มีท่านใดทราบเรื่อง ลิขสิทธิ์ font ไหมครับ

มีท่านใดทราบเรื่อง ลิขสิทธิ์ font ไหมครับ

พอดีก่อนหน้านี้เคยได้ยินข่าว การนำจับ เกี่ยวกับผู้ใช้ Font PSL

จึงได้นึกหาข้อมูลคล้าวๆ ก็เลยสงสัย ตกลง หากเราผลิต font

เราจะมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ font ไหมครับ สิทธิในที่นี้หมายถึง สิทธิในการขาย ออกแบบ ฟ้องร้องหากเกิดการละเมิด

ห้ามเก็บค่าลิขสิทธ ิ์ “Font ภาษาไทย” ใครถูกจับ แจ้งความกลับได้เลย !

พาณิชย์บี้พ่อค้าหัวใส ตัดสิทธิ์อักษรไทย

ข่าว : ไทยโพสต์ อิสระภาพแห่งความคิด

“พาณิชย์” สรุปพ่อค้าหัวใสไม่มีสิทธิ์ในตัวอักษรไทย สั่งห้ามแอบอ้าง แจ้งจับผู้ประกอบการโรงพิมพ์ ร้านพิมพ์นามบัตร แนะผู้เสียหายแจ้งความกลับฐานแจ้งความเท็จ โทษอาญาติดคุก

นายเนวิน ชิดชอบ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กรณีนายพัลลภ ทองสุข ขอยื่นจดลิขสิทธิ์แบบตัวอักษรภาษาไทยในตระกูลต่างๆ และแจ้งความจับกุมผู้ประกอบการโรงพิมพ์ ร้านพิมพ์นามบัตรในแถบภาคเหนือ ผู้ที่นำตัวอักษรแบบต่างๆ ไปใช้ โดยยืนยันว่าผู้ประกอบการไม่มีสิทธิ์ในตัวอักษรไทย เพราะถือเป็นสิทธิสาธารณะ ใครจะอ้างเป็นเจ้าของไม่ได้

“ตัวอักษรไทยเป็นทรัพย์สินของประเทศชาติ ใครจะอ้างสิทธิ์ไม่ได้ แต่สามารถเอาตัวอักษรไทยไปทำธุรกิจได้ เช่น แต่งหนังสือแล้วนำหนังสือที่แต่งได้ไปขาย โดยมีสิทธิ์ในหนังสือที่แต่งขึ้น ซึ่งกรมฯ ได้บอกไปแล้วว่าไม่มีสิทธิ์ในแบบตัวอักษรตามที่อ้าง และไม่มีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับผู้นำตัวอักษรเหล่านั้นไปใช้” นายเนวินกล่าว

ทั้งนี้ นายพัลลภแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่นำตัวอักษรเหล่านั้นไปใช้แล้วประมาณ 100 ราย ถ้าไม่ยอมความก็ต้องถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ โทษปรับสูงถึง 8 แสนบาทเหมือนกรณีค่าลิขสิทธิ์คาราโอเกะ แต่เท่าที่ทราบมีการยอมความบ้างแล้ว ส่วนจะให้นายพัลลภคืนเงินให้ผู้เสียหายหรือไม่นั้น เป็นการตกลงกันสองฝ่าย แต่ผู้เสียหายสามารถแจ้งความกลับฐานแจ้งความเท็จ อ้างสิทธิ์ในแบบตัวอักษร ซึ่งมีโทษทางอาญา

“แบบตัวอักษรและลิสต์รายชื่อตัวอักษรไม่มีใครสามารถอ้างเป็นเจ้าของ สิทธิ์ได้ แต่ซอฟต์แวร์ที่ใช้เลือกแบบตัวอักษรในการพิมพ์นั้น ผู้ผลิตซอฟต์แวร์มีสิทธิ์ในซอฟต์แวร์นั้นได้ และการประดิษฐ์ตัวอักษรไม่ถือเป็นงานสร้างสรรค์พอที่จะอ้างเป็นเจ้าของ สิทธิ์ได้” นายเนวินกล่าว

นายพัลลภได้ยื่นขอจดลิขสิทธิ์แบบตัวอักษรเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2542 แต่กรมฯ ปฏิเสธ ซึ่งนายพัลลภได้ทำหนังสือลงวันที่ 5 ก.ย. 2542 ขอหารือว่าเขามีสิทธิ์ในตัวอักษรที่ยื่นขอจด ซึ่งกรมฯ ตอบกลับไปเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2542 ยืนยันไม่มีสิทธิ์.

ตัวอักษรไทยใช้หากินไม่ได้ครับ

แต่ “รูปแบบ งานออกแบบ และโปรแกรมฟอนต์” หากินได้ และมีลิขสิทธิ์ครับ

เพราะข้างในฟอนต์มันก็ชุดคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดีๆ นี่เอง ก็เหมือนโปรแกรมโปรแกรมนึงครับ

ผมว่าท่านรัฐมนตรีช่วย (ในขณะนั้น) คงเข้าใจผิดระหว่าง ตัวอักษร (text) กับ รูปแบบตัวอักษร (font) แล้วละครับ

แล้วตกลง ฟอนต์ไทย สามารถเอาไปใช้งานได้ใช้ไหมครับ ในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ

เท่าที่อ่านในข่าว ท่านเนวิน บอกว่าไม่มีใครสามารถอาจสิทธิ์ในการครอบครองฟอนต์ที่เป็นภาษาไทยได้ เพราะเป็นสมบัญติของชาติ

จริงๆ ยังมี font ตระกูล / DS / DB / JS / PLE นะครับ

จริงๆ แล้ว PSL ดูๆ กันจะคล้ายๆ กับ DS เลยครับ ^^

  1. ค่าย DB ผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ บริษัท เดียร์บุ๊ค จำกัด

  2. ค่าย DS ผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ คุณดุสิต สุภาสวัสดิ์

  3. ค่าย JS ผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ บริษัท เจ เอส เทคโนโลยี จำกัด/บริษัท 315 จำกัด

  4. ค่าย PSL ผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ บริษัท พี เอส แอล สมาร์ทเล็ตเตอร์ จำกัด

  5. ค่าย SV ผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ บริษัท สหวิริยา จำกัด

  6. ค่าย TS ผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ บริษัท ไทยซอฟท์ จำกัด

  7. ค่าย UPC ผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ บริษัท ยูนิตี้ โปรเกรส จำกัด

http://www.f0nt.com/forum/index.php?topic=15760.0

จริงๆ Pack font ขายกำหนดสิทธินี่ไม่ยากเลย ^^ แต่เดี่ยวจะเป็นการชี้โพรง (ให้บริษัทฟ้อน)

แต่ยากที่สรรค์สร้างมากกว่าครับ เสียดายที่ขาดแรงสนับสนุน และราคาก็แพง ทำให้คนละเมิดกันเยอะ

หากหลักพัน กลางๆ ก็น่าซื้อใช้อยู่ครับ นี่ครบชุดจะเป็นแสน ไม่ไหว. ทำให้ font ไทยไม่พัฒนาเลยครับ


รายละเอียดคำถาม : อยากทราบว่าลิขสิทธิ์ FONT PSL มีการจดลิขสิทธิ์แล้วหรือไม่ เพราะได้รับทราบข่าวมาว่า หลังจากกรณีพิพาทเรื่องลิขสิทธิ์ FONT PSL ที่มีการจับกุมเกิดขึ้นและเป็นเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ อีกทั้งยังมีการเรียกปรับย้อนหลังด้วย และยังเคยได้ทราบว่า ท่านเนวิน ชิดชอบ เคยกล่าวว่าตัวอักษรหรือ Font ของไทย ไม่สามารถจดเป็นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือเป็นเจ้าของได้ จึงอยากทราบว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร ลักษณะและรูปแบบของตัวอักษรไทย หรือที่เรียกว่าฟอนต์ (Font) นั้น สามารถจดลิขสิทธิ์เป็นเจ้าของได้หรือไม่

ผู้ถาม : ทรงเกียรติ ภัทรนิรันดร์กุล 18/3/2548 14:57:36

คำตอบ : โดยหลักการแล้ว “ฟอนด์” มีสองส่วน กล่าวคือ ส่วนที่เป็นรูปแบบตัวอักษร (typerface) ที่ปรากฎอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และส่วนที่ทำให้เกิดรูปแบบตัวอักษรบนจอเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานพิมพ ์ต่างๆ ในส่วนของรูปแบบตัวอักษรที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปที่ไม่มีลักษณะการสร้างสรรค์ ที่เพียงพอนั้นไม่ถือเป็นงานที่กฏหมายลิขสิทธิ์ให้ ความคุ้มครอง เพราะตัวอักษรภาษาไทยเป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิใช้ ผู้หนึ่งผู้ใดจะหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นใช้ไม่ได้ แต่หากรูปแบบตัวอักษรดังกล่าวได้มีการสร้างสรรค์หรือทำให้เกิดรูปแบบหรือลวด ลายจนถึงระดับที่เพียงพอก็อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สำหรับส่วนที่ทำให้เกิดรูปแบบตัวอักษรบนจอเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หากมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือชุดคำสั่งต่างๆ ซึ่งมีระดับการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ และนำไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้รับผลเป็นตัวอักษรตามความมุ่ งหมายของการใช้ คำสั่งหรือชุดคำสั่งดังกล่าวจะถือเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร ์ ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือผู้ใช้ทั่วไปจึงควรระมัดระวังในการใช้ฟอนด์ ซึ่งหากการใช้ฟอนด์จะต้องมีการดึงส่วนของคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่เป็นโปรแกรม คอมพิวเตอร์มาใช้ในการพิมพ์งานก็จำเป็นต้องจัดหาฟอนต์ที่ได้มาอย่างถูกต้องม าใช้เพื่อป้องกันปัญหาการจับกุมดังที่ได้กล่าวข้างต้น คำแนะนำในการใช้ฟอนต์

  1. การจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้งานภายในองค์กร จะต้องจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องตามกฎหมายจากผู้แทนจำหน่าย และจะต้องปฏิบัติตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนด ด้วย เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ธุรกิจของผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นั้น

  2. ทุกคนมีสิทธิใช้รูปแบบตัวอักษรที่มีอยู่ทั่วไปซึ่งอาจเหมือนหรือคล้ายคลึง กันได้ แต่ไม่สามารถนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุฟอนต์ตัวอักษรซึ่งสร้างสรรค์โดยบุ คคลอื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

  3. การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ซื้อควรระมัดระวังโดยตรวจสอบมิให้มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดติดมากับเคร ื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา และควรขอหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (license Agreement) ทุกครั้งจากผู้ขายเมื่อตกลงซื้อขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้รับสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง

อ้างอิงจาก http://61.19.225.226/ipthai/copyright/question.asp?id=847

กำลังปวดหัวเรื่อง ฟอนต์อยู่พอดี

ขอบคุณครับพี่mean เข้ามากขึ้นละครับ

ลิขสิทธิเป็นที่ตัวโปรแกรมใช่ไหมครับ ดังนั้นงานที่ lender ออกมาแล้วและมี font ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิหรือไม่ ?

เหมือนรูปที่สร้างด้วย photoshop (เก๊) รูปดังกล่าวถือว่าผิดลิขสิทธิหรือไม่ ?

หน้าคิดนะครับ ความคิดเห็นของผม หน้าจะผิดแค่ตัวโปรแกรมนะครับ ถ้าคิดกันๆดีคือ รูปที่สร้างมาจาก Photoshop รูปไม่อาจคิดแต่โปรแกรมผิดลิขสิทธิยังไงต้องดูอีกที

ขอบคุณครับ