้ไม่ยาก
จริงๆ หากมีการแจ้ง ตรวจสอบ แล้วปิดได้เลย ผมว่าก็ดีนะครับ ดูขั้นตอน ในขณะนี้ล่าช้า ทำให้ดูคล้ายว่า ไม่มีมาตรการใดๆ เข้ามาจัดการ
เว็บไซต์ ที่ไม่เหมาะ ทั้งด้านทางเพศ ที่ออกแล้วไม่สร้างสรรค์ หรืออื่นๆ รวมถึงมีการหลอก / ขายยา / ธุรกิจลูกโซ่ ที่มีอยู่ไม่น้อยที่หลอกลวงครับ
บางที่ต้องลงทุน เป็นพันบาท หลายคนไม่แจ้งความเพราะเสียเวลา เงินแค่พันเดียว ก็เยอะเลยครับ…

โครงการณ์ดีดีแบบนี้ผมเองเคยคิดอยากจะทำ เหมือนกันนะครับ เคยชวนกลุ่มเพื่อน ที่มหาวิทยาลัย จะทำกันในเชิงบวกแบบนี้แต่ก็ จางไป
ไงหากโครงการณ์ ขาดคนช่วย ตรวจสอบ อย่างไร ซิบๆ มาได้นะครับ ผมอาจจะ มีเพื่อนๆ เด็กๆ มหาวิทยาลัย ที่รู้จักๆ กันเข้ามาช่วยงาน ในการตรวจสอบ
เว็บไซต์ เหล่านี้ได้ ครับ

อยากให้โครงการณ์แบบนี้เกิดขึ้น มั่นคง และมีการกระจายไปในวงกว้างจังเลยครับ ไม่อยากให้ ภัยมืดคุกคาม และห่างหาย จางไปตามสายน้ำครับ…

เราทุกคนช่วยกันสร้างโลกได้ (ถ้าช่วยกันหมดนะคะ)

สมัครด้วยคนค่ะ

การแจ้งมีการเก็บประวัติผู้แจ้งด้วย
ผมว่าอาจทำให้ผู้แจ้งน้อย ลงหรือเกิดความลังเลในการแจ้งได้เพราะกลัว ภัยมืด ย้อนกลับมาหาตนได้นะครับ
จะเป็นไปได้ไหมครับพี่หมวย หากไม่ต้องเก็บ/หรือเก็บ ประวัติผู้แจ้ง แล้วแต่ความสมัครใจ
ตอนนี้ที่เห็นๆ น่าจะให้มีสมาชิกสองระดับนะครับ คือสมาชิกที่แจ้ง และ สมาชิก ผู้เข้าร่วมโครงการณ์ แล้วอาจจะมีการแสดงสถิติสมาชิก
เพื่อให้เห็นพลัง ของผู้เห็นด้วย และสนับสนุนได้ครับ …

เท่าที่คิดกันไว้คือ จะมีการให้ระบุตัวตนคนแจ้ง (กันการกลั่นแกล้ง + สแปม)
แต่จะไม่ีระบุเป็น user name ในระบบปกติ จะใช้เป็น random user แทนค่ะ
เพื่อไม่ให้รู้ว่า เป็น user ไหนกันแน่ ที่ report อะไรเข้ามา

และอีกอย่างคือ จะไม่เผยแพร่ url ที่ report แต่จะใช้วิธีแสดงเป็น capture screen แทน

ยังมีเรื่องต้องคิดอีกเยอะค่ะ โยนความคิดเข้ามาได้เลย