[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Mozilla ได้ออก Firefox 3.5.1 เวอร์ชันอัพเดตที่ได้รับการแก้ไขช่องโหว่ตัวคอมไพล์ JIT ของจาวาสคริทป์ ล่าสุดมีรายงานข่าวยืนยันว่า พบช่องโหว่ใหม่ที่มีการจัดทำโค้ดอันตรายออกมาแล้ว โดยจะส่งผลกระทบกับ Firefox 3.5.1และเวอร์ชันอื่นๆ ที่อาจะโดนเล่นงานผ่านช่องโหว่ดังกล่าว
รายงานพบช่องโหว่นี้มาจาก SANS Internet Storm Center ตามด้วย IBM ISS X-Force alert ที่ยืนยันว่า ช่องโหว่ดังกล่าวเป็นเรื่องจริง และมันสามารถใช้ได้กับ Firefox 3.5.1 เวอร์ชันอัพเดตล่าสุดด้วย สำหรับรายละเอียดของช่องโหว่ที่พบจะเป็นส่วนการทำงานที่สามารถเกิดบัฟเฟอร์โอเว่อร์โฟลว (การใช้หน่วยความจำมากกว่าที่โปรแกรมจองไว้) จากส่วนจัดการหน่วยความจำแบบสแต็คผ่านทางเน็ต ซึ่งทำให้เกิดขึ้นได้โดยส่งข้อความยาวๆ ที่เป็นข้อมูลยูนิโค้ดเข้าไปใน document.write.method ผลลัพธ์จากการทำให้เกิดโอเว่อร์โฟลวจะนำไปสู่การสั่งรันโค้ดอันตรายบนระบบของเหยื่อได้ หรือหากไม่สามารถทำให้เกิดเหตุการณ์ข้างต้นได้ มันก็สามารถนำไปใช้โจมตีในรูปแบบ DoS ช่องโหว่ดังกล่าวได้มีการทำโค้ดพิสูจน์ทราบตามคอนเซปต์แล้ว โดยสามารถดูโค้ดได้ที่นี่
Update: ล่าสุดทาง Mozilla ได้ออกมาตอบโต้รายงานของ SANS และ IBM แล้วว่า “ไม่ถูกต้อง” โดยผลจากการทดสอบภายในของบริษัท ช่องโหว่ดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง “สองสามวันทีผ่านมา มีรายงานมากมาย(รวมถึงที่มาจาก SANS) เกี่ยวกับข้อผิดพลาดพี่บใน Firefox โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสตริงยูนิโค้ดทีมีความยาวมากๆ ซึ่งอ้างว่า มันสามารถล่มการทำงานของ Firefox ในบางเวอร์ชัน ทั้งนี้รายงานที่ได้เผยแพร่ผ่านตัวแทนผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ที่ระบุว่า ข้อผิดพลาดของการทำงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้ จากการวิเคราะห์ของเราพบว่า มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น และเราไม่พบตัวอย่างของการใช้ช่องโหว่ดังกล่าวด้วย” Mike Shaver โพสต์ข้อความไว้ในบล็อก Mozilla Security “ผลจากการวินิจฉัยของเรา เราไม่เชื่อว่า สิ่งที่กล่าวอ้างกันมานั้นจะเป็นช่องโหว่ที่สามารถใช้งานได้ใน Firefox ยิ่งไปกว่านั้น เราเชื่อว่า รายงานของ IBM มีข้อผิดพลาด และรายงานการจัดอันดับความรุนแรงของ National Vulnerability Database ไม่ถูกต้อง เราได้ติดต่อไปยังทั้งสองหน่วยงานแล้ว และหวังว่าจะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว” ความหมายโดยสรุปก็คือ Firefox 3.5.1 มีข้อผิดพลาดของการทำงาน (bug) ในลักษณะดังกล่าว แต่มันไม่สามารถนำไปใช้ (exploitable) ในการโจมตีระบบของผู้ใช้ได้ อย่างมากก็ทำได้แค่ล่มการทำงานของ Firefox เท่านั้น
ข่าว : ARiP.co.th