[color=green]ไทยรัฐออนไลน์[/color] มีโอกาสได้พูดคุยกับ คนในวงการไฮเทค เกมเมอร์มือดี พ่อมดไอที เพื่อหาคำตอบว่า แท้จริงแล้ว “สนิฟเฟอร์” คืออะไร เป็นอย่างไร ซึ่งก็น่าจะได้อีกมุมมองที่น่าสนใจ กับ “หนุ่ย” พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทโชว์ไร้ขีดจำกัด
Q : ขณะที่ฝุ่นความคิดกำลังตลบ และแบ่งกันเป็น 2 ฝ่าย กับกรณีที่ภาครัฐมีความคิดที่จะติดตั้งโปรแกรมสนิฟเฟอร์ เพื่อดัดหลังพวกชอบดาวน์โหลดของเถื่อน คุณคิดอย่างไร ?
ผมเป็นคนไม่ ขัดขืนระบบระเบียบของรัฐบาลอยู่แล้ว ผมคิดว่าประเทศจะมีระเบียบได้ ประชาชนจะต้องเคารพกฎหมาย แต่ความเป็นไปได้ของตัวนี้เป็นไปได้ต่ำ เพราะว่า ภาคการลงทุน กระทรวงผลักภาระไปให้ผู้ให้บริการเป็นคนติดตั้งระบบ ซึ่งเป็นระบบที่ต้องลงทุน อีกประมาณ 8 หลัก ขณะที่ข้อมูลที่วิ่งมาแต่ละชั่วโมงเยอะมาก จนต้องตั้งคำถามว่าต้องใช้คนกี่พันกี่หมื่นคนดู ถ้าจะสนิฟกันจริงๆ
ถ้าพูดกันตรงๆ สนิฟเฟอร์เป็นเทคโนโลยีที่มีมาสักระยะแล้ว โดยหลักการแฮกเกอร์ที่รู้ไส้รู้พุงของสนิฟเฟอร์ก็หลบได้อยู่ดี ประโยคแรกที่ผมให้สัมภาษณ์ก็คือ ผมไม่ขัดขืนถ้าสุดท้ายมันเป็นนโยบายดีๆ จากภาครัฐที่ต้องการที่จะป้องปราบเรืองการละเมิดลิขสิทธิ์หรือว่าควบคุมคอน เทนต์เนื้อหา ผมว่ามันก็ไม่แปลก จีนก็มีโปรแกรมที่ทำงานคล้ายกันนี้ ติดตั้งมาเพื่อที่จะมอนิเตอร์ มันเป็นการวางรากฐานอีกแบบ แต่รัฐเขารับเป็นเจ้าภาพทั้งหมด ไอเอสพีทุกเจ้าต้องวิ่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ของรัฐบาลจีน ซึ่งมันต่างจากการที่จะให้แต่ละคนแยกไปเก็บข้อมูลกันเองมาวิเคราะห์
มัน ก็คงจะเหมือน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตราหนึ่งที่พูดถึงเรื่องฮาร์ดดิสก์ ทุกอย่างเกิดขึ้นในฮาร์ดดิสก์ แล้วไง ใครตรวจได้ คือในกระบวนการปราบปราบทำยาก กฎหมายเขียนไว้มันก็ควรจะมีมูลที่ทำให้มันเกิดความศักดิ์สิทธิ์ คือตรวจจับกันได้ คนก็ไม่กล้าทำ แต่นี่พอรู้ว่ากฎหมายออกมาแล้วตรวจจับไม่ได้ คนมันยังทำอยู่ มันก็กลายเป็นเหมือนกับกฎหมายขาดความน่าเชื่อถือ
ถ้าจะมีกฎออกมา เรื่องอะไรต่างๆ ผมก็พร้อมที่จะรณรงค์ด้วย ในฐานะคนทำสื่อไอที เพื่อให้ทุกคนหันมาใช้ซอฟต์แวร์แท้ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือว่าปฏิบัติตามกฎต่างๆ ทางเทคโนโลยี แต่โดยปริมาณข้อมูลที่มันจะสนิฟไว้ มันมากเกินกว่าที่ผมจะจินตนาการได้ว่าใครจะตรวจ
Q : วันก่อนคุยกับภาคเอกชน นายอาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล ผอ.การสายงานออนไลน์บิสซิเนส ของ บริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) บอกว่าไม่เห็นด้วยกันการติดตั้งโปรแกรมนี้เนื่องจากจะทำให้เสียบรรยากาศของ ลูกค้า การให้ข่าวแบบนี้ทำให้บรรยากาศการลงทุนเรื่องอินเทอร์เนตเสียหาย คิดเห็นอย่างไร ?
ไม่ทราบครับ โดยส่วนตัวผมคิดว่าข่าวทุกข่าวมีผลต่อตลาดหุ้นอยู่แล้ว แน่นอนตลาดหุ้นก็ต้องการข่าวดี
Q : ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายคนบอกว่ารัฐติด “สนิฟเฟอร์” รู้สึกเหมือนอยู่ในประเทศที่ไร้ประชาธิปไตย ?
ประชาธิปไตย ไม่ได้แปลว่าคุณต้องได้ทุกอย่าง ของบางอย่างมันต้องไม่ได้ คือ มันก็ต้องยอม ฉะนั้นผมคิดว่าเราอย่าไปมีทัศนคติแบบว่าออกกฎอันนี้มาก็ด่าหมด มันไม่ดี คือเมื่อก่อนผมก็เป็น ผมรู้สึกว่าชาติไทยเป็นชาติที่ดื้อ พูดอะไรมาก็นี่ ขณะที่เราไปต่างประเทศเราเคยฟังไกด์ทัวร์พูดไหม รัฐบาลออกกฎให้คนทำอย่างโน้นอย่างนี้ ทุกประเทศเหมือนกันหมด คือ คนเขาเชื่อง ประชาชนเขาทำ ก็เลยมีระเบียบ ของเราพอออกกฎก็เอ๊ะ ก็ต้องมีอย่างนี้ ด้วยความเคารพและความเป็นห่วงผมเป็นคนไม่ต่อต้านกฎหมาย ผมพร้อมที่จะปฏิบัติ แต่ด้วยความเป็นห่วง ผมคิดว่าปริมาณข้อมูลมหาศาลขนาดนี้ เงินลงทุนขนาดนี้มันอาจจะไม่สมเหตุสมผลพอที่จะทำให้กฎหมายนี้ศักดิ์สิทธิ์
Q : คิดว่าวันนี้คนไทยพร้อมกับสนิฟเฟอร์หรือยัง ?
ผม ไม่ได้เสียหายอะไรนะ เพราะผมใช้ซอฟต์แวร์แท้หมด ผมไม่มีปัญหาและผมก็ไม่ใช่นักห้ามคนอื่นด้วย คนทั่วไปอาจจะไม่อยากให้มี เพราะเดี๋ยวจะโดนตรวจโน่นตรวจนี่ [color=red]แต่ว่าผมไม่เคยทำผิดบนคอมพิวเตอร์และผมก็มีครรลองที่ดีในการใช้งานเชิงบวก อยู่แล้ว[/color]
Q : “สุกรี” คนดังแห่งทวิตเตอร์บอกว่า เมื่อรัฐ “สนิฟเฟอร์” เราจะมั่นใจรัฐ คนของรัฐ ได้อย่างไร ว่าเขาจะไม่เอาข้อมูลที่ “สนิฟ” ของเราไปขาย หรือไปทำอะไรที่เลวร้าย
[color=red]ถ้ากลัวรัฐจะทำ คุณต้องกลัวกูเกิล กลัวฮ็อตเมล์ อีเมล์คุณฝากไว้กับเขาก็ดูได้หมด[/color] คุณเอาอีเมล์ทั้งองค์กรไปฝากไว้ที่กูเกิล ฮ็อตเมล์ นั่ันยิ่งกว่านะ ผมไม่เชื่อว่าจะมีองค์กรที่จะทำอย่างนั้น ถ้าคุณทำตัวให้ดี จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดีให้ได้ ไม่ต้องถามว่าเร่ิมที่ใคร เร่ิมที่คนที่เราเห็นในกระจก คือตัวเราเอง ตัวเรามั่นใจว่าเราไม่ได้ทำผิดซะอย่าง ก็ไม่มีปัญหา เพราะถ้าจะจับกันว่าใครมีรูปโป๊อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรือใครมีซอฟต์แวร์เถื่อน “บางขวาง” ต้องขยายที่ จะจับอย่างไร
ด้วยความเป็นห่วง ผมกลัวว่าจะดำเนินการไม่ได้ จะเป็นกฎหมายที่ไม่สามารถปราบปรามได้เป็นห่วงตรงนั้นมากกว่า
Q : แนะนำรัฐได้ไหมว่าเขาควรทำอย่างไรกับการโหลดหนัง เพลงเถื่อน…?
นาที นี้อินเทอร์เนตมันเร็ว มันทำให้ง่ายต่อการละเมิดอยู่แล้ว แต่ผมเชื่อว่าประเทศที่อินเทอร์เนตเร็วกว่าเรา มันละเมิดน้อยกว่าเรามาก ญี่ปุ่นยังมีความภักดีต่อศิลปินและก็ซื้อซีดีต่อไป ทั้งที่อินเทอร์เนตเร็วกว่าประเทศไทยไม่รู้กี่ร้อยเท่า แต่ว่าเรื่องนี้โทษอินเทอร์เนตไม่ได้หรอก ต้องโทษจิตสำนึกและวิธีการปลูกฝัง พูดเรื่องนี้เหมือนเอาหนังเก่ามาฉายซ้ำ ต้องพัฒนาจิตสำนึก แต่ผมก็ไม่เห็นกระบวนการใดจะทำซักที เพราะว่าเป็นกระบวนการที่ทำได้ดีที่สุด คือ การสอน คนที่สอนก็ต้องมีจิตสำนึก ต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา ไม่ใช่ว่าอาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ยังโหลดไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์อยู่
ผม ก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาจิตสำนึกนะ เพราะว่าผมคิดว่าต้องหากระบวนการทำงานผ่านสื่อทุกแขนงและทำงานผ่านสถาบันการ ศึกษา เมื่อก่อนรัฐบาลบอกจนปากจะฉีกถึงรูหูแล้วว่าอย่าซื้อเทปผีซีดีเถื่อน มันก็ยังมีคนซื้ออยู่ดี การเดินเข้าไปซื้อเป็นกายภาพ น่าจะรู้สึกละอายได้ ก็ไม่ละอาย [color=red]แต่นาทีนี้โหลดบน Bit Torrent เขารู้สึกว่านี่คือสังคมแบ่งปัน เรามีนำ้ใจกัน นำ้ใจอะไร คุณไปขโมยเขามา[/color] ผมว่าวงการสร้างสรรค์ไทยหลังจากนี้จะมีปัญหา สร้างสรรค์ออกมาแล้วขายไม่ได้ ในขณะที่คนใหม่ๆ ท่ีจะเติบโตขึ้นมาแล้วกลายเป็นนักสร้างสรรค์ก็จะขาดแรงบันดาลใจเพราะพวกนี้ ขายไม่ได้จะทำไปทำไม
เพราะฉะนั้นมันต้องแก้จริงๆ ค่ายเพลงค่ายเทปต่างๆ ก็ต้องหากระบวนการใหม่ๆ ในการขาย ผมรู้ว่าทุกคนก็ดิ้นไปที่โมบาย ไปดาวน์โหลด แต่สุดท้ายการดาวน์โหลดแบบคุณภาพดีๆ มันก็ต้องมีเครื่องเข้ามารองรับคนที่จะเข้ามาฟังแบบดีๆ
Q : การดาวน์โหลดเถื่อน ภาพ เสียง องค์ประกอบต่างๆ สู้การจะฟังหรือดู หนัง-เพลง จากแผ่นแท้ไม่ได้ ?
ผม เชื่ออย่างนั้น แต่ไอ้คนที่มันโหลดของปลอมมันไม่เชื่ออย่างนั้น มันบอกว่าเพลงเหมือนกันผมบอกว่าไม่มีทางเหมือน หนังที่ยังไม่ได้ออกแผ่นแท้ แล้วคุณไปซื้อมาดูก่อน ยังไงก็ซับนรก มันไม่มีทางเหมือนหรอก อดใจสักนิดแล้วรอมัน หรือดูในโรงดีกว่า ยังไงเงินจะได้ตกถึงคนที่ทำงานจริงๆ ไม่ได้เป็นเงินที่ตกไปหาไอ้ปี๊ด ตกไปหาคนที่มันเป็นผู้ก่อการร้าย คนที่ขายซีดีเถื่อน [b][color=red]กระบวนการนี้คือกระบวนการก่อการร้าย เพราะ 1. ไม่ต้องเสียภาษี