การทำธุรกิจ webhosting

การทำธุรกิจ webhosting ต้องมีอะไรบ้าง
กระบวนการทางนิติกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบริษัทจำกัด ภาษี หรืออื่นๆ
สิ่งต่างๆเหล่านี้ มีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไรครับ?

เชื่อว่าหลายๆท่านคงอยากรู้ :slight_smile:

เป็นคำถามที่ดีและมีประโยชน์มากค่ะคุณ Pat

เนื่องจากดิฉันยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล ดังนั้นจึงขอตอบเฉพาะในส่วนที่ทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมาให้ก็แล้วกันนะคะ

  1. จดทะเบียนพาณิชย์(อิเล็กทรอนิกส์)
  2. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย (ถึงแม้กฎหมายจะมิได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาต้องจัดทำบัญชีก็ตาม)
  3. ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า / รวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ลูกค้าออกให้ ไว้เป็นหลักฐาน
  4. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภงด.49)
  5. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี (ภงด.90)
  6. กรณีที่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ายังไม่ถึง ก็ไม่จำเป็นต้องจดให้วุ่นวาย จดแล้ว ยกเลิกยากมากๆ ขอบอก)
  7. เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะต้องออกใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้า
  8. นำส่งภาษีมูลค่าที่เก็บจากลูกค้า มอบให้กรมสรรพากร ภายในระยะเวลาที่กำหนด
  9. จัดทำบัญชีภาษีซื้อ - ภาษีขาย (กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย สามารถ Refund คืนได้)

เท่าที่ทราบก็มีแค่นี้ค่ะ (แต่ที่ยังไม่ทราบคงมีอีกเยอะ) เอาไว้รอท่านผู้รู้อื่นๆ เข้ามาช่วยตอบด้วยนะคะ :angel:

ถ้าต้องการลดจำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีนะคะคุณ siamwebhost ดิฉันแนะนำให้ไปจดจัดตั้งคณะบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ ถ้าสงสัยลองโทรไปคุยกับพวกสำนักงานบัีญชีต่างๆ ได้ค่ะ ปกติ สนง บัญชี จะใช้วิธีจัดตั้งเป็นคณะบุคคลแทนที่จะจดเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยครับ
ขอบคุณ siamwebhost และคุณ poomjit

ขอบคุณครับ :slight_smile:

  1. ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า / รวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ลูกค้าออกให้ ไว้เป็นหลักฐาน

จะเกิดอะไรขึ้น หากเราไม่ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า หรือลูกค้าไม่ออกหนังสือรับรองมาให้เรา ครับ

ขอบคุณครับ :slight_smile:

[quote]3. ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า / รวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ลูกค้าออกให้ ไว้เป็นหลักฐาน

จะเกิดอะไรขึ้น หากเราไม่ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า หรือลูกค้าไม่ออกหนังสือรับรองมาให้เรา ครับ [/quote]

  • การออกใบเสร็จรับเงิน จะทำให้ลูกค้านำไปบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายและหลักฐานการจ่ายเงินกับเราได้ และทางเราสามารถนำมาตรวจสอบรายได้เองได้ (รวมไปถึงการป้องกันการทุจริตถ้ามีพนักงานรับเงินแทน)

  • เอกสารหัก ณ ที่จ่าย ถ้าลูกค้าไม่ส่งให้เรา แปลว่า เราจะนำภาษีที่ถูกลูกค้าหักไป ไปเคลมคืนกับสรรพากรตอนสิ้นปีไม่ได้ เช่น เราโดนหัก ณ ที่จ่ายทั้งปีรวม 10,000 บาท แต่เรามีเอกสารใบหัก ณ ที่จ่ายที่ลูกค้าส่งมาให้รวมเป็นเงิน 8,000 บาท ในปีนั้น เรามีกำไร ต้องจ่ายภาษี 12,000 บาท ถ้าเรามีเอกสารหักเพียง 8,000 เราก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 4,000 บาท แต่ถ้าเรามีเอกสารครบ 10,000 บาท เราก็จ่ายภาษีเพิ่มเพียง 2,000 บาท

การมีเอกสารหัก ณ ที่จ่าย ที่ลูกค้าจ่ายมาให้ ก็เอามาใช้เพื่อประโยชน์ของเราเองค่ะ
(อนึ่ง ของดิฉันยังทวงลูกค้าได้ไม่ครบเลย ทางบัญชีบ่นตลอดเหมือนกัน แฮะๆ)

ถ้าต้องการลดจำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีนะคะคุณ siamwebhost ดิฉันแนะนำให้ไปจดจัดตั้งคณะบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาได้

ขอบคุณ คุณ Poomjit มากๆ เลยค่ะ ที่กรุณาแนะนำ … บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้ตอนสิ้นปีแบบ อัตราก้าวหน้า ทำให้ต้องจ่ายเยอะ เดี๋ยวจะรีบจัดตั้งเป็นคณะบุคคล จะได้มีเงินเหลือเอาไว้ซื้อขนมให้ลูกกิน อิๆ :angel:

(อนึ่ง ของดิฉันยังทวงลูกค้าได้ไม่ครบเลย ทางบัญชีบ่นตลอดเหมือนกัน แฮะๆ)

ใช้วิธีของดิฉันซิคะ ถ้าลูกค้าไม่ส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาให้ ก็จะไม่ส่งใบเสร็จรับเงินไปให้ด้วยเช่นกัน ประกาศแจ้งไว้บนเว็บเลย วิธีนี้ได้ผลดีค่ะ :angel:

มาตอบต่อเรื่อง ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนะคะ ตะกี้โทรไปปรึกษากับธรรมนิติมา (เป็นสมาชิกอยู่นะ่ค่ะ)

เจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษา ให้คำตอบดังนี้[list][]ค่าโดเมนที่จ่ายปีต่อปี ถือว่าเป็นค่าบริการต่อครั้ง ถ้าจำนวนที่ charge ในแต่ละครั้ง (คือปีละครั้ง) ไม่ถึง 1,000 บาท ไม่ต้องโดนหัก 3%[]ค่าโดเมนที่ลูกค้าจ่าย มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะจ่ายสำหรับกี่ปี ต้องโดนหัก ณ ที่จ่ายทุกกรณี[*]ค่าโฮสติ้ง ถือเป็นสัญญาระยะยาว (เพราะไม่รู้วันสิ้นสุดสัญญา) แม้การจ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 1,000 บาท ก็ต้องถูกหักทุกกรณี (เค้ายกตัวอย่างแบบเดียวกับค่าโทรศัพท์ - เหมือนอย่างที่ดิฉันคิดไว้เปะเลย)[/list]คราวนี้เราน่าจะทำงานต่อได้อย่างมั่นใจ ถ้าใครสงสัย ไป d/l ข้อมูลเรื่องนี้ได้ที่เว็บธรรมนิติค่ะ

(กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย สามารถ Refund คืนได้)

สำหรับนิติบุคคล อย่าได้ทำ เชียว… ไม่งั้น ภัยจะมาเยือน

เจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษา ให้คำตอบดังนี้

  1. ค่าโดเมนที่จ่ายปีต่อปี ถือว่าเป็นค่าบริการต่อครั้ง ถ้าจำนวนที่ charge ในแต่ละครั้ง (คือปีละครั้ง) ไม่ถึง 1,000 บาท ไม่ต้องโดนหัก 3%
  2. ค่าโดเมนที่ลูกค้าจ่าย มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะจ่ายสำหรับกี่ปี ต้องโดนหัก ณ ที่จ่ายทุกกรณี
  3. ค่าโฮสติ้ง ถือเป็นสัญญาระยะยาว (เพราะไม่รู้วันสิ้นสุดสัญญา) แม้การจ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 1,000 บาท ก็ต้องถูกหักทุกกรณี (เค้ายกตัวอย่างแบบเดียวกับค่าโทรศัพท์ - เหมือนอย่างที่ดิฉันคิดไว้เปะเลย)

คำตอบข้างต้น ข้อ 1 และข้อ 2 ดิฉันเข้าใจถูกต้องแล้ว ดังที่ post ไว้ในกระทู้ นี้ http://www.thaihosttalk.com/index.php?showtopic=1530

ส่วนข้อ 3 ถือเป็นความรู้ใหม่ค่ะ ต้องขอขอบคุณ คุณ Poomjit แทนเพื่อนๆ ทุกคนด้วยค่ะ :angel:

แต่จะว่าไปแล้ว การอธิบายลูกค้าให้หัก ณ ที่จ่ายบ้าง ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่ายบ้าง ลูกค้าคงงงตาย สงสัยให้หัก มันทุกกรณีไปจะสะดวกคนทำงานกว่านะคะ

สำหรับนิติบุคคล อย่าได้ทำ เชียว… ไม่งั้น ภัยจะมาเยือน

อันนี้ขอยีนยันอีก 1 เสียงครับ

[quote] (กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย สามารถ Refund คืนได้)

สำหรับนิติบุคคล อย่าได้ทำ เชียว… ไม่งั้น ภัยจะมาเยือน [/quote]
จริงๆ ทำเป็นแบบ credit ภาษีไว้ใช้ในเดือนถัดๆ ไปได้ค่ะ ปลอดภัยไร้กังวล ถ้าขอคืนเป็นตัวเงิน อันนั้นต้องเจอทีมสรรพากรสักหน่อย

จริงๆ ทำเป็นแบบ credit ภาษีไว้ใช้ในเดือนถัดๆ ไปได้ค่ะ ปลอดภัยไร้กังวล ถ้าขอคืนเป็นตัวเงิน อันนั้นต้องเจอทีมสรรพากรสักหน่อย

กฎหมายเมืองไทย ทำไม Double Standard จังเลยนะคะ เขียนไว้อย่าง แต่ปฏิบัติอีกอย่าง
งง ตายเลยแบบนี้…เขียนไว้ว่าขอคืนได้ แต่พอจะขอคืน กับต้องเจอกับมรสุมชีวิต… :angel:

มันเป็นเพราะพวกทำส่งออกบางกลุ่ม ทำตัวไม่ดีค่ะ เคลมภาษีคืนเว่อร์ๆ แต่งเอกสารเอา (เพื่อเอาภาษีพวกเราไปนะคะ จะว่าไปแล้ว) ผลคือ สรรพากรเพ่งเล่งทุกคนค่ะ ปลาข้องเดียวกัน

ปล. นอกจากพวกส่งออก ยังมีพวกปลอมใบกำกับภาษีอีกกลุ่ม ทำเดือนร้อน

ขอบคุณ คุณ Poomjit มากๆ เลยค่ะ แล้วเสาร์ที่ 6 นี้เจอกันนะคะ :angel:

ขอบคุณทุกท่านที่มาให้ความรุกันไว้ ณ ที่นี้ครับ :wink:

กลายเป็นกระทู้ที่น่าสนใจไปแล้ว เนื้อหาดีมากๆเลยครับคุณ siamwebhost