ICT เตือนอย่าตื่นจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพ์
" ไอซีที"แจงประชาชนหน่วยงานและองค์กรที่ใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งร้นอินเทอร์เน็ต ร้านเกมออนไลน์อย่าตื่นตระหนก หลัง ประกาศกระทรวงฯ เรื่องการจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ฯ มีผลบังคับใช้ ระบุ ถ้าไม่ได้ทำความผิดตาม พ.ร.บ.ฯ ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่มีสิทธิขอเข้าตรวจสอบข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 22 ส.ค. ที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้จัดแถลงข่าวเกี่ยวกับประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550 ที่ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ 90 วัน โดยจะต้องตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์ทุกชนิดให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำตามเวลาอ้าง อิงสากล มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 51
โดย นายภุชพงศ์ โนดไธสง รองโฆษก กระทรวงไอซีที กล่าวว่า หลังจากประกาศฯมีผลบังคับใช้ไม่อยากให้ประชาชน หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่ให้บริการและใช้คอมพิวเตอร์ ตื่นตระหนก เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ตามที่กฎหมายบังคับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีข้อมูลในการติดตามหาตัวผู้กระทำผิด แต่หากหน่วยงานและองค์กรใดไม่ได้มีการกระทำผิดตามกฎหมายฉบับนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือ พนักงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายตาม พ.ร.บ.ฯ ก็ไม่สามารถเข้าขอตรวจสอบข้อมูลการจราจรฯ เพื่อเปรียบเทียบปรับได้
ทั้งนี้ผู้ให้บริการที่ต้องเก็บข้อมูลจราจรฯ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและกิจการกระจายภาพและเสียง เช่น ผู้ให้บริการโทรทัศน์พื้นฐาน และโทรศัพท์เคลื่อน ที่ ฯลฯ 2.ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ประกอบการที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในห้องพัก ห้องเช่า โรงแรม หน่วยงานราชการ บริษัท สถาบัน การศึกษา ฯลฯ 3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอม พิวเตอร์เพื่อให้บริการโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เช่น ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ บริการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) ศูนย์รับฝากข้อมูลอินเทอร์เน็ต ฯลฯ และ 4. ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต คือ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และร้านเกมออนไลน์
อย่างไรก็ตามส่วนสำคัญที่ทำให้ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์มีความถูกต้องและ ใช้งานได้จริงเมื่อเกิดการกระทำผิด ทางผู้ให้บริการจะต้องปรับเทียบมาตรฐานเวลาให้มีความเที่ยงตรงตามระบบสากล ผิดพลาดได้ไม่เกิน 10 มิลลิวินาที ซึ่งผู้ให้บริการสามารถเทียบมาตรฐานเวลากับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติและกรม อุทก ศาสตร์ กองทัพเรือ
ด้านนายธงชัย แสงศิริ นักวิชาการคอม พิวเตอร์ สำนักกำกับการเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงไอซีที กล่าวว่า ในส่วนของผู้ประกอบการและเจ้าของเว็บไซต์ ที่เปิดให้มีการโพสต์ข้อความและรูปภาพ ก็ต้องมีการเก็บข้อมูลจราจรฯ เพราะหากมีการโพสต์รูปภาพและข้อความที่ไม่เหมาะสม จนทำให้มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ เป็นคดี เมื่อเจ้าหน้าที่ขอข้อมูลแล้วไม่ได้จัดเก็บไว้ ตาม พ.ร.บ. ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
อย่างไรก็ตามสำหรับร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และร้านเกมออนไลน์ ที่มีอยู่จำนวนมาก หากไม่ได้มีการกระทำผิด จนท.ก็จะไม่สามารถขอเข้าไปตรวจสอบข้อมูลจราจรฯ แต่ไม่ควรประมาทควรมีการเก็บข้อมูลผู้ที่ใช้บริการไว้ โดยทางกระทรวงฯได้มีบริการเครื่องมือในรูปแบบซอฟต์แวร์ฟรีซึ่งสามารถดาวน์ โหลดได้ที่ www.mict.go.th
ที่มา: http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=174397&NewsType=1&Template=1