ใครใช้ bitdefender เถื่อนอ่านที่นี้

พบผู้บริหารซอฟต์แวร์กำจัดไวรัสรายใหม่ กับมุมมองความปลอดภัยการใช้คอมพ์

ทุกครั้งที่ไวรัสคอมพิวเตอร์ชื่อใหม่ๆ ออกอาละวาด นั่นเป็นสัญญาณเตือน ให้ผู้ใช้ต้องระแวดระวัง คอมพิวเตอร์ของตัวเอง ให้หลุดพ้นจากการคุกคาม ของปีศาจเทคโนโลยีมากเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่ และขยายพันธุ์สำแดง พิษสงที่ร้ายแรงขึ้นอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องมีอาวุธ ไว้สำหรับรับมือ และป้องกันการแพร่เชื้อของไวรัสร้าย ที่แฝงตัวเข้ามาทำลาย คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่อาจคาดไม่ถึง เมื่อเป็นดังนั้น การเลือกโปรแกรมกำจัดไวรัสที่มีมากมาย ในท้องตลาดจึงอาจเป็นคำถามที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ เกิดความลังเลใจว่าควรจะวางใจ เลือกใช้โปรแกรมกำจัดไวรัส ของผู้ให้บริการรายใดจึงจะได้ผลดี

“บิทดีเฟนเดอร์” ถือเป็นซอฟต์แวร์กำจัดไวรัสน้องใหม่ที่เสนอตัวเอง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลรักษาความปลอดภัย ให้กับคอมพิวเตอร์และพยายามผลักดันตัวเองให้ไปยืนอยู่แถวหน้า ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในเมืองไทยให้ได้ในเร็ววัน เป้าหมายดังกล่าวนี้จะเป็นจริงได้หรือไม่ IT Exclusive จะพาไปพูดคุยกับ เจริญศักดิ์ ศักดิ์รัตนอนันต์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บิทดีเฟนเดอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อค้นหาคำตอบว่าอะไรทำให้เขามีความมั่นใจขนาดนั้น…

ขอเชิญติดตามได้ ณ บัดนี้


IT Exclusive : ที่มาที่ไปของบิทดีเฟนเดอร์ในประเทศไทย

เจริญศักดิ์ : เราเริ่มมาเมื่อ 10 ปีก่อนที่ประเทศโรมาเนีย เริ่มต้นจากโครงการในมหาวิทยาลัย พอโครงการในมหาวิทยาลัยทำได้ดีจึงเริ่มขยายมาเป็นเชิงการค้า และมีการพัฒนาโปรแกรมมาตลอดจนเมื่อ 2 ปีที่แล้วจึงมาตั้งสำนักงานที่ประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้เราติดอันดับที่ 1 ในตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป บริษัทแม่ก็มองว่าในภูมิภาคเอเชียยังมีแต่คนรู้จักแบรนด์อื่น พอเรามองเห็นโอกาสในภูมิภาคเอเชีย และคนไทยเอง ก็มาทำตลาดเริ่มให้คนรู้จักออกงานเทรดแฟร์ให้คนรู้จัก อาทิ คอมมาร์ต ไอซีที เอ็กซ์โป คนก็จะเห็นว่ามีบูธซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสเจ้าเดียวที่มีบูธใหญ่ๆ

ปี 2548 เราก็ออกไปโรดโชว์ทั่วประเทศ ทำให้ปี 2549 คนเริ่มรู้จักบิทดีเฟนเดอร์ และเห็นถึงความแตกต่าง กว่าคนอื่นในด้านที่เป็นออล-อิน-วัน ซื้อไปแล้วปกป้องแบบเบ็ดเสร็จเลย ปีนี้มีโทรศัพท์จากลูกค้าทั้งผู้ใช้ ตามบ้านยันระดับองค์กรโทรเข้ามา 10 – 20 รายต่อวัน เราก็ต้องส่งพันธมิตร ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ออกไปหาลูกค้า เพราะการทำธุรกิจเราไม่ได้จำหน่ายตรง จะผ่านที่ตัวแทนจำหน่าย คือ อินแกรม ไมโคร ไอทีดีซี และ อินโฟเทค ทั้ง 3 รายนี้จะมีรีเซลเลอร์ที่เป็นเอสไอ (System Integration) ไปคุยกับลูกค้า หาความต้องการของแต่ละราย 2 เดือนที่ผ่านมาพนักงานของเราก็ต้องออกไปช่วยรีเซลเลอร์ แล้วยังมีการจัดอบรมสอบเซอร์ติฟายด์รับรอง ใครอยากมาเป็นพันธมิตรกับบิทดีเฟนเดอร์ก็ต้องเข้ามาศึกษา

ส่วนที่ลูกค้าสงสัยว่าจะไปซื้อได้ที่ไหน ขณะนี้ เรามีสินค้าวางจำหน่ายที่ ไอทีซิตี้ ร้านค้าปลีก และไอทีสแควร์ และที่น่าสนใจ คือ ผู้ใช้ตามบ้านมีข้อสงสัยว่า ซอฟต์แวร์แท้ กับซอฟต์แวร์เถื่อนที่ไปแครกมาต่างกันอย่างไร คุ้มหรือไม่ที่จะซื้อของแท้ ผมบอกได้เลยให้สังเกตดูว่า ซอฟต์แวร์ที่เราไปดาวน์โหลดมาสังเกตดีๆ ของที่ไปแครกมาอายุการใช้งานจะสั้นกว่าของแท้ ฟังก์ชันการทำงานไม่ครบถ้วนถูกล็อกการใช้งานไว้ จึงควรซื้อของแท้ที่มีการรับประกัน ได้สิทธิ์ในการอัพเดทฟีเจอร์ พัฒนาประสิทธิภาพของโปรแกรม

แล้วยังมีคำถามอีกว่า บริษัทจะรู้ไหมว่าเราใช้ซอฟต์แวร์แครก ซอฟต์แวร์เถื่อน ผมให้คำตอบได้เลยเพราะเวลาเราอัพเดทซิกเนเจอร์ หรือ ข้อมูล จะมีการส่งข้อมูลบางอย่างออกมายืนยันว่า เป็นเวอร์ชันที่ถูกต้อง กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์หลักของบริษัทฯ ในประเทศไทย ขณะนี้ มีบางรายแล้วที่เมื่อใช้ของปลอมอัพเดท โปรแกรมจะยุติการทำงานไปเลย ไม่สามารถใช้งานได้ เราเป็นเจ้าแรกที่บอกตรงๆ กับลูกค้าว่าใช้ได้หรือไม่ บางเจ้าทำเป็นปล่อยให้อัพเดทซิกเนเจอร์ได้ แต่โปรแกรมไม่ทำงาน ไวรัสก็เข้าเครื่องผู้ใช้ได้อยู่ดี ดังนั้น นี่เป็นความซื่อสัตย์ของเรา

นอกจากนี้ ลูกค้ายังจะได้เทคโนโลยีใหม่ที่ในอนาคต จะไม่มีการอัพเดทซิกเนเจอร์อีกต่อไป เช่น ที่เราทดลองมาแล้วกับโทรจันที่มากับโซนี่ ดีอาร์เอ็ม เราใช้ HIVE: Heuristic In Virtual Environment ตั้งชื่อให้พ้องกับไวรัส HIV โดยปกติแอนตี้ไวรัสเวลาเราติดตั้ง จะเจียดพื้นที่ของซีพียูส่วนหนึ่ง มาตรวจสอบ เมล์ หรือ โปรแกรมที่เข้ามาเทียบกับ ฐานข้อมูลไวรัส ก็จะกำจัดทิ้งไป แต่หากเป็นไวรัสใหม่ๆ ไม่มีอยู่ในฐานข้อมูล เช่น เวิร์มเน็กซ์ซิม เราตรวจเจอก่อนเพื่อนพร้อมกับอีกเจ้า คือ เอฟ ซีเคียว

เมื่อตรวจไม่พบว่าตรงกับฐานข้อมูลไวรัส ไฟล์ที่เข้าใช้ว่าจะบริสุทธิ์ สะอาด 100% ก็จะถูกโยนเข้า HIVE เพื่อดูว่ามีการพยายามแตกตัว เปลี่ยนแปลงรีจิสทรี อีดิต เอ็กซิคิวท์ตัวเอง หรือ อัพเดทในวินโดวส์ ซิสเต็มส์ไฟล์ 32 และอื่นๆ มากมาย หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ก็จะโยนไฟล์นี้ไปกักกันแล้วส่งไปที่เซิร์ฟเวอร์ใหญ่ที่ยุโรปทันที เมื่อเซิร์ฟเวอร์ใหญ่ได้รับข้อมูลมาแล้วก็จะเอามาวิเคราะห์ เพื่อออกวัคซีนป้องกันส่งกลับไปยังเครื่องที่ใช้บิทดีเฟนเดอร์ทุกเครื่องทันทีผ่านอินเทอร์เน็ต บางรายใช้เวลาส่งวัคซีน 3 วัน แต่เราทุกๆ 3 ชั่วโมงนี่เป็นผลของระบบ HIVE เราไม่ต้องเพิ่งพารีมูฟว์ ทูล

แต่ถ้าผู้ใช้รายนั้นๆ ติดไวรัสแต่ไม่ได้เป็นลูกค้าบิทดีเฟนเดอร์ เราก็มีเครื่องมือให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ www.bitdefender.com ไปเอาเครื่องมือแก้ตามชื่อไวรัส แต่ถ้าใครไม่สะดวกดาวน์โหลดมาใช้ ก็มีทางเลือกอีกทางหนึ่ง คือ การใช้บริการออนไลน์ สแกน แต่ก็จะฆ่าไวรัสได้เฉพาะขณะนั้นเท่านั้น ไม่ได้มีการป้องกันให้จึงมีโอกาสติดไวรัสได้อีกอยู่ดี และนี้ก็เป็นเหตุผลที่เราได้รับความนิยมในสหรัฐฯ ยุโรป รวมทั้ง ประเทศไทยที่กำลังเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ

IT Exclusive : บริษัทฯ เห็นโอกาสในตลาดเมืองไทย มากน้อยเพียงใด ทำไมเลือกมาตั้งสำนักงานที่นี่

เจริญศักดิ์ : บางคนบอกว่าทำไมไม่ไปสิงคโปร์ หรือที่อื่นๆ ก็เพราะใน 2 ปีที่ผ่านมาเมืองไทยมีเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว ศักยภาพการขยายตัวด้านไอทีสูงมาก แม้จะมีคู่แข่ง คือ มาเลเซีย แต่หากมองดูลึกๆ แล้วไทยแข็งแกร่งมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ทรัพยากร ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) ขึ้นไปเติบโตมาก ความต้องการด้านซิเคียวริตี้สูงมาก ทุกองค์กรจำเป็นต้องมีแอนตี้ไวรัส เนื่องจากการที่รัฐบาลผลักดันให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ทุกโรงเรียน ทุกบ้านมีใช้ แล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ ภัยจากไวรัส สปายแวร์ สแปมเมล์ โฆษณาที่มากับอินเทอร์เน็ต

แม้เวียดนามที่เราดูแลอยู่จะมาแรงกว่ากัมพูชาหรือประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคก็ยังสู้ไทยไม่ได้ การวางโครงสร้างไอทีของรัฐบาลไทยดีกว่าประเทศเหล่านี้ นี่จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้บริหารบิทดีเฟนเดอร์เลือกมาที่เมืองไทย อีกทั้ง พฤติกรรมของผู้ใช้งานตามบ้านเริ่มเปลี่ยนไป เขามองหาซอฟต์แวร์แท้มากขึ้น แม้ยังมีของเถื่อนในตลาด เพราะประชากรเราเริ่มมีความรู้มากขึ้นนั่นเอง

IT Exclusive : มองการแข่งขันด้านธุรกิจซิเคียวริตี้ปี 2549 เป็นอย่างไร

เจริญศักดิ์ : ตั้งแต่ปีที่แล้วซิเคียวริตี้ถูกให้ความสำคัญอยู่อันดับต้นๆ เนื่องจากโครงสร้างเครือข่ายในองค์กรต่างๆ การทำธุรกิจจำเป็นต้องติดต่อสื่อสาร ความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่ายจึงมีความสำคัญ ผมมองว่า ปีนี้จะยังแข่งกันรุนแรงมากขึ้นมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 300 ล้านบาทแน่นอน โดยตัวเลขที่ชัดเจนยังไม่มีใครออกมาฟันธง แต่ธุรกิจนี้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มฮาร์ดแวร์ หรือ ซิเคียวริตี้ แอพพลายแอนซ์ และกลุ่มซอฟต์แวร์

แล้วมีฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ เพียงอันใดอันหนึ่งเพียงพอหรือไม่ ตอบได้เลยว่า ไม่พอต้องมี 2 อย่างผสมผสานกันไป มีฮาร์ดแวร์ป้องกันหน้าบ้านได้ไม่ 100% ภัยเหล่านี้มีทางเข้าหลายช่อง ยังมีที่เข้ามาทางหลังบ้านด้วย แม้ไวรัสจะออกไปจากเครือข่ายไม่ได้ ก็ยังวนเวียนอยู่ในเครือข่ายภายในอยู่ดี นอกจากนี้ หากใช้งานฮาร์ดแวร์แบบเดียว เคยมีหน่วยงานบ้านเราที่ใช้ ฮาร์ดแวร์ที่เป็นแอพลายแอนซ์ แล้วอัพเกรดไม่ได้ ทั้งที่ซอฟต์แวร์พัฒนาไปไหนต่อไหน 2 สิ่งนี้กลับไม่สามารถปรับใช้ด้วยกันได้

บริษัทฯ เราจึงไม่ทำฮาร์ดแวร์แอพลายแอนซ์ เพียงแต่มุ่งเน้นไปที่ซอฟต์แวร์เท่านั้น เราจะรักษาตำแหน่งผู้นำด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ด้วยซิกเนเจอร์ไวรัสที่มากที่สุด ฐานข้อมูลไวรัสขนาดใหญ่ที่สุด เหนือกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ และตลาดเมืองไทยเชื่อได้ว่าจะต้องแข่งกันรุนแรงขึ้น จากความต้องการด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นมากว่า 50% ดังนั้น ในปีนี้เราจะไปจับมือกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ เราจะได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าองค์กรทุกระดับได้เต็มที่

IT Exclusive: จะใช้กลยุทธ์อะไรบุกตลาดเมืองไทย

เจริญศักดิ์ : เราคงไม่ใช้ราคา แต่จะยกความเป็นออล-อิน-วัน โซลูชั่นมาทำตลาด เราต้องการให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถหา โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีฟีเจอร์การทำงานที่ครบถ้วนใช้งานง่าย กินทรัพยากรของเครื่องพีซีน้อย เพราะใช้วิธีการ Object Orientated Architecture ที่เอามาเป็นแกนหลัก ของแนวคิด ออล-วิน-วัน ด้วยสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทฯ ต่ำ ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ไม่สูง แข่งขันกับคู่แข่งแบรนด์อื่นในตลาดได้เลย

นอกจากแอนตี้ไวรัส เรายังมีแอนตี้สแปม สำหรับการใช้งานเมล์ในองค์กร รวมทั้ง พระเอกอย่าง เอ็นเทอร์ไพรส์ เน็ตเวิร์ค โซลูชั่น ที่จะมาช่วยบริหารจัดการด้านความปลอดภัยบนเครือข่ายองค์กร ไฟร์วอลล์ สปายแวร์ เอามาอยู่ตรงกลางร่วมกับ เดสก์ท็อป แมนเนจเมนท์ และ วินโดวส์ แมนเนจเมนท์ กลายเป็น ออล-อิน-วันที่สมบูรณ์แบบ ใช้ฟีเจอร์การทำงานที่ให้มากกว่าเป็นตัวนำ มากกว่าจะใช้ราคา

IT Exclusive : ขณะนี้ สัดส่วนลูกค้าองค์กรกับลูกค้าคอมซูมเมอร์เป็นอย่างไร?

เจริญศักดิ์ : ช่วงแรกๆ ลูกค้าคอนซูมเมอร์มีมากกว่า แต่ช่วงหลัง โดยเฉพาะในปลายปีที่แล้ว ต่อเนื่องจนถึงต้นปีนี้ สัดส่วนลูกค้าองค์กรเพิ่มขึ้นหลายเท่ามาก คิดเป็นสัดส่วนลูกค้าคอนซูมเมอร์ต่อลูกค้าองค์กรประมาณ 2 ใน 15 จากลูกค้าทั้งหมด โดยสาเหตุมาจากในช่วงแรกบิทดีเฟนเดอร์จะปูพื้นฐานให้ลูกค้าคอนซูมเมอร์รู้จักก่อน แต่ตอนหลังจำนวนไลเซ่นส์ของลูกค้าองค์กรจะมากกว่า เพราะปริมาณการซื้อแต่ละครั้งมีจำนวนมาก

IT Exclusive : เป้าหมายของบิทดีเฟนเดอร์ในปี 2549 เป็นอย่างไร?

เจริญศักดิ์ : เมื่อปลายปีที่แล้ว ผู้บริหารของบิทดีเฟนเดอร์ จากต่างประเทศประกาศไว้ว่า จะต้องติด 1 ใน 5 อันดับของซอฟต์แวร์ แอนตี้ไวรัสในเมืองไทย แต่ตอนนี้เท่าที่ดูพบว่า เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว โดยจากการสำรวจ ของบิทดีเฟนเดอร์พบว่า ล่าสุดบริษัทแอนตี้ไวรัสที่คนนึกถึง คือ เทรนไมโคร แมกอาฟี นอร์ตันและบิทดีเฟนเดอร์ ดังนั้น สิ้นปีนี้ จะพยายามทำอันดับให้ติด 1 ใน 3 ของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในตลาดเมืองไทย

ส่วนการที่จะทำให้บิทดีเฟนเดอร์ติดอันดับ 1 ใน 3 นั้น ก็ต้องโหมทำตลาดให้มาก โดยการจัดกิจกรรมก็มองไปที่การออกบูธในงานไอซีทีเอ็กซ์โปร์ ที่เป็นงานใหญ่และจำเป็นต้องไปออกงานเพื่อรักษาระดับ นอกจากนั้น ยังกำหนดที่จะร่วมออกบูธในงานใหญ่ๆ อีก 2 งาน จากแผนทั้งปีที่กำหนดไว้ 3 งาน ส่วนในภูมิภาคอื่นๆ ก็จะมีพันธมิตรและตัวแทนจำหน่าย เช่น บริษัทอินแกรม ไมโครทำหน้าที่จัดกิจกรรมต่างๆ ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

ด้านสื่อบิทดีเฟนเดอร์เป็นบริษัทแอนตี้ไวรัสที่ลงโฆษณาในนิตยสารมากที่สุดและต่อเนื่อง นอกจากนั้น ล่าสุด ยังได้ซื้อเวลาโฆษณาในรายการทีวี ที่บริษัทแอนตี้ไวรัสส่วนใหญ่ไม่ให้ความนิยม ส่วนในรายการวิทยุก็จะเน้นให้ความรู้เชิงวิชาการแก่ลูกค้าทั่วไป และสุดท้าย คือ การตลาดที่จะส่งเสริมและสนับสนุนพันธมิตรและตัวแทนจำหน่ายต่างๆ โดยทั้งหมดเป็นสิ่งที่บิทดีเฟนเดอร์ได้วางแผนไว้ในปีนี้ ด้วยงบการตลาดมากกว่า 7 หลัก

IT Exclusive : มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่คนไทย จะได้ใช้แอนตี้ไวรัสของบิทดีเฟนเดอร์ที่ Localized เป็นภาษาไทย?

เจริญศักดิ์ : ขณะนี้ มีอยู่ในแผนแต่ขออุบไว้ก่อน บอกได้เลยว่า เวอร์ชั่น Localized เป็นภาษาไทยไม่ได้ทำเพื่อต้องการชนกับคู่แข่งที่มีอยู่ โดยจะมีความแตกต่างออกไป ส่วนจะมีทั้งในส่วนของลูกค้าคอนซูมเมอร์และลูกค้าองค์กร หรือ จะเลือกเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต้องพิจารณา แต่ในความเป็นจริงผลิตภัณฑ์ของบิทดีเฟนเดอร์ไม่ว่าจะไปทำตลาดในภูมิภาคไหน ประเทศไหนก็จะมีการแปลทุกอย่างเป็นภาษาท้องถิ่น เช่น เวียดนาม

ขณะที่ในประเทศไทยถ้าสังเกตดูให้ดีจะพบว่า เป็นแอนตี้ไวรัสเจ้าเดียวที่ทำคู่มือภาษาไทย โดยลูกค้าจะได้รับเมื่อซื้อสินค้าและสามารถดาวน์โหลดใน www.bitdefender.com นอกจากนั้น อนาคตจะพัฒนา www.bitdefenderthailand.com ให้ทุกอย่างรวมทั้งคู่มือภาษาไทยรวมอยู่ในนั้น อย่างไรก็ตาม บิทดีเฟนเตอร์แตกต่างจากแอนตี้ไวรัสเจ้าอื่นๆ ตรงที่วิธีการติดตั้งและอื่นๆ จะอธิบายไว้ในเว็บไซต์ทั้งหมด ทำให้ลูกค้าไม่ลำบาก

ส่วนการบริการหลังการขายนั้นในเว็บไซต์ www.bitdefender.com จะมีหน้าจอแชทไว้ให้ปรึกษาปัญหาการใช้งานต่างๆ โดยจะมีฝรั่งคอยตอบปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้น ในประเทศไทยยังมีช่องทางการให้บริการผ่านพันธมิตรและตัว แทนจำหน่ายทั่วประเทศ รวมทั้งผ่านสายด่วนคอลเซ็นเตอร์ที่ให้บริการ โดยในส่วนของทั้งพันธมิตรและตัวแทนจำหน่ายต้องผ่านการอบรม และรับรองความสามารถจากบิทดีเฟนเดอร์เสียก่อน

IT Exclusive : ด้านราคาและความยากง่าย ในการใช้งานเป็นอย่างไร?

เจริญศักดิ์ : ความง่ายในการใช้งาน ให้เข้าไปดูที่เว็บไซต์ จัดอันดับการใช้งาน ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ชื่อ “แอนตี้ไวรัสซอฟต์แวร์ ทอปเทนรีวิวดอทคอม” โดยในเว็บไซต์ดังกล่าว ให้บิทดีเฟนเดอร์ขึ้นอันดับ 1 ติดต่อกันมา 3 ปี เรื่องความง่ายในการใช้งาน ส่วนด้านราคา ถ้าเป็นในกลุ่มลูกค้าองค์กรแล้ว บิทดีเฟนเดอร์ต้องการ บุกราคาจึงต่ำกว่าคู่แข่ง เพราะความเป็นออลอินวัน ต้นทุนการผลิตจึงต่ำ แต่ถ้าเป็นสินค้าในกลุ่มคอนซูมเมอร์ราคาจะสูงกว่าเจ้าอื่น แต่มีฟีเจอร์การใช้งานครบถ้วนกว่า โดยเจ้าอื่นๆ จะต้องไปซื้อ หรือ ดาวน์โหลดฟีเจอร์เพิ่มต่างหาก

IT Exclusive : คิดอย่างไรกับกรณีที่ไมโครซอฟท์ออกแอนตี้ไวรัสเอง?

เจริญศักดิ์ : แต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจของตน เชื่อว่า ในเบื้องต้นไมโครซอฟท์จะมีความเชี่ยวชาญ และชำนาญไม่สู้บริษัทที่ทำซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสเพียวๆ ดังนั้น จึงคิดว่าจะมีความแตกต่างด้านประสิทธิภาพแน่นอน โดยไมโครซอฟท์อาจจะมีซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส แต่พวกสปายแวร์และอื่นๆ อาจจะไม่มี นอกจากนั้น ระบบปฏิบัติการของแต่ละค่ายก็มีช่องโหว่อยู่ ดังนั้น ถ้าเป็นของบริษัทแอนตี้ไวรัสจะเข้าไปครอบช่องโหว่หมด

IT Exclusive : สุดท้ายจะฝากอะไรถึงผู้อ่านหรือไม่?

เจริญศักดิ์ : อยากจะบอกว่า ในแง่ของนวัตกรรมใหม่ๆ ความจริงถ้าเป็นคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสมัยนี้ ก็ต้องติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ เทคโนโลยีเป็นดาบ 2 คม โดยส่วนดีก็เป็นประโยชน์มหาศาลทั้งต่อธุรกิจและสังคม ส่วนผลเสียก็ต้องระมัดระวังการใช้หาผลประโยชน์ การก่อเรื่องร้ายในสังคมและการหลอกลวง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่ยากแก่การป้องกันต้องช่วยกัน.

มีตัวแทนขายในไทยแล้วเหรอครับ

แล้วราคาในไทยถูกลงหรือเปล่า

หรือว่า $24.95 เหมือนเดิม

เว็บจัดอันดับไวรัสที่พูดถึงในข่าว
http://anti-virus-software-review.toptenreviews.com/

แปลกใจว่าทำไมในข่าวไม่เอาลิงค์มาให้ดู
ดันเขียนเป็นภาษาไทยซะงั้น ชื่อเว็บยาวขนาดนี้
ใครมันจะไปหาเจอ…(หมายถึงเว็บ Toptenreviews)
แถมในข่าวยังเขียนผิดอีกเน้อ… :blink:

<_<

เรื่องของเถื่อน
Anti-Virus เดี๋ยวนี้ มีตัวฟรีให้ใช้เยอะครับ ไม่จำเป็นต้องใช้ของเถื่อน
อย่าง AVG ที่อยู่อันดับ 8 หรือ AVAST ที่อยู่อันดับ 12
ซึ่งก็มีตัวแทนขายในไทยแล้วเหมือนกัน ก็มีตัวฟรีให้ใช้ครับ

หรือย่างถูกๆ ก็มี NOD32 ในไทยมีขายไม่แพง แล้วทำไมยังต้องใช้ของเถื่อน
:lol:

แต่ถ้าของใครใช้ของเถื่อนอยู่ ก็ระวังหน่อยแล้วกันครับ มีตัวแทนขายแบบนี้แล้ว

สำหรับผม ตอนนี้ติดใจ AVAST ครับ :lol:

Edit แก้คำผิด จาก NOT32 เป็น NOD32 :stuck_out_tongue: ขอโทษทีครับ

NOD32 แผ่นละ 200 - 300 หาได้ที่ SE-ED Book ผมใช้อยู่ ชอบที่ประหยัด แรม อัพเดทเร็ว

edit : เค้า แก้ไข และเราก็เอาออก ^^

NOD32 ครับ ไม่ใช่ NOT32 แผ่นละ 200 - 300 หาได้ที่ SE-ED Book ผมใช้อยู่ ชอบที่ประหยัด แรม อัพเดทเร็ว

ผมเคยเจอ แผ่น 199 มราโลตัส
แต่ต้องชื้อทุกปี

แต่ดีอย่างนึงตรงที่ แผ่นที่ชื่อมา สามารถทำเป็น NOD32 Update Server ได้
เหมาะสำหรับ องค์กรที่มีเครื่องหลายเครื่อง
กล่าว คือ ชื้อมาแผ่น แต่ลง NOD32 UPDATE SERVER 1 เครื่อง ที่เหลืออีก 300 เครื่องก็ลง NOD32 ธรรมดา แล้วชี้ Server สำหรับ Update ไปที่ NOD32 UPDATE SERVER
โดยที่ NOD32 UPDATE SERVER เองก็ชี้ไปยัง NOD32 UPDATE SERVER ของบริษัทผุ้ผลิต

คราวนี้ทันที่หมดอายุลง ก็ยังสามารถใช้ต่อได้ แต่จะ update ไม่ได้แล้ว เพียงเราชื้อมาใหม่ อีก 1 แผ่น ก็ใช้ต่อไปได้อีก 1 ปี