ห้ามจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก

เคยได้ยินมาเหมือนกันว่า จะเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่เสียเอง เพิ่งเห็นข่าวว่าคนขี่จักรยานไปฟ้องศาลด้วยนะคะ
ข่าวออกแล้วว่า แพ้คดี ใครที่ขี่มอเตอร์ไซค์ห้ามขี่ตามสะพานข้ามแยก 27 แห่งแล้วนะ


http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok&content=100782

จยย.แพ้คดีห้ามขึ้นสะพาน! [16 ส.ค. 51 - 04:06]

รายงาน ข่าวจากศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2551 แจ้งว่า ศาลได้อ่านคำพิพากษา คดีที่นายธนวัฒน์ เจริญชัยสมบัติ ฟ้องกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่ากระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยก บนถนนสายต่างๆและสะพานลอยข้ามแม่น้ำรวม 27 แห่ง เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และสร้างภาระแก่ผู้ขับขี่จักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางฯ และสะพานบางแห่งมิได้ห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นใช้ทาง ทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งห้ามดังกล่าวทั่วกรุงเทพมหานคร

รายงานข่าวแจ้งว่า คดีดังกล่าว ศาลมีคำพิพากษาสรุปว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจร มีอำนาจออกประกาศข้อบังคับหรือระเบียบ ห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดเดิน…หรือทำเครื่องหมายบนผิวทาง หรือติดตั้งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร กำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืน ดังนั้น ผู้ใดที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นความผิด ทั้งนี้ ในส่วนสะพานลอยข้ามทางแยกทั้ง 27 แห่งนั้น มีลักษณะทางกายภาพร่วมกัน คือ 1. สร้างขึ้นในช่องทางเดินรถทางด้านขวามือ ซึ่งเป็นช่องเดินรถที่ให้ขับขี่ด้วยความเร็วสูงกว่าช่องเดินรถด้านซ้าย 2. เป็นสะพานมิได้กำหนดช่องทางเดินรถจักรยานยนต์ ไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่มีไหล่ทางด้านซ้ายกว้างระหว่าง 0.40-0.90 เมตร หรือบางแห่งน้อยกว่า 3. เป็นสะพานที่มีความลาดชันตั้งแต่ 2.86-3.46 องศา ดังนั้น ในขณะขับขี่ขึ้นสะพาน เครื่องยนต์ของรถจึงใช้กำลังฉุดมากกว่าปกติ และขณะที่ลงจากสะพานจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น ต้องใช้แรงในการหยุดรถเพิ่มขึ้นเพื่อมิให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรค 2 กำหนดให้รถจักรยานยนต์ ในทางเดินรถที่แบ่งช่องเดินรถไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป ต้องขี่รถในช่องด้านซ้ายสุด

ได้อ่านข่าวตั้งแต่เขายื่นฟ้องแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่ได้ตัดสิน ก็เลยได้รู้ผลตัดสินวันนี้แหละ
ขอบคุณครับ

กฎหมายเมืองไทย ห้าม รถ จยย. ขับขี่เลนขวา ต้องอยู่เลนซ้ายสุดเท่านั้น เวลารถเมล์จอดป้าย ก็ต้องจอดด้วย เพราะหากออกขวาเพื่อแซงรถเมล์เมื่อไหร่ หากคุณตำหนวดเห็นเข้า ก็ต้องโดนปรับทันที

ผมไม่ได้ใช้รถ จยย. แต่ก็รู้สึกเห็นใจมาก ยิ่งสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ โดนปรับบ่อยๆ ก็ไม่ไหวเหมือนกัน

อยู่เมืองไทยต้องทำใจ ผมเคยโดนปรับบนทางด่วนข้อหาป้ายทะเบียนเล็ก ทั้งๆ ที่ป้ายได้รับมาจาก กรมการขนส่งทางบก พอเถียงออกไป พี่ตำหนวดก็เอาตลับเมตรมาทำเป็นวัดความกว้าง ความยาว แล้วก็บอกว่าเล็ก ก็เลยจำยอมต้องจ่ายค่าปรับไป 300 บาท

อีกเรื่องก็คือทางด่วน เสียเงินแล้วก็อยากไปถึงจุดหมายเร็วๆ แต่พี่แกบังคับให้วิ่ง 80 ก.ม. ต่อ ช.ม. อ้างว่าเพื่อความปลอดภัย วันก่อนอ่านข่าว รถแท๊กซี่ขับช้าบนทางด่วนเลยโดยรถกระบะเสยท้าย ไม่รู้เหมือนกันว่าคนขับแท๊กซี่โดนปรับข้อหาขับช้า ด้วยหรือเปล่าเพราะข่าวไม่ได้บอก

ได้อ่านข่าวตั้งแต่เขายื่นฟ้องแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่ได้ตัดสิน ก็เลยได้รู้ผลตัดสินวันนี้แหละ
ขอบคุณครับ

ผมก็กะไว้แล้วว่าต้องแพ่คดีแน่

[/quote]
อีกเรื่องก็คือทางด่วน เสียเงินแล้วก็อยากไปถึงจุดหมายเร็วๆ แต่พี่แกบังคับให้วิ่ง 80 ก.ม. ต่อ ช.ม. อ้างว่าเพื่อความปลอดภัย วันก่อนอ่านข่าว รถแท๊กซี่ขับช้าบนทางด่วนเลยโดยรถกระบะเสยท้าย ไม่รู้เหมือนกันว่าคนขับแท๊กซี่โดนปรับข้อหาขับช้า ด้วยหรือเปล่าเพราะข่าวไม่ได้บอก

[quote]
รถแท๊กซี่นะจะผิด เพราะบอกขัดว่าเลนขวาไว้สำหรับรถที่เร็วกว่า

ที่แน่ ขับ 80 ออกต่างจัดหวัดโดนเรียหแน่ครับข้อหาขับรถผิดช่องทางจราจร (เลนขวาไว้แซง)

ทางด่วนพระรามฯ 9 ขั้นที่ 2 ครับ (25 บาท) เจ๋งกว่า ทุกเช้าๆตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 10 โมงเช้า

เฉพาะขาขึ้นจากฝั่งอนุเสาวรีย์ชัยน่ะครับ

จะเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจแอบหลังตู้เก็บเงินทุกตู้เลยครับ ใครโทรศัพท์อยู่ ไม่คาดเข็มขัด ตายสนิททุกราย แล้วพี่แกก็ปรับอยู่ตรงนั้นแหละ แลกเงินทอนกันเรียบร้อย ทำให้รถยนต์ติดกันยาวเหยียด

ถ้าไม่มียันต์กันผี ผมสงสัยว่าผมคงโดนปรับใบสั่งหลายพันแล้วแน่ๆ

ขอ copy บ้างซิ

ทีแรกอ่านผิด นึกว่า ห้ามจักรยาน ขึ้นสะพาน ข้ามแยก ตกใจเลย…

ในความเห็นผมนะ ไม่น่าจะควรขึ้นอ่ะครับ

ยัันต์ได้ผลจริงๆนะครับ

ทำไม ม่จับ รถ เมล์ ไม่ชิด ขวา บ้างนะ

ทำไมไม่จับ ตัวเองที่ ขึ้น สะพานข้ามทางแยก บ้างนะ

ทำไม ผู้ใช้กฎหมาย ชอบอยู่เหนื่อยกฎหมาย ล่ะ ในเมื่อไม่มีเหคุ อันควร

ทำไม

ความเห็นผมก็ไม่ควรอนุญาตให้ขึ้นครับ จยย. ไม่ค่อยคิดถึงว่าคนอื่นจะอันตราย จะแซง จะปาดหน้า เพื่อให้ต้วเองไปให้ได้เท่านั้น และบนสะพานรถมันสวนกันยากกว่าปกติ และปกติ จยย. ก็เอาแต่กัมหน้าก้มตาแซง จะแหกโค้งแซงก็ต้องแซง ไม่รู้จะรีบไปไหนกันนักกันหนา

ตัวเองตัดหน้ารถชาวบ้าน ทำให้รถชาวบ้านต้องเบรค หรือไม่ก็ต้องหลบ จนไปเกิดอุบัติเหตุโดยที่ตัวเองไม่ได้ขับโดยประมาทเลย

อันนี้ก็ถูกครับ

กฎหมาย ณ ok แล้ว
แต่ผู้ รักษา กฎหมาย น่ะควรจะรักษา ด้วย ผมเห็น ตำรวจ เขาขึ้นมา บ่อย บางทีใส่ครึ่งท่อนด้วย

บนสะพานก็ไม่มี รถเสีย