อ่านดีๆ นะคะ เขาจะเข้า ครม ในอีกไม่กี่เดือน
- แค่ “รู้หรือควรรู้” ก็หนาวแล้วละ
- spam mail ของไทย หายไปอย่างมาก แต่ถ้าเจอใครแกล้งเอาชื่อเราส่ง spam ก็หนาวอีกแหละ
แค่นี้ก่อน ปวดหัวแล้วจ้า
อืมมันก็จริง พวกที่ปลอมเมลมันก็มีเยอะแยะแบบนี้คงแย่
[h=1]ไทยรัฐออนไลน์[/h] นักวิชาการ คนเว็บ ตำรวจ ประสานเสียงสนับสนุนยกร่าง พ.ร.บ.คอมพ์ 2550 พบน่ากังวลหลายประเด็น ทั้งเกิดความซับซ้อนและส่อเกิดปัญหาในการบังคับใช้ ติงความรู้ความเข้าใจผู้บังคับใช้กฎหมายยังต่ำ…
นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ อาจารย์พิเศษวิชากฎหมายเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอดีตกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมายครั้งนี้ เพราะแม้เจตนารมณ์ในการแก้ไขจะเป็นเจตนารมณ์ดี แต่เนื้อหาในการแก้ไขนั้นยังไม่ถูกจุด
นายไพบูลย์ กล่าวว่า เริ่มจากการแก้มาตรา (ม.) 5 ม.7 เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องมีคำว่า มีมาตราการรักษาความปลอดภัย หรือมาตรการการเข้าถึง ปัจจุบันการตระหนักรับรู้ถึงไอทีค่อนข้างน้อยจึงมีการเข้าไปขโมยดูข้อมูล เยอะ จึงมีการระบุให้เป็นความผิดโดยแยกออกมาเป็นอีกหมวดหนึ่ง ว่าหากผู้ใดเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ผู้อื่นก็จะมีความผิดทันที ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้เกิดปัญหาค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบันเราใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์กันอย่างแพร่หลาย ผู้ใช้มีสิทธิเสรีภาพในการเข้าดูข้อมูลของผู้อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการละเมิด ในการใช้งานเว็บไซต์ทั่วไป เมื่อเราโพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ ถือเป็นการยินยอมตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งทั่วโลกไม่มีใครออกกฎหมายอย่างนี้ เพราะการค้นหาข้อมูลของบุคคลอื่นและนำไปใช้ในเชิงความรู้นั้น สามารถทำได้โดยไม่มีความผิด
อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เกี่ยวกับเรื่องการทำสำเนาข้อมูล ซึ่งถือเป็นอีกประเด็นที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากการส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเซิร์ฟเวอร์จะเกิดการทำสำเนาโดยชั่ว คราว หากมีการเขียนกฎหมายอาญา ในลักษณะว่าการทำสำเนาข้อมูลเป็นความผิด ดังนั้นในการส่งข้อมูลทั้งที่ผิดกฎหมายและไม่ผิดกฎหมาย ก็จะทำให้ทุกคนกลายเป็นคนอาชญากรรมทั้งหมด นอกจากนี้ ยังขัดกับกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ระบุว่า การทำสำเนาที่ใช้เท่าที่เป็นประโยชน์โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น สามารถทำได้ แต่หากมีการเขียนกฎหมายในเชิงดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนกับกฎหมายลิขสิทธิ์ รวมถึงการเขียนเกี่ยวกับอำนาจศาลด้วย เนื่องจาก พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์นั้นจะขึ้นศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ส่วน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้นขึ้นศาลอาญา จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาในการปรับใช้ได้
สำหรับ การแก้ไขในประเด็นการครอบครองสื่อลามกอนาจารของเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวมาก เพราะการครอบครองหมายถึงการมีอยู่ในระบบไม่ว่าวิธีใดก็ตาม ในประเด็นดังกล่าวจะสร้างความลำบากให้แม้แต่กับเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ซึ่งต้องมีการดาวน์โหลดแคชชั่วคราว เพื่อสืบสวนสอบสวน ก็จะกลายเป็นความผิดทันทีโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งความผิดเกี่ยวกับเรื่องเด็กนี้มีอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้วก็จะทำ ให้เกิดความซ้ำซ้อน
ประเด็นถัดมาคือ การแก้ไขเรื่องสแปมมิ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการโซเชียลมีเดียโดยตรง ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่าในการส่งอีเมล์นั้น ต้องปกปิดแหล่งที่มาของข้อมูล แต่ในประเทศไทยนั้นใช้ไอพีจริงในการส่งข้อมูล ซึ่งเรื่องนี้ควรอยู่ในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่สแปมนั้นมีจำนวนมาก สแปมถือเป็นเรื่องทางแพ่ง หากนำมาใส่ในกฎหมายอาญาก็จะเป็นความผิดกรณีปลอมไอพีเท่านั้น ซึ่งประเด็นนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้โซเชียลมีเดียโดยตรง โดยเฉพาะทวิตเตอร์ เพราะเมื่อเราทวิตข้อความออกไป และผู้ที่ติดตามได้เห็นข้อความนั้น ซึ่งแม้จะเป็นการเห็นโดยอัตโนมัติ ก็จะถือว่าเป็นความผิดใน ม.11 ทันที
นอก จากนี้ ใน ม.15 เกี่ยวกับการแก้ไขคำว่าจงใจ สนับสนุน ยินยอมออกไป และใช้คำว่ารู้หรือควรรู้นั้น ไม่ได้ทำให้ความหมายแตกต่างไปจากเดิม โดยส่วนตัวมองว่า ควรคงวรรคแรกไว้และเพิ่มวรรคท้ายว่า กรณีผู้ให้บริการเว็บไซต์จะมีความผิดต่อเมื่อมีการนำข้อมูลนั้นผ่านการกรอง ก่อนนำเสนอ แต่หากเป็นการผ่านเครื่องประมวลผลอัตโนมัตินั้นจะไม่ถือเป็นความผิดเลย โดยกฎหมายในต่างประเทศ จะมีระบุไว้ชัดเจนว่า การเลือกหรือคัดข้อมูลก่อนนำมาโพสต์บนอินเทอร์เน็ตนั้นถือเป็นความผิด หากเป็นการนำเสนอโดยการรับอัตโนมัตินั้นอย่างไรไม่ถือเป็นความผิด ซึ่งการแก้ไขถ้อยคำดังกล่าวนั้นถือว่าแก้ไขไม่ถูกจุด
ในส่วน ของ ม.17 ซึ่งจะมีการแก้ไขเกี่ยวกับเขตอำนาจว่า หากมีการกระทำความผิดตามกฎหมายกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ถือเป็นความผิดในราชอาณาจักร และสามารถลงโทษได้ ซึ่งในส่วนนี้มีระบุในกฎหมายอาญาอยู่แล้ว แต่ในหลายครั้งที่ไม่สามารถเอาผิดได้นั้น เป็นเพราะกฎหมายระบุไว้ว่าต้องดำเนินการสืบพยานต่อหน้าจำเลย ซึ่งหากต้องการแก้ไขประเด็นดังกล่าวต้องแก้ไขที่กฎหมายอื่น ไม่ใช่แก้ไขที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
แม้จะมีเจตนารมณ์ที่ดีในการแก้ไข แต่ผู้ร่างยังไม่เข้าใจปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ถือเป็นการแก้ไขในเชิงวิชาการ ซึ่งมองว่ายังไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้น ก็ถือว่าสามารถใช้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องมีการแก้ไขโดยเฉพาะประเด็น ม.15 เรื่องความผิดของผู้ให้บริการ ซึ่งหากมีการแก้ไขอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติ กล้าเข้ามาดำเนินธุรกิจ สร้างผลดีด้านเศรษฐกิจ การลงทุนได้อีกมาก ส่วนประเด็นที่ถือว่ามีความร้ายแรงอย่างมากในการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้คือ ประเด็นการทำสำเนา เนื่องจากการทำธุรกรรมทั้งบนคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ล้วนแต่ต้องมีการทำสำเนา หรือการแคชข้อมูลเก็บไว้ทั้งสิ้น หากระบุว่าการทำสำเนาผิดก็จะทำให้เกิดเรื่องวุ่นวาย
“ถ้าจะให้ดีควร เปิดโอกาสให้สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เว็บโฮสติ้ง สื่อมวลชน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าเป็นผู้ร่วมร่างกฎหมายฉบับนี้ ไม่ใช่ให้อยู่ในตำแหน่งผู้ร่วมฟัง หรือประชาพิจารณ์ โดยที่ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมาย เพราะหาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ มีเนื้อหาในลักษณะที่เป็นการแก้ไขนี้ จะทำให้เกิดความวุ่นวายในการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงาน องค์กร อัยการ ศาล ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งมีความเข้าใจใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่อนข้างน้อย หรือสับสนอยู่แล้ว” นายไพบูลย์ กล่าว
ด้าน นางจีรนุช เปรมชัยพร ผู้ให้บริการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า เห็นด้วยกับการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เนื่องจากในอดีตมีปัญหาในแง่การบังคับใช้ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ก็ยังมีความเข้าใจน้อย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ จึงควรทำให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายได้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ควรปรับประเด็นความสมดุลและสิทธิเสรีภาพให้ดีขึ้นด้วย โดยเฉพาะใน ม.14 และ 15
ขณะที่ พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า กฎหมายฉบับเดิมใช้งานมานาน 5-6 ปีแล้ว จึงเห็นสมควรกับการยกร่างใหม่ แม้ว่าจะทำได้ดีในระดับหนึ่งแล้วแต่โดยส่วนตัว ก็ยังต้องการให้ทุกฝ่ายช่วยกันระดมความคิด และเสนอความเห็นเพื่อทำให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์และครอบคลุมการใช้งาน โดยยอมรับว่าในส่วนของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ยังคงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในระดับที่อ่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งพัฒนา.
ได้หารือกับผู้ที่สนใจหลายหน่วยงานแล้วนะคะ ตั้งต้นที่ ชมรมนักข่าวไอที สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สมาคมผู้ดูแลเว็บ เชิญ อ.ไพบูลย์ แล้วขอเสริมคนในชมรมฯ คนจาก ISP มาจอยกัน แล้วคุยกันน่ะค่ะ โอเคไหมคะ?
รับทราบครับ โอเคครับ เพราะทางนี้ยังหลวมกันพอสมควร เราค่อยไปแจมนะครับ
ขอบคุณครับ
นัดวันได้เมื่อไหร่บอกด้วยนะครับ จะล็อกคิวไว้เลย (ไม่นับ 25 เม.ย. - 10 พ.ค. นะฮะ กลับไปชาร์จแบตที่บ้าน)
ตอนนี้ติดตามความคืบหน้าพลางๆ จาก http://bit.ly/CCLawThai ได้ก่อนค่ะ
เดี๋ยววันที่ 10 พี่ที่เป็นหนึ่งในอนุฯ ด้านเด็กและเยาวชน เขาจะให้ไปสรุปให้ทางคณะกรรมาธิการฯ ฟัง เดี๋ยวจะเอาเอกสารไปให้เขาดูก่อน แล้วจะกลับมาบอกว่าเป็นไงนะคะ
เพิ่งทราบจากคนที่เขาอยู่ในงาน hearing จนจบว่า ผู้จัดให้เวลากับผู้เข้างานน้อยมาก ขนาดพี่วันฉัตรยกมือขอถาม ยังไม่มีเวลาเหลือให้ถามเลยค่ะ (สรุปคืออดถาม)
โหอย่างงี้เลยแหะ เลิกทำโฮสทำเว็บดีกว่ามั้ยเนี่ย 555+
เหมือนปิดประตูตีแมวยังไงชอบกล
โดนหลอกไปสร้างความชอบธรรมปล่าวครับ
รู้สึกแปลกๆ ตั้งแต่รอบที่แล้ว เพื่อนที่ไปเขาทวิตจากงาน เราก็เลยฝากเขาถามว่า ได้เชิญคนทำโฮสต์ไปไหม (วันนั้นมาเขียนกระทู้ถามในห้องด้วยไงคะ) เจ้าภาพงานอ้างว่าเชิญแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามีใครในพวกเราไปกันบ้าง แต่จากที่ถามในห้อง ก็คือ จริงๆ ไม่มีพวกเราคนไหนรู้สักคน (รวมทั้งตัวเองด้วย) ไม่เข้าใจจะกีดกันคนทำโฮสต์ทำไม?
เผอิญได้เจอคนจากสมาคม ISP เลยสอบถามเรื่อง ร่างฯ พรบ เขาก็บอกว่า เขาเคยได้เข้าร่วมสัมมนา แต่รู้สึกไม่ค่อยเปิดกว้าง เลยไม่ค่อยได้ไป เขาก็บอกว่านั่นล่ะ public hearing แล้ว เราก็เลยบอกว่า hearing ยังไง ไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ร่วม ไม่เคยรู้ก่อนหน้าด้วย พรบ.หน้าตาจะเป็นหมู่เป็นจ่า
เอาเป็นว่า ลองไปอ่าน ร่างใหม่ แล้วมาแคะว่า พวกเรารับกันแค่ไหนกันได้ดีกว่าค่ะ จะได้ไปบอกเขาว่า เราขอปรับแก้ส่วนไหนตามที่เขาเสนอมา ยังไงจะช่วยประสานต่อให้
เดี๋ยวขออ่านก่อนตอนสงกรานต์ ตอนนี้ปั่นงาน
เห็นแล้วเครียด
http://www.dailynews.co.th/technology/196196
[h=1]ปรับปรุง"พ.ร.บ.คอมพ์2550"รับเทคโนโลยี 3จี-4จี[/h] วันพุธที่ 10 เมษายน 2556 เวลา 06:03 น.
[IMG]http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/196196/1.jpg[/IMG]
[ [IMG]http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/50x30/cover/196196.jpg[/IMG] [URL="http://www.dailynews.co.th/technology/196196#"] [IMG]http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/50x30/photos/196196/0.jpg[/IMG] [URL="http://www.dailynews.co.th/technology/196196#"] [IMG]http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/50x30/photos/196196/1.jpg[/IMG] [URL="http://www.dailynews.co.th/technology/196196#"] [IMG]http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/50x30/photos/196196/2.jpg[/IMG]](http://www.dailynews.co.th/technology/196196#)
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ไม่ได้มีปัญหาเรื่องล้าหลัง แต่มีปัญหาในการบังคับใช้
“พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ไม่ได้มีปัญหาเรื่องล้าหลัง แต่มีปัญหาในการบังคับใช้” คำตอบของ นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ในการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง “การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคง” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่มีการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2550 ซึ่งกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ไว้
ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาของการบังคับใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 พบว่า มีการเรียกร้องจากหลายภาคส่วนให้มีการทบทวนหลักการของกฎหมายที่บังคับใช้ รวมถึงเพิ่มเติมส่วนที่กฎหมายปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมหรือรองรับ ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มอบหมายให้ สพธอ.ศึกษาถึงสภาพปัญหา ข้อขัดข้อง และแนวทางการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและบริบทของสังคมไทย เพื่อให้บังคับใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ โดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการติดต่อสื่อสารอันเป็นสิทธิขั้น พื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
[B]การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา สพธอ. ได้จัดระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อยหลายครั้งโดยแบ่งกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วน เสียกับการบังคับใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบ, กลุ่มเอ็นจีโอ, ประชาชนทั่วไป, กลุ่มที่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่เป็นเหยื่อ โดยจะนำมารวมกับความคิดเห็นที่ได้จากการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นการปรับ ปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะภายใน 3 เดือน จากนั้นจะนำความคิดเห็นที่ได้ไปปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คาดว่าจะสมบูรณ์ภายใน 6 เดือน โดยตามขั้นตอน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปรับปรุงจะสามารถบังคับใช้ได้ในอีก 3 ปี เนื่องจากต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบความถูกต้องภายในสิ้นปี 2556 และนำเสนอสภาเพื่ออนุมัติในปลายปี 2557
[/B]
นางสุรางคณา กล่าวว่า การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ต้องใช้วิธีเพิ่มเติมเนื้อหาในกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมกับภัยคุกคามในรูปแบบ ใหม่ ๆ โดยการปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ครั้งนี้จะเน้นไปที่มาตรา 14 การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม และมาตรา 15 ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยทำให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง ซึ่งการปรับปรุง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายและเป็นการเตรียม พร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีการสื่อสารยุค 3จี และ 4จี ที่จะทำให้การเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ ขยายตัวสูงขึ้น โดย พ.ร.บ.ดังกล่าวครอบคลุมถึงการใช้งานโทรศัพท์มือถือแล้ว
“วันนี้คนไทยยังไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามจากคอมพิวเตอร์ว่ามีความร้ายแรงขนาด ไหน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างทำรายงานภัยคุกคามไซเบอร์ของไทยและภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะทำให้ประชาชนตระหนักถึงภัยคุกคามจากคอมพิวเตอร์ คาดว่าประมาณ 2 เดือนจะเปิดเผยรายละเอียดได้ โดยขณะนี้หน่วยงานในภาคการศึกษาน่าเป็นห่วงมากที่สุดเกี่ยวกับความปลอดภัย ของข้อมูลบนโลกไซเบอร์ เนื่องจากคุณครูสอนให้เด็กทำเว็บไซต์ทำบล็อกโดยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวรวมทั้ง ต้องใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก”
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2553 พบว่าตัวเลขมูลค่าการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยอยู่ที่ 608,587 ล้านบาท และมีตัวเลขของการโอนเงินและชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ 795,495 พันล้านบาท ซึ่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต และเป็นกฎหมายที่องค์การระหว่างประเทศ เช่น United Nations, European Union หรือ ITU เห็นว่าเป็นกฎหมายพื้นฐานที่ประเทศต่าง ๆ ต้องมีในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำหรับประชาชนทั่วไป สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ผ่านเว็บไซต์ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 15 เม.ย. 56 ตามลิงก์นี้ http://www.etda.or.th/law_seminar/
[I][B]น้ำเพชร จันทา
@phetchan[/B][/I]