uae
1
เรียนพี่ๆ น้องๆ ครับ ผมสงสับเรื่องภาษีของโดเมนเนม จึงใครขอคำชี้แนะน่ะครับ
- กรณีผมไปซื้อประมูลซื้อโดเมน จากต่างประเทศ เข้ามาขายต่อให้ลูกค้าอีกราย (เป็นตัวแทนซื้อให้เขาน่ะครับ)
การเสียภาษีผม ในนามนิติบุคล ต้องเสียภาษีอะไร บ้างครับ โดยตอนผมข่ายผ่านไปให้ลูกค้า ผมออกใบกำกับภาษี
ในกรณีนี้ ถ้าผมซื้อในนามส่วนตัว แล้วขายออกไปในรูปบริษัท จะได้ไหม โดยไม่เอาเงินที่จ่ายไปต่างประเทศมาคิดเป็นต้นทุนบริษัท สรรพากรจะสงสัยอะไร ไหมครับ
- ในกรณีข้อหนึ่ง มันมองว่าเป็นสินค้าหรือบริการครับ
รบกวนพี่ๆ ด้วยครับ
1.อาจจะต้องมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายครับ สูงสุด 15% (ซึ่งต่างประเทศเค้าก็ไม่ยอมให้หัก ก็กลายเป็นว่าเราต้องออกให้เอง ขอคืนไม่ได้ด้วย)
ทางออกให้ใช้บุคคลธรรรมดาซื้อแล้วขายต่อให้บริษัท แล้วหักณที่จ่าย 3%
2.ณ ปัจจุบันมองเป็นบริการ เพราะมันจับต้องไม่ได้ครับ
แล้วจะมีเรื่องน่าปวดหัวตรงเรื่องของ รายได้รับล่วงหน้า และ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
เช่น กรณีของการย้าย domain ก่อนหมดอายุนาน ๆ ไม่แน่ใจว่า จะต้องคิดเฉลี่ยนับตั้งแต่วันย้าย หรือวันที่หมดตามกำหนดเดิม
ซึ่งถ้าไม่ว่านับแบบใด แล้วสรรพากรคิดไม่ตรงกับที่เราทำ ก็จะมีปัญหาได้
มีข้อยกเว้นครับ ในกฎหมายสรรพากรครับ กรณีเช่าพื้นที่เว็บหรือบริการออนไลน์ของต่างประเทศ แต่ธุรกรรมเกิดในราชอาณาจักรไทย จะยกเว้นไม่ต้องหัก ณ ที่จ่ายครับ แต่ว่าจะให้ยื่น ภพ 36 แทนครับ ก็ 7% ครับ
หัก vat ขายก็ ลงตัวพอดีครับ
4. กรณีตาม 4. บริษัทฯ เช่าเครื่องเครือข่ายเว็บ (Web Server) ซึ่งใช้เก็บเว็บไซด์และซื้อ SSL Certificates ซึ่งเป็นไฟล์พิเศษที่ติดตั้งไว้ในเครื่องเครือข่ายในการช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบได้ว่ากำลังเชื่อมต่ออยู่กับ เครื่องเครือข่ายที่ถูกต้อง จากบริษัท ร. ประเทศสหรัฐอเมริกา อันมีลักษณะการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และมีการลงทุนค่อนข้างสูง เมื่อบริษัทฯ ชำระค่าตอบแทนดังกล่าวให้กับบริษัท ร. จึงเข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ไม่มีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และการให้บริการดังกล่าวมี ลักษณะเป็นการให้บริการซึ่งผู้ประกอบการได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรเมื่อบริษัทฯ ชำระค่าบริการไปต่างประเทศ บริษัทฯ มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ที่ผู้ประกอบการต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
5. กรณีตาม 5. บริษัทฯ ซื้อโดเมน ซึ่งใช้ระบุเป็นชื่อของเว็บไซด์หนึ่งๆ และไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้ จาก T ประเทศแคนาดา การให้บริการดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้บริการซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และมีการลงทุนค่อนข้างสูง เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ ชำระค่าตอบแทนให้กับ T จึงไม่มีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด และการให้บริการดังกล่าวมีลักษณะเป็นการบริการซึ่งผู้ประกอบการได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในร
อ่านที่สรรพากรได้ที่นี่ครับ
http://www.rd.go.th/publish/36190.0.html
uae
4
ขอบคุณพี่ๆ ครับ สำหรับความคิดเห็น ถ้าเป็นแบบพี่ Thaitumweb ว่า เรามองโดเมน เป็นสินค้า ใช่ไหม ครับ มันไม่เข้าข่ายบริการ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ขอบคุณครับ ก่อนหน้านี้ก็เคยไปหาอยู่แต่ไม่เจอ
แต่กรณีดังกล่าวไม่แน่ใจว่าจะครอบคลุมหรือเพราะว่า
เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและ"ได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร"
เพราะโดยตัว Hosting และ Domain Name นั้น มีการใช้งานได้จากทั่วโลก
อันนี้ไม่ทราบว่ามีความเห็นว่าไงครับ หรือมันจะหมายถึงที่ใช้งานหลัก?
แล้วเรื่องรายได้รับรับล่วงหน้า กับค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า มีความรู้เรื่องนี้เปล่าครับ เพราะคิดอยู่ว่าจะทำหนังสือปรึกษาไป จะได้ไม่ต้องเสียเวลา
ขอบคุณครับ
รายได้รับล่วงหน้าไม่มีความรู้เลยครับ มันคืออะไรหรือ
บอกตามตรงผมก็ปวดหัวกับกฎหมาย ต้องให้ตีความ ผมก็ไม่รู้มาก แต่มีลูกค้าผมเขายื่นแบบนี้เลยทำตามครับ ปีที่แล้วผมก็ปิดงบไม่มีปัญหาครับ ใช้ยืน ภพ 36 แทน การออกบิลเงินสดแบบธรรมดา
ผมเถียงบัญชีที่จ้างปิดงบอยู่นาน ให้อ่านในเว็บสรรพากร ตามลิงค์ข้างบน สรรพกรบางคนก็เห็นต่างอีก ผมบอกจะทำอย่างนี้ ถ้าสรรพากรไม่ยอม ผมก็ต้องเครียร์กันให้จบ ต้องมีความกระจ่าง
icez
7
การจดโดเมน คือเรารับเงินมาก่อน แล้วจดให้ลูกค้า ลูกค้าก็จะใช้โดเมนได้ 1 ปี
เท่ากับว่าเราเป็น “หนี้” ลูกค้าอยู่ 1 ปีครับ ตามราคาของโดเมน (รับเงินมาแล้ว แต่ลูกค้ายังไม่ได้ใช้บริการ)
กรณีบริษัท ให้หารเฉลี่ยค่าโดเมนออกมาเป็นรายเดือน
แล้วลงบัญชีเป็น รายได้รับล่วงหน้า และหนี้สิน
แล้วค่อยๆ หักออกรายเดือนตามที่ยื่นกับสรรพากรจนครบรอบปี…
ทีนี้ปัญหาเลยมาเกิดตรงเรื่องย้ายโดเมนอย่างที่ว่านั่นแหละครับ - -’
รายได้รับล่วงหน้าคือ รายได้ที่รับมาแล้ว แต่มีบ้างส่วนของรายได้นั้น ที่มีภาระผูกพันไปถึงรอบปีบัญชีถัดไป
เช่น รับค่าเช่า Hosting 1 ปี 3,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2554 - 31 สิงหาคม 2555
แบบนี้คือจะเป็นรับล่วงหน้าของปี 2555 1,500 บาท
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าคือ รายจ่ายที่จ่ายไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้งานจริง
เช่น จ่ายค่า Co-Location 300,000 บาท แบบเหมาปีให้กับ isp รอบ เริ่มตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2554 - 31 สิงหาคม 2555
แบบนี้จะเป็นจ่ายล่วงหน้าของปี 2555 150,000 บาท
แล้วยังมี รายได้ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย อีกซึ่งก็ตรงกันข้ามกับข้างบน ถ้าไม่บันทึกรายการไว้ในปีนี้ ปีหน้าจะสรรพากรจะไม่ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของปีที่ได้จ่าย
และทั้งหมด 4 ตัวนี้ก็จะกระทบต่อกำไรสุทธิที่จะเกิดขึ้น กระทบไปยังภาษีนิติบุคคล
ซึ่งถ้าผลมันกลายเป็นว่าเราไม่ได้จ่ายภาษี เพราะคิดผิด เราจะโดยย้อนหลัง
เรื่องปิดงบได้ มันไม่ใช่บทสรุปว่าถูกต้องครับ เพราะต้องดูในรายละเอียดว่าทำกันถูกหรือเปล่า
อย่างกิจการเราของเรา ๆ มันก็ไม่เหมือนชาวบ้าน บ้างทีก็ต้องอธิบายให้คนทำบัญชีเข้าใจอีก
uae
9
ถามพี่ DataCenterAsia ครับ กรณีของพี่นี้ทำไมต้องแยกบันทึกเป็นรายเดือนล่ะครับ เราบันทึกเป็นต้นทุนครั้งเดียว ส่วนรายรับลูกค้าถ้าเป็นรายปีบันทึกครั้งเดยว เหมือนกัน
หรือมันมีเหตุผลอื่นครับพี่ สงสัยอ่ะครับ
เป็นเรื่องของหลักการบันทึกบัญชีครับ
มีเกณฑ์เงินสด (อ้างอิงเงินเข้าออกจริง ๆ ไม่สนใจระยะเวลา บุคคลธรรมดาใช้อันนี้) กับเกณฑ์สิทธิ์ (อ้างอิงสิทธิ์ทำเงินที่สมควรจะได้จริงและจ่ายจริงตามระยะเวลาจริง)
ซึ่งสรรพากรให้นิติบุคคลใช้เกณฑ์สิทธิ์ (ยกเว้นกิจการบางประเภทใช้เกณฑ์เงินสดได้)
ถ้าเราไม่บันทึกตามหลักบัญชี จะทำให้มีปัญหาเมื่อมีการตรวจสอบครับ หรือบ้างทีผู้ตรวจบัญชีเห็นชัด ๆ เค้าก็จะไม่เซ็นรับรองให้ครับ
และปัญหาจะหนักมากเมื่อมีการตรวจสอบแล้ว เราจะต้องเสียภาษีเพิ่ม + เบี้ยปรับ
uae
11
ลักษณะอย่างนี้ นับรวมเรื่อง domain name ด้วยหรือปล่าวครับ
ที่ถาม ๆ ไปยังนักบัญชีหลายคน นับครับ เพราะถือว่ามันมีระยะเวลามาเกี่ยวข้องด้วย