คิดยังไงกับบัตรสมาร์ทการ์ดเมืองไทย?

คิดว่าเป็นยังไงกันครับ?
ตัวผมเองไม่ค่อยทราบหรอกครับว่าดีหรือไม่ดี แต่เพื่อนไปทำมาเห็นบอกว่ามีข้อมูลทุกอย่างในนั้น (รวมถึงบัตรเครดิตด้วย) ถ้าหายไปไม่แย่หรอครับ? โดนรูดกระจายเลย <_<

จะลองดูว่าไทยจะทำได้ดีกว่า ประเทศโลกที่หนึ่ง ที่เคยทดลองแล้วล้มเหลว ทุกที่ไหม
:frowning:

ในเชิง โครงการถือว่าดี แต่ในแง่ของการปฏิบัติจะได้ผลมากน้อยขนาดไหน ก็ยังไม่รู้

"สมาร์ทการ์ด"เหตุการณ์แห่งการล่วงละเมิด

โดย MGR ONLINE

   [b]จากแนวความคิดของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ต้องการแปรสภาพรัฐบาลให้สู่โลกอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)[/b] ในยุคสมัยที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างล้นหลาม ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐมีความคล่องตัวในการให้ บริการประชาชน และสื่อหนึ่งที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของประชาชนได้ถูกต้อง รวดเร็วและสะดวกนั้นก็คือ สมาร์ทการ์ด หรือบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์นั้นเอง
   
   ด้วยความพยายามในการผลักดันประชาสัมพันธ์บัตรสมาร์ทการ์ดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่มีน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลีถึงข้อดีของบัตรสมาร์ทการ์ดที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไว้ภายในบัตรเดียว แล้วสามารถเดินเข้าไปใช้บริการต่างๆ จากภาครัฐได้ทุกหนแห่งโดยไม่ต้องพกพาเอกสารนานาชนิดติดตัวมาด้วยทุกคนไปเหมือนดังเช่นการมาใช้บริการจากหน่วยงานของรัฐในอดีต เพียงเสียบสมาร์ทการ์ดลงในจุดบริการที่มีลักษณะเหมือนตู้เอทีเอ็มที่สำนักงานต่างๆ ควบคู่กับการสแกนลายนิ้วมือเข้าไปเพียงเท่านี้ก็สามารถใช้บริการจากภาครัฐได้แล้ว
   
   สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของฮาร์ดแวร์ เรื่องทางเทคนิคที่ทางภาครัฐจะเป็นผู้ที่ต้องลงทุนและนำเสนอบริการให้กับประชาชนซึ่งถือเป็นหน้าที่อันพึงปฏิบัติที่ควรมีมานานแล้ว ในขณะที่หลายๆ ฝ่ายต่างกำลังให้ความสนใจกับค่าใช้จ่าย ความพร้อมของฮาร์ดแวร์ที่จะให้บริการ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่ประชาชนทั่วไป ยากที่จะเข้าใจถึงการทำงาน
   
   [b]ถึงแม้จะบอกว่าเทคโนโลยีเป็นเรื่องยุ่งยากแก่การทำความเข้าใจแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐและประชาชนควรจะให้ความสนใจและพึงระลึกถึงสิทธิของตนเเองที่มีอยู่ ใครจะล่วงละเมิดไม่ได้ นั้นก็คือ ข้อมูลส่วนบุคคล[/b]
   
   จากความวรรคหนึ่งใน บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่าง "พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ที่จะต้องมีร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้นว่า ต้องมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่สามารถประมวลผลและเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็วโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอันทันสมัย ดังนั้นจึงต้องหากลไกควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 28 และมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งกฎเกณฑ์ทั้งหมดนี้ เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การให้บริการบัตรประชาชนเอนกประสงค์ (Smart ID Card) ที่อ้างอิงฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  ทางชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศตระหนักถึงความสำคัญสิทธิส่วนบุคคลดังกล่าว ในขณะที่ประชาชนกลับไม่ได้คิดถึงการใช้อำนาจที่มอบหมายให้ด้วยความไว้วางใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรวมไปถึงรัฐบาลในการดูแลและใช้สิทธิดังกล่าวภายใต้ขอบเขตที่มอบหมายให้ไปจากวงเสวนาจิบน้ำชา ภายใต้หัวข้อ "สมาร์ท ไอดี การ์ด : เหตุละเมิดข้อมูลอย่างถูกกฎหมาย? ที่จัดโดย ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่เชิญวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิมาร่วมแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างไร

  [b]ซึ่งไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แสดงความเห็นเอาไว้ว่า รัฐควรชะลอการออกบัตรไปก่อน แล้วกลับไปเร่งกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กฎหมายออกมาก่อน[/b] เพราะในขั้นตอนดังกล่าวจะก่อให้เกิดคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย และรัฐควรกำหนดมาตรการโดยกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยบัตรประชาชน หรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทยให้มีเจ้าหน้าที่ระดับกรม หรือกองพิเศษ เพื่อขึ้นทะเบียนพร้อมมาตรการควบคุมที่ชัดเจน สามารถให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ " 

  [b]เนื่องจากโครงการนี้จะเก็บข้อมูลส่วนตัวของประชาชนลงบนบัตรเพียงใบเดียว แต่ยังไม่มีมาตรการดูแลความถูกต้องของข้อมูลที่จะป้อนลงในบัตร ทั้งยังขาดความชัดเจนในการควบคุมการนำข้อมูลประชาชนไปใช้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ[/b]

  ในขณะที่วสันต์ พานิช กรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมองว่า ประเทศไทยมีกฎการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิปกป้องข้อมูลของตัวเองได้ แต่การรวมข้อมูลด้านต่างๆ ของประชาชนมาไว้ที่เดียว จากเดิมเคยเก็บไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อให้เกิดความกังวลถึงมาตรการควบคุมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการเก็บและเรียกดูข้อมูลดังกล่าว ว่ามีจรรยาบรรณมากน้อยเพียงใด จะควบคุมการแอบนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจนซึ่งนั้นเป็นประเด็นที่ภาครัฐไม่เคยออกมาให้ข่าวสารหรือความรู้แก่ประชาชนให้รู้ถึงความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ประการใด"

  ฉะนั้นรัฐควรเริ่มต้นจากการทำประชาพิจารณ์ถึงความต้องการของประชาชนในการเผยแพร่ข้อมูลบุคคล ก่อนตัดสินใจลงมือในกระบวนการต่างๆ เพราะประชากรถึง 64 ล้านคน อาจมีความคิดแตกต่างหลากหลายกันไป" วสันต์แสดงทัศนะถึงสิ่งที่รัฐควรดำเนินการก่อนที่จะนำสมาร์ทการ์ดมาใช้โดยคิดให้ถี่ถ้วนก่อน

  อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มีมองมุมในฐานะที่เคยมีบทบาทในการร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลข่าวสารของรัฐว่า [b]การนำวิทยาการก้าวหน้ามาใช้กับข้อมูลประชากรเปรียบเสมือนดาบสองคม[/b] หากนำมาใช้ในระหว่างที่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศยังไม่แข็งแรง และกฎหมายยังไม่เรียบร้อย อาจก่อให้เกิดช่องทางในการกระทำความผิดต่อบุคคลได้ง่าย ภาครัฐจึงควรที่จะผลักดันให้กฎหมายคุ้มครองเรื่องราวเหล่านี้ออกมาก่อนน่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า

  [b]ที่สำคัญหากรัฐบาลมองว่า การใช้หมายเลขประจำตัว 13 หลักสามารถนำมาเป็นตัวเลขกลางเชื่อมโยงข้อมูลแต่ละกระทรวงได้ ก็ไม่จำเป็นต้องทำบัตรสมาร์ทการ์ดออกมาให้สิ้นเปลือง[/b]

  หากข้อมูลที่บรรจุอยู่ในสมาร์ทการ์ดนั้นเป็นข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลอื่นๆ กระจายอยู่ตามเซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานนั้น ไม่มีการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแน่นอน "มันเป็นเรื่องของการใช้สองมาตรฐานของรัฐบาล" แต่ถ้าหากจะต้องนำโครงการสมาร์ทการ์ดมาใช้จริงๆ อภิสิทธิ์มองว่า ควรยึดหลักการทำงานภายใต้ความพอดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้กับชีวิตประจำวันของประชาชน 64 ล้านคนในประเทศ

  [b]การนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อใช้กับสังคมไทยจะต้องออกกฎหมายถึงหกฉบับมารองรับ แต่ขณะนี้ออกมาเพียงหนึ่งฉบับ และยังเป็นการนำสองฉบับมารวมกัน คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอีกสองฉบับที่เกี่ยวข้องกับสมาร์ทการ์ดโดยตรงแต่ยังไม่ออกมา นั้นก็คือ การคุ้มครองข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมอิเล็กทรอนิกส์[/b]

  ซึ่งเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกฎหมายปัจจุบันยังครอบคลุมไม่ถึง นั้นแสดงให้เห็นว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย และกติกาต่างๆ ในการใช้เทคโนโลยีนั้นประเทศไทยยังไม่พร้อมสำหรับการใช้สมาร์ทการ์ด" [b]ทำไมรัฐจึงไม่ผลักดันกฎหมายให้ออกมาก่อนเพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลของทุกคนจะได้รับการคุ้มครอง[/b] และหากมีการนำไปใช้ในทางไม่ถูกต้องจะมีบทลงโทษรวมถึงการป้องกันล่วงหน้าอย่างไร [b]บัตรสมาร์ทการ์ดเพียงอย่างเดียวยังไม่ใช่คำตอบของความสะดวกสบายทั้งหมด[/b]

  ส่วนประเด็นการประมูลบัตรที่สื่อมวลชนให้ความสนใจอยู่ขณะนี้ ทางคณะทำงานตรวจสอบทุจริต ของพรรคร่วมฝ่ายค้านกำลังดำเนินการอยู่" อาจารย์ไพบูลย์ยังแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า แนวคิดการนำกฎหมายเดิมที่มีอยู่มาปรับใช้กับการละเมิดข้อมูลบุคคลหรืออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ว่า ยังทำได้ลำบาก แม้กระทั่งทุกวันนี้ คดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำผ่านสื่อออนไลน์ยังยากต่อการจับกุม มีบางคดีถึงกับต้องยอมความกันไปเพราะหลักฐานไม่เพียงพอจึงต้องการให้รัฐทบทวนโครงการสมาร์ทการ์ดอีกครั้ง

  คมสัน โพธิ์คง หนึ่งในคณะทำงานเพื่อศึกษาประเด็นปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ให้ทัศนะต่อการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยหน่วยงานของภาครัฐว่า [b]เวลานี้ภาครัฐล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเราอยู่ทุกวันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องมีสมาร์ทการ์ดก็ได้[/b]

  แต่ถ้าหากมีสมาร์ทการ์ดก็อาจทำให้ตรวจสอบถึงการล่วงละเมิดได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันก็ทำให้ถูกล่วงละเมิดได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ประเด็นจึงน่าจะอยู่ที่ว่า รัฐมีวิธีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีเพียงใดมากกว่า ไม่ใช่มีการนำไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพราะพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมุ่งไปที่การคุ้มครองการใช้ข้อมูลโดยภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐจากเสียงความเป็นห่วงในเรื่องการนำสมาร์ทการ์ดมาใช้จนอาจเกิดการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของคนไทยนั้น เสียงตอบรับจากผู้นำประเทศว่า กรณีที่เกรงจะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ไม่ต้องกลัวจะถูกละเมิดส่วนบุคคล เพราะข้อมูลไม่ได้อยู่ในชิพ ข้อมูลต่างๆ ยังอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลแต่ละหน่วยงาน
   
   คงจะต้องติดตามมาตรการและความใส่ใจในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลที่จะออกมาว่า จะเป็นอย่างไร หากมีความเคลื่อนไหวอย่างไร คงจะมีการรายงานในลักษณะนี้ออกมาอีก

จำคำนี้ไว้ครับ

“The only secured system is the system that’s unplugged from the network.”