ท่าทางจะเข้าใจผิดนะคะ
สิ่งที่นำเข้าอันดับต้นๆ ของไทยคือ น้ำมันค่ะ มีการคำนวนแล้วกว่า การนำเข้าน้ำมันของเรานั้น มากกว่าการขายข้าวของเราทั้งปี ขนาดว่าค่าเงินบาทแข็งระดับนี้ น้ำมันยังแพงขึ้นทุกเดือนๆ
ขอก๊อบปี้ข้อมูลที่คุยกับเพื่อนรุ่นพี่ที่เชี่ยวชาญด้านนี้มาให้อ่านนะคะ
แม้ในระยะสั้น
ราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวลดลงบ้างจากการขายทำกำไร
แต่อีกไม่นาน
ราคาน้ำมันดิบจะขึ้นไปทำสถิติเหนือหนึ่งร้อยเหรียญ
ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในสองปีข้างหน้า
จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 78-98 เหรียญ
ด้วยเหตุผลสำคัญสองประการ
- ปัญหาความปั่นป่วนทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง
- การใกล้เข้าสู่สภาวะ Peak Oil ในทศวรรษหน้า
ลองจินตภาพดูโลกอนาคตที่ราคาน้ำมันดิบอยู่เหนือระดับ 80 เหรียญเป็นเวลา
ยาวนาน
ราคาน้ำมันดิบเป็นสินค้าประเภทหนึ่งในตลาดการเงินโลกครับ
เช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่เรียกกันว่า Commodity
อาทิ โลหะหลัก โลหะรอง โลหะมีค่า ธัญพืช พลังงาน
รูปแบบการซื้อขายของมันมีทั้ง “ราคาล่วงหน้า” Future
มีทั้ง “สิทธิ์ในการซื้อหรือขาย” แบบต่างๆ ที่เรียกกันว่า Option
สินค้า “ราคาน้ำมันดิบ” ในตลาดการเงินทั่วโลก เท่าที่ผมทราบมีหลายสิบตัว
แต่ที่มีความโดดเด่นเป็น Benchmark หรือได้รับความนิยมใช้อ้างอิงคือ
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะเลเหนือ (ตลาดลอนดอน)
- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอินเตอร์มิเดียท (ตลาดนิวยอร์ค หรือที่นิยม
เรียกกันว่า “วอลสตรีท”)
ทั้งสองราคานี้เป็น Benchmark ที่ผู้เล่นทุกฝ่ายในตลาดการเงินโลก
ใช้เป็น “เข็มทิศ” ในการพิจารณาแนวโน้มของราคาน้ำมันโลก
สำหรับภูมิภาคเอเซีย มีราคาน้ำมันดิบดูไบเป็น Benchmark ครับ
นอกจากนี้ในระดับโลก
ที่สำคัญยังมี “ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอ้างอิงของกลุ่มโอเปค”
ซึ่งโอเปคใช้พิจารณาในกำหนดการเพิ่มหรือลดปริมาณการผลิตของกลุ่ม
ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปนั้นเป็นคนละเรื่องครับ
ออกจะเป็นเรื่องทางเทคนิคของแต่ละภูมิภาคและแต่ละประเทศ
ทั้งนี้เพราะเกี่ยวข้องกับปัจจัยจำนวนมาก อาทิ
กำลังการผลิตของโรงกลั่นในแต่ละภูมิภาค
สต็อกน้ำมันดิบของแต่ละประเทศ เป็นต้น
สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยนั้นอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรง
กลั่นสิงคโปร์ครับ
ทั้งนี้เพราะจนปัจจุบันนี้ เรายังไม่มี “อธิปไตย” ด้านพลังงานครับ
ส่วนเรื่อง “ตลาด”
ซึ่งเป็น “ศาสนาหลักที่แท้จริง” ของโลกปัจจุบัน
ที่บรรดาชาวโลก (แม้แต่ “คนหัวใหม่ที่สุด”) พากันเทิดทูนนั้น
สถาปัตยกรรมของมันได้ถูกกลุ่มทุนรุ่นแล้วรุ่นเล่า
“สร้างแปลง” จนสลับซับซ้อนและเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกันอย่างกว้างขวางและลึก
ซึ้งสุดบรรยาย
ตลาดที่มีบทบาทเป็น “ตลาดนำ” หรือ “ตลาดศูนย์กลาง” หรือ “ดาวฤกษ์” ในระดับ
โลกคือ
ตลาดนิวยอร์ค และตลาดลอนดอน
ส่วนตลาดที่มีชื่อเสียง มีขนาดใหญ่โต
(ทั้งด้านเม็ดเงินซื้อขาย รูปแบบผลิตภัณฑ์หลากหลาย ปริมาณชนิดสินค้า
มากมาย)
อาทิ ตลาดโตเกียว ตลาดฮ่องกง ตลาดออสเตรเลีย ตลาดสิงคโปร์นั้น
มีบทบาทเป็นแค่เพียง “ตลาดตาม” หรือ “ตลาดบริวาร” หรือ “ดาวเคราะห์”
และเป็นแค่เพียงตลาดระดับภูมิภาค
ตลาดอื่นๆ นอกนั้น อย่างเช่น “ตลาดไทย”
มีลักษณะเป็น “ตลาดเกิดใหม่” หรือ “ตลาดชายขอบ” หรือ “ตลาดนัด”
ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ทั้ง “ดิบ” และ “ป่าเถื่อน”
นั่นคือ มีการเล่นนอกกติกาและผิดกฏหมายกันเป็นนิจ ทั้งผู้คุมกฏก็เป็น
มาเฟียอีกต่างหาก
หรือจะเรียกว่า “ตลาดนัด” ก็ได้
ในตลาดประเภทนี้ หลักวิชาการเป็นแค่เพียงเปลือกจอมปลอม
การซื้อขายต้องใช้ความเขี้ยวและรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกงสารพัด
ถ้าเทียบกับจักรวาลก็คงเป็นแค่ “อุกกาบาต” ครับ
คุยกันสนุกๆ นะครับ
อย่าได้ถือสาหาความเลย
เพิ่มเติมนะครับ พอดีเคยทำงานที่ต้องศึกษาเรื่องน้ำมันดิบมาก่อน
เรื่องนี้รายละเอียดเยอะครับ เอาเท่าที่จำได้ แบบสนุกๆละกันนะครับ
น้ำมันที่ขุดได้ จากแต่ละแหล่ง มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ทำให้ส่งผลต่อราคากล่าวคือ
น้ำมันดิบถูกขุดขึ้นมา ก็เพื่อนำไปกลั่น เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งหลักๆ (เรียงตามความหนัก) ก็มี
ยางมะตอย (หนักมาก ถูกสุด)
น้ำมันเตา (หนัก ถูก)
ดีเซล (กลาง แพง)
น้ำมันก๊าด (เบา แพง)
เบนซิน (เบา แพง)
และก็มีอะไรอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ส่วนประกอบหลัก เช่น พาราฟีน แนฟทา
ซึ่งน้ำมันจากแต่ละแหล่งที่ขุดได้ จะ"กลั่น" ได้ของต่างๆเหล่านี้ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน
“light crude” คือน้ำมันดิบที่กลั่นแล้วได้ของเบา เยอะ ทำให้ตัวมันเองมีราคาแพง (ก็กลั่นได้ของแพงเยอะนี่นา)
“heavy crude” คือกลั่นแล้วได้ของหนักเยอะ ทำให้ตัวมันเอง มีราคาต่ำ
ดังนั้น ราคาน้ำัมันดิบ กำหนดด้วยความต้องการของ finish product เช่น
ในอดีต น้ำมันก๊าด เป็นที่ต้องการมาก ทำให้ราคาน้ำมันดิบผันผวนคามความต้องการน้ำมันก๊าด(และน้ำมันเบนซิน ก็เผาทิ้งไปในขึ้นตอนการกลั่น !!!) เป็นต้น
ส่วนเรื่องของ sweet crude ขึ้นกับปริมาณกำมะัถันที่อยู่ในน้ำมันดิบ (กำมะถันที่ผสม ทำให้มีความเป็นกรด คือเปรี้ยวนั่นเอง เป็นการเปรียบเทียบนะครับ คงไม่มีใครชิม)
ถ้ากำมะถันน้อย(ไม่เปรี้ยว) จะเรียกว่า sweet crude
กำมะถันมาก (เปรี้ยว) เรียกว่า sour crude
sweet crude แพงกว่า sour crude เนื่องจากการแยกกำมะถันออกเพื่อให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพ ผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ต้องใช้กระบวนการที่มีต้นทุนสูง
คือ กลั่น sweet crude ใช้วัตถุดิบแพง แต่ค่าใช้จ่ายในการกลั่นต่ำ (หรือการลงทุนสร้างโรงกลั่นต่ำ เนื่องจากไม่ต้องติดตัวจับกำมะถัน)
และ กลั่น sour crude ใช้วัตถุดิบถูก แต่ค่าใช้จ่ายในการกลั่นสูงกว่า เนื่องจากการสร้างโรงกลั่นต้องติดตั้งตัวจับกำมะถันด้วย
พอได้ไอเดียกันแล้วนะครับว่า “light sweet crude” คืออะไรและราคาขึ้นกับอะไร
Brent กับ WTI
น้ำมันดิบ Brent ถึงจะเป็น light sweet crude แต่ก็ไม่ light sweet เท่า West Texas(ที่ในข่าวชอบอ่าน “น้ำมันดิบเวสเทกซัสตลาด Nymex”)
โดยปกติ จึงถูกกว่า โปรดสังเกตว่า ราคาน้ำมันในสองตลาดอ้างอิงนี้ จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันเกือบตลอดเวลา คือขึ้นลงไปด้วยกัน (มี spread ค่อนข้างคงที่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ) จนถึงปี 2006 ที่เกิดการเทรดน้ำมันกันอย่างบ้าคลั่ง ทำให้ spread เพี้ยน และราคาน้ำมัน Brent ก็สูงกว่า WTI เป็นพักๆ
ปัจจัยอื่นๆเกี่ยวกับราคาน้ำมัน ก็เช่น
- โรงกลั่นปิด (กลั่นfinish productได้น้อย ความต้องการ finish product มาก ราคา finish productเพิ่ม ราคาน้ำมันดิบก็เพิ่มไปด้วย)
- Reserve น้ำมันลด (ทางการต้องไล่ซื้อน้ำมันเข้า stock ราคา finish product ขึ้น ราคาน้ำมันดิบก็เพิ่ม)
- แท่นขุดเจาะปิด (ผลิตน้ำมันดิบได้น้อยลง ราคาก็เพิ่ม)
การไล่ logic เรื่องราคาน้ำมันดิบ ต้องไล่จาก finish product กลับไปแล้วจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ
และก็มีน้ำมันดิบอื่นๆอ้างอิงด้วยครับ เช่น Dubai, Singapore ส่วน Opec ก็มีตะกร้าของตัวเอง ที่สร้างจากสัดส่วนการผลิตของประเทศสมาชิก
ถ้าอยากรู้ให้ละเอียด แนะนำให้อ่าน Oil Market Report ของ IEA นะครับ ไม่เสียเงิน (delay นิดหน่อย แต่ไม่ต้องห่วงครับ ตลาดไม่ได้เร็วขนาดนั้น)
ทนอ่านทุกหน้าให้จบซักฉบับนึง จะเห็นภาพรวมตลาดได้ค่อนข้างชัดเจนครับ