อยากจะเปิดบริษัท พี่ ๆ เห็นว่าสมควรไหมครับ กับสภาพเศรษฐกิจ เช่นนี้

อยากจะเปิดบริษัท พี่ ๆ เห็นว่าสมควรไหมครับ กับสภาพเศรษฐกิจ เช่นนี้

พอดี ปรึกษา กับ บริษัทบัญชี ดูบ้างแล้วล่ะครับ ว่าควรจะไปทิศทางไหนดี

ผมจะวางแผนประมาณ 3 เดือน แล้ว เปิดในช่วง ต้นปีหน้าพอดี

เพื่อนสมาชิก คิดเหมือนผมไหม ที่่อยากจะ อัพเกรด บุคคล => นิติบุคคล

ได้ถามบริษัทบัญชีไปหรือยังว่า “ปีหนี้มีทำปิดบริษัท” ไปกี่ราย :smash:

:smash: :smash: :smash:

น้องๆ ขอตอบนะครับ

ถ้ามองเห็นตลาด เห็นช่องทางทำมาหากิน และเข้าใจว่าเปิดบริษัทมาทำอะไร
ทำเลยครับ

อาทิตย์หน้า ผมก็จะไปจดทะเบียน หจก. เหมือนกันครับ เพื่อ
๑. ความน่าเชื่อถือ อย่างน้อย เวลาคุยกับลูกค้าใหม่ๆ ที่เป็นองค์กร จะง่า่ยกว่ามาก ถ้าบอกว่าเป็นฟรีแลนซ์
๒. จัดการเรื่องภาษี ค่าใช้จ่าย ที่บ้านซื้อของโลตัส, เติมน้ำมัน, ซื้อ Server เดือนหลายตังค์ เอามาเป็นค่าใช้จ่ายและคิดภาษีได้
๓. ผมวางแผนเดินบัญชีเตรียมกู้เงิน ไปอ่านเอกสารกู้เงินที่ไหนๆ ถ้าเป็นนิติบุคคล จะมีทางเลือกเยอะกว่าบุคคลธรรมดาครับ
๔. เตรียมตัวสร้างโปรไฟล์ เพื่อรับงานราชการครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพิ่มงานของตัวเองให้ซักหน่อย ต้องส่งรายงานภาษี, ต้องทำบัญชี, ต้องหาคนตรวจบัญชี ผมทำไม่เป็น เลยจ้างเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท
ผมมีหน้าที่ส่งเอกสารให้อย่างเดียว พวกใบเสร็จ ใบกำกับภาษีที่ได้มา ส่งให้เค้าหมด เค้าจะจัดการให้ครับ

เป้าหมายหลักผมคือข้อ ๓ นะ ทำธุรกิจไม่มีทุน มันขยับขยายยากเหลือเกิน

ผมเห็นด้วยกับข้อ 3 ครับ ถ้าคิดจะกู้เงิน ขยายกิจการ ต้องเปิดเป็นบริษัท
แต่มีอีกทางเลือกหนึ่งครับ คือทำงานในหน่วยงานราชการแบบบรรจุเป็นพนักงานนะครับ ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นทำให้ผมสามารถกู้เงินเพื่อสร้างธุรกิจได้มากมาย ที่สำคัญดอกเบี้ยถูกมากๆ ผมได้ดอกเบี้ยต่ำๆ เพียง 6.5% ต่อปีเท่านั้นสามารถกู้ได้มากถึง 30 เท่าของเงินเดือน คิดๆ ดูนะครับถ้ามีเงินเดือนสัก 5 หมื่นคงอายุประมาณสัก 45-50 ปี จะกู้เงินได้ถึง 1,500,000 บาท (เปิดบริษัทถ้าใหม่ๆ การกู้เงินมักจะไม่ได้ดอกเบี้ยที่ดีนัก เนื่องจากยังไม่มีเครดิตที่ดี)

การทำธุรกิจจุสำคัญคือการสร้างเครดิตกับธนาคาร ถ้าเครดิตดี ดอกเบียจะถูก หลักทรัพย์ในการค้ำประกันจะน้อยครับ

ถ้าน้องบาสต้องการจะกู้เงินเพื่อขยายธุรกิจก็แนะนำให้เปิดเลยครับ lol

มีอีกข้อที่อยากให้หลายๆ คนได้คิดนะครับ
แต่ก่อนผมไม่เคยมองงานราชการเลย เพราะคิดว่าเช้าชามเย็นชาม แต่ทุกวันนี้ผมผมกลับชอบมากครับ เหตุผล

  1. ทำงาน 8.30 เลิก 16.30
  2. เวลาวางทำงานส่วนตัวได้ไม่มีใครว่า
  3. มีความมั่นคง ไม่ต้องกังวลเรื่องป่วยไข้ เพราะเบิกได้ทั้งหมด
  4. มีเครดิตที่ดีระดับ AA ผมสามารถมีบัตรเคดิตได้หลายใบ (มีประโยชน์ต่อธุรกิจมากๆ ครับ เพราะสามารถซื้อของโดยไม่เสียดอกเบี้ยนานถึง 1 เดือน)
  5. สามารถกู้เงินซื้อบ้าน สร้างอาคารพานิชได้ด้วยดอกเบียพิเศษ
  6. มีสหกรณ์ออมทรัพย์ ที่สามารถกู้เงินดอกเบียถูก สิ้นปีได้ปันผลคืนจากหุ้นในสหกรณ์
  7. มีเงินกู้ฉุกเฉินดอกเบี้ยต่ำที่สามารถนำมาใช้ได้ทันเวลา
  8. และอื่นๆ อีกมากมาย

มองอีกอย่างน่ะ
ผมว่าเรียนอยู่ มีเวลาให้ไม่เต็มที่หรอกครับ ถ้าทำบริษัทต้องทุ่มเวลาให้มันเยอะๆ เพราะเมื่อเปิดแล้วคงไม่มีใครอยากไปจดทะเบียนยกเลิกกิจการหรอกครับ ต้องคิดให้ดี

คงต้องให้บาสลอง list เป็นข้อๆ เทียบข้อดี กับเสีย ว่าอะไรมากกว่ากัน ลองดูครับ

ความเห็นพี่นะ … เปิดไปเลยบาส ไม่ต้องลังเลสงสัย คิดจะทำอะไร ก็ฟันธงไปเลย

อะไรที่เราคิดว่าทำแล้วดี ไม่เดือนร้อนต่อตนเอง ไม่เดือนร้อนต่อคนอื่น ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ถือว่า เป็นสิ่งที่ควรทำ

เรื่องสภาพเศรษฐกิจ ไม่ต้องไปวิตกมากนัก เพราะมันเป็นแบบนี้มานานแล้ว … ลองดูสักตั้ง ถ้าทำแล้วมันไปไม่ไหวจริงๆ ก็จดทะเบียนยกเลิก ได้ครับ

ทุกอย่างมีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะจัดตั้งหรือยกเลิก

จัดตั้งก็เตรียมเงินลงทุนเปล่าไว้ก่อนเลย 10,000 THB ตอนนี้ตั้งบริษัทใช้สามคนก็ทำได้แล้ว ตั้งได้ภายในวันเดียวจบ
จะยกเลิกก็มีค่าใช้จ่ายในการยกเลิกบริษัทเช่นกัน

ข้ออื่นๆ ท่านอื่นๆได้ช่วยแนะนำแล้ว

ระดับน้องบาส ลูกชายคนโปรด พ่อเลี้ยงเชียงใหม่ ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน บริษัท คงไม่ใช่ปัญหา สำคัญอยู่ที่ใจครับ ถ้าคิดอยากจะทำก็ทำได้เลยครับ
ร้อยคน ร้อยความคิด … ใจเราเองเท่านั้นที่เป็นใหญ่ (ใจเป็นประธาน)

หัวใจของการทำธุระกิจ ข้อหนึ่งก็คือ ต้องใจใหญ่และกล้าเสี่ยง ถ้ามัวกลัวๆ กล้าๆ ก็อย่าทำครับ ฟันธง

เปิดบริษัทแล้ว ก็ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะตามมาในอนาคตด้วยนะครับ

  1. หน้าที่ในการจัดการด้านภาษี vat, หัก ณ ที่จ่าย, ภงด 90 - 91

  2. จัดการทำบัญชีให้รัดกุม อย่าพึ่งแต่สำนักงานบัญชีอย่างเดียว เพราะถ้ามีอะไรผิดพลาด เรารับเต็มๆ ครับ

  3. ค่าตรวจสอบบัญชี อย่างน้อยๆ 15,000 บาท ต่อปี ตอนยื่นปิดงบ (อาจจะถูกกว่า ถ้ารายการเราไม่มาก)

  4. เตรียมตัว เตรียมใจ เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่สรรพกร ทั้งแบบที่ดี และไม่ดี

  5. หาความรู้ด้านภาษี และบัญชี ให้มากๆ เพื่อความปลอดภัยในอนาคต

  6. จัดการเรื่องระบบสต็อคให้ดีๆ อย่าให้มีช่องโหว่ (ธุรกิจบริการไม่ค่อยเท่าไหร่)

  7. ทุกอย่างที่คิดจะหักเป็นค่าใช้จ่ายต้องรัดกุม เพราะเขาคิดว่า ถ้าคุณมีการซื้อ การจ่ายเงิน หมายถึงธุรกิจคุณต้องมีเงินที่จะจ่าย

คุณ STANDHOST.COM ให้ข้อมูลไว้ได้ดีมากๆ เลยครับ น้องบาส พิมพ์เก็บเอาไว้เลย …

  • เรื่อง สำนักงานบัญชี ต้องระวังให้จงหนัก พี่เองมีประสบการณ์เลวร้ายกับตัวเอง เคยโดน หมายเรียก จากตำรวจ โทษฐานไม่ยื่นงบการเงิน ทั้งๆ ที่เซ็นเอกสาร จ่ายเงินต่างๆ ให้ สำนักงานบัญชีไปแล้ว ต้องตามเืรื่องกันวุ่นวาย ไว้ใจไม่ได้จริงๆ พวกนี้ (เฉพาะบางแห่งเท่านั้น ไม่ได้หมายรวม สำนักงานบัญชีทั้งหมดนะครับ)

  • การนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม + ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ถ้าไม่จำเป็น ก็ไปยื่นเอง อย่าไว้ใจ สำนักงานบัญชี เพราะพี่เคยโดนโกงไปแล้วเป็นหมื่น เพราะมันเก็บไปแล้วไม่นำส่ง (ฮ่วยแตก โครตๆ เพื่อนกันแท้ๆ มันยังทำกันได้)

  • ค่าตรวจสอบบัญชีเวลาปิดงบการเงิน ทำไมผมเสียปีละตั้ง 2 หมื่น

  • การรันเลขเอกสาร ไม่ใช่เฉพาะ ใบกำกับภาษีเท่านั้น… หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ต้องรันให้ถูกด้วย จะข้ามเลข ไม่ได้เลย

ยังมีเรื่องราวมากมาย ที่ต้องระวัง แต่ในเบื้องต้น ถ้าเราทำให้ถูกต้อง ก็ไม่ต้องกังวลอะไร … แต่อย่างที่เคยคุยกัน ถ้าจดเป็นบริษัท มันวุ่นวาย ต้องยื่นงบการเงินปีละ 2 ครั้ง ต้องมีรายงานการประชุม … ถ้าจดเป็น หจก. จะง่ายกว่า นะน้องบาส ข้อดีข้อเสีย ระหว่า หจก. กับ บริษัท ก็ต่างกัน ลองไปศึกษาให้ดี

เรื่องมีสาระแบบนี้ไม่ใช่ห้องนั่งเล่นแล้วครับ :slight_smile:

[ย้ายไป Web Hosting Business]

[quote author=siamwebhost link=topic=12500.msg121725#msg121725 date=1216565036]
หัวใจของการทำธุระกิจ ข้อหนึ่งก็คือ ต้องใจใหญ่และกล้าเสี่ยง ถ้ามัวกลัวๆ กล้าๆ ก็อย่าทำครับ ฟันธง

ขอบคุณมากครับคุณต้น พูดแบบนี้ทำให้พี่เอง มีกำลังใจขึ้นอีกเป็นกอง พอดีช่วงหลัง เริ่มเซ็งๆ กับ พรบ.คอมพ์ เรื่องการเก็บ Log … แต่ตอนนี้เลยเปลี่ยนความคิดใหม่ เป็น ชีวิตไม่สิ้น ก็ดิ้นกันต่อไป ครับ

กำลังคิดว่าให้แฟนทำงานราชการครับ อาจจะอบต. ยัดซักสองแสน บรรจุปั๊บ กู้ปุ้บ

เรื่องนี้ก็เคยให้คำปรึกษากับน้องบาสไปนานแล้ว… ในฐานะที่พี่อายุมากกว่าเรามากๆ ไม่ได้อยากจะขัดอะไรน้อง…
ย้อนกลับไปดูหน้าที่ของเราตามวัยของเราก่อนเป็นอันดับแรก

คนที่เราจะปรึกษาได้ดีที่สุดคือคุณพ่อของเราเองครับ…
ไม่มีใครที่จะให้คำแนะนำเราได้ดีไปกว่าคุณพ่อคุณแม่ของเราเลยครับ…

หากคุณพ่อเห็นด้วย อะไรๆมันก็ง่าย หากคุณพ่อบอกให้ลูกเรียนจบก่อนแล้วค่อยทำเรื่องนี้ก็ควรจะเห็นด้วยกับท่านครับ
มาถามคนอื่นๆ ถามจริงๆได้ถามคุณพ่อของตัวเองหรือยัง?

ไหนๆ อ่านมาพักใหญ่ ก็ขอเข้ามาขอบคุณ ทุกๆ ท่าน ด้วยคนละกันนะครับ สำหรับข้อมูลและข้อแนะนำดีดีต่างๆ
ผมเองก็กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ และทำการชั่งใจอยู่พอสมควร เพราะไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
และต้องมีเวลาให้กับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นและตามมามากขึ้น

เพราะบอกตามตรงเลยว่า การดำเนินงานต่างๆ บุคคลธรรมดา และบริษัท นั้นได้รับความน่าเชื่อถือต่างกันมากครับ
แต่ที่สำคัญคือ ลูกค้ากลุ่มองค์กรหรือบริษัท หรือหน่วยงาน หลายส่วนหลุดลอยไป เพราะเรื่องการทำเอกสารทางบัญชีต่างๆ ที่กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานจะมองผู้ให้บริการ
ที่เป็น หจก มากกว่า บุคคลธรรมทั้วไปส่วนนึงเองก็เรื่องความมั่นคงด้วยหนะครับ

เลยขอเข้ามาแนะนำบาสนิดนึงครับ ไม่ลองมอง เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญดูละครับ อีกส่วนนึงที่น่าสนใจครับ
เพราะรูปแบบการเสียภาษี หรือระบบ ต่างจาก หจก อยู่เยอะพอสมควรครับ เดี่ยวรอผู้รู้จริงๆ มาแนะนำอีกทีน่าจะดีกว่า

จริงๆ นึกขึ้นได้ อยากได้ฟังได้อ่าน มุมมองผู้บริหารใหญ่ๆ ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มาไม่น้อย อย่างพี่วัฒน์ บ้างจังเลยครับ
หากมีโอกาสและไม่เป็นการรบกวนเวลาพี่มากเกินไป ก็ขออนุญาติเรียนเชิญ พี่วัฒน์ มาช่วยแนะนำ หรือให้ข้อคิด กับ จขกท สักเล็กน้อยก็ยังดีครับ
ขอบคุณมากๆ ครับ :slight_smile:

มันมีอีกทางเลือกนึงครับ มีความยืดหยุ่นสูงทางด้านการจัดการ และด้านภาษี แต่อาจจะด้อยเรื่องระบบบัญชี

คือให้จดทะเบียนเป็น “ร้าน” ครับ แล้วจากนั้น ให้เข้าไปจดทะเบียน VAT ในนามร้าน

เท่านี้ เราก็สามารถขาย VAT เคลม VAT ได้แล้ว อย่างเต็มรูปแบบ เหมือนบริษัท และ หจก. ทุกประการ

แต่ข้อได้เปรียบก็คือ

  1. สรรพกรจะไม่เข้ามาขอตรวจสอบมากนัก เพราะเป็นร้านค้า

  2. สามารถทำระบบบัญชีได้เอง ไม่ต้องเซ็นงบ ประหยัดไปได้หลายตังค์

  3. ยื่นภาษีเหมือนบุคคลธรรมดา

  4. จะทำอะไรก็ไม่ต้องมีเอกสารการประชุม เช่นเปิดบัญชี ธนาคาร, แก้ไขเอกสารต่างๆ เราจัดการได้เองคนเดียวเบ็ดเสร็จ

  5. หัก ณ ที่จ่ายได้เหมือนกัน ทั้งหักเขา และถูกเขาหัก

ข้อด้อย

  1. การคิดภาษีปลายปี จะนำยอดขายทั้งหมด หักเป็นต้นทุนสินค้า 80% และ ที่เหลือ 20% ถือว่าเป็นรายรับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ lol

ขอบคุณ พี่ ๆ ทุกท่านครับ ที่ให้คำแนะนำดี ๆ เสมอมา :slight_smile:

“กล้าที่จะก้าว ไม่กล้าก็ไม่ก้าว ไม่ก้าวก็ไม่เดิน” เครดิต หนังสือสำนักพิมพ์ใยไหม

ปล.เดี๋ยวช่วงบ่าย ๆ จะมาต่อครับ