"หมอเลี้ยบ"ยันปีหน้าได้ใช้ กม.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

"หมอเลี้ยบ"ยันปีหน้าได้ใช้ กม.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

โดย ผู้จัดการออนไลน์

   [b]กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาในวาระที่ 1 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย[/b] มีการปรับปรุงแก้ไขใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ[color=red]เกี่ยวกับชื่อพรบ. ,เกี่ยวกับฐานความผิด และเกี่ยวกับอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่[/color] หมอเลี้ยบเชื่อ ถ้าไม่มีปัญหา พรบ.ฉบับนี้ประกาศบังคับใช้ได้ปีหน้า
   
   "ถ้าไม่มีปัญหา อย่างเร็วที่สุด คาดว่าปีหน้าจะสามารถประกาศใช้กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้" นพ.สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวที่งานเสวนาเรื่องกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์กับผลกระทบเมื่อมีการบังคับใช้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2547
   
   ร่างพรบ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 และขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในวาระที่ 1 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปรากฏว่ามีการปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็นด้วยกัน
   
   "เราพยายามไม่ให้กฎหมายคลุมเครือ เพื่อให้กระทบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์น้อยที่สุดหรือไม่กระทบเลย หลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้" รมว.ไอซีทีกล่าว
   
   "พรบ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เกิดขึ้นเพื่อความชัดเจน ก่อนนี้ในบางกรณี เราไม่สามารถระบุลงไปได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่เมื่อเกิดพรบ.ฉบับนี้ขึ้นแล้ว ทุกอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ" ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค กล่าว
   
   [b]กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานกฤษฎีกาในวาระที่ 1 แล้วนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงใน 3 ประเด็นใหญ่ ได้แก่ 1.ประเด็นเกี่ยวกับชื่อพรบ. 2.ประเด็นเกี่ยวกับฐานความผิด และ 3.ประเด็นเกี่ยวกับอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่[/b]
   
   ประเด็นเกี่ยวกับชื่อพรบ. มีการเปลี่ยนชื่อจาก [color=blue]"พรบ.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์"[/color] เป็น [color=blue]"พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์"[/color]
   
   "เนื่องด้วยคณะกรรมการฯเห็นว่า ฐานความผิดบางอย่างไม่ได้รุนแรงจนถึงขั้นอาชญากรรม ซึ่งสอดคล้องกับภาษาอังกฤษว่า Computer Missused มากกว่าคำว่า Computer Crime" ดร. ชฎามาศกล่าว
   
   ในประเด็นเกี่ยวกับฐานความผิด มีการเพิ่มฐานความผิดจากเดิม 8 ฐานความผิด ได้แก่ [color=red]การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ, การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ, การลักลอบดักข้อมูลคอมพิวเตอร์, การรบกวนข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์, การใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ, การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์, การฉ้อโกงข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร[/color] เพิ่มขึ้นเป็น 12 ฐานความผิด โดย 4 ฐานความผิดที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ [color=red]การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึง, การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตี่นตระหนกกับประชาชน, การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเกิดจากการตัดต่อ และผู้ให้บริการที่มิได้จัดการลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ในกรณีที่รู้ว่ามีการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม[/color]
   
   "ความผิดฐานการเผยแพร่ภาพของผู้อื่นในพรบ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์นั้น จะผิดเฉพาะภาพที่เกิดจากการตัดต่อและทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือหมิ่นประมาทเท่านั้น โดยไม่คำนึงว่าภาพนั้นจะเป็นภาพลามกอนาจารหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าเป็นภาพจริงที่ไม่ได้เกิดจากการตัดต่อ ก็มีความผิดเช่นกัน แต่จะไปเข้าอยู่กับกฎหมายอาญาแทน" ชฎามาศกล่าว
   
   [b]นอกจากเพิ่มจำนวนฐานความผิดขึ้นแล้ว ยังมีการตัดฐานความผิดบางอย่างออกไป[/b] เช่น การฉ้อโกงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในร่างฯใหม่จะไม่มี รวมถึงมีการควบรวมบางฐานความผิดเข้าด้วยกันด้วย เช่น การเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ซึ่งถูกนำไปรวมไว้ในฐานการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ "ผู้เผยแพร่ยังคงมีความผิด แต่ผิดในฐานการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์
   
   ส่วนประเด็นเกี่ยวกับอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ได้มีการเพิ่มเติมฐานความผิดเพื่อลงโทษแก่บุคคลผู้นำพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนตามร่างพรบ.นี้ไปใช้ในทางมิชอบ ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการสอบสวนไปใช้ประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากการดำเนินคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลที่ได้จากการสอบสวน หรือการอ้างหรือใช้ประโยชน์ในข้อมูลที่ได้มาโดยมิชอบ
   
   "คนที่นำข้อมูลที่ได้จากการสอบสวนไปใช้ในทางมิชอบก็มีความผิดด้วยเหมือนกัน" ดร.ชฎามาศกล่าว
   
   พรบ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เวลา 2 ปี ก่อนจะประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย "เชื่อว่า พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะใช้เวลามากกว่า เนื่องจากส่งผลกระทบกับผู้เกี่ยวข้องและประชาชนค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงใช้เวลาในการพิจารณาให้ละเอียดและรอบคอบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต้องให้สมดุลย์มากที่สุด มากเกินไปก็ไม่ได้ น้อยเกินไปก็ไม่ดี"
   
   [b]น่าสังเกต[/b]
   
   จากการเสวนาพบว่า ทั้งฝ่ายกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ยังมีความกังวลในเนื้อหากฎหมายหลายข้อที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ[color=red]การจำกัดสิทธิเสรีภาพของคนไทยบนสังคมไซเบอร์[/color]
   
   นายวันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์พันธุ์ทิพย์ดอทคอม (www.pantip.com) กล่าวในการเสวนาว่า เนื้อหาของกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ [color=blue]โดยเฉพาะมาตรา 12 จะทำให้เกิดการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนไทยบนอินเทอร์เน็ต[/color]
   
   เนื้อหาใน พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ระบุว่า ผู้ใดก็ตามที่นำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเป็นของบุคคลที่ 3 หรือจัดทำโดยบุคคลที่ 3 ทำให้บุคคลที่ 3 หรือประชาชนเสียหาย รวมทั้งนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของชาติ หรือก่อให้เกิดความตระหนกกับประชาชน เสนอข้อมูลลามก หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี และมีการเผยแพร่หรือส่งต่อ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
   
   นายวันฉัตรกล่าวว่า ในกระดานข่าวห้องราชดำเนินของเว็บไซต์พันธุ์ทิพย์ดอทคอม มีการพูดคุยแสดงความคิดเห็นเรื่องการเมืองมาโดยตลอด แต่ถ้ามีกฎหมายในมาตรานี้ จะทำให้คนไทยไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวว่าจะผิดกฎหมาย เท่ากับไร้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะส่งผลให้คนไทยหันไปใช้เว็บไซต์ต่างประเทศแทน และเว็บไซต์ในไทยจะต้องปิดตัวลงในที่สุด หรือหนีไปอยู่ต่างประเทศด้วย
   
   เขากล่าวด้วยว่า ลักษณะเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นกับสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีตมาแล้ว จนต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะต่อสู้จนหลุดพ้นมาได้ ซึ่งตนรู้สึกตกใจมากเมื่อเห็นกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เขียนไว้ในลักษณะที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีต
   
   รศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับนายวันฉัตรว่า ตนจะทำทุกวิถีทางที่จะให้คณะกรรมการกฤษฎีกายกเลิกกฎหมายมาตรา 12 นี้ นอกจากนี้ยังเห็นข้อบกพร่องของกฎหมาย ที่รวมเอาบทลงโทษอาชญากรคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในบทลงโทษเดียวกันกับประชาชนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งไม่มีกฎหมายฉบับไหนทำกัน
   
   นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลถึงศักยภาพความสามารถด้านเทคโนโลยีของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินคดีกับผู้ต้องหา
   
   นายปริญญา หอมอเนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า [color=blue]กฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินคดี คือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรี[/color] ซึ่งตนเกรงว่า เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี จึงเสนอว่าควรเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมและได้รับการรับรองว่ามีคุณสมบัติด้านนี้ จึงจะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องสงสัยได้ ไม่เช่นนั้น อาจจะเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อผู้ต้องหา พร้อมกับยกตัวอย่างว่า ในอเมริกาจะใช้ตำรวจไซเบอร์โดยเฉพาะ ที่ผ่านการฝึกอบรมทักษะด้านคอมพิวเตอร์มาอย่างดี มีการสอบใบรับรองระดับต่างๆเช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์อื่นๆ ขณะที่อัยการ ผู้พิพากษา ต่างเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีเช่นกัน
   
   นายปริญญายังระบุด้วยว่า ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์มีรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น ไม่ใช่มีแค่แฮกเกอร์ หรือไวรัสคอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งอาจทำให้การกระทำบางอย่างของมิจฉาชีพไม่เข้าข่ายความผิดทางกฎหมาย จึงเสนอให้กฎหมายใช้คำนิยามให้ครอบคลุมการกระทำผิดไว้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้คำว่า โปรแกรมมุ่งร้าย (Malware) แทนคำว่า ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Computer) เป็นต้น
   
   [b]สำหรับกระบวนการพิจารณา หลังจากนี้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะถูกพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาอีก 2 วาระ คือวาระที่ 2 และ 3 เพื่อแก้ไขสาระสำคัญให้สมบูรณ์ที่สุด หลังจากนั้นจะถูกส่งคืนให้ครม. เพื่อยื่นให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอนุมัติ ก่อนจะประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป[/b]
   
   [color=red]นั่นหมายความว่า เหลือโอกาสอีกเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นที่ชาวเน็ตหรือคนในวงการคอมพิวเตอร์จะสามารถแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ได้ก่อนประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นจะเป็นการดีอย่างยิ่งหากทุกคนจะมีส่วนร่วมในการแสดงประชาพิจารณ์ เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้คลอดออกมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด[/color]
   
   ทั้งนี้ ผู้ต้องการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปได้ที่ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เว็บไซต์ [www.nectec.or.th, [url=http://www.etcommission.go.th]www.etcommission.go.th และ [url=http://www.ictlaw.thaigov.net]www.ictlaw.thaigov.net](http://www.nectec.or.th)