เอสน็อคส่ง DDoS Protection ป้องกันโจมตีเว็บไซต์ได้ 99%

[TABLE]
[TR]
[TD=“align: center”][TABLE=“width: 400”]
[TR]
[TD=“width: 400”]

[/TD]
[/TR]
[TR]
[TD=“class: Image”]นายกิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเคียว เน็ตเวิร์ค โอเปอเรชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ เอสน็อค[/TD]
[/TR]
[/TABLE]
[/TD]
[/TR]
[TR]
[TD][/TD]
[/TR]
[/TABLE]
เอสน็อคชี้การโจมตีแบบ DDoS หรือการโจมตีให้ระบบหยุดทำงานกำลังขยายตัว และสร้างความเสียหายลามมาถึงไทยแล้ว ส่งบริการ DDoS Protection ป้องกันการโจมตีออนไลน์สำหรับเว็บไซต์ลงตลาด การันตี 99% ปลอดภัยแน่ คาดปีแรกมีลูกค้า 100 ราย สร้างรายได้ 50 ล้านบาท พร้อมเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับลูกค้าเป้าหมายในกลุ่ม เว็บพอร์ทอล กลุ่มแบงกิ้ง และโบรกเกอร์ พร้อมส่งเคมเปญ ‘ใครโดนโจมตียกมือขึ้น’ กระตุ้นการรับรู้

นายกิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเคียว เน็ตเวิร์ค โอเปอเรชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ เอสน็อค กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตง่ายขึ้นเนื่องจากมีราคาถูกลง ในขณะที่การโจมตีต่างๆ ก็เข้ามามากขึ้นเช่นกัน ประกอบกับพฤติกรรมของคนไทยยังใช้งานแบบไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในระหว่างที่ถูกโจมตี ไม่มีตัวเลือกที่เหมาะสม รวมถึงระบบความปลอดภัยที่มีอยู่ยังป้องกันไม่เต็ม 100% และมีราคาแพง เอสน็อคจึงได้นำเสนอบริการ DDoS Protection การันตีการป้องกันการโจมตีออนไลน์ได้ 99% ตั้งเป้าปีแรกจะมีลูกค้ามาใช้บริการ 100 ราย และมีรายได้มากกว่า 50 ล้านบาท

DDoS หรือ Distributed Denial of Service เป็นการโจมตีออนไลน์ เพื่อให้ระบบหยุดทำงานหรือทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ได้ โดยพบว่าในต่างประเทศนั้นการโจมตีแบบ DDoS นี้มีความถี่มากกว่า 2,000 ครั้งต่อวัน และสร้างความเสียหายเฉลี่ย 1.3 ล้านบาทต่อชั่วโมง ส่วนเมืองไทยมีหลายธุรกิจได้รับผลกระทบแล้ว ในขณะที่การดำเนินงานโจมตีนั้นทำได้ง่ายและมีบริการรับจ้างทำในราคาต่ำ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งกรณีโจมตีที่ร้ายแรงที่สุดคือการโจมตีจนทำให้ประเทศเกาหลีเหนือใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ได้ทั้งประเทศ

‘การโจมตีแบบ DDoS ส่วนใหญ่จะเป็นการสกัดกั้นการเติบโตทางธุรกิจของคู่แข่งขัน เพื่อหวังผลต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ อาทิ การหยุดระบบเว็บไซต์ หยุดการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือแม้แต่การโจมตีระบบออนไลน์ของเกมเพลย์สเตชั่นและเอ็กบ็อกซ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการของลูกค้า จนธุรกิจเสียหายในที่สุด นอกจากนี้ในบางองค์กรยังกลายเป็นเครื่องมือในการสร้าง DDoS ไปโจมตีผู้อื่นโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย’

นายกิตติพันธ์ กล่าวว่า เนื่องจากบริการนี้ยังใหม่สำหรับเมืองไทย บริษัทจึงใช้วิธีสร้างความรู้กับตลาด ด้วยการจัดงานสัมมมนาร่วมกับตลาดราชการให้รับรู้และเข้าใจ ให้มองว่าแม้จะไม่โดนแต่ก็มีโอกาสเสี่ยงและควรก็ต้องมีการป้องกันโดยจะโฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาอยู่ผ่านแคมเปญ ‘ใครโดนโจมตียกมือขึ้น’ ให้องค์กรที่โดนโจมตีด้วย DDoS ติดต่อเข้ามาแล้วทางเอสน็อคจะดำเนินการป้องกันให้และรับรองผลภายใน 1 วัน

สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้นจะมุ่งไปที่กลุ่มเว็บไซต์เปย์เมนต์เกตเวย์ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด อาทิ เว็บพอร์ทอล สตรีมมิง กลุ่มแบงกิ้ง โบรกเกอร์ รวมไปถึงหน่วยงานราชการ นอกจากนี้การส่งเสริมดิจิตอลอีโคโนมีของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีการพัฒนาและการให้บริการ โดยขณะนี้ได้เริ่มเข้าไปพูดคุยกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแล้ว โดยค่าบริการจะตามขนาดการโจมตี จำนวนเว็บไซต์ และความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

เอสน็อคถือเป็นผู้ให้บริการ DDoS Protection รายแรกในเมืองไทย โดยร่วมมือกับบริษัท เน็กซัสการ์ด ผู้ให้บริการระบบป้องกัน DDoS ผ่านระบบคลาวด์ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ด้วยการใช้เป็นคลาวด์เบสสำหรับเว็บไซต์โดยเฉพาะ เนื่องจากไม่ทราบปริมาณว่าการโจมตีจะมามากน้อยแค่ไหน ดังนั้นลูกค้าจึงจะจ่ายเฉพาะที่ใช้งานเท่านั้น

‘การเข้ามาทำตลาดครั้งนี้เนื่องจากเราเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเซอร์วิสโพรวายเดอร์ และผู้ให้บริการระบบ และโดนโจมตีด้วย DDoS เราจึงหาโซลูชันเข้ามาแก้ไข จนพบกับเน็กซัสการ์ด ที่สามารถให้ความมั่นใจและแก้ไขในสิ่งที่เราพบได้ดี จึงได้นำบริการดังกล่าวเข้ามาให้บริการกับลูกค้ารายอื่นที่ประสบปัญหาเดียวกันด้วย โดยมีการป้องกันตั้งแต่ต้นทาง ป้องกันการขโมยข้อมูลและการเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ นอกจากการป้องกันการโจมตีแบบ DDoS แล้ว DDoS Protection ยังมีฟีเจอร์ Web Application Firewall, Load balance server, SSL Offload และ Caching’

[COLOR=#666666][FONT=Tahoma] นายกิตติพันธ์ กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การต่อยอดตลาดนั้นจะเน้นการจับมือกับผู้ให้บริการรายอื่นด้วยการนำบริการของเอสน็อคไปเติมเต็มมากกว่า สอดคล้องกับการให้บริการในธุรกิจปัจจุบันที่ทำอยู่เดิม ที่จะเน้นการเติมเต็มด้วยบริการใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยขณะนี้เอสน็อคเป็นผู้จำหน่ายรายเดียวของเน็กซัสการ์ด ที่จะดูแลตลาดในเมืองไทยกัมพูชา ลาว และพม่า

cr. [/FONT][/COLOR]http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000025704

เค้าเน้นขายอุปกรณ์ หรือ ต้องเอา เครื่อง ไปวางเหรอครับ ?

อ่านจากบล็อคนันมา ผมว่ามันคล้ายๆกับ cloudflare อ่ะครับ คือคนเข้าเว็บจะเข้าผ่านระบบของเขาก่อนเพื่อกรอง traffic เสร็จแล้วถึงจะ fwd traffic มาที่เครื่องเราอีกที