ขอเอามาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ เพราะเห็นว่าผ่านมานานแล้ว ไม่มีใครแก้ไขเรื่องนี้ให้ชัดเจน จริงๆแล้วผมเป็นคนที่พิมพ์ช้ามาก แต่กลัวว่านานวันเข้า จะเกิดความเข้าใจผิดหรือจำกันไปผิดๆได้
[hr]
ขออนุญาติครับ… ไม่ใช่เป็นเรื่องของขนาด แต่เป็นเรื่องของความเร็วแน่นอนครับ
ความเร็วของแสง อยู่ที่ประมาณ 186,000 ไมล์/วินาที ข้อนี้แน่นอนอยู่แล้ว
สาย 10 mb/100 mb/100 mb ความเร็วเท่ากันหรือไม่ ตำตอบคือ “ความเร็วของข้อมูลในสายสัญญาณเท่ากัน”
แต่ “ปริมาณข้อมูลที่ได้ไม่เท่ากัน” ครับ
คำว่า 10mb 100 mb หรือ 1000 mb นั้น เป็นการแสดงค่า “ปริมาณข้อมูล” สูงสุด ซึ่งในที่นี้หมายถึง 10 mb/sec, 100 mb/sec, 1,000 mb/sec ตามลำดับ ในสายหนึ่งเส้น รับ-ส่งข้อมูลได้ปริมาณข้อมูลไม่เท่ากันได้ยังไง ในเมื่อความเร็วของข้อมูลที่วิ่งอยู่ในสายเท่ากัน???
คำตอบของวิธีนี้ก็คือ “ความเร็วอุปกรณ์ รับ-ส่ง” ไงครับ
เพราะว่าช่องทางรับ-ส่งต่างก็มีกันแค่คนละเลน(หรือทีละบิต) หากแต่เป็นการเพิ่ม “ความเร็ว” ในการ “ปล่อย” หรือ รับ-ส่ง ข้อมูล
ความเร็วที่ต่างกันนี้ อาศัยความแตกต่างด้านความเร็วของอุปกรณ์ประเภท “สวิทชิ่ง” เป็นหลักครับ
เปรียบเทียบ ก็คงจะคล้ายกับ “ประตู” มากกว่า ว่าประตูรุ่นไหน แบบไหน เปิด/ปิด ได้เร็วกว่ากัน
ยกตัวอย่างรถกับถนน ก็ขอยกเป็นด่านเก็บเงินทางด่วน ที่มีแค่ “ช่องจ่ายเงินช่องเดียวและถนนเลนเดียว” ก่อนนะครับ
ทำยังไงถึงจะมี “ปริมาณ” รถเข้าด่านเก็บเงินนี้มากๆ หากความเร็วรถบนทางด่วนก็พอๆกัน เร็วบ้างช้าบ้างติดบ้าง
คำตอบก็คือ “เพิ่มความเร็ว” ตรงด่านเก็บเงินที่หน้าด่าน “ปริมาณรถ/วัน” ก็จะมากขึ้น ทั้งๆที่ความของรถเร็วไม่เปลี่ยนแปลง
ถ้าหากต้องการปริมาณรถ(ข้อมูล) มากกว่านี้ อาจจะต้องเปลี่ยนจากใช้คนเก็บ(100 mb) ไปเป็นด่านอัตโนมัติ(1,000 mb) หรือใช้วิธีแบบข้างบนก็ได้โดยเพิ่มเพิ่มเป็น 2 ช่อง(ต่อเพิ่มเป็น 2 เส้น/port เป็น 200 mb) ก็จะได้ปริมาณรถ(ข้อมูล) มากขึ้นเหมือนกันครับ แต่เป็นการเพิ่มช่องเก็บเงิน(เพิ่ม port) สามารถเพิ่มปริมาณรถ(ข้อมูล)โดยรวมทั้งหมดได้ แต่ไม่ใช่วิธีเพิ่มปริมาณรถ(ข้อมูล)เฉพาะในช่องเก็บเงิน(เส้น/port)เดิมแต่อย่างใด เป็นคนละกรณีกันครับ
แต่การที่ IDC สามารถปล่อยได้ถึง 10 กลับถูกตั้งหน่วงเอาไว้ ให้ปล่อยเป็นจังหวะ 2 หรือ 3(หมายถึงว่า ในความเร็วเท่าเดิม อาจจะทุกๆ 10 จังหวะ กลับหน่วงรับ-ส่งข้อมูลไม่กี่จังหวะ เช่น 10 จังหวะ กลับรับ-ส่งแค่ 1 จังหวะ) อันนี้ต้องถามคนปล่อยแล้วครับ ว่าต้องเสียอีกเท่าไหร่ถึงจะยอมปล่อยเพิ่ม…
ความเร็วของสวิทชิ่ง มีผลต่อปริมาณได้ขนาดนี้เชียวหรือ ?
ข้อมูลความเร็วเกือบเท่าแสง สวิทชิ่งส่งข้อมูลที ยังไม่ทันทำอะไรก็ถึงปลายทางแล้วครับ ไม่ต้องห่วงว่า ข้อมูลจะ “ติด” ค้างอยู่ในสาย สวิทชิ่งที่เร็วที่สุด ก็คงยังไม่เร็วใกล้แสงครับ ความเร็วห่างกัน…เป็นร้อยๆเท่าได้มังครับ ความเร็วสวิทยังเพิ่มได้อีกเยอะ โดยไม่ต้องสนใจปริมาณข้อมูลที่วิ่งอยู่ในสาย กว่าสวิทจะรับ-ส่งข้อมูลเร็วขึ้น จากที่วิ่งไปเป็นจังหวะจนติดเต็มพรืดไม่มีเว้นช่อง/จังหวะว่าง ในสายส่งข้อมูล ก็คงอีกนานแหละครับ
จะเปรียบเทียบเป็นอีกแบบก็ได้ครับ ชัดเจนสุดๆ…
เปรียบเหมือนเลือดที่สูบฉีดไปทั่วร่างมากขึ้น ไม่ได้เป็นเพราะเรามีเส้นเลือดเพิ่มขึ้น หากแต่เป็นเพราะหัวใจเราเต้นเร็วขึ้น ในยามที่เสื้อผ้าเธอน้อยชิ้นลง…(โอววว ซาร่า…)