Microsoft ใน SEA กำลังไปได้สวย ด้วย Windows เอื้อ

Microsoft ใน SEA กำลังไปได้สวย ด้วย Windows เอื้ออาทร

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 มิถุนายน 2547 15:21 น.

บทเรียนที่ไมโครซอฟท์ได้จากโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรคือ โอกาสสู่ความสำเร็จในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

   ขณะที่กำลังมีปัญหาอย่างหนักกับรัฐบาลทั้งฝั่งอเมริกาและยุโรป แต่กับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEA (South East Asia) แล้ว ดูเหมือนไมโครซอฟท์กำลังเนื้อหอมและกำลังมาแรงทีเดียว
   
   แกรนต์ เพ็ค (Grant Peck) นักเขียนของสำนักข่าวเอพี (AP) วิเคราะห์สถานะปัจจุบันของบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น” 
   
   [b]ไมโครซอฟท์ได้รับการตอบรับอย่างดีจากรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยข้อเสนอที่พวกเขาไม่อาจปฏิเสธได้ เช่น การลดราคาระบบปฏิบัติการ Windows ลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดๆ [color=red]ถูกชนิดที่เรียกว่าไม่น่าเชื่อ ไม่น่าเป็นไปได้ และไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การทำธุรกิจของไมโครซอฟท์ เป็นเรื่องเซอร์ไพรซ์[/color][/b]
   
   ผู้บริหารไมโครซอฟท์ปิ๊งไอเดีย Windows ราคาประหยัดขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปี 2003 กับโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที ของประเทศไทย มาปีนี้ นโยบายดังกล่าวถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง กับโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรของประเทศมาเลเซีย
   
   [b]ไมโครซอฟท์มองว่า นี่คือตลาดใหม่ เป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูง[/b]
   
   จากโครงการ Windows ราคาประหยัดซึ่งก็คือ Windows XP เวอร์ชั่นภาษาท้องถิ่นที่ไม่ซัพพอร์ตภาษาอังกฤษ มาวันนี้ไมโครซอฟท์มีโครงการ "XP Lite" ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Windows XP ที่ถูกตัดฟีเจอร์บางอย่างออกไป แต่ยังคงเพียงพอและเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่ไม่ได้พึ่งเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากนัก
   
   ผู้บริหารไมโครซอฟท์ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ "XP Lite" โดยให้เหตุผลว่าอาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของบริษัท แต่สามารถคุยกันในเรื่องคอนเซ็ปต์ได้
   
   [b]"นี่คือตลาดใหม่ ที่ดีมานด์ค่อนข้างหลากหลาย มีปัจจัยกระทบหลายอย่าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ, สังคม และเทคนิค"[/b] แบร์รี่ กอฟฟ์ (Barry Goff) ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์กวินโดว์สไคลเอนต์ บริษัทไมโครซอฟท์ กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพี (AP)
   
   ราคาจะถูกกำหนดตามหลักภูมิศาสตร์ นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น ยาในอาฟริกาจะมีราคาถูกกว่าในอเมริกามาก เช่นเดียวกับบิ๊กแม็คของแม็คโดนัลด์
   
   [b]แต่สำหรับวงการซอฟต์แวร์ มันเพิ่งเริ่ม กลยุทธ์ "one-price-fits-all" กำลังจะถูกทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง
   
   นอกเหนือจากไมโครซอฟท์แล้ว บริษัทซิมแมนเทค (Symantec Corp) ก็เพิ่งคลอด Norton Antivirus เวอร์ชั่นภาษาไทยออกสู่ตลาด ในราคาที่ถูกกว่าเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกว่าครึ่ง[/b]
   
   เมื่อต้นเดือน บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems Inc) ก็ประกาศเริ่มโปรแกรมพิเศษสำหรับรัฐบาลประเทศต่างๆเช่นกัน
   
   "ที่เรากำลังเห็น คือเทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น" โจ วิลค็อกซ์ (Joe Wilcox) นักวิเคราะห์อาวุโสจากจูปิเตอร์รีเสิร์ช (Jupiter Research) กล่าวและว่า "หลายบริษัทกำลังโยนหินถามทาง แต่มันต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพราะเหตุผลด้านการแข่งขัน"
   
   [b]ส่วนไมโครซอฟท์ พวกเขาเริ่มมาได้ปีนึงแล้ว[/b]
   
   ตัวอย่างนโยบาย "one-price-fits-all" ของไมโครซอฟท์ก็เช่น ที่ภาคเหนือของประเทศไทย ที่วินโดว์สมีราคาเท่ากับที่นิวยอร์ก แต่มีบางอย่างกระตุ้นให้ไมโครซอฟท์ต้องเปลี่ยนแผน นั่นคือความไม่ศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ที่ทำให้ผู้ใช้ทั่วๆไปหรือโฮมยูสเซอร์ส่วนใหญ่หันไปนิยมซอฟต์แวร์เถื่อนมากกว่าซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์
   
   เมื่อครั้งที่กระทรวงไอซีทีของไทยริเริ่มโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรเพื่อกระตุ้นการใช้งานคอมพิวเตอร์ของประชากรทั่วประเทศนั้น นโยบายของรัฐบาลชัดเจนว่าคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลจะต้องมีราคาต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้ ประชาชนทุกระดับต้องสามารถเอื้อมถึง ขณะเดียวกันเอกชนก็ต้องไม่ขาดทุน

ราคาถูกกำหนดไว้ที่ 10,500 บาท และเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีต้นทุนไม่เกิดระดับราคาดังกล่าว ก็จำเป็นที่ซอฟต์แวร์จะต้องมีราคาถูกลงมา ดังนั้นทางรัฐบาลไทยจึงขอความร่วมมือไปยังไมโครซอฟท์

   [u][b]แต่ ... ไมโครซอฟท์ปฏิเสธ[/b][/u]
   
   รัฐบาลไทยไม่ยอมแพ้ เริ่มทำตลาดคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรในเดือนพฤษภาคม 2003 โดยหันไปคบกับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เวอร์ชั่นภาษาไทย (ลีนุกซ์ทะเล) กับชุดโอเพ่นซอร์สออฟฟิศ (ออฟฟิศทะเล, ปลาดาวออฟฟิศ) แทน และนี่คือสิ่งที่ตอกย้ำคำกล่าวที่ว่า “ราคามาก่อนฟีเจอร์” ราคาคือกุญแจสู่ความสำเร็จ
   
   [b]เพียงเดือนเดียว กระทรวงไอซีทีมีออร์เดอร์มากกว่า 100,000 เครื่อง ตัวเลขนี้ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องหันมามอง และกลับมาพร้อมกับข้อเสนอพิเศษที่รัฐบาลไทยยากจะปฏิเสธ[/b]
   
   [color=blue][u][b]"ไมโครซอฟท์ยินดีขาย Windows XP Home และ Office XP คู่กันเป็นแพ็คเกจในราคาแพ็คเกจละ 1,500 บาท"[/b][/u][/color] จำรัส สว่างสมุทร เลขาธิการ สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย (เอทีซีไอ) กล่าว [color=blue][b]ปกติ Windows XP Home Edition จะมีราคาอยู่ที่ 4,500 บาทและ Office XP มีราคาอยู่ที่ 15,000 บาท[/b][/color]
   
   [color=red]สิ่งที่ถูกตัดออกไปมีเพียงอย่างเดียว คือการซัพพอร์ตภาษาอังกฤษในยูสเซอร์อินเตอร์เฟส เช่น เมนู เพื่อจำกัดขอบเขตการจำหน่ายไว้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น[/color]
   
   ความสำเร็จจากโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ทำให้กระทรวงไอซีทีเริ่มต้นโครงการ 2 คราวนี้มีไมโครซอฟท์มาร่วมด้วยตั้งแต่ต้น นั่นคือโครงการโน้ตบุ๊คเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการ
   
   ความสำเร็จร่วมกับรัฐบาลไทย ทำให้ไมโครซอฟท์มั่นใจ จะประกาศออกมาอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่ไมโครซอฟท์ได้ทำร่วมกับรัฐบาลไทย ก็คือโมเดลสำหรับตลาดใหม่
   
   [b]ดังนั้น ทันทีที่กระทรวงพลังงาน, การสื่อสาร และมัลติมีเดีย ของมาเลเซีย ริเริ่มโครงการคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดสำหรับประชาชนเมเลเซีย ภายใต้ชื่อโครงการ “พีซีเกมิลัง” ไมโครซอฟท์จึงโดดเข้าร่วมทันทีอย่างไม่ลังเล[/b]
   
   พีซีเกมิลังของมาเลเซียวางจำหน่ายในราคา [b]988 ริงกิต (ประมาณ 10,500 บาท)[/b] เท่าๆกับประเทศไทย โดยมาพร้อมระบบปฏิบัติการลีนุกซ์และโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ [b]แต่ถ้าต้องการ Windows XP Home Edition และชุดซอฟต์แวร์ Works สำหรับงานเอกสารต่างๆแล้ว ราคาจะขยับขึ้นเล็กน้อยเป็น 1,147 ริงกิต (ประมาณ 12,300 บาท)[/b]
   
   เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ริเริ่มโครงการคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดเช่นกัน และได้มีการพูดคุยกับไมโครซอฟท์มาแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
   
   ชัดเจนว่า ปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความนิยมในโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ คือสิ่งกระตุ้นให้ไมโครซอฟท์ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิถีทางเดินใหม่
   
   ไมโครซอฟท์บอกว่า นโยบายดังกล่าวจะถูกนำมาใช้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น เพื่อทอนกำลังลีนุกซ์ อย่างไรก็ตาม [b]ลีนุกซ์ก็กำลังลุกคืบอย่างรวดเร็วจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์สู่ฝั่งเดสก์ท็อป นี่คือปัญหาใหม่สำหรับ Windows[/b]
   
   ย้อนกลับไปเมื่อครั้งโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรโครงการแรกของรัฐบาลไทย หลายฝ่ายเชื่อว่า คอมพิวเตอร์มากกว่า 90% ที่จำหน่ายได้จะถูกนำไปลงโปรแกรมใหม่ที่เป็นซอฟต์แวร์เถื่อน โดยเฉพาะ Windows
   
   [b]กลุ่มพันธมิตรทรัพย์สินทางปัญญานานาชาติ (International Intellectual Property Alliance) ประเมินเมื่อปีที่แล้วว่า 72% ของซอฟท์แวร์ธุรกิจที่ใช้ในประเทศไทยเป็นซอฟต์แวร์เถื่อน มาเลเซียตามมาที่ 68% ขณะที่รัสเซียกับเวียดนามนำโด่งที่ 93%[/b]
   
   กอฟฟ์ของไมโครซอฟท์เปรียบนโยบายดังกล่าวว่า เป็นโอกาสแห่งความสำเร็จสำหรับวิสัยทัศน์ของไมโครซอฟท์ที่ว่า "a PC on every desktop and in every home" หรือ “ทุกๆโต๊ะทำงานและทุกๆบ้าน ต้องมีพีซี”
   
   "สำหรับโลกที่ 1 เราประสบความสำเร็จอย่างสูง" เขากล่าวและว่า "แต่ในฐานะที่ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทระดับโลก และถ้ามองภาพรวมทั่วโลกแล้วถามว่า เราประสบความสำเร็จหรือยัง??? คำตอบคือ ยัง และยังไม่ใกล้เคียงด้วยซ้ำ"

เฮ่อๆ… ผมว่านะ ไม่โครซอฟต์คงจะกลัวลีนุกในบ้านเราจะโตมากกว่านะ เพราะ ICT เขาก็มีนโยบายพลักดันลีนุกอยู่เสียด้วยสิ.

โอ้ว… แล้วเมื่อไหรลีนุกถึงจะโตได้ซะทีละเนี่ย ไมโครซอฟต์มันจะยึดโลกอยู่แล้วอะ <_<

ผมกลับมองว่า ICT ในบ้านเรามักจะเดินนโยบายไปกับไมโครซอฟต์ซะเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ NECTEC ในบ้านเราเองก็เริ่มต้นกับ ICT ได้ไม่สวยนัก ไม่ว่าการพยายามดิ้นรนไปอยู่กับกระทรวงวิทยาศาสตร์ และถึงจะมีโครงการ Linux ทะเล แต่ NECTEC ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญหรืองบประมาณอย่างที่ควรเป็น จริงๆ ถ้ารัฐบาลจะช่วยสนับสนุนก็คงไม่ใช่เรื่องยาก ทันทีที่รัฐบาลประกาศจะใช้ซอฟต์แวร์ตัวใดเป็นมาตรฐาน เช่นสมัยก่อนที่ใช้ CU Word ก็จะเกิดตลาดขนาดใหญ่ที่ทุกคนยินดีเข้าร่วมสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตตำราวิชาการ, สถาบันอบรม รวมถึงบริษัทเอกชนที่ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกับรัฐ ไม่ต้องถึงกับรื้อระบบเป็น Open source หรอกครับ แต่หันมาใช้ซอฟต์แวร์อย่างปลาดาว หรือ Open Office ก็สามารถประหยัดเงินได้มหาศาลแล้ว <_<

<_<

รัฐบาลธุรกิจครับ เอาอะไรมาก