เปรียบเทียบ Dedicated server, VPS และ Cloud

บทความนี้จะกล่าวถึง[B] ความแตกต่างระหว่าง Dedicated server, VPS และ Cloud[/B] เพื่อเป็นข้อมูล “เบื้องต้น” ให้กับผู้กำลังตัดสินใจเลือกบริการต่างๆ ได้เข้าใจและเลือกใช้ให้เหมาะกับงานและความต้องการของตนเอง มุมมองที่จะเขียนนี้ เป็นมุมมองจากบริการที่หาได้โดยทั่วไปในปัจจุบันเท่านั้น

[B]Dedicated Server[/B]

น่าจะเป็นบริการที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว Dedicated Server คือการเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งตัวเพื่อใช้งานและปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้เอง โดยสามารถใช้งาน Resources ทั้งหมดของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Disk และ Network ที่เชื่อมต่อกับตัวเครื่อง โดยหากอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเกิดปัญหา ระบบก็จะต้องหยุดการทำงานลงจนกว่าจะทำการเปลี่ยนอุปกรณ์และกู้ข้อมูลเสร็จสิ้น ซึ่งอาจกินเวลา 2-3 ชม. ไปจนถึงหลายชั่วโมง นอกเหนือไปจากนั้น การสำรองข้อมูล (backup) ก็มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว เพื่อที่จะสามารถกู้กลับคืนมาได้ในกรณีจำเป็น

[B]VPS
[/B]
[B]Virtual Private Server [/B]คือเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเป็นประหนึ่งเซิร์ฟเวอร์ แต่จำลองขึ้นมา โดยแบ่งเซิร์ฟเวอร์ 1 ตัว ออกเป็น VPS ย่อยๆ หลายๆ ตัว โดยที่แต่ละ VPS ทำงานแยกจากกัน แบ่ง CPU, Memory, Disk กันตาม Limit ที่ตั้งไว้ และแยกระบบ login รวมทั้งการทำงานภายในออกจากกันโดยเด็ดขาด หาก VPS ตัวใดตัวหนึ่งทำงานหนัก ก็จะ “ไม่ค่อย” ไปกวนการทำงานของตัวอื่น หรือ VPS ตัวใดโดนเจาะระบบผ่านตัว VPS เอง ก็ไม่มีผลด้านความปลอดภัยไปถึง VPS ตัวอื่นในเซิร์ฟเวอร์นั้นโดยตรง

ที่ผมใช้คำว่า ไม่ค่อย เพราะมันขึ้นกับเทคโนโลยีของ VPS ที่นำมาใช้ บางรูปแบบการทำงานของ CPU จะแบ่ง Limit กันโดยเด็ดขาด แต่เทคโนโลยี VPS บางตัวก็อาจจะกวนกันได้บ้าง เช่น openvz ที่สามารถตั้ง minimum guaranteed CPU ของ VPS แต่ปล่อยให้ burst ได้ เป็นต้น ขึ้นกับผู้ให้บริการจะทำการตลาดโดยบอกตัวเลขอะไร ดังนั้นในบางกรณี VPS จึงสามารถ oversell ได้ (ขายมากกว่าทรัพยากรที่มีจริง)

ในภาพรวมก็เป็นบริการที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการความอิสระในการปรับแต่งการทำงานระดับ root หรือ services ต่างๆ เสมือนใช้เซิร์ฟเวอร์ตัวเอง แต่ด้วยงบประมาณจำกัดหรือความจำเป็นไม่มากขนาดที่จะต้องเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง การเลือกใช้ VPS จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและสบายกระเป๋ากว่า ทั้งนี้ VPS ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในราคาเดือนละไม่กี่ร้อยบาทขึ้นไปถึงหลักหลายพัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ Limit ต่างๆ ที่เราต้องการใช้

[B]Cloud[/B]

Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพียงแต่เป็นเทคโนโลยีที่นำมาทำการตลาดอย่างจริงจัง ในต้นทุนที่ทำการตลาดแบบทั่วไปได้ ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ระบบ Cloud เป็นการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล และอาจมีการคิดเงินแบบเหมาจ่ายรายเดือน หรือคิดแบบตามใช้งานจริงก็ได้

ชั้นการประมวลผล (Computing layer – CPU, Memory) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่อง ซึ่งแม้มีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของลูกค้า เพราะระบบจะสวิทช์การประมวลผลไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที การประมวลผลของเว็บของผู้ใช้งานจะทำงานในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่เลือกและแยกทรัพยากรกับผู้อื่นอย่างชัดเจน Cloud ส่วนมากจะมี Firewall ป้องกันระบบของแต่ละคนออกจากกันอย่างเด็ดขาด

ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage Area Network) หรือในบางระบบอาจใช้การทำงานของ Distributed Storage ในชั้นนี้ ซึ่ง Storage Layer นี้ จะต้องมีความเสถียรและความเร็วสูง และต้องมีระบบ Activate-Active หรือ Active-Standby เพื่อใช้งานระบบสำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องของหน่วยเก็บข้อมูลหลัก จึงควรมี SAN อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งานจะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้

เครือบข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูง จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา

ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือนหรือเว็บของลูกค้า เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้

นอกจากนี้ ยังมี Cloud ที่สามารถยืดขยายการทำงานให้ใช้ Resources ของระบบเกินขอบเขตของเครื่องๆ เดียว โดยการนำ CPU, Memory ของทุกเครื่องมารวมกัน และแบ่งให้บริการตามต้องการได้อีกด้วย

ระบบ Cloud จะมีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นมาก รวมทั้งไม่สามารถ Overselling (ขายเกินทรัพยากรรวมที่มี) ได้ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าบริการแบบอื่นๆ

ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud เหล่านี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของผู้ใช้งานไม่ติดขัด แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน

[B]การเลือกใช้งาน[/B]

เมื่อเข้าใจความแตกต่างของบริการต่างๆ แล้ว ก็มาถึงเวลาที่ท่านจะเลือกใช้บริการให้เหมาะกับความต้องการและงบประมาณของท่าน

[LIST]
[]เลือกใช้ Dedicated server ถ้าท่านต้องการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีการจัดการระบบ Backup ที่ดี เพื่อให้กลับมาทำงานได้เร็วที่สุดในกรณีอุปกรณ์ในเครื่องเสียหาย โดยทั่วไประบบ Dedicated server จะมีความเร็วสูง และโดยเฉพาะการทำงานกับดิสก์มักจะเร็วกว่า Cloud เพราะ Disk ติดอยู่ภายในตัวเซิร์ฟเวอร์โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับระบบของ Disk ที่เครื่องด้วย ว่าจะเป็น Disk ประเภทใด ความเร็วเมื่อเทียบกับ SAN ที่ใช้ใน Cloud ก็จะแตกต่างกันไปไม่แน่นอน
[
]เลือกใช้ VPS หากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง VPS จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด โดยมีความปลอดภัยและความเสถียรใกล้เคียงกับการใช้งาน Dedicated server แต่ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลอาจจะต่ำกว่าเพราะทุก VPS ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะอ่านเขียนลง Disk เดียวกันภายในเครื่องทั้งหมด
[*]เลือกใช้ Cloud ถ้ามีงบประมาณมากเพียงพอและต้องการความสบายใจมากที่สุด บริการ Cloud มีโอกาสที่อุปกรณ์จะเสียหายพร้อมๆ กันทั้งหมดจนทำให้ระบบทำงานไม่ได้ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการแบ่งชั้น Compute และ Storage ออกจากกัน ในกรณีผู้ใช้ที่ต้องทำการอ่านเขียนหนักมากๆ อาจได้ความเร็วของการอ่านเขียน Disk ไม่เร็วเท่ากับจาก Dedicated server
[/LIST]

ทุกระบบมีข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป เมื่อท่านทราบความแตกต่างเหล่านี้แล้ว บทความนี้ก็อาจช่วยให้ท่านจัดสินใจเลือกใช้บริการได้ง่ายและเหมาะสมยิ่งขึ้น

ขอบคุณครับ
pizzaman

:875328cc:

[B]หมายเหตุ:[/B]

[LIST]
[]บทความนี้เขียนจากข้อมูลทั่วไป เป็นแนวทางกว้างๆ เพื่อช่วยตัดสินใจเท่านั้น เนื่องจากคุณภาพและมาตรฐานผู้ให้บริการที่แตกต่างกันมากในปัจจุบัน บทความนี้จึงไม่สามารถทดแทนการทดสอบจริงได้
[
]ข้อมูลบางส่วนจาก: HostPacific.com
[/LIST]

[สำรอง 1]

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณครับ สำหรับ บทความดีๆ อย่างนี้ ^^

แทงไป 1 จึ๊กครับ

+1 ไปครับเขียนชัดเจนมากครับพี่ Pizzaman

+1 ครับ เขียนให้อ่านเข้าใจได้ดีมากๆ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

ขอบคุณครับ

พี่วัฒน์ความรู้แน่นมากเลยครับ ขอบคุณครับ (Thank)

ไม่เข้าใจว่าทำไมผม thank ไม่ได้ ตั้งแต่ข้อความแรกลงมาทุกข้อความจนถึงตามภาพ ข้อความต่อจากนั้นถึงจะเริ่ม thank ได้

ขอบคุณมากครับ
เพราะหลายๆคน ยังเข้าใจผิดว่า VPS ก็คือ cloud แบบหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่

เพิ่งเห็นบทความนี้ เข้าใจชัดเจนมากขึ้นเลยครับ
ปล ผมก็ Thank ไม่ได้เหมือนกันครับ

ช่วงบนๆที่กด thank ไม่ได้เพราะกดไปแล้วครับ ลองดูรายชื่อใต้โพสแรกครับ แต่ที่คุณแมนกับคุณไก่กด thank ไม่ได้เพราะเป็น MOD ห้องนี้หรือเปล่าครับ เออ แต่ของผมกดได้แฮะ

ลองกดไล่ๆ ดู ผมสังเกตเห็นว่า กระทู้หรือคำตอบไหนที่เก่าๆ หน่อยจะไม่มีให้กด Thanks
เลยเข้าไปดูใน Settings พบว่า มีการตั้งค่า default ให้ Disable Thanks ถ้า post เก่ากว่า 60 วัน
ตอนนี้ผมแก้ไขเป็น 180 วันแล้วนะครับ

เรามากด Thanks ย้อนหลังกันเถอะ :70bff581:

เป็นบทความที่ดีครับ เพราะหลายครั้งลูกค้าเข้าใจว่า VPS หมายถึง reseller hosting บ่อยๆครับ

:d5f02ecd:ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :d5f02ecd:

เป็นความรู้ที่ดีมากๆครับ :d5f02ecd::d5f02ecd::d5f02ecd::d5f02ecd::d5f02ecd: