ผมอาจจะช้าไปนะครับ แต่เห็นแล้วเออ เราเต็มๆ เลยนี่หว่า
( จำพาสก็ไม่ได้ เอาเป็น Guest ไปก่อนแล้วกันนะครับ )
คนใช้ Linux ทั่วโลกระวัง อาจถูก SCO ฟ้องได้ง่ายๆ
โดย ผู้จัดการออนไลน์
เตือนคนใช้ลีนุกซ์ทั่วโลกระวัง ขณะนี้บริษัทเอสซีโอกรุ๊ป (SCO Group) ศัตรูหมายเลขหนึ่งของกลุ่มโอเพ่นซอร์สในปัจจุบัน ได้ประกาศขยายโปรแกรมไลเซนส์ (ใบอนุญาตใช้สินทรัพย์ทางปัญญา) สำหรับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ออกไปทั่วโลกแล้ว จากเดิมที่เคยจำกัดอยู่แต่เฉพาะในกลุ่ม Fortune 1000 ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอี ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
เป้าหมายใหม่ของเอสซีโอที่แน่นอนแล้วคือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส และอิตาลี ส่วนจะมีประเทศไหนเพิ่มเติมขึ้นมาอีกนั้น จะมีการประกาศให้ทราบโดยทั่วกันในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2004 ตามการเปิดเผยของเอสซีโอ
ทั้งนี้ เอสซีโอกรุ๊ปอ้างว่าตัวเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ซึ่งถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
เบลค สโตเวลล์ (Blake Stowell) หัวหน้าฝ่ายคอมมิวนิเคชั่นส์ บริษัทเอสซีโอ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการส่งจดหมายแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการออกไปยังบริษัทนอกเหนือจากกลุ่ม Fortune 1000 แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม Fortune 1000 ก็สามารถซื้อลีนุกซ์ไลเซนส์ของเอสซีโอได้
กลเม็ดทางกฎหมาย
หลายคนบอกว่าการประกาศขยายขอบเขตโปรแกรมลีนุกซ์ไลเซนส์ออกไปทั่วโลกของเอสซีโอนั้น แสดงว่าเอสซีโอกำลังเตรียมดำเนินคดีกับผู้ใช้ลีนุกซ์ทั่วโลกแน่นอน แต่สโตเวลล์ว่า ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น
หลายคนคิดว่าเรากำลังจะดำเนินคดีกับคนใช้ลีนุกซ์ทั่วโลก เพราะเราประกาศเริ่มใช้โปรแกรมลีนุกซ์ไลเซนส์ในอังกฤษซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการดำเนินการทางกฎหมายตามมา กระนั้นบริษัทที่ถูกดำเนินคดีก็ไม่ใช่ทุกบริษัทที่ใช้ลีนุกซ์ เฉพาะบริษัทที่ได้รับการติดต่อจากเราเท่านั้นที่อาจถูกดำเนินคดี เอสซีโอจะมีการแจ้งเตือนผู้ใช้ลีนุกซ์ให้ทราบล่วงหน้า โดยเสนอให้ซื้อลีนุกซ์ไลเซนส์จากเอสซีโอ เพื่อให้สามารถใช้ลีนุกซ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากยังดื้อ การดำเนินการทางกฎหมายคือขั้นตอนต่อมา สโตเวลล์กล่าว
ความจริงแล้ว มีเพียงไอบีเอ็ม (IBM) เท่านั้น ที่เป็นเป้าหมายของเอสซีโอ เอสซีโอฟ้องไอบีเอ็ม เรียกค่าเสียหายเป็นมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท) โดยกล่าวหาว่า ไอบีเอ็มแอบเอาซอร์สโค้ดยูนิกซ์ของเอสซีโอไปใช้ในการพัฒนาลีนุกซ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
ต่อมาเอสซีโอได้ส่งจดหมายไปยังองค์กรธุรกิจกว่า 1,500 แห่ง แจ้งว่าอาจถูกฟ้องข้อหาละเมิดสิทธิบัตรได้ หากยังใช้ลีนุกซ์เวอร์ชั่นที่มีซอร์สโค้ดยูนิกซ์ส่วนที่มีปัญหาบรรจุอยู่ อีก 2 สัปดาห์ต่อมา เอสซีโอก็ประกาศอัตราค่าไลเซนส์สำหรับการใช้ลีนุกซ์บนเซิร์ฟเวอร์ชนิดซิงเกลโปรเซสเซอร์ที่ 699 ดอลลาร์ (ประมาณ 30,000 บาท)
Linux คือระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี เป็นซอฟต์แวร์ประเภทโอเพ่นซอร์ส (Opensource) หรือฟรีซอฟต์แวร์ (Free Software) ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ไลเซนส์ GNU General Public License ซึ่งหมายความว่า ทุกคนสามารถเข้าถึงและเผยแพร่ซอร์สโค้ด (โค้ดที่ใช้ในการพัฒนา) ของ Linux ได้โดยเสรี คือมีอิสระในการใช้งาน, มีอิสระในการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างภายใน และมีอิสระในการแจกจ่ายให้ผู้อื่นใช้
เดือนสิงหาคม 2003 ไอบีเอ็มฟ้องกลับบริษัทเอสซีโอ เรียกค่าเสียหายเป็นมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท) โดยกล่าวหาว่า เอสซีโอละเมิดสิทธิบัตรของไอบีเอ็มเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 4 ฉบับ รวมถึงการละเมิดไลเซนส์ GPL (General Public License) ของลีนุกซ์
นอกจากไอบีเอ็มแล้วบริษัทเรดแฮ็ต (Red Hat) ผู้พัฒนาลีนุกซ์ชั้นนำของโลก ก็เป็นอีกรายที่ฟ้องกลับเอสซีโอ
เดือนธันวาคม 2003 โนเวลล์ (Novell) ออกมาทวงสิทธิการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยูนิกซ์โดยอ้างว่า โนเวลล์คือผู้ซื้อยูนิกซ์มาจากบริษัทเอทีแอนด์ทีเมื่อปี 1995 ก่อนที่เอทีแอนด์ทีจะขายทรัพย์สินดังกล่าวให้กับเอสซีโอกรุ๊ปในปี 2002 สำนักงานลิขสิทธิ์แห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Copyright Office) คือผู้จดลิขสิทธิ์ System V Unix จำนวน 11 เวอร์ชั่นให้กับโนเวลล์
สำนักข่าวซีเน็ต (Cnet) รายงานเพิ่มเติมว่า บริษัทแคลเดอร่าซิสเต็มส์ (Caldera Systems) หรือเอสซีโอในปัจจุบันนั้น ได้ลิขสิทธิ์ยูนิกซ์มาจากการเข้าควบกิจการแผนกระบบปฏิบัติการของบริษัทเอสซีโอเดิม หลังควบกิจการบริษัทเอสซีโอเดิมได้เปลี่ยนชื่อไปเป็นบริษัททาแรนเทลลา (Tarantella) ส่วนบริษัทแคลเดอร่าซิสเต็มส์ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเอสซีโอแทน
อีกหลายคดี
เหยื่อของเอสซีโอรายแรกคือ ไอบีเอ็มเมื่อเดือนมีนาคม 2003 ต่อมาคือเรดแฮ็ต และเชื่อว่าจะมีหลายร้อยหลายพันรายในอนาคตที่จะถูกฟ้องโดยเอสซีโอ
สิ้นเดือนธันวาคม 2003 เอสซีโอส่งจดหมายถึงบริษัทที่คาดว่าจะเป็นผู้ใช้ลีนุกซ์จำนวนกว่า 3,000 แห่ง เพื่อเตือนให้ซื้อลีนุกซ์ไลเซนส์ภายใน 30 วัน เพื่อเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายกับเอสซีโอ
สัปดาห์ที่แล้ว โอเอสดีแอล (Open Source Development Labs; OSDL) กลุ่มธุรกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อการโปรโมทลีนุกซ์โดยไม่แสวงหากำไร ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการต่อสู้ทางกฎหมายสำหรับลีนุกซ์ (Linux Legal Defense Fund) ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากบริษัทไอบีเอ็ม ยักษ์ใหญ่แห่งวงการคอมพิวเตอร์ และบริษัทอินเทล (Intel Corp) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเซมิคอนดักเตอร์ ที่ยืนยันเข้าร่วมสนับสนุนกองทุนดังกล่าว
เขียนเสือให้วัวกลัว
โฆษณามากไปหรือเปล่า? เอสซีโอค่อนข้างเร่งร้อนกับการสร้างภาพ คือพยายามทำให้คนทั่วโลกรับรู้ว่าเอสซีโอคือเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ลอร่า ไดดิโอ (Laura DiDio) นักวิเคราะห์จากแยงกี้กรุ๊ปกล่าวและว่า พวกเขากำลังเร่งหาเสียง ขณะเดียวกันเดิมพันหนักกว่าเดิม
การรุกของเอสซีโอจะส่งผลต่อลีนุกซ์ทั่วโลกหรือไม่??? รัฐบาลหลายๆประเทศพอใจกับลีนุกซ์ ... คิดว่ายุโรปคงต้องเจอปัญหาเดียวกันกับที่อเมริกาเจอ
เอสซีโอคงไม่เลิกง่ายๆ ไดดิโอกล่าวและว่า สายเกินกว่าจะถอนตัว ส่วนคดีก็ยังอีกนานกว่าจะรู้ผล อาจใช้เวลาเป็นเดือน หรืออาจอีกหลายปี เราคงได้เห็นการต่อสู้ทางกฎหมายระหว่างเอสซีโอกลับคนใช้ลีนุกซ์อีกหลายต่อหลายคดี แต่ที่น่าสนใจคือ ทุนของเอสซีโอ เพราะหากคดีมีมากขึ้น ยิ่งยืดเยื้อ ยิ่งรุนแรง ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งสูงเป็นเงาตามตัว
ปีที่แล้ว เรื่องราวระหว่างเอสซีโอกับลีนุกซ์เป็นแค่เรื่องเล็กๆ ไม่ค่อยมีคนสนใจ แต่ ณ วันนี้ มันกลายเป็นเรื่องใหญ่ เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก ไดดิโอกล่าว
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
Novell ป้องคนใช้ลีนุกซ์ พ้นผิดทางกฎหมาย (15/01/47)
Intel-IBM สมทบทุนหนุน Linux รับมือ SCO (14/01/47)
เอสซีโอไล่บี้ลีนุกซ์ยูสเซอร์รอบสาม โนเวลล์เบรกเกมอ้างเจ้าของลิขสิทธิ์ (25/12/46)
ศาลสั่ง SCO โชว์โค้ด Linux เจ้าปัญหา (08/12/46)
เผยแล้ว!!! ซอร์สโค้ดเจ้าปัญหาของ SCO ที่งาน SCO Forum (19/08/46)
SCO ข่ม กำไรเหลือเฟือ ถล่ม Linux แล้วยังเหลือๆ (15/08/46)
SCO เปิดเกมรุกรอบใหม่ ถอดไลเซนส์ใบที่ 2 ของ IBM Unix (14/08/46)
IBM ฟ้องกลับ SCO กรณีละเมิดลิขสิทธิ์ Unix ใน Linux (10/08/46)
IBM ว่า กรณี Linux-SCO ไม่มีปัญหา ทุกอย่างจะเคลียร์ในไม่ช้า (07/08/46)
Red Hat ฟ้องกลับ SCO ข้อหาโวยวายไร้หลักฐาน (06/08/46)
Linux เบรคแตก SCO ก็เอาไม่อยู่ (31/07/46)
SCO เตรียมถล่มคนใช้ Linux ระบุอาจโดนข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ (23/07/46)