สอบถามเรื่องการจด Domain

คืออยากทราบว่า ผู้ให้บริการจด domain เค้าจะรู้มั้ยครับ เวลาเรา search หาชื่อโดเมนเนม ที่ว่างในเวปเค้า ว่าเรา search หาเวปอะไรอยู่

คือเพื่อนผมเค้าเคยจะจดโดเมนเนม ก็ไป search ในเวปรับจดในไทยแห่งหนึ่ง พอได้ชื่อที่จำง่าย เรียกได้ว่าชื่อดีแหละครับ เพื่อนผมก็กะว่า อีก 2-3 วันจะจดชื่อนั้น

แต่พออีก 1 วัน ชื่อโดเมนเนม นั้นกลับโดนคนอื่นแย่งจดไปก่อนแล้ว และถึงทุกวันนี้ ชื่อนั้นก็ยังอยุ่ แต่ไม่มีการสร้างเวปไซค์ใดๆ เหมือนจดไว้จะัขายต่อทำกำไร

ไม่รู้ว่า ผู้ให้บริการจด เค้าตุกติกอะไรรึเปล่า หรือว่ามันเป็นเหตุบังเอิญ

มันก็ดีนะครับ…ที่คิดระวังไว้ก่อน แล้วก็น่าเศร้าด้วยที่ถูกคนชิงตัดหน้าแย่งจดไปก่อนอย่างงั้น
แถมไม่ทำอะไรกะขายชื่อโดเมนอย่างเดียวด้วย… ชื่อโดเมนคงดี ขายได้หลายตังค์อยู่

ส่วนที่ว่าเจ้าของเว็บจะรู้ไหมว่าเราค้นหาชื่ออะไรอยู่…ผมว่าถ้ามีคนคิดจะทำมันก็เป็นไปได้ครับ…
แต่โดยปกติผมว่าไม่มีใครเขาทำกันหรอกครับ… :lol:

:angel: เมืองนอกเขาใช้วิธีนี้กันครับหากิน

เป็นไปได้สูงมากครับ
เวบรับจดโดเมนประเภทใช้ query form ผ่าน whois (แบบของไทยหลายๆเวบ)
ถ้าเขาจะ save ชื่อที่มีคนมาค้นหาเก็บไว้ก็สามารถทำได้ง่ายและผู้ใช้ไม่สามารถบอกได้เลยว่าเขาเก็บหรือไม่เก็บ
ดังนั้นเมื่อเขามาเปิดดู log ในแต่ละวันแล้วเจอชื่อสวยๆแล้วยังไม่ได้จดเขาก็ย่อมมีสิทธิ์จดตัดหน้าไปก่อนได้

ส่วนมากแล้วผมจะเช็คชื่อโดเมนว่าว่างหรือไม่ที่หน้าเวบ registrar รายใหญ่ๆเลย
เช่น enom onlinenic … จะไม่เช็คผ่านเวบ reseller นอกจากว่าถึงขั้นตอนแจ้งจดจริงแล้ว

ประเด็นนี้ก็น่าสนใจนะครับ ลูกค้าหลากหลายรายที่อาจจะมีผลกระทบตรงจุดนี้
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมันเป็นเรื่องขึ้นมาคนที่ต้องกระทบแน่ๆ คือ ผู้ให้บริการ กับลูกค้า
ที่ต้องให้สีแดงกับสีน้ำเงิน เพราะบางครั้งลูกค้าไม่ยอมครับ จะให้เรารับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว
ซึ่งทางผู้ให้บริการเองคงทำอะไรไม่ได้มาก แต่ผมจะขอชี้แจงวิธีการเลือกผู้ให้บริการ
เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น (ได้) คร่าวๆ ดังนี้

๑. การเลือกผู้ให้บริการที่มีความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านข้อมูล ควรจะทราบว่าการเช็คโดเมน
ผู้ให้บริการรายนั้นตรวจเช็คจาก Whois Server ใด และผู้ให้บริการเองควรแจ้งลูกค้าให้ทราบด้วยว่า
ข้อมูลที่ลูกค้าเข้ามาตรวจสอบนั้นผู้ให้บริการเช็คจาก Whois Server รายใด

๒. เรื่องของการเก็บ Whois Log ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากว่าผู้ให้บริการ
บางรายนำจุดนี้มาเป็นข้อมูลในการจดโดเมนเผื่อเก็งกำไรต่อไป (ผิดเรื่องจรรยาบรรณ)

๓. โดยส่วนตัวแล้วหากต้องการเช็คโดเมนเพื่อตรวจสอบหรือหาชื่อเล่นๆ ทั่วไป
ผมเองก็ใช้วิธีการค้นหาจาก Register รายใหญ่ๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นนี้
เพราะข้อมูลที่มีการ Whois เข้ามานั้น Register รายใหญ่จริงๆ คงมีข้อมูลเข้ามาเป็น
หมื่นเป็นแสน (ลดความเสี่ยงลงไปได้หน่อย)

๔. เรื่องของโดเมนนี้ข้อพิพาดที่เกิดขึ้น บางครั้งมาจากตัวลูกค้าเอง ยกตัวอย่างที่เคยเจอ คือ
ทำการสั่งซื้อโดเมนเนมไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระค่าบริการเข้ามา (ผู้ให้บริการเค้าจะยังไม่
ดำเนินการจดโดเมนเนมให้คุณนะครับ ฉะนั้นอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจว่าโดเมนเนมนี้เสร็จเราแล้ว)
ปัญหาคือ เมื่อทำการสั่งซื้อแล้ว หลายคนจะเอาไปโชว์ไว้ใน msn บ้าง, หรือโพสตามเว็บบ้าง
ว่าเฮ้ยเนี้ย เราไปจด ไปจองไว้แล้วนะเว้ย เดี๋ยวไปจ่ายเงินเสร็จเราแน่ๆ นั่นล่ะครับ ใครคนอื่นมาเห็น
หากชื่อมันน่าสนใจเค้าก็ซิวไปก่อนได้ครับ การจดโดเมนเนมไม่ใช่มาถึงก่อนได้ก่อนนะครับ
แต่เป็น ใครจ่ายก่อนได้ก่อนซะเป็นหลัก

ในส่วนของการจดโดเมนเนมใหม่ผมนึกๆ ได้เท่านี้นะครับ หากมีเพิ่มเติมจะมาเขียนเพิ่มให้ครับ
แต่อีกส่วนนึงที่ไม่ควรมองข้ามคือ เรื่องของการต่ออายุโดเมนเนม อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้กันเลยจริงๆ
ก็เลยจะขอเล่าสักนิดนึงว่าปัญหาส่วนใหญ่แล้วสำหรับคนที่มีโดเมนเนมแล้ว แต่นิ่งนอนใจ
ซะเหลือเกิน… ดังนี้

๑. การจดโดเมนเนมใหม่นั้น ผู้ใช้บริการหลายรายเลือกที่จะใช้อีเมล์ ของเว็บไซต์ เช่น
info@yourdomain.com
แล้วทราบมั๊ยครับว่าปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ปัญหาสำหรับกรณีนี้
จะเกิดขึ้นเมื่อ โดเมน yourdomain.com เน้ยเกิดมีปัญหาขึ้นมา หรือลุกค้าไม่ต่ออายุ
ทำให้การติดต่อสำหรับโดเมนเนมต่อๆ ไปที่ใช้อีเมล์นี้ในการติดต่อมีปัญหาทั้งหมด อาจจะ
ยาวไปจนถึงขั้นโดนขโมยทั้งอีเมล์ และโดเมนเนม (อย่างลอยนวล)

๒. การใช้อีเมล์ที่ไม่ใช่อีเมล์หลักที่ผู้ใช้บริการใช้อยู่เป็นประจำ ผลก็คือ ไม่สามารถติดต่อ
โดยตรงได้ เนื่องจากระบบ Auto Renew นั้นจะแจ้งไปตามอีเมล์ที่ใช้ในการจดโดเมนเนม
ยกตัวอย่างเช่น name@hotmail.com - สมัครไว้สำหรับเล่น msn อย่างเดียว พอเลิก พอเบื่อ
ก็จบกัน โดนปิด Account ก็มีคนมาสมัครใหม่ เชิ่ดโดเมนเนมไป (อย่างลอยนวล)

๓. ข้อนี้ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับการต่ออายุสักเท่าไหร่ แต่อยากจะเขียนไว้สักนิดว่าการตั้งรหัส
ของโดเมนเนม
ควรจะตั้งให้ระมัดระวังมากขึ้น เพราะสมัยนี้เค้ามีการ Gen Password ยิงเข้า
Server ให้บริการ… ระวังว่าโดเมนเนมของท่านจะมีอะไรออกมาให้เค้าได้ดูกันนะครับ
หลักการตั้งง่ายๆ ที่ต่างประเทศเค้าคงขี้เกียยจมา Gen ก็คือ การพิมพ์คีย์ไทย โดยใช้ Eng Lang ครับ
เช่น

ไทยโฮสทอล์ก

เราก็จะได้รหัส คือ

wmpFVlmv]Nd

โดยผู้ใช้บริการสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ครับ ไม่จำกัด แต่ขอย้ำว่าควรจำให้ได้นะครับ
เพราะรหัสที่ออกมาหากมองเป็นภาษาอังกฤษแล้วเนี้ย งง เอาเรื่องทีเดียว…

หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกใหม่ และทุกท่านครับ

ขอบคุณครับ
ปุ๊ก :slight_smile: