นายกฯ สั่งเบรค 3g อ้าง ict ไม่เข้าใจมติ ค.ร.ม

ยังแบ่งกันไม่ลงตัวซักทีไงครับว่าฝ่ายไหนจะได้กินเท่าไหร่ยังไง

เห้อ…

555… นี่แหละ คือคำตอบที่ถูกต้อง :slight_smile:

เผื่อใจไว้อกหักกับเทคโนโลยีต้วใหม่ๆ กว่านี้ด้วยนะครับท่านๆ ทั้งหลาย

update ข้อมูลสำหรับผู้สนใจ

อ. สุธรรม หนึ่งใน กทช แสดงความไม่เห็นด้วย เรื่องมติประมูล 3G ของกทช http://bit.ly/EV2yi
ครม.ศก.คว่ำ3G เกมนี้ยื้อไปตามทางเอกชน http://bit.ly/3KQR4a
ใบอนุญาต3Gเพื่อไทยเข้มแข็ง-สว.อนันต์ วรธิติพงศ์ http://bit.ly/1R2ckK

ซื้อมือถือมารอใช้แล้ว คาดว่าสักวัน จะได้ใช้
ปล. ค่าบริการแพงก็ไม่ไหวครับ unlimit สักเดือนละ 500-700 นี่อาจสู้อยู่ มั้ง

ขอบคุณมากครับ คุณหมวย

ทำเป็นไม่รู้ว่าโลกนี้มี 3G ในโลก… (สบายใจดี)

ผม Online true 3G อยู่แถว GMM :slight_smile:

update ข่าวเพิ่ม

ค่ายมือถือเมินแปรสัญญาสัมปทาน: เอไอเอส-ทรู รอสิ้นสุดสัมปทาน http://bit.ly/k2Qq

มหากาพย์มือถือ3จีสะดุด โรคเลื่อนกำเริบ…ไร้กำหนดคลอด

โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ

ในการประชุมของคณะรัฐมนตรี เศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ข้อหารือสำคัญครั้งนั้นเกี่ยวข้องกับการดำเนินการเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

ต้องยอมรับว่า ประเด็นนี้ก่อให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลาย โดยเฉพาะข้อท้วงติงถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่จะกระทบประเทศชาติ และประชาชน ต่อการจัดสรรคลื่นความถี่มูลค่ามหาศาลครั้งนี้

โดย ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ กทช. นายอภิสิทธิ์ถึงกับสอบถาม ทักท้วง และฝากให้ กทช.ทบทวน ประกอบด้วย ประเด็นการจัดตั้งองค์กรกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งถือเป็นองค์กรเดียวที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ

ดังนั้น การดำเนินการเปิดประมูลไลเซนส์ 3 จี นั้น อำนาจของ กทช.ในการออกใบอนุญาตจะมีปัญหาหรือไม่ ทั้งเรื่องขององค์ประกอบ กทช. ที่ขณะนี้ยังไม่มีการคัดเลือกกรรมการเพื่อทดแทนกรรมการที่หมดวาระและลาออก รวมถึงประเด็นการเปิดประมูลต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ซึ่งประเด็นทั้งหมดนี้ กทช.น่าจะมีการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือหาก กทช.ไม่ดำเนินการ รัฐบาลจะหารือเอง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และไม่กลายเป็นปัญหาในอนาคต

นอก จากรัฐบาลต้องการความชัดเจนประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ กทช.แล้ว มติที่ประชุมยังเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ชะลอการลงทุนโครงการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3 จี ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ออกไปก่อน เนื่องจากเป็นห่วงว่าอาจส่งผลกระทบต่อโครงการลงทุน 3 จี ของทีโอทีอย่างมีนัยยะสำคัญคือ มีผลต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ

ข้อ ท้วงติงที่เกิดขึ้นนี้ นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กทช. กล่าวยอมรับว่า กทช.จะทำหนังสือสอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาภายในสัปดาห์นี้ โดยมติบอร์ด กทช. เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ก็มีความเห็นชอบที่จะดำเนินการดังกล่าว และสอบถามใน 3 ประเด็น อย่างครบถ้วน ทั้งอำนาจ กทช. องค์ประกอบ กทช. และ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

นอกจากนี้ จะนำข้อเสนอที่ประชุมที่ให้เพิ่มเติมประเด็นรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ร่างสรุปข้อสนเทศการจัดสรรคลื่นความถี่ 3 จี ซึ่งจะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประกอบด้วย การกำหนดเงื่อนไขการถ่ายโอนลูกค้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตรายใหม่ การใช้โครงข่าย 2 จี และ 3 จี ร่วมกัน และการกำหนดคุณสมบัติผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทร คมนาคมอยู่แล้ว ควรจะได้เข้าร่วมการประมูลหรือไม่

ขณะที่นายเศรษฐ พร คูศรีพิทักษ์ กรรมการ กทช.กล่าวว่า การสอบถามประเด็นที่ ครม.เศรษฐกิจห่วงใยไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่น่าจะใช้เวลานาน เพราะเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีสอบถามมา แต่ กทช.ก็จะดำเนินการควบคู่ไปกับการเปิดประมูลไลเซนส์ 3 จี ด้วย โดยเห็นว่าถ้าการเปิดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งในวันที่ 12 พฤศจิกายน ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ร่างหลักเกณฑ์การประมูลก็น่าจะมีความชัดเจนได้ภายในสิ้นปีนี้

หาก นับจากวันประกาศร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวลงราชกิจจานุเบกษา ระยะเวลาเข้าสู่การประมูลอย่างน้อย 45-60 วัน ดังนั้น การประมูลก็น่าจะเกิดขึ้นได้ราวเดือนกุมภาพันธ์ 2553

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ กทช.ออกอาการเป็นห่วงถึงการประมูลครั้งนี้คือ การคัดเลือกกรรมการชุดใหม่จำนวน 4 คน แทนกรรมการที่หมดวาระและลาออก รวมถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ การคัดเลือกจากวุฒิสภา ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ซึ่งนายเศรษฐพรกล่าวยอมรับว่า กทช.ชุดใหม่จะต้องใช้เวลาศึกษาข้อมูลการดำเนินการดังกล่าวอีกพอสมควร ทำให้ระยะเวลาการเปิดประมูลจำเป็นต้องขยับออกไปอีกประมาณ 1 เดือน เป็นเดือนมีนาคม 2553

“ถ้าคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า กทช.ชุดปัจจุบันไม่มีอำนาจในการให้ใบอนุญาต 3 จี ครั้งนี้ ก็เป็นไปได้ที่การดำเนินการต้องหยุด และกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่”

แต่ สิ่งที่ กทช.กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ นายเศรษฐพรเผยว่า เป็นการเตรียมความพร้อมเท่านั้น ไม่ใช่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย เพราะ กทช.คำนึงถึงหลากหลายทางความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ยืนยันว่า สิ่งที่ กทช.ดำเนินการจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชน

จากการศึกษาของสมาคมจีเอสเอ็มโลก ระบุว่า หากประเทศไทยเปิดให้บริการเทคโนโลยี 3 จี ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปี (2553-2557) ภาคการลงทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี กระตุ้นการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 80,000 ตำแหน่ง

นอก จากนี้ เทคโนโลยี 3 จี ยังมีผลต่อความสามารถในการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมชนบทที่ห่างไกล ให้สามารถเข้าถึงการศึกษา การจ้างงาน ตลอดจนก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศได้

“ใบ อนุญาต 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 4 ใบ รวมกับการเปิดให้บริการ 3 จี ของทีโอที จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเฉพาะด้านโครงข่ายทั่วประเทศราว 10,000 ล้านบาทต่อราย ต่อเนื่องอย่างน้อย 3-4 ปี หรือคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนรวม 2-3 แสนล้านบาท โดยยังไม่รวมค่าใบอนุญาต และรายได้จากอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยมีเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท ในช่วงเวลาดังกล่าว”

ส่วนกรณีที่ประชุมมีมติให้กระทรวง การคลังและกระทรวงไอซีทีร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่างภาค เอกชนกับทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น นายเศรษฐพรเห็นว่า การจัดทำแผนแม่บทไอซีที ฉบับที่ 2 ซึ่งให้หาแนวทางสิ้นสุดสัญญาสัมปทานภายในปี 2553 นั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงไอซีทีดำเนินการ ไม่เกี่ยวข้องกับ กทช. แต่อย่างใด

และ เห็นว่าในวันนี้ที่มีการพูดถึงเรื่องการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นตกใจอะไร เพราะผู้ให้บริการมือถือทั้ง 3 รายหลัก ก็ล้วนทยอยใกล้สิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทานแล้ว

เพียงแต่ต้องไปหารือกัน เพราะมีหลายรูปแบบกระทำได้ โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ เช่น แปลงสินทรัพย์เป็นทุน รัฐวิสาหกิจเข้าถือหุ้นในบริษัทเอกชนภายใต้สัมปทาน ถ้าเอกชนเหล่านั้นไปลงทุนที่ใด เราก็ได้ผลประโยชน์ไปด้วย เป็นต้น

ที่มา :: วันที่ 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11566 มติชนรายวัน

ไอซีทีสั่งทีโอทีเดินหน้า3จี งัดคำแถลงมาร์คไม่งด

ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี

“ระนองรักษ์” งัดคำแถลงนโยบายรัฐบาล “มาร์ค” และมติครม.สั่งเดินหน้า 3จีทีโอที ไม่มีถอยหลัง จนกว่านายกฯ จะมีคำส่ังให้หยุด ย้ำ 3 ธ.ค.เปิดบริการแน่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล

" มีผู้ใหญ่บางคนไม่เข้าใจเรื่อง 3 จี จึงตั้งคำถามในที่ประชุมว่า ไม่ทราบว่าทำ 3จี ไปทำไม เอาเงินไปให้รากหญ้าดีกว่า "

อ่านแล้วก็… เห้อ

ไม่รู้เรื่อง 3G แต่ได้เป็น คณะกรรมการ

อายเขาไหมนั่น ประเทศไทย

:smash:

สงสัยรอ…มาเอาสัมปทาน

พาชมTOT 3G พร้อมข้อมูล ในงาน Commart 3G ของคนไทยรายแรกบนคลื่น 2.1 GHz

http://bit.ly/3tFHvL

สาธุ ขอให้ทำได้จริง จริงๆ ซักที
จะใครทำตอนนี้ไม่แคร์เท่าไหร่แล้ว

ใช้ 2G ไปก่อน อิอิ Second Generation

นายกฯ สั่งเบรค 3G อ้าง ICT ไม่เข้าใจมติ ค.ร.ม.

ย้ำทีโอที ต้องรอความชัดเจนเรื่องเงื่อนไขประมูลใบอนุญาต3จี ของกทช.และต้องรายงานผลกระทบ-ความเสี่ยงฯ ให้ ครม.รับ ทราบด้วย…

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าววันนี้ (17 พ.ย.) ว่า ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านให้สำนักงานเลขาธิการครม.ส่งมติที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 52 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อีกครั้งหนึ่ง ที่ให้ไปดำเนินการชะลอการลงทุนสร้างโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3 จี ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มูลค่า 20,000 ล้านบาท ออกไปก่อน จนกว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะประกาศเงื่อนไขการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 3 จี และทีโอที จะต้องรายงานผลกระทบและความเสี่ยงที่จะเกิดจากการเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี ของ กทช. ต่อที่ประชุมครม.ด้วย

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงไอซีที จะยึดมติครม.เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 51 เพื่อเดินหน้าลงทุนสร้างโครงข่าย 3จี ว่า ทีโอทีก็ต้องตอบคำถามให้ชัดเจนว่า ทีโอทีจะเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (Net work Provider) หรือ จะเป็นผู้ให้บริการขายปลีกด้วย เพราะมติ ครม.ดังกล่าว มีมติให้ทีโอที ลงทุนและเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย แต่ขณะนี้ทีโอทีไม่มีความชัดเจนว่าจะเปิดให้บริการแบบขายปลีกหรือ จะขายส่ง ดังนั้นทีโอทีก็ต้องรายงานมาให้ชัดเจนว่า ดำเนินการอย่างไรต่อไป รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี ของกทช.ด้วย โดยเรื่องนี้ก็อยากจะถามร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เช่นกัน แต่ รมว.ไอซีทีไม่อยู่

นาย อภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3จี ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ทีโอที สามารถเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 จี ได้ เพราะเป็นการปรับปรุงโครงข่ายเดิมที่ให้บริการอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยเป็นคนละส่วนกัน แต่ในส่วนที่จะลงทุนขยายโครงข่ายให้ทั่วประเทศนั้น ที่ครม.อนุมัติไว้นั้น ก็ต้องดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมาก่อน จึงจะสามารถเดินหน้าลงทุนต่อไปได้ เพราะหากลงทุนไปแล้ว แต่ได้รับผลกระทบ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงจากการลงทุน ดังนั้นก็ต้องไปทำแผนความเสี่ยงให้รอบคอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรี กล่าวในที่ประชุมครม.ว่า ที่ผ่านมาเกิดความสับสนเรื่องมติครม.เรื่องการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 จี ของ ทีโอที อาจเป็นเพราะกระทรวงไอซีที ไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน และไม่รับทราบมติครม.ที่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร โดยอยากจะสอบถาม ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที แต่รมว.ไอซีที ไม่อยู่ ลาไปต่างประเทศ โดยร.ต.หญิงระนองรักษ์ ได้เดินทางไปเกาหลีและญี่ปุ่น กับคณะกรรมการ (บอร์ด) บ.ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อไปดูศึกษาและดูงานการให้บริการโทรศัพท์มือถือ3จี ทั้งในเกาหลีและ ญี่ปุ่น ตั้งแต่คืนวันที่ 16 – 21 พ.ย. 52

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/eco/47470

!?!?!?!?!?!?!?!?!

พูดไม่ออก ไม่รู้จะพูดอะไรดี

รอใช้ 4G เลยก็ละกัน น้องไอซ์ 555