ดีเดย์จดทะเบียนพาณิชย์อินเทอร์เน็ต

ไปอ่านเจอมาครับคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อพวกเรามากครับ

[quote]
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับ วันอังคารที่ 25 มีนาคม พศ 2546

ดีเดย์จดทะเบียนพาณิชย์อินเทอร์เน็ต

นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกำหนดให้ผู้ที่ทำธุรกิจซื้อขายสินค้าและแล ะบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่นผู้ให้เช่าพื้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

เคยแวะเข้าไปดูที่ moc.go.th ไม่เจอรายละเอียดแฮะ ใครทราบบ้าง
ผมอยากเห็น reference จริง ที่ moc (Ministry of Commerce)
ครับ

แล้วจริงๆ เรื่องนี้ ผมว่ามีทั้งข้อดี ข้อเสียแหละครับ
แต่เจตนาเขาคงต้องการป้องกัน การโดนโกง ของประชาชน
ตาดำๆมากกว่า ซึ่งก็เข้าใจได้

ในแง่ของพวกเรา ต่อไปนี้ โฆษณาชวนเชื่อ พวก unlimited นั่น
unlimited นี่ เพลาๆ ลงนะ ก่อนจะโดนเชือด

ส่วนใหญ่ที่ไม่น่าเชื่อก็ unlimited data transfer หละครับ

แต่ unlimited hit, unlimited email อะไรพวกนี้มันก็ธรรมดา บริการได้แน่นอน

unlimited email ทำไม่ได้หรอกครับ

ผมว่าน่าจะคนละหน่วยงานรับผิดชอบนะ

ที่เรื่อง unlimited ผมว่าต้องเป็นทาง สคบ. ดูแลมากกว่า
ผมว่า ไทบเราเองมีปัญหาที่ตัวจัดระเบียบมากกว่า

unlimited email ทำไม่ได้หรอกครับ

เว้น… แต่ว่า จะบอกไว้ ว่าจำกัด ที่เนื้อที่ หรือ b/w อะไร
กำกับไว้ด้วยน่าจะสวยกว่า

host ที่ผมใช้อยู่ก็ unlimited email แต่พอเอาเข้าจริงๆ คนๆ เดียวจะใช้ ซักกี่ตัวกัน
:smiley: :smiley: :smiley:

เริ่มออกนอกเรื่องกันแล้ว :slight_smile:

เคยเห็นลูกค้าบางคนของผมใช้ 500 POP3 ครับ
ใครอยากได้บ้าง จะยกให้ :))

จากเรื่องข้างบน การจดทะเบียน ปรากฏว่า ทางราชการยังไม่ทำจริงจัง
เลยครับ ทั้งๆ ที่กฏหมายออกมาแล้ว

Trust brand อะไรก็ยังไม่ได้ทำ (เจ้าหน้าที่บอกมา) ยังต้องคุยกับ
nectec อีกนาน ไม่อยากให้ล้มเหลวเหมือนเกาหลีว่างั้น

ปรากฏว่า คนจดมา จะไม่มีอะไรที่ช่วย อย่างที่เค้าบอกเลย โดยเฉพาะ ข้อ 7
ที่ดึงดูด คนมาจดนักหนา

คนที่ทำโฮสทิ้ง ที่ไม่ได้เป็นบริษัท ก็จะได้จดทะเบียนการค้าเพิ่มอีกใบ
แจ๋วมากกก (โหย)

คาดว่า จะช่วยในเรื่องตามเก็บภาษีของรัฐเป็นอย่างมาก (ตามเก็บกันสุดฤทธิ์)

หาตั้งนาน พึ่งเจอครับ

เว็บที่ทำการค้า ต้องจดทะเบียนแล้ว ?

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้
(1) ซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้

  • มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่น ๆ
  • มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น
  • มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) เช่น บริการ หาคู่ บริการข่าวสาร/บทความ/หนังสือ รับสมัครงาน เป็นต้น
  • มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
  • รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ เพราะถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเตอร์เน็ต
  • เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
  • เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การ Download โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น
  • ธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทน ที่มีเว็บไซต์ในการประกอบธุรกิจ สามารถติดต่อซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

หมายเหตุ
ก. ธุรกิจประกันภัย การเงิน การธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ ที่มีเว็บไซต์เป็นช่องทางหนึ่งในการทำธุรกิจ และเข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังกล่าวข้างต้นต้องจดทะเบียนด้วย ถ้าไม่เข้าข้อใดเลยก็ไม่ต้องจด
ข. ธุรกิจตามข้อ ก. ที่มีการให้บริการแก่ลูกค้าผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น e-Banking เป็นต้น ที่ถือว่าเป็นการให้บริการแก่ลูกค้าของตนเอง ไม่ใช่การขายบริการ ดังนั้น จึงไม่ต้องจดทะเบียน

(2) บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ได้แก่ CS Com, Loxinfo , KSC , Internet Thailand , Asia Infonet , A-net , JI-Net , Samart , WorldNet , CWT , Idea Net , SGA , Data Line Thai , Asia Access , CWN , Roynet , Far East, EZNet

(3) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) เช่น sanook.com, yahoo.com, porar.com, thai4biz.com, thaicreative.net, internetthai.com, loxinfo.co.th , ksc.net.th, ecomsiam.com เป็นต้น

(4) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-Marketplace) เช่น softwarelink.co.th, eprocurementthai.com, bizdimension.com, pop.co.th, thai2m.com , pantavanij.com, freei.co.th, foodmarketexchange.com, thaiexponet.com, thailandexport.com, thailand.com , thaixport.com, WeThai.com เป็นต้น

เว็บไซต์ที่ ไม่ ต้องจดทะเบียน

  • มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเตอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ
    หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
    .
  • การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
  • การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
  • การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือสินค้า
  • เว็บไซต์ที่เสนอข่าวประจำวัน จะมีป้ายโฆษณา (banner)ด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น thairath.com, bangkokpost.com, innnews.co.th, เป็นต้น
  • เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
  • เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใดๆ
  • ร้านอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการในการเล่น net ที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเตอร์เน็ต (อินเตอร์เน็ตคาเฟ่) และ เกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้มีประชาชนเกิดความสับสนเป็นจำนวนมากว่าต้องจดทะเบียน (เจ้าของร้านอินเตอร์เน็ตฯ ไม่ต้องจดทะเบียน)

คำชี้แจง

เรื่อง ให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์

ตามที่กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศ กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่มีสถาน ประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป นั้น

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการขึ้นทะเบียน จึงขอชี้แจงให้ทราบ ดังนี้

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ

  • บุคคลธรรมดา (เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน คณะบุคคล)
  • นิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด)
    ที่ประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังต่อไปนี้ คือ
    (1) ซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
    (2) บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
    (3) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web hosting)
    (4) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต (e-Marketplace)

หมายเหตุ
ในเชิงพาณิชย์ คือ การดำเนินการใดๆ ที่เป็นไปในทางการค้า หรือ แสวงหากำไร หรือการกระทำใดๆ เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจ
อันเป็นอาชีพปกติ คือ การกระทำหรือการปฏิบัติที่สม่ำเสมอ เป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกันตลอดเวลา (ไม่จำกัดระยะเวลา) แต่สามารถแสดงออกหรือสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าตนมีอาชีพหรือกระทำอาชีพนั้นเป็นประจำ ไม่ใช่งานอดิเรก (แต่กรณีของอาชีพเสริม เช่น พนักงานประจำ แต่มีอาชีพเสริม ถ้าอาชีพเสริมที่ทำนั้นเป็นการประจำ ทำอยู่เรื่อย เช่นนี้ถือว่าเป็นอาชีพปกติเช่นกัน)

การยื่นขอจดทะเบียน
2.1 ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นจดทะเบียนต่อ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะเลือกยื่นต่อสำนักงานใดก็ได้

ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถ.สนามบินน้ำ) โทร. 0 2547 5153-5
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (อาคารถ.มหาราช) โทร. 0 2622 0572-3
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (อาคารถ.พระราม 6) โทร. 0 2618 3345
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7268
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (อาคารยูไนเต็ดเซ็นเตอร์ ถ.สีลม) โทร. 0 2266 5853-4
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7255
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (อาคารโมเดอร์นฟอร์ม ถ.ศรีนครินทร์) โทร. 0 2722-8366-7
สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ็ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7253

2.2 ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ เพียงแห่งเดียว

เอกสารประกอบการจดทะเบียน
3.1 คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) โดยให้ระบุรายละเอียดอื่น ๆ ในข้อ [14] เพิ่มเติม คือ ชื่อ Web site, E-mail Address, หมายเลขโทรศัพท์, หมายเลขโทรสาร, เลขทะเบียนนิติบุคคล (ถ้ามี), ระดับของการทำ ธุรกรรมในเว็บไซต์ (ตามตัวอย่างเอกสารแนบ แบบ ทพ.)
3.2 สำเนาบัตรประจำตัว

  • กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
    3.3 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

กำหนดเวลา
4.1 ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์

  • กรณีเป็นผู้ประกอบการอยู่แล้วก่อนวันที่ 18 พฤษภาคม 2546 ให้ยื่นขอจดทะเบียน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2546 โดยจะเริ่มยื่นขอจดทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป
  • กรณีเริ่มประกอบการใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2546 ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการใหม่
    4.2 ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อยู่แล้ว ก่อนวันที่ 18 พฤษภาคม 2546 ให้แจ้งนายทะเบียนทราบ โดยแจ้งต่อสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ที่ยื่น จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ ต่างจังหวัดให้แจ้งต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ ภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2546 พร้อมสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ เพื่อนายทะเบียน จะได้ ดำเนินการ ตรวจสอบว่าได้จดทะเบียน พาณิชย์โดยถูกต้องแล้ว

อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 50 บาท

เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานฯ ในที่ เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย และจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบการไว้หน้าสำนักงานฯ โดยเปิดเผย

เพื่อประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค/ประชาชน และเพื่อรับรองว่าผู้ประกอบการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ผู้ประกอบการควรแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ หรือ ระบุเลขทะเบียนพาณิชย์ไว้บน Web Site (Home Page) ด้วย เพื่อแสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนกับกรมฯ แล้ว

ประโยชน์ของการจดทะเบียน
7.1 สร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้บริโภค (รู้ว่าผู้ประกอบการได้ขึ้น ทะเบียนกับกรมแล้ว)
7.2 สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง)
7.3 เป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค (โดยจะจัดทำเป็น e-Directory)
7.4 การได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น

  • การได้รับสิทธิพิเศษในการสนับสนุนด้านการตลาด เช่น การเข้าร่วมโครงการ E-marketplace
  • การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนาที่กรมจะจัดขึ้น การได้รับคำแนะนำ และการ รับข้อมูลข่าวสารของกรม
  • การได้รับการส่งเสริมในการขอใช้เครื่องหมายรับรอง (Trust mark)

กรณีมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ขอคำชี้แจงหรือคำแนะนำเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ ตามข้อ 2. หรือ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0 2547 5958-60 หรือ 0 2547 5050 ต่อ 3191 หรือทาง E-mail : e-commerce@thairegistration.com หรือทางเว็บไซต์ของกรมฯ http://www.dbd.go.th

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
พฤษภาคม 2546


อ่านกันเอาเองละกันครับ
:smiley:

เมื่อวานเจ้าหน้าที่บริษัทของเราไปดำเนินการจดเรียบร้อยครับ ปรากฏว่า

(1) เป็น #1 ของพื้นที่นี้เลย!
(2) เจ้าหน้าที่งงๆ ว่าจะจดอะไร!

เอ้า คิดกันเอาเอง
:lol: :lol: :lol: :lol:

อ้าว… กำลังคิดว่าวันจันทร์จะไปติดต่อเหมือนกัน ควรไปไหมเนี่ย !!!

คุณ ภูมิจิต ไปจดยังครับ

ผมว่าจะไปจดเหมือนกันนะ แต่ยังงงว่า เรื่องภาษีผมจะต้องทำอย่างไรบ้าง
เพราะทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีเรื่องภาษีเข้ามาเกียวข้องเลย ถ้าจะมีก็หักภาษี ณ ที่จ่าย

เพราะทราบว่า ถ้าเป็น hosting จะต้องจดทะเบียนการค้าเพิ่มเข้าไปอีกใบด้วยหนะสิ
รวมเป็นกี่ตังหว่า…

หรือจะไปจดตอนเค้าเข้มงวดหว่า แล้วบอกว่า เราเพิ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนที่แล้ว ฮา…

เพราะอย่างผมก็จะมีรับงานทั่วๆ ไป ด้วย ไม่ได้ทำเฉพาะ hosting ครับ

ใครจะให้คำแนะนำได้ไม๊เอ่ย :o

เริ่มจากรูปแบบธุรกิจส่วนตัวก็ไม่แปลกครับ เงินเข้ามาก็ให้เขาหักภาษีไป ถ้าจำไม่ผิด ส่วนตัวจะโดนหัก 5% แล้วถ้าจะทำให้ถูกต้อง สิ้นปีก็ไปรวมคำนวณใน ภงด. 90/91 แต่ถ้าคิดๆแล้วโดนหักเยอะไป ก็ค่อยตั้งบริษัทก็ได้ ที่พูดมานี่ถูกรูปแบบใข้ได้โดยไม่ต้องกลัวใคร แต่หากจะเอารายละเอียด ควรปรึกษานักบัญชี – อย่างคุณภูมิจิตก็เข้าใจว่าเอกบัญชี :slight_smile:

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :slight_smile:

คิดว่าวันจันทร์หน้าจะไปจดแล้วครับ (วันสุดท้าย สงสัยคนเยอะ)

พอตอบได้บ้าง แต่ไม่เก่งนะคะ

จริงๆ ถ้าทำในนามบุคคลธรรมดา มีข้อดีเสียต่างกะนิติบุคคลค่ะ

บุคคลธรรมดา

  • เสียภาษีเป็นลำดับขึ้น ขึ้นอยู่กับยอดรายได้ ที่เรียกว่า ภงด. 90 อัตราภาษีสูงสุดที่ 37%
  • ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานได้ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโฆษณา ฯลฯ
  • ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ ซึ่งอาจจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ หรือต้องไปจ้างใครออกใบเสร็จให้ ซึ่งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

นิติบุคคล

  • ขาดทุนไม่เสียภาษี กำไรเสียสูงสุด 30% จำไม่ได้ว่า 3 หรือ 5 ปีแรกที่ก่อตั้ง สามารถทำบัญชีขาดทุนสะสมได้ เพราะการลงทุนปีแรกๆ มักยังไม่กำไร แต่สามารถเอาขาดทุนสะสมไปใช้ได้ในปีหลังๆ (เช่นปีที่ 3 หรือ 4 ที่มีกำไร)
  • ค่าใช้จ่ายเอามาลงบัญชีได้จริง
  • มีความน่าเชื่อถือในการทำธุรกิจ
  • มีภาระ และหน้าที่ต้องทำตามกฏสรรพากรทุกกรณี

เพิ่มเติมให้กรณีนิติบุคคล

  • ถ้าทุนจดทะเบียนไม่ถึง 3 ล้าน (และตัวแปรอะไรอีกสักอย่างที่พวกเราไม่ถึงแน่) ภาษี 20%
  • โดนติดตามโดยสรรพากรได้ง่ายกว่า
  • มีภาระค่าใช้จ่ายให้กับนักบัญชีและ/หรือ ผู้ตรวจสอบบัญชี รวมๆแล้ว ปีละประมาณหมื่น (มั้ง)

ไปจดมาแล้วครับ วันนี้คนล้นหลามจริงๆ เลย ปรากฏว่า เจอ web hosting เจ้าอื่นด้วยครับ
แต่ไม่ทราบว่า เจ้าไหน ทราบแต่ว่า web hosting (ไม่กล้าไปคลี่ดูรายละเอียดชาวบ้าน กลัวเสียมารยาท)

เหลือวันพรุ่งนี้อีกวัน สงสัยว่า คนคงแน่นกว่านี้ <_<

เจ้าหน้าที่แกไม่รู้ว่า web hosting คืออะไร ผมอธิบายยังไงแกก็ไม่เข้าใจ
แกนึกว่า ทำเว็บไซต์ แล้วให้คนมาโฆษณา แกเลยให้ผมเขียนลงกระดาษ แล้ว
แกจะเอาไปทำความเข้าใจวันหลัง :smiley: :smiley: :smiley:

ป.ล. ผมไปจดที่ อาคาร ปรีชา คอมเพล็กซ์ รัชดาภิเษก ครับ

ดิฉันไปจดมาแล้วเหมือนกัน (ไปด้วยตัวเองนี่ล่ะ จะได้โต้ตอบกับเจ้าหน้าที่ได้ถูกต้อง)
พบว่า เจ้าหน้าที่ก็ไม่ค่อยจะชำนาญ ถึงกับต้องให้ดิฉันไปคุยโดยตรงกับผู้อำนวยการกรมฯ เลยค่ะ
ได้ความน่าตกใจดังนี้ ใครก็ตามที่ทำเว็บ แล้วเว็บนั้นก่อให้เกิดรายได้ ไม่ว่าจะมีการจ่ายเงิน
ที่หน้าเว็บเลยหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องจดทะเบียนหมดค่ะ เว็บกุ๊กกิ๊กของดิฉันเอง
(เว็บส่วนตัวเป็นแบบที่ให้พ่อแม่มาขายของมือสองของลูกกัน) ก็ต้องจดทะเบียนด้วยค่ะ
แต่เอาเถอะ ตลอดชีพ 50 บาท ก็จ่ายๆ ไป ดีกว่ามาโดนปรับภายหลัง
คุณเจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าเราไม่เอาแล้ว (เลิกทำเว็บนั้นแล้ว) ค่อยมาจดเลิกทีหลังก็ได้ (เป็นงั้นไป)

ส่วนถ้าใครไปจดช้า เกินกำหนด แล้วต้องโดนปรับ เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าให้เตรียมคำอธิบายให้ดี
ขอให้ฟังขึ้น ถ้าฟังขึ้น ก็จะมีการผ่อนผัน (ไม่โดนปรับ) ได้ค่ะ

เฮ้อ น่าเบื่อหน่ายจริงๆ ราชการไทย ดิฉันเสียเวลางานไป 1 วันเลยนะ :angryfire:

หงะ เว็บส่วนตัวที่มีรายได้ ก็โดนเหรอนี่…ผมยังไม่ได้จดเลย เลยกำหนดแล้วด้วย ฮุๆ
เดี๋ยวตอนไปจดบอกว่าพึ่งเปิด เขาจะเชื่อมั้ยเนี่ย <_<