น้องใหม่ หลายๆคน คงอยากรู้ raid คืออะไร มีคำตอบครับ

RAID อ่านออกเสียงภาษาไทยยังไงนั้น ผมไม่ไม่ทราบแน่ชัดครับ อ่านว่า ไรด์ หรือ เรด เอาเป็นว่า มันก็คือ RAID แหละ
RAID ย่อมาจากคำว่า Radundant Array of Independent Disks

RAID มีหลายแบบนะครับ เยอะมากเลย (บทความ RAID ภาษาไทย ผมเคยเห็นที่ http://www.overclockzone.com ) แต่แบบที่นิยมๆ กัน และมีโอกาสที่เราจะได้ใช้ก็มีไม่กี่ตัวเองครับ
การทำงานของ RAID นั้น ก็คือการเอา HDD หลายๆ ตัวมาต่อแล้วให้มันทำงานด้วยกัน อาจจะเป็นการรวมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรือให้อีกตัวสำรองข้อมูลของอีกตัวก็ได้ แต่สิ่งที่ทำคัญที่สุดของ RAID คือ ควรใช้ HDD ขนาดเท่ากัน และยี่ห้อเดียวกัน ยิ่งถ้าเป็นรุ่นเดียวกันด้วยยิ่งดี จะได้ไม่มีปัญหาไงครับ (ตรงนี้ การ์ด RAID ก็สำคัญนะ)

RAID ที่นิยมกันก็มี 0 , 1 , 5 , 0+1 , 1+0 เท่านั้นเอง บางคนอาจสงสัยว่า มีด้วยเหรอ RAID 1+0 อ่านต่อกันนะครับ

คำอธิบาย Logic Drive หมายถึง Drive ที่สร้างขึ้นมาจาก RAID นะครับ

RAID 0
RAID 0 เป็นแบบที่ง่ายและเป็นพื้นฐานที่สุดเลย คือ ทำการรวม HDD 2 ตัว (หรือมากกว่า) ให้กลายเป็น HDD ตัวเดียวกัน (เรียกว่า Logic Drive) เช่น ถ้ามี HDD 40G 2 ตัว ตัวแรกจะเป็น C อีกตัวก็จะเป็น D เมื่อเราแปลงเป็น RAID 0 เนื้อที่ของทั้ง 2 ตัวก็จะรวมกันเป็น Drive เดียวกัน ชื่อ C มีขนาด 80G โดยเมื่อแปลงเป็น RAID 0 แล้ว OS และโปรแกรมต่างๆ ก็จะมอง Drive ใหม่นี่ เสมือนเป็น Drive เดีวยวกันที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลต่างๆ ได้ตามปกติ
ข้อดี คือ ทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลเร็วขึ้นมาก เพราะมีหัวอ่าน/เขียนข้อมูลเพิ่มมากขึ้น (ในระบบ SCSI นะครับ ถ้า IDE หัวอ่านเพิ่มขึ้น ก็ไม่เร็วขึ้นหรอก ไปอ่านที่ อันแรกก็ได้ครับ) และมันยังขยายเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้นด้วย
ข้อเสีย เนื่องจากมันไม่ได้ทำการสำรองข้อมูลเลย หรือแม้แต่ Parity Bit มันก็ไม่ได้ทำ (แม้แต่นิดเดียว) ถ้า HDD ตัวไหนเสีย มันจะทำให้ Logic Drive ที่เราสร้างขึ้น เสียไปทั้งหมด ข้อมูลของเราก็จะหมดไปด้วย (เศร้า)

RAID 1
RAID 1 ต่างจาก RAID 0 แบบว่า หน้ามือเป็นหลังมือเลย เนื่องจาก RAID 1 จะเก็บข้อมูลทั้งหมดลง HDD ตัวแรก เหมือนการใช้งานทั่วๆ ไป แต่จะมี HDD ตัวที่สองเพิ่มเข้ามา เราเรียก HDD ตัวนี้ว่า MIRRORING หรือ DUPLEXED โดยที่ HDD ตัวทั่สองนี้ จะทำการสำรองข้อมูลจากตัวแรก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล โดยมีข้อกำหนดว่า HDD ทั้ง 2 ตัว ต้องขนาดเท่ากันพอดี ถ้าเป็นไปได้ ควรจะเป็นยี่ห้อ และรุ่นเดียวกันด้วย
ข้อดี อย่างที่เห็นล่ะครับ ข้อมูลจะถูกสำรองไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวว่าจะหายเลย ถ้า HDD ตัวไหนเสีย อีกตัวก็จะขึ้นมาทำงานแทนทันที ถ้าเป็น Server ที่มีระบบ Hot Swap เราสามารถถอด HDD ตัวที่เสีย ไปเปลี่ยน แล้วเอาตัวใหม่มาใส่ได้ทันที โดยไม่ต้องปิดเครื่องเลย เมื่อเราเอา HDD ตัวใหม่มาใส่ ระบบก็จะทำการสำรองข้อมูลไปที่ HDD ตัวใหม่เอง โดยอัตโนมัติ และข้อดีอีกอย่างคือ มันสามารถเลือกที่จะอ่านข้อมูลจาก HDD ตัวไหนก็ได้ ทำให้มันอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น
ข้อเสีย เนื่องจากมันต้องเขียนข้อมูลลง HDD ถึง 2 ตัวต่อข้อมูล 1 ชุด ทำให้ภาระในการเรียนข้อมูลมีมากขึ้นเป็น 2 เท่าเลย ทำให้เวลาในการเขียนข้อมูลมากกว่าปกติ และระบบนี้ใช้เงินเยอะพอสมควร เพราะต้องใช้ HDD 2 ชุด ต่อข้อมูล 1 ชุด

RAID 0 + 1
RAID 0+1 คือการนำข้อดีของ RAID 0 และ RAID 1 มารวมกัน ทำให้มีการรวมเนื้อที่จาก HDD หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน ละมีการทำสำเนาไปพร้อมกันด้วย โดยต้องนำ HDD มาแปลงเป็น RAID 0 จำนวน 2 ชุดก่อน ทำให้ได้ Logic Drive ที่มีเนื้อที่ของ HDD มารวมกัน แล้วจึงสร้าง RAID 1 ขึ้นมาอีกทีจาก Logic Drive ทั้ง 2 ชุด
ข้อเสีย เปลือง HDD อย่างมาก และถ้า HDD ตัวไหนเสียไป อาจทำให้ Logic Drive เสีย และเจ้งทั้งระบบ

RAID 1 + 0
RAID 1+0 มีการทำงานเหมือนกับ RAID 0+1 เพียงแต่จะเริ่มสร้าง RAID 1 มาก่อน 2 ชุด เพื่อทำการสำรองข้อมูลกันก่อน แล้วค่อยสร้าง RAID 0 ขึ้นมาอีกที เพื่อรวมข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน วิธีนี้เป็นที่นิยมมากกว่า RAID 0+1 อีกนะ (ผมก็ใช้ตัวนี้)
ข้อดี ถ้า HDD ตัวไหนเสีย จะไม่ทำให้ Logic Drive เสียไปด้วย
ข้อเสีย เปลือง HDD มากกว่า RAID 0+1 อีก ;-(

RAID 5
RAID 5 ได้นำข้อดีของ RAID แบบต่างๆ มารวมไว้ในตัวเอง คือ ราคา ประสิทธิภาพ และความสามารถในการป้องกันข้อมูลสูญหาย เพราะ RAID แบบต่างๆ จะมีข้อดีไม่ครบทั้งหมด คืออย่างมากก็ได้แค่ 2 ใน 3 อย่าง RAID 1+0 ประสิทธิภาพดี ป้องกันข้อมูลได้ แต่แพงโคตร RAID 5 ต้องการ HDD 3 ตัวในการทำงาน โดยนำเนื้อที่ของ HDD แต่ละตัวมาเก็บรวมกันเป็น 1 Logic Drive เหมือนการทำงานของ RAID 0 แล้วสร้าง Parity Bit เพื่อใช้กู้ข้อมูลของแต่ละ Drive ขึ้นมาโดยแยกออกไปเขียนใน Drive อื่นๆ เช่น Parity Bit ของ HddA จะนำไปไว้ที่ HddC ของ HddC ก็จะนำไปไว้ที่ HddB ส่วนของ HddB ก็จะนำไปไว้ที่ HddA วนกันไป 555
ข้อดี ข้อมูลไม่หายแน่นอน เพราะมีการเก็บ Parity ไว้ใน HDD แต่ละตัว แล้วความเร็วในการอ่านข้อมูล ก็เยอะมากๆ ด้วย เนื่องจากมี HDD ถึง 3 ตัวนี่
ข้อเสีย เขียนข้อมูลได้ช้ามากๆ เนื่องจากต้องเขียนข้อมูลแล้ว ยังต้องไปเขีนยน Parity อีก แล้วยังต้องใช้ HDD ถึง 3 ตัว ซึ่งเปลืองมาก (แต่ก็น้อยกว่า RAID 1+0) และอัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลก็ช้ามากๆ

ขอบคุณครับ สำหรับบทความดีๆ

อ่ะๆ อย่าลืม อีกหน่อย RAID-6 จะมาครับ เหมือน RAID-5 ทุกประการ แต่ใช้ Disk 2 ลูกทำ parity เท่ากับว่าสิ้นเปลืองแบบ N+2 ครับ ตอนนี้มีใช้ในพวก SAN ระดับ Hi-end ซะเป็นส่วนใหญ่ RAID Card ระดับใช้ใน Server ยังไม่มี

มีอีกประเภทนึงที่น่าสนใจศึกษาคือ XIV ของทางค่าย IBM ครับ หลักการคือ แบ่งข้อมูลออกเป็นก้อน ก้อนละ 1 MB แล้วกระจายออกเป็น 2 ชุด เก็บไว้บน Hdd ต่างลูกกันแบบสุ่ม แต่มี algorithm ที่ช่วยให้แน่ใจว่าข้อมูลกระจายทั่วดีแล้ว ระบบทำงานบน SATA disk ธรรมดาๆ แต่ได้ performance ระดับ SAN Hi-end แต่ราคาก็ Hi-End ไปด้วยเหมือนกัน เค้า claim ไว้ว่า ถ้า disk เสีย ใช้เวลา rebuild เสร็จภายใน 15 นาทีครับ ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.xivstorage.com/

บทความดีๆ เพิ่มรอยยักให้กับสมองอีกแล้ว ขอบคุณนะครับ

Server ระดับกล่าง ๆ ก็รองรับครับ แต่ต้องซื้อเป็น option เพิ่ม

ดีจังค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติมครับ


ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :slight_smile: :slight_smile:

ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความที่ดีและมีประโยชน์ +1

มาขอบคุณอีกคนครับ